ความต้องการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

พุฒิพงศ์ ปิ่นรารัยนนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับความต้องการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 (2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้ใหญ่บ้าน ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและความต้องการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านตามนโยบายประเทศไทย 4.0 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 208 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านใหญ่บ้านในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย (1) ด้านระดับความต้องการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 พบว่าอยู่ในระดับมาก (2) ด้านการเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้ใหญ่บ้าน ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ใหญ่บ้านที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความต้องการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติหน้าที่แตกต่างกันและ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจและความต้องการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานของผู้ใหญ่บ้าน ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2537). คู่มือปฏิบัติงานเกี่ยวกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นกรมการปกครอง.

จิราพร บาริศรี. (2557). ปัจจัยที่อธิบายสมรรถนะของผู้ใหญ่บ้าน ในมุมมองของประชาชน (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ฉลวย พ่วงพลับ. (2548). บทบาทของกำนันผู้ใหญ่บ้าน: กรณีศึกษาอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา (การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชาญ คำวรรณ. (2546). บทบาทและอำนาจหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนภายหลังปี พ.ศ. 2537. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: เอชอาร์เซ็นเตอร์.

ดำรง สุนทรศารทูล. (2534). แนวความคิดในการปฏิบัติงานของข้าราชการฝ่ายปกครองยุคปัจจุบัน. ในบทความทางวิชาการ เล่ม 16. กรุงเทพฯ.

ถิรวัฒน์ ธนานันท์. (2544). การใช้บริการตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขตสุขาภิบาลนิเวศกับสุขาภิบาลธงธานีอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิจ ไพรสณฑ์. (2542). การเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรนภัทร วิระทูล และ พัฒน์ศิณ สำเริงแสงจันทร์รัมย์. (2558). การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเขตพื้นที่อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาลัยราชสีมา: วิทยาลัยราชสีมา.

พิมพ์รามิล สุพรรณพงศ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติในการปฏิบัติงานกับความพึงพอใจของพนักงานโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศตวรรษ กล่ำดิษฐ์. (2560). สมรรถนะที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตสายไฟฟ้า: กรณีศึกษาบริษัทสายไฟฟ้าไทย - ยาซากิ จำกัด (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสำนักบริหารการปกครองท้องที่กรมการปกครอง. (2541). บทบาทกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่เหมาะสมในอนาคต. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

สันติ สวัสดิพงษ์. (2541). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อบทบาทของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชน: กรณีศึกษาในท้องที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสถาบันคีนันแห่งเอเชีย. (2547). โครงการพัฒนาดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มปท.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). (2548). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง สมรรถนะของข้าราชการ. (ม.ป.พ.)

สุชาติ พึ่งสาย. (2550). ผลการศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง: กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านของตำบลบ้านคลองสวน อำเภอ พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

McClelland,D.C. (1973). Testing for Competence Rather Than for lntelligence. AmericanPsychologist, 28(1), 1-14.