พฤติกรรมการเลือกสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

กฤตกานต์ ปุริมาพันธ์
เกียรติศักดิ์ สมัครสมาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อเปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหารของลูกค้าจำแนกตามกลุ่มอายุและระดับรายได้ (2) เพื่อระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของลูกค้าที่สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหาร (3) เพื่อระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จากลูกค้าที่ใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหารเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 420 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวแปรทวินามและการวิเคราะห์แบบจำลองสมการถดถอยโลจิทผลการวิจัย (1) ด้านการเปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันสั่งและส่งอาหารพบว่า กลุ่มอายุและระดับรายได้ มีระดับการยอมรับการใช้งานแอปพลิเคชัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2) ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของลูกค้าที่สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย การรับรู้จำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่าย การรับรู้จำนวนการทำงานข้ามแพลตฟอร์ม การรับรู้การเติมเต็ม การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ที่ได้รับ การรับรู้ความปลอดภัย ทัศนคติที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน บรรทัดฐานของคนใกล้ชิด คนในครอบครัว และเพื่อนฝูง บรรทัดฐานของกลุ่มคนที่ติดต่อด้วย บรรทัดฐานของกลุ่มคนอ้างอิง ความตั้งใจใช้งานแอปพลิเคชัน และพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน (3) ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มุมมองต่อความสะดวกและปลอดภัย การชำระเงินผ่านช่องทาง E-Wallet และ Mobile Banking อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ETDA (เอ็ตด้า). (2562). ผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต พ.ศ. 2562. ค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2562, จาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-behavior-2019.html

ปวิตรา สอนดี, ชุติมา เกศดายุรัตน์ (2561). การยอมรับนวัตกรรม โมบายแบงค์กิ้งแอปพลิเคชันของกลุ่มผู้ สูงอายุ. (การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,

วศินี อิ่มธรรมพร. (2559). การยอมรับเทคโนโลยี ความสะดวกในการใช้บริการ และการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อ การตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย (Gen Y) ใน กรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธาวินี จันทร์คง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้โมบายแอพในการสั่งอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Rosen, L. (2010). Rewired: The Psychology of Technology. Reteieved April 20,2020, from http://www.psychologytoday.com/blog/rewired-the-psychologytechonology/201003/welcome-the-igeneration