ประสิทธิผลการให้บริการรับชำระเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สาขาหัวหิน

Main Article Content

มานิสา วิมลสถิตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อสำรวจประสิทธิผลของการให้บริการชำระเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สาขาหัวหิน (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อ ประสิทธิผลของการให้บริการรับชำระเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สาขาหัวหินด้วยลักษณะประชากรของกลุ่มตัวอย่าง  (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการรับชำระเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สาขาหัวหินกับประสิทธิผลของการให้บริการรับชำระเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างสุ่มจากประชาชนที่มาใช้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สาขาหัวหิน จำนวน 385 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า ที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ANOVA F การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียรสัน  ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิผลของการให้บริการรับชำระเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สาขาหัวหินอยู่ในระดับมาก (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อ ประสิทธิผลของการให้บริการรับชำระเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สาขาหัวหินด้วยลักษณะประชากรของกลุ่มตัวอย่าง  ไม่มีความแตกต่างกันเมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากร  (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการให้บริการรับชำระเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สาขาหัวหินกับประสิทธิผลของการให้บริการรับชำระเงิน เป็นไปในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกวรินทร์ สระบุรินทร์.(2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกชำระเงินผ่านโมบาย แอพพลิเคชั่นสตาร์บัคส์ไทยแลนด์ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กฤตโสภา ทิพย์ปัญญาวงศ์. (2561). การศึกษาปัญหาและแรงจูงใจในการใช้งานเงิน อิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

หนึ่งนุช ธีระรุจินนท์. (2560). คุณภาพการให้บริการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ธนาคารกรุงไทย สาขาเอ็มไพร์ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1),1523-1537.

ปริยวิศว์ ชูเชิด และ ฉัตรทอง นกเชิดชู. (2560). การยอมรับนวัตกรรมบริการโอนเงินและรับเงินโอนพร้อมเพย์และประสิทธิผลในการทำ ธุรกรรมการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

สุวัฒน์ กันภูมิ. (2559). ประสิทธิผลในการบริหารของฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ศิริพร แจ้งใจบุญ. (2553). การบริหารจัดการด้านการควบคุมและการตรวจสอบการให้บริการประชาชนของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง. (วิทยานิพนธ์บริหารรัฐกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เอกวินิต พรหมรักษา. (2555). ทฤษฎีองค์การและการจัดการเชิงกลยุทธ์ชั้นสูง. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2561,จาก http://promrucsa-dba04.blogspot.com

Cronbach Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper and Row Publishers.

Fayol, H. (1967). General and Industrial management. New York: Pittnans Publishing Corporation.

Gulick, L., and Urwick, L. (1937). Paper on the science of administration. New York: Institute of Public Administration.