ประสิทธิผลของการนำนโยบายความปลอดภัยทางถนนไปปฏิบัติในพื้นที่ถนนสายรอง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินประสิทธิผลของการนำนโยบายการลดอุบัติเหตุ บนท้องถนนไปปฏิบัติกรณีศึกษา ถนนสายรองในเขตพื้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่ม ตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผล ของการนำนโยบายการลดอุบัติเหตุบนถนนสายรอง ในเขตพื้นที่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามลักษณะประชากรของกลุ่มตัวอย่าง 3) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ที่มีผลต่อการนำนโยบาย การลดอุบัติเหตุบนท้องถนนไปปฏิบัติ กับประสิทธิผลของการนำนโยบายการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาน ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในอำเภอชะอำ จำนวน 400 คน การทดสอบด้วยสถิติ เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ผลการศึกษาดังนี้ 1) ประสิทธิผลของของการนำนโยบาย การลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไปปฏิบัติกรณีศึกษา ถนนสายรอง ในเขตพื้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีอยู่ในระดับมาก 2) ความคิดเห็นของกลุ่ม ตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลของการนำนโยบาย การลดอุบัติเหตุบนท้องถนนไปปฏิบัติกรณีศึกษาถนนสายรอง ในเขตพื้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามลักษณะประชากรของกลุ่มตัวอย่าง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผล ของการนำนโยบายการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
โกศล ทองนพเก้า. (2550). การศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการป้องกันปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุทธยา.
วรเดช จันทรศร. ก (2555). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.
วรเดช จันทรศร. ข (2551) ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2553). นโยบายสาธารณะ: แนวคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2554). เทคนิควิธีการวิเคราะห์นโยบาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. (2540). การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการบริหาร. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บรรพต สุขัง. ( 2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถาณีตำรวจภูธรเมืองบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2556). หลักการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
โสภา หอยสังฆ์. (2552). ความต้องการการดูแลและการรับรู้การดูแลที่ได้รับจากครอบครัวของผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิภา ธูสรานนท์. (2550). ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการจ่ายเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุทิน อ้อนอุบล. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตชนบทจังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิตประภา แก้วกระจ่าง. (2550). การประเมินโครงการกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในหมู่บ้านและชุมชนเมือง (เบี้ยยังชีพ) กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. (การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วุฒิสาร ตันไชย. (2554). การกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง. สรุปผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย สรรพสามิต คดีน้ำมันและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ประจำปี งบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กระทรวงการคลัง.
ปาริชาติ คำคม. (2552). ความต้องการบริการด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
สิริกันยา ปานพ่วงศรี. (2553). การจัดสวัสดิการของภาครัฐแก่ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.
Thomas R. Dye, (1984). Understanding Public Policy. New Jersey: Prentice Hall.
Thompson, Steven K. (1990). Adaptive Cluster Sampling. The American Statistical Association, 85(412), 1050 – 1059.
Edwards, G.C, (1980). Implementing Public Policy. Washington D.C.: Confessional Quality Press.
Mazmanian and Sabatier.(1989). Theories: An Interdisciplinary Approach. Ohio: South Western USA.