ประสิทธิผลการป้องกันภัยพลเรือน ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

กฤษณะ ทองสุก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อประเมินระดับประสิทธิผลการป้องกันภัยพลเรือน ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการป้องกันภัยพลเรือน ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและประสิทธิผลการป้องกันภัยพลเรือน ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 386 คน ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สันผลการวิจัย (1) ด้านระดับประสิทธิผลการป้องกันภัยพลเรือน ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ด้านการเปรียบเทียบประสิทธิผลการป้องกันภัยพลเรือน ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีอาชีพ และระยะเวลาที่อาศัยในชุมชนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการป้องกันภัยพลเรือนแตกต่างกัน และ (3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและประสิทธิผลการป้องกันภัยพลเรือน ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน. กรุงเทพฯ: ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกลาง.

กฤษณพล พัฒนาศูนย์. (2558). ประสิทธิผลการปฏิบัติงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลไชยราช จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ธนกิจ สุขสันติดิลก. (2559). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ของเทศบาลตำบลอุทัย อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ธัญญลักษณ์ อุ่นใจ. (2560). ประสิทธิผลการจัดการเครือข่ายงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยของเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พันจ่าโทประมวล สุขพอ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ของเทศบาลตำบล ในจังหวัดปราจีนบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

วสันต์ วทัญญ. (2558). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการ ให้ความช่วยเหลือของงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วาสนา นิลคูหา. (2559). ประสิทธิผลการบริหารจัดการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

สถิตย์ แพงแพง. (2560). ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ล้อม อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุรวิทย์ ประมวลทรัพย์. (2558). ประสิทธิผลการบริหารงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

หฤษฎ์ ศักดิ์แสงไทย. (2558). การบริหารเพื่อเพิ่มศักยภาพงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

Henri Fayol. (1916). General and industrial management. London: Sir Isaac Pitman and Son.

Yamane, T. (1973). Statistic : An introductory analysis. New York: Harper and Row.