ประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โคโรนา ไวรัส 19 ของเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประเมิน ประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนา ไวรัส 19 ของเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โคโรนา ไวรัส 19 (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนา ไวรัส 19 ของเทศบาลเมืองหัวหิน ที่มีผลต่อประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนา ไวรัส 19 ของเทศบาลเมืองหัวหิน
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชน ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 350 คนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนา ไวรัส 19 ของเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์อยู่ในระดับมาก (2) ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนา ไวรัส 19 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากรด้าน เพศ อายุ และ การศึกษา (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโคโรนา ไวรัส 19 ของเทศบาลเมืองหัวหิน ที่มีผลต่อประสิทธิผลการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โคโรนา ไวรัส 19 ของเทศบาลเมืองหัวหินเป็นเชิงบวก ที่ระดับปานกลางค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กันตยา เพิ่มผล. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ชาคริต ศึกษากิจ. (2556). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชา PAD 6201 องค์การและนวัตกรรมในองค์การ Organizations and the Innovation. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพร แจ้งใจบุญ. (2553). การบริหารจัดการด้านการควบคุมและการตรวจสอบการให้บริการประชาชนของกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง. (วิทยานิพนธ์บริหารรัฐกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สรชัย พิศาลบุตร. (2544). วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยาพัฒน์.
สุวัฒน์ กันภูมิ. (2559). ประสิทธิผลในการบริหารของฝ่ายบริหารทรัพย์สิน การรถไฟแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
Ailsa Cameron, et al. (2020). Exploring the role of volunteers in social care for older adults. Quality in Ageing and Older Adults, 21(2), 129-139.
Cronbach Lee J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York : Harper and Row Publishers.
Fayol, H. (1967). General and Industrial management. New York : Pittnans Publishing Corporation.
Gulick, L., and Urwick, L. (1937). Paper on the science of administration. New York: Institute of Public Administration.
Robbins, S. P. (1994). Essentials of organizational vehavior. (4th ed.). Englewood Cliff, N.J: Prentice - Hall.
Robbins, S. P. (1997). Essentials of Organization Behavior. (5th ed.). Upper Saddle, N.J : Prentice - Hall International.
Yamane, T. (1973). Statistic : Introduction Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.