ความสำเร็จของการนำนโยบายการจัดการปัญหาน้ำประปาเพื่อประชาชนไปปฏิบัติ เทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

นพดล มีประวัติ

บทคัดย่อ

 


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สี่ประการ 1) เพื่อประเมินความสำเร็จของการนำนโยบายการจัดการปัญหาน้ำประปาเพื่อประชาชนไปปฏิบัติของเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์                                                   2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อความสำเร็จต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติจำแนกตามลักษณะประชากร 3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติกับความสำเร็จของการนำนโยบายการจัดการปัญหาน้ำประปาเพื่อประชาชนไปปฏิบัติของเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 4) เพื่อพยากรณ์ความสำเร็จของการนำนโยบายการจัดการปัญหาน้ำประปาเพื่อประชาชนไปปฏิบัติของเทศบาลเมืองหัวหิน อำเภอหัวไปปฏิบัติจากปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติ


         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในอำเภอชะอำ จำนวน 396 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ความแปรปรวนทางเดียว สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสมการถดถอยเชิงพหุคูณ


           ผลการวิจัย 1) ความสำเร็จของการนำนโยบายการจัดการปัญหาน้ำประปาเพื่อประชาชนไปปฏิบัติ พบว่า อยู่ในระดับมาก 2) ด้านการเปรียบเทียบความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีทัศนะที่แตกต่างกันต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการจัดการปัญหาน้ำประปาเพื่อประชาชนไปปฏิบัติ เมื่อจำแนกด้วยลักษณะประชากรด้าน อาชีพและการศึกษา 3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติกับความสำเร็จของนโยบายการจัดการปัญหาน้ำประปาเพื่อประชาชนไปปฏิบัติ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญ และ 4) ด้านการพยากรณ์ความสำเร็จของนำนโยบายไปปฏิบัติจากปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จพบว่าสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 59.60

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มั่น คงดี. (2553). ความสำเร็จของการนำนโยบายการส่งเสริมปลูกยางพาราไปปฏิบัติจังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

เมธา ยุทธนาโยธิน. (2550). การนำนโยบายการกำจัดขยะมูลฝอยไปปฏิบัติ: ศึกษาเฉพาะกรณี เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยงยุทธ ศักดิ์ชัยพานิชกุล. (2547). อนาคตสังคมไทยและทิศทางที่ควรเป็น. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์, 44(1),147-166.

รัฐกร กลิ่นอุบล. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคกลา. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒบพิธรัตนบุรี.

วรรณา จีรุพันธ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีนโยบายแก๊สโซฮอล์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร เขียวไสว. (2550). การนํานโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติกรณีศึกษาองคการบริหาร สวนตําบลวังยาง จังหวดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2542). การมีสวนรวมของชุมชนทองถิ่นในการบริหารจัดการดานการทองเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพมหานคร: แอลทีเพรส.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2546). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สรชัย พิศาลบุตร. (2550). การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์

สุภาพร เนตรเขียน. (2544). มาตรการทางกฎหมายในการรักษาคุณภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาตอนลาง:ศึกษาเฉพาะกรณีน้ำเสียจากชุมชน (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.