ความสำเร็จของการนำนโยบายการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์รับส่งข้อมูลกรมที่ดินต่างสำนักงานมาให้บริการประชาชนของสำนักงานที่ดินจังหวัดลำพูน สาขาป่าซาง

Main Article Content

ดาริน วงษ์จันทร์
วรสิทธิ์ เจริญพุฒ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินความสำเร็จในการนำนโยบายการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์รับส่งข้อมูลกรมที่ดินต่างสำนักงาน ไปปฏิบัติ (2) เปรียบเทียบความสำเร็จของการนำนโยบายการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์รับส่งข้อมูลกรมที่ดินต่างสำนักงาน ไปปฏิบัติ จำแนกด้วยลักษณะประชากรของกลุ่มตัวอย่าง (3) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติกับ ความสำเร็จของการนำนโยบายการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์รับส่งข้อมูลกรมที่ดินต่างสำนักงาน ไปปฏิบัติ


          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ที่ใช้บริการจำนวน 360 นาย เป็นตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความเบี่ยงเบน สหสัมพันธ์ เพียร์สัน


          ผลการวิจัย (1) ความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติจำแนกด้วยลักษณะประชากร มี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์เชิงบวก กับความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมที่ดิน. (2559). วิสัยทัศน์/พันธกิจกรมที่ดิน. ค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2562, จาก www.dol.go.th/Pages/วิสัยทัศน์กรมที่ดินพันธกิจกรมที่ดิน

บัวลี มณีแสน. (2560). การประเมินการให้บริการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานที่ดินจังหวัดหนองคาย. วารสารสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 591-606.

มยุรี อนุมานราชธน. (2549). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรษมา เบนนอ. (2561). คุณภาพการให้บริการในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมกรมที่ดิน : กรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร.

วัชรินทร์ จุลเอียด, เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2019). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำข้อบังคับกรมที่ดินว่าด้วย จรรยาข้าราชการกรมที่ดิน พ.ศ. 2552 ไป ปฏิบัติ : กรณีศึกษา สำนักงานที่ดิน ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 32-52.

ศรีสมรัก อินทุจันทร์ยง. (2549). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์. (2553). คุณลักษณะนโยบายสาธารณะ. ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2562, จาก https://bps.moph.go.th approached Aug 3rd

ศูนย์ปฏิบัติการกรมที่ดิน. (2558). โครงการประเมินผลความสำเร็จของโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดิน ระยะที่ 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สานิตย์ กายาผาด, ไชยา ภาวบุตร, และสุรศิลป์ มูลสิน. (2542). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

สำรุ่งทิวา เงินปัน. (2562). การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนา การให้บริการประชาชน : กรณีศึกษาระบบสารสนเทศ ที่ดินของกรมที่ดิน. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 11(2),538-599.

สุชาดา กีระนันท์. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศทางสถิติ : ข้อมูลในระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.