ความสำเร็จของการนำนโยบายสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เทศบาล ตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

กิ่งแก้ว อ่วมองอาจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาความสำเร็จของการนำนโยบายสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จของการนำนโยบายสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ไปปฏิบัติจำแนกด้วยลักษณะประชากรของกลุ่มตัวอย่าง (3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุไปปฏิบัติกับความสำเร็จของการนำนโยบายสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ไปปฏิบัติ (4) เพื่อพยากรณ์ความสำเร็จของการนำนโยบายสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรีไปปฏิบัติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลตำบลบ้านลาด จำนวน 253 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ เพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสำเร็จของการนำนโยบายสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี อยู่ในระดับสูง (2) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะประชากรด้านอาชีพ มีความคิดเห็นต่อความสำเร็จของการนำนโยบายสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุไปปฏิบัติ ไม่แตกต่างกัน (3) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการนำนโยบายสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุไปปฏิบัติมีสามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการนำนโยบายสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุไปปฏิบัติได้เกินร้อยละ 88.2

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชำนาญ แตงทอง. (2553). ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของผู้สูงอายุในเขตชนบท จังหวัดสุพรรณบุรี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

นิตประภา แก้วกระจ่าง. (2550). การประเมินโครงการกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในหมู่บ้านและชุมชนเมือง (เบี้ยยังชีพ) กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บัญชา ผลานิสงค์. (2553). การนำนโยบายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน จังหวัดชลบุรี. ค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2562, จาก shorturl.asia/I1T5g

ประสิทธิ์ วิชัย และภัทรธิดา ผลงาม. (2559). การวิจัยและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนการจัดสวัสดิการชุมชน กรณีศึกษาในชุมชนตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562, จาก shorturl.asia/1fV39.

ปาริชาติ คำคม. (2552). ความต้องการบริการด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี. ค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2562, จาก shorturl.asia/w9Fus.

แผนนโยบายด้านผู้สูงอายุ. (2552). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 - 2564). ค้นเมื่อ 16 เมษายน 2562, จาก shorturl.asia/68pzt.

ระพีพรรณ คำหอมและคณะ. (2552). การประเมินโครงการบริการสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 16 เมษายน 2562, จาก shorturl.asia/7zcP1.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2550). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2556). หลักการวิจัยทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วิภา ธูสรานนท์. (2550). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิยะดา ตีระแพทย์. (2551). การนำนโยบายถ่ายโอนงานสวัสดิการสังคมสู่การปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล. ค้นเมื่อ 16 เมษายน 2562, จาก shorturl.asia/nWJxS.

ศิริพร เขียวไสว. (2550). การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง จังหวัดสุพรรณบุรี. ค้นเมื่อ 16 เมษายน 2562, จาก shorturl.asia/PA9gG.