การเปรียบเทียบผลการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมบทเรียนกับการเรียนแบบร่วมมือโดยการสอนปกติ เรื่อง สมการและการแก้สมการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ระลึก ภูปะแป้ง
สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ
พัฒนานุสรณ์ สถาพรวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาโปรแกรมบทเรียน เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75(2) หาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน ที่พัฒนาขึ้น (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้ปญั หา ระหว่างนักเรียนที่เรียนแบบร่วมมอื โดยใช้โปรแกรมบทเรียน กับนักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือโดยการสอนปกติ และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมบทเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนหนองใหญ่วิทยา อำเภอหนองกุงศรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 60 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองเรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมบทเรียนและกลุ่มควบคุมเรียนแบบร่วมมือโดยการสอนปกติ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) โปรแกรมบทเรียน (2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยการสอนปกติ (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา และ (5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมบทเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Independent sampling) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้โปรแกรมบทเรียนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 82.96/78.58

2. ดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียนที่พัฒนาขึ้น เท่ากับ 0.6344 นักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมบทเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือโดยการสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนแบบร่วมมือโดยการใช้โปรแกรมบทเรียนโดยรวมระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจมากที่สุด 7 ข้อ คือเนื้อหาสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาจากโปรแกรมบทเรียน ภาษาที่ใช้ ถูกต้อง เหมาะสม ความเหมาะสมของเสียงดนตรี ภาพกับเสียงมีความสัมพันธ์กัน ความเหมาะสมของแบบและขนาดตัวอักษร และตรงตามสาระการเรียนรู้ของสื่อที่นำเสนอ นอกนั้นอยู่ในระดับมาก 13 ข้อ

คำสำคัญ : การเรียนแบบร่วมมือ โปรแกรมบทเรียน

 

ABSTRACT

The purposes of this study were : (1) to develop a courseware on “Equation and Solving of Equation” with a required efficiency of 75/75, (2)to find out an effectiveness index of the develop courseware, (3) to compare learning achievement and learning mathematical problem solving skills by courseware and traditional method within cooperative learning context, and (4) to study students’ satisfaction with the develop courseware. The sample used in this study consisted of 60 students selected by the purposive sampling technique from two classroom of Nongyaiwittaya School in Amphoe Nongkungsri under the Office of Kalasin Educational Service Area Zone 2 in the first semester of the academic year 2009. The students were divided through the Simple random sampling technique into two groups : the experimental group learned using courseware and the control group learned using traditional method. The instruments used in this study included ; (1) a courseware on “Equation and Solving of Equation” for Prathomsuksa 6, (2) learning plans for the control group, (3) the learning achievement test on “Equation and Solving of Equation”, (4) the learning mathematical problem solving skills test on “Equation and Solving of Equation” ,and (5) the questionnaire on students’ satisfaction with learning through the developed courseware. The statistics used for analyzing data were percentage, mean, and standard deviation: t-test was employed for testing hypotheses.

The results of the study were as follows :

1. The developed courseware on “Equation and Solving of Equation” for Prathomsuksa 6 showed an efficiency of 82.96/78.58

2. The developed courseware on “Equation and Solving of Equation” for Prathomsuksa 6 showed an effectiveness of .6344 show that the students progressed their learning at 63.44

3. The students learning using courseware and the students learning using the traditional method showed learning achievement differently (P < .05).However, the students learned using the courseware indicated more learning retention than the other students at the .05 level of significance.

4. The students learning using courseware and the students learnin gusing the traditional method showed learning mathematical problem solving skills differently (P< .05). However, the students learned using the courseware indicated more learning retention than the other students at the .05 level of significance.

5. The students showed their satisfaction with learning through the courseware as a whole at a more level. In conclusion, the developed courseware on “Equation and Solving of Equation” for Prathomsuksa 6 were appropriately efficient, effective and mathematical problem solving skills. It could be implemented in learning and teaching in order to facilitate to achieve the expected objective of the course.

Keywords : cooperative learning context, courseware

Article Details

Section
บทความวิจัย