การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ของนิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารที่พัฒนาขึ้น 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญจากการสอนรายวิชาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 3) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตปริญญาโทที่มีต่อคุณภาพการสอนของอาจารย์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และ 4 ) ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จผลการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของการเรียนการสอน กลุ่มผู้ร่วมวิจัย คือนิสิตปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2552 ศูนย์ศรีสะเกษ จำนวน 46 คน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยประยุกต์ใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้ควบคู่กับแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หนังสือชุดวิชาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น วีดิทัศน์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .20-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .80 แบบบันทึกหลังการปฏิบัติ แบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อคุณภาพการสอนของอาจารย์ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .75 และประเด็นการสนทนากลุ่มในการวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จผลการจัดการเรียนรู้รายวิชา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผลและค่า t-test แบบ Dependent ผลการวิจัย พบดังนี้
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทีพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบหลัก คือ การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มี 6 ขั้น และแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มี 13 กิจกรรมย่อย ประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า (1) ความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติทีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (2) ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก กับแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่มีองค์ประกอบหลัก คือ การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 6 ขั้นตอน และใช้ควบคู่กับแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 21 กิจกรรมย่อย เป็นรูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) แผนดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่พัฒนาขึ้นโดยรวมมีประสิทธิภาพของกระบวนการต่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์เท่ากับ 84.86/78.03 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการปฏิบัติโดยรวมมีค่าเท่ากับ .5392 ซึ่งแสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนร้อยละ 53.92 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระหว่างหลังเรียนกับก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .054) ความคงทนในการเรียนรู้หลังจากการสอนไปแล้ว 2 สัปดาห์ ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยระหว่างหลังเรียนแล้ว 2 สัปดาห์กับหลังเรียนแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05แสดงว่ามีความคงทนต่อการเรียนรู้
3. ความพึงพอใจของนิสิตปริญญาโทที่มีต่อคุณภาพการสอนของอาจารย์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ในรายวิชาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านคุณลักษณะของอาจารย์ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านทักษะการสอนของอาจารย์ (ทฤษฎี) ด้านเนื้อหา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนิสิต ด้านทักษะการสอนของอาจารย์(ปฏิบัติ) เรียงตามลำดับ ส่วนด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
4. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผลการจัดการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลลัพธ์ หลังจากใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมควบคู่กับแผนดำเนินงานกิจกรรมการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานการกำหนดความต้องการ เป้าหมาย การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ในรายวิชาตั้งแต่เริ่มแรก 2) ความตระหนักรู้สึก นึกคิดเจตคติที่ดี มีความรับผิดชอบต่อรายวิชาที่เรียนทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม 3) มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุตามข้อตกลงร่วมกันที่วางไว้ 4) บรรยากาศในการเรียน อาจารย์ผู้สอนเป็นอำนวยความสะดวก กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่รอบด้านทั้งโปรแกรม มีหนังสือชุดวิชา สื่อ เครื่องมือการศึกษาค้นคว้า การบันทึกหลักการปฏิบัติ (AAR) และมีตัวอย่างกรณีศึกษาจากรุ่นพี่ๆ เพื่อเทียบคุณภาพของงาน 5) ประเมิน สรุปการดำเนินงาน ในผลลัพธ์จากรูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต่อผู้เรียนจริงทั้งภาคความรู้ ความรู้สึก และทักษะการปฏิบัติงานภาคสนาม 6) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และเครือข่ายการเรียนรู้เกิดชุดความรู้ที่ผ่านการปฏิบัติ
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, การเรียนรู้จากการปฏิบัติ, การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
Abstract
The Purposes of this study were to: 1) develop a model of learning from learner-centered action of Master of Education degree Program in Educational Administration students, 2) examine effects of using the model of learning from learner-centered action from teaching the education Provision for Local Development Course, 3) examine the Master of Education Program students’ satisfaction with the quality of teaching of the instructor and with the teaching aids, and 4)examine factors of success of results of learning from learner-centered action of learning and teaching. A group of research participants consisted of 46 Master of Education degree Program in Educational Administration students enrolled at Si Sa Ket Educational Service Center in the first semester of the academic year2009. The research methodology used was the research and development research by applying participatory action research together with plans for organization of learning activities, a series of book in supplement to Education Provision for Local Development Course, Video, an achievement test with discriminating powers ranging .20-1.00 and a reliability of .80, an after action review, note-taking from, a questionnaire on student’s satisfaction with instructor’s teaching quality, and issues of focus group discussion on an analysis of factors of success in organization of learning of the course. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, effectiveness index, and t-test were as follows:
1. In developing the model of learning from learner-centered action by implementing the methods of learning by action of Marquardt(1999) in developing plans for learning together with learner-centered action, and development of learning from learner-centered action of Chantarasombat (2009) in analyzing and making stages of participatory action research and plans for organization of learning activities through 5 experts, the following were found: (1) The model of learning from learner-centered action as a whole was appropriate at the highest level. (2)The practical feasibility of the model of learning from learner-centered action as a whole was appropriate at the highest level. (3) The congruence of the model of learning from learner-centered action together with the plans for organization of learning activities was also appropriate at the highest level.
2. For the efficiency of the model of learning from learner-centered action in participatory action research at 6 stage and using the model together with organization of learning activities in 13 sub activities, the following were found: 1) The efficiency of the developed plans for learning from learner-centered action as a whole was 84.86/78.14 which was in conformity with the standard established requirement of 80/80. 2) The effectiveness index of the plans for learning from learner-centered action as a whole was .5392, showing that the learner increased their knowledge from before learning at 53.92 percent. 3)The learners’ learning achievement mean scores before and after learning were different at the .05 level of statistical significance. 4) After learning and 2 weeks after learning the learners had different learning retention mean score at the.05 level of statistical significance, showing that the learners still had learning retention.
3. The Master of Education Program students’ satisfaction with the instructor’s teaching quality and learning aids in the Education Provision for Local Development Course as a whole was at the highest. When each aspect was considered, it was found that their satisfaction was also at the highest level in each of these aspects: content, instructor’s teaching skills(in theory),instructor’s teaching skills(in practice) instructor’s characteristics, measurement and evaluation, instructor-student relationship, and learning aids respectively.
4. After using participatory action research together with plans for organization of learning activities, there were 6 major factors of success of the results of organization of learning from learner-centered action: 1) participation in action, determining needs, goals, and measurement and evaluation of learning in this course from the beginning; 2) awareness, positive attitudes, responsibility for the course being learned in individual and group work; 3) intention to act to achieve the established agreement; 4) learning climate, the instructor being facilitator to stimulate learning in all sides throughout the program, having series of course books, media and tools for study, note-taking on accounts of after action review(AAR), having examples of case studies from the previous batches of students to comp are the quality of works; 5) evaluation, summarization of work operation in the results from the model of learning from real learner centered action for learners in knowledge, feelings and skills in field study; and6) learning sharing among learners, instructor and learning network to generate the set of knowledge through practice.
Keywords : developing a model, learning from action, learner-centered learning and instruction