ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความมีประสิทธิผลเชิงระบบในการดำเนินงานของ คณะกรรมการสถานศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

อำนาจ ชนะวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบายมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษาหาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความมีประสิทธิผลเชิงระบบในการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์ย่อยคือ ศึกษาความเหมาะสมและข้อเสนอเพื่อปรับปรุงองค์ประกอบ คุณสมบัติ กระบวนการสรรหา อำนาจหน้าที่ และบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาตลอดจนศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไข คุณภาพการบริหารและการจัดการของโรงเรียนในจังหวัดกาฬสินธุ์ และเพื่อหาข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อความมีประสิทธิผลเชิงระบบในการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์โดยได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ในระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายจากการออกแบบสอบถามจำนวน 2 ชุด สำหรับกรรมการสถานศึกษา และครู ระยะที่ 2เป็นการวิเคราะห์และตรวจสอบข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ จากผลการวิจัยได้ข้อเสนอเชิงนโยบายดังนี้ (1) วาระในการดำรงตำแหน่ง ครั้งละ 4 ปี แต่ไม่เกิน2 วาระติดต่อกัน ควรเปลี่ยนเป็นไม่จำกัดวาระการดำรงตำแหน่งเพราะงานของกรรมการสถานศึกษา เป็นงานที่ทำประโยชน์ให้ชุมชนโดยไม่หวังผลประโยชน์ส่วนตน (2) คุณสมบัติผู้ที่จะเป็นกรรมการไม่ควรกำหนดเฉพาะสัญชาติไทย ควรเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติที่มีภูมิลำเนาในเมืองไทย ที่มีความรู้ความสามารถได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานของคณะกรรมการ (3) ควรมีการกำหนดจำนวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาให้ชัดเจน (4) เร่งรัดให้มีการบริหารที่ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นเพื่อให้เกิดความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ และตรวจสอบการดำเนินงานของโรงเรียน

 

Abstract

The major purpose of this study was to find out policy recommendations for systematic effectiveness in operation of the Basic Education Committee: A case of Kalasin Province, and minor purposes were: to examine appropriateness and recommendations for improving factors, qualifications, selecting process, authorities, and roles of the Basic Education Committee; and to investigate problems and guidelines for solving them, quality of administration of schools in these areas, and to find out policy recommendations for systematic effectiveness in operation of the Basic Education Committee: A case of Kalasin Province. The study was divided in to 2 phases. Phase 1, developed a draft of policy recommendations from 2 questionnaires for the Basic Education Committee members, and school teachers. Phase 2, analyzed and checked the policy recommendations by meetings with qualified person. From the results of this study, the following policy recommendations were obtained: (1) The period of 4 years in position, but limited not more than 2 terms continue, should be changed to be unlimited term, because this position is non profit and would be beneficial for community. (2) To allow qualify foreigner to be consultants. (3) Each Basic Education Committee should determine clear schedules for meetings. (4) Provide Authority to generate cooperation between the community and school as well as to evaluate school operating.

Article Details

Section
บทความวิจัย