ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้ปัจจัยกาหรบริหารโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันและโรงเรียนทั่วไป (2) เพื่อค้นหาปัจจัยการบริหารที่สามารถจำแนกโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันออกจากโรงเรียนทั่วไปและ (3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารสำคัญที่สามารถจำแนกโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันออกจากโรงเรียนทั่วไป กลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้มีจำนวน 640 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน รองผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และผู้แทนครูในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันจำนวน 40 โรงเรียน โรงเรียนทั่วไปจำนวน 40 โรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มโดยวิธีแต่ละขั้นตอน (Stepwise Method)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการบริหารของโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน อยู่ในระดับมาก ส่วนโรงเรียนทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วยปัจจัยการบริหาร 3 ปัจจัย ได้แก่ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการบริหาร และวัฒนธรรมโรงเรียน ซึ่งใช้จำแนกความเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันออกจากโรงเรียนทั่วไปได้ แนวทางพัฒนาปัจจัยที่สำคัญคือภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ การกำหนดคุณลักษณะภาวะผู้นำ การเตรียมการพัฒนาการพัฒนาลักษณะภาวะผู้นำ การประเมินผลการพัฒนา การปรับปรุงและแก้ไข และการประเมินผลการดำเนินการทั้งหมด ซึ่งแต่ละขั้นตอน มีรายละเอียดเกี่ยวกับสาระการพัฒนาจุดประสงค์เฉพาะ วิธีการพัฒนาและการประเมินผล
คำสำคัญ : ต้นแบบ, โรงเรียน, การบริหาร
Abstract
The purposes of this research were (1) to study using the administrative factors of the mastership model of lab schools and the regular schools, (2) to find out the administrative factors that can differentiate the mastership model of lab schools from the regular schools and (3) to find guidelines for developing the significant factors that can be used to differentiate the mastership model of lab schools from those of the regular ones. The 640 sample groups comprised of school administrators , deputy school directors , heads of departments, representatives of teachers in the Basic Education School Communities who worked in 40 lab schools and 40 regular schools in Nakhonratchasima,Chaiyapoom, Surin and Buriram. The data were collected using the questionnaires. The data were analyzed by the computer program to find mean, standard deviation and stepwise.
The results of this study were as follow: these were the administrative factors of lab schools was in the high level, which that of the regular schools was in the moderate level. Furthermore, the administrative factors that can differentiate the lab schools from the regular ones were the transformation leadership, the administration behaviors, and the school cultures. The transformational leadership was the main factors to be developed by using 7 steps of training. The administrative factors were the mastership factors that can differentiate the master model of lab schools from the regular schools. The seven steps were the leadership ideas, the characteristics of leadership, preparation of the development, the developing, the evaluating the development, the improving and correcting, the evaluating all the outcomes. Finally, every step has its content of development, objective for developing, process of development and assessment.
Keywords : mastership model, school, administrative