การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ

Main Article Content

สมานจิต ภิรมย์รื่น
ปัณณธร ชัชวรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

คุณภาพการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่สถานศึกษาต้องพัฒนาให้มีขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ หาวิธีปฏิบัติที่ดีของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ และเพี่อกำหนดวิธีปฏิบัติการปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผ่านการประเมินคุณภาพรอบที่สองจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา และมีการประกาศผลการรับรองอย่างเป็นทางการอยู่ในระดับดีถึงดีมาก จำนวน 42 โรงเรียน ดำเนินการวิเคราะห์สาระหาวิธีปฏิบัติที่ดีของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และตรวจสอบแนวทางการปฏิบัติในการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิด้านคุณภาพการศึกษา ปรับแก้ไขแนวทางการปฏิบัติที่ดีตามข้อเสนอแนะให้สมบูรณ์ ผลการวิจัยปรากฏว่า ผลการกำหนดแนวทาง การปฏิบัติที่ดีโดยเทียบเคียงกับเกณฑ์คุณภาพที่เป็นเลิศ พบว่า (1) การวางแผนกลยุทธ์ การจัดการกระบวนการ ได้แก่ การออกแบบและกระบวนการจัดการศึกษา การบริการสำหรับผู้เรียน และกระบวนการสนับสนุน โรงเรียน มีวิธีปฏิบัติที่ดีเมื่อเทียบเคียงกับเกณฑ์คุณภาพที่เป็นเลิศ (2) ภาวะผู้นำ ได้แก่ ภาวะผู้นำขององค์กร และความรับผิดชอบต่อสังคมและประชากร (3) นักเรียนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความต้องการของสังคม ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับนักเรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความต้องการและความคาดหวังของตลาด และความสัมพันธ์ และความพึงพอใจของนักเรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (4) การมุ่งเน้นครูและบุคลากรสายสนับสนุน ได้แก่ ระบบการทำงาน การให้การศึกษา การฝึกอบรมและการพัฒนาครูของบุคลากรสายสนับสนุน และความผาสุกและความพึงพอใจของครูและบุคลากร ยังต้องพัฒนาตามแนวทางที่นำเสนอเพี่อให้โรงเรียนมีคุณภาพการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดี (5) การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ได้แก่ การวัดผลการดำเนินงานและการจัดการข้อมูล ควรต้องพัฒนาให้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะสามารถส่งเสริมคุณภาพการค์กษาทั้งภายในหน่วยงานเดียวกัน หรือเทียบเคียงกับเกณฑ์คุณภาพที่เป็นเลิศ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงแนวทางการปฏิบัติในองค์กรให้เป็นองค์กรทีมีคุณภาพ และประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ : กระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ คุณภาพการคีกษา

 

Abstract

Education quality is an important thing to be developed by every educational institution. This study aimed to analyze and find out best practices of secondary schools in northeast Thailand using the benchmarking process, and to determine best practices for developing education quality of secondary schools in northeast Thailand using the benchmarking process. Data were collected using interviews with directors, deputy directors, learning strand heads, and teachers from 42 secondary schools in northeast Thailand, which had passed the second quality assessment by the Office of the National Education Standard and Quality Assessment (ONESQA) (Public Organiza­tion), and the results of certification were officially announced to be at good and excellent levels. The contents were analyzed to find out the best practices of the secondary schools, to determine guidelines for best practices for developing education quality and to examine guidelines for practices in holding meetings for qualified persons in terms of education quality, and to improve the guidelines for best practices based on the recommendations for completeness. The study findings revealed the following. For the results of determining guidelines for best practices by comparing with the excellent quality requirements, the following were found: (1) In strategic planning, the process organization including design and education provision process, services for learners, and the school support process had best practices when compared with the excellent quality requirements. (2) Leadership included organiza­tional leadership and responsible for the community and people. (3) Students, stakeholders, and social needs included: knowledge concerning students, stakeholders, market needs and expectations, and relationships and satisfaction of the students and stakeholders. (4) Emphases on teachers and support-line personnel included: work system: providing education, training and development to teachers of the support-line personnel, and happiness and satisfaction of teachers and personnel. Also, there must be development according to the guidelines presented for schools to have good education quality and learning achievement. (5) Measurement, analysis and knowledge management included: measurement of operational outcomes and information manage­ment. These things must be developed to have systematic operation. The study findings indicate the benchmarking process which can promote education quality within the same agency and can compare with the excellent quality requirements to have change in the guideline for performance in the organization to be quality organization and to be well successful in operation.

Keywords: benchmarking process, best practices, education quality

Article Details

Section
บทความวิจัย