การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

Main Article Content

ลดาวัลย์ ภูมิชัยศักดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาการ จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอน โรงเรียนเพชรพิทยาสรรค์ จำนวน 26 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอน โรงเรียนเพชรพิทยาสรรค์ช่วงชั้นที่ 4 จำนวน 22 คน ระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาการจัดการ เรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนเพชรพิทยาสรรค์ ช่วงชั้นที่ 4 จำนวน 22 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนที่เรียนช่วงชั้นที่ 4 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน แบบประเมิน แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดเจตคติต่อการนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม การคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัย พบด้งนี้

ระยะที่ 1 สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนากระบวนการ คิดวิเคราะห์ของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

ระยะที่ 2 รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนากระบวนการการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มุ่งพัฒนาครู 3 ด้าน คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ การฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ให้แก่ ครูผู้สอน และความรู้เกี่ยวกับการสอนคิดวิเคราะห์ โดยมีขั้นตอนการพัฒนา 6 ขั้น คือ การเตรียมความพร้อม การเสนอสถานการณ์ปัญหา การฝึกการคิดเป็นรายบุคคล การฝึกการคิดเป็นกลุ่มย่อย การนำเสนอหรืออภิปรายผล การคิด และการประเมินกระบวนการคิด

ระยะที่ 3 ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ปรากฏผล ดังนี้

1) ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามรูปแบบดังกล่าว มีคะแนนเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01

2) ครูผู้เข้ารับการอบรมตามรูปแบบดังกล่าวสามารถจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ได้ใน ระดับคุณภาพดีมาก จำนวน 13 คน และระดับดี จำนวน 9 คน

3) ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีเจตคติต่อการนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพี่อพัฒนากระบวนการ คิดวิเคราะห์ของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด

4) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยด้านการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้, กระบวนการคิดวิเคราะห์

Article Details

Section
บทความวิจัย