การบริหารสถาบันการอาชีวศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติ การอาชีวศึกษา 2551

Main Article Content

นฤมล ดวงแสง
สมาน อัศวภูมิ
อัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การบริหารสถาบันการอาชีวศึกษาภายใต้พระ ราชบัญญัติการอาชีวศึกษา 2551พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาคือเขตจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ประกอบด้วย จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัด อำนาจเจริญ และจังหวัดยโสธร การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่าสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขต จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 มีสภาพปัจจุบันปัญหาในการปฏิบัติ ด้านแนวทางการจัดการศึกษา ด้านแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน และด้านการประสาน ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการอยู่ในระดับปานกลางส่วนด้านงบ ประมาณสนับสนุนด้านองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการบริหารที่มีประสิทธิผล ด้านการควบคุม คุณภาพ และมาตรฐานการอาชีวศึกษา ด้านเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนและด้านการ จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาอยู่ในระดับมาก ส่วนความต้องการมีความต้องการในระดับ มาก ทุกด้าน ปัญหาสำคัญที่พบคือขาดการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดการ อาชีวศึกษาโดยเฉพาะความร่วมมือกับสถานประกอบการ ขาดความร่วมมือในการวางแผน ผลิตและพัฒนากำลังคนระดับอาชีวศึกษาขาดกฎหมายรองรับการจัดการอาชีวศึกษาและ การฝึกงาน และความต้องการที่สำคัญคือต้องการให้มีการจัดตั้งองค์ประกอบคณะกรรมการ สัดส่วนและหน้าที่คณะกรรมการที่มาของคณะกรรมการ กระบวนการดำเนินงาน ประกอบ ด้วยการวางแผนการจัดองค์การ การอำนวยการและการควบคุม องค์ประกอบหลักในการ บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา ที่มีประสิทธิผลมี 8 ด้าน คือ 1) ด้านแนวทางการจัดการศึกษา 2) ด้านแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน 3) ด้านการประสานความร่วมมือระหว่างสถาน ศึกษากับสถานประกอบการ 4) ด้านงบประมาณสนับสนุน 5) ด้านองค์ประกอบ ที่ส่งผลต่อ การบริหารที่มีประสิทธิผล 6) ด้านการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานการอาชีวศึกษา 7) ด้านเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อน และ 8) ด้านการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา การส่งเสริม การดำเนินงานคือ การให้ความก้าวหน้า กับบุคลากรการสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายใน การบริหารงานจากส่วนกลาง และการจัดสรรงบสนับสนุนส่งเสริมจากสถานประกอบการและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา

ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถาบันการอาชีวศึกษาที่พัฒนาขึ้น ในภาพรวม พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการของสำนักงานคณะกรรมการการ อาชีวศึกษาให้ความเห็นว่ารูปแบบการบริหารสถาบัน การอาชีวศึกษาที่มีประสิทธิผลมีความ เหมาะสมและมีความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุดในการนำไปใช้เพื่อบริหารสถาบันการอาชีวศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : การบริหารสถาบันการอาชีวศึกษา

 

Abstract

l Education under the Vocational Education Act. 2551 area of study is the establishment of ocational institutions consisting of northeast 5 job. Si Sa Ket province. Arithmetic. And Yasothon. The data were collected. In-depth interviews, focus groups and questionnaires. The data were analyzed frequency, percentage, mean, standard deviation and analysis of content.

Schools under the Office of Vocational Education in the Institute. Vocational Northeast 5. There are problems in the way of education. The production plan and manpower development. And collaboration between schools and enterprises in the medium of the budget support component that affects management effectiveness. The quality control. And the standard of education. The conditions necessary for the drive and the Institute of Vocational Education at a high level. The requirements are to a large extent, all the major problems encountered is the lack of participation of stakeholders involved in management education, especially the cooperation with enterprises. Lack of cooperation in the planning and development of the vocational education and lack of legal support and training is important and needs to establish the proportion and function of the Board of Directors. The process includes planning, organizing. Directing and controlling. A key component in the management of vocational institutions. The effectiveness of the eight areas: 1) the approach to education, 2) the development of manpower plans and 3) the collaboration between the school and the establishment of four) of budget support, 5) element. That affect the administration, effectiveness, 6) the quality control. And standards of vocational 7) the conditions necessary to drive and 8) the establishment of vocational institutions. To promote the implementation is. To make progress. Personnel to support the cost of central administration. And allocation of financial support from the establishment and promotion agencies involved.Invocationaleducation.

Evaluation management model developed by the Institute of Vocational Education. In general, the experts and the policy of the Office of Vocational Education Commission of the opinion that the administrative institutions. Effectiveness of vocational education are appropriate and useful in most applications to manage the effectiveness of the vocational institutes. And it is possible at a high level.

Keywords :

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์