การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

Main Article Content

พนัส ด้วงเอก
สุนทร โคตรบรรเทา
ปรานีพัน จารุวัฒนพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิบัติการบริหารงานวิชาการ ของผู้ บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ตาม ความคิดเห็นของครูวิชาการใน 3 ด้าน คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การเรียนการ สอน การวัดผลประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติการบริหาร งานวิชาการ ตามความคิดเห็นของครูวิชาการโดยจำแนก ตามเพศ ประสบการณ์ และขนาด สถานศึกษา เพื่อรวบรวมปัญหาข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูวิชาการ จำนวน 136 คน ซึ่งได้มาโดยตารางกำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และ วิธีการของเชฟเฟ

ผลการวิจัยสำคัญสรุปได้ดังนี้

1. ผู้บริหารสถานศึกษา ปฏิบัติการบริหารงานวิชาการ ตามความคิดเห็นของครู วิชาการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากยกเว้นรายข้อ ด้านการเรียนการสอนเรื่องการ ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย อยู่ในระดับ ปานกลาง

2. ผู้บริหารสถานศึกษา ปฏิบัติการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครู วิชาการ ที่มีเพศต่างกันโดยรวม รายด้าน และรายข้อส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และส่วนใหญ่ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นรายข้อในเรื่อง การจัดทำแผนการนิเทศการใช้หลักสูตร การส่งเสริมการ จัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย การส่งเสริมให้มีการวัดประเมินผลตามสภาพจริง แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ การส่งเสริมผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายประเมินผลการใช้ หลักสูตรเป็นระยะ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ผู้บริหารสถานศึกษา ปฏิบัติการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครู วิชาการ ที่มีประสบการณ์ต่างกันโดยรวม รายด้าน และ รายข้อส่วนใหญ่ อยู่ในระดับมาก และ ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นรายข้อในเรื่อง การประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการใช้ และ การบริหารหลักสูตร การให้ครูวิเคราะห์เนื้อหาสาระ หลักสูตร ก่อนจัดการเรียนการสอน และ การเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวัด และประเมินผล แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และ การวิเคราะห์ความต้องการความสนใจของผู้เรียน ชุมชน และ ผู้ปกครอง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ผู้บริหารสถานศึกษา ปฏิบัติการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครู วิชาการที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดต่างกันโดยรวม รายด้าน และรายข้อส่วนใหญ่อยู่ ในระดับมาก และ ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นรายข้อในเรื่อง การมีคำสั่งแต่งตั้งคณะ ดำเนินงานการพัฒนาหลักสูตร การวิเคราะห์ความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน ชุมชน และ ผู้ปกครอง การเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการวัดและประเมินผล แตกต่าง อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับแนวปฏิบัติการเทียบโอนผล การเรียน แตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. ครูวิชาการ เห็นว่า การบริหารงานวิชาการ มีปัญหาสำคัญ คือ ครูมีภาระงานนอก เหนือจากการสอนมาก ครูสอนไม่ตรงกับวิชาเอก การจัดพิมพ์หนังสือเรียนไม่ทันการส่งล่าช้าและ การได้รับจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการโดยได้เสนอแนะ ว่าผู้บริหาร ควรจัดครูเข้าชั้นเรียนตามความรู้ความสามารถของครูผู้สอนควรส่งเสริมให้ครูจัดทำงานวิจัย และ ควรส่งเสริมการจัดทำสื่อเทคโนโลยีการเรียนการสอน

คำสำคัญ : การบริหารงานวิชาการ, หลักสูตรสถานศึกษา, การเรียนการสอน, การวัดผล ประเมินผล, เทียบโอนผลการเรียน

 

Abstract

The purposes of this research were to study the performance of academic administration of administrators in school under Buriram Primary Education Service Area Office 1 as perceived by academic teachers in 3 aspects, namely school curriculum, instruction, and evaluation and credit transfer aspects; to compare the mentioned performance as classified by gender, experience, and school size; and to collect additional problems and suggestions related. The sample were 136 teachers, derived through Krejcie and Morgan’s Table and simple random sampling. The instrument used for collecting the data was the questionnaire, constructed by the researcher and with the reliability of 0.82. The statistics used for analysing the data were percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, and Scheffe’ Method.

The main research findings were summarized as follows:-

1. The administrators had performance of academic administration as perceived by the academic teachers as a whole and in individual aspects at the high level, except by item the instruction aspect on promoting diverse instructional methods, it was found at the moderate level.

2. The administrators had performance of academic administration as perceived by academic teacher with different genders as a whole and in individual aspects at the high level and with no difference; except by item on planning supervision of curriculum implementation, promoting diverse instruction, and promoting authentic evaluation, it was found with statistically significant difference at the .01 level, and on promoting relevant personnel to have periodical curriculum evaluation at the .05 level.

3. The administrators had performance of academic administration as perceived by the academic teachers with different experiences as a whole, in individual aspects and by item mostly at the high level and with no difference; except on coordinating, promoting, and supporting curriculum implementation and administration, encouraging teachers to analyze curriculum before instruction, and providing opportunity for all parties to take part in measurement and evaluation it was found with statistically significant difference at the .01 level, and on analysing needs of interests of students, community and parents at the .05 level.

4. The administrators had performance of academic administration as perceived by the academic teachers with different school sizes as a whole, in individual aspects, and by item at the high level, and mostly with no different; except on appointing the curriculum development communities, analysing needs and interests of students, community and parents, and providing opportunity for all parties to take part in measurement and evaluation it was found with statistically significant difference at the .01 level, and advising on credit transfer practice at the .05 level.

5. The academic teachers perceived the main problems including teachers having a heavy workload beside instruction, teachers teaching subjects outside their majors, publishing and delivering textbooks being delayed, and insufficient budget allocation; and they suggested that the administrators assign classroom teachers based on knowledge and ability, encourage teachers to conduct research, and promote production of instructional technologies.

Keywords : Academic administration, academic teachers, school curriculum, instruction, evaluation credit transfer

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์