การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำ จัดการเรียนร่วม อำเภอกระสัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2

Main Article Content

ดวงพร สุมะณีย์
สุนทร โคตรบรรเทา
นิวัฒน์ กัลยพฤกษ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม อำเภอกระสัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ใน 4 ด้าน คือ ด้านนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนและด้านเครื่องมือ จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ และระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า และคำถามปลายเปิด แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .96 สถิติที่ใช้ในการวิจัยข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าซี การทดสอบค่าเอฟ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย สำคัญสรุปได้ ดังนี้

1.ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการบริหารการเรียนร่วมโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม โดยรวมและด้านสภาพแวดล้อมและด้านเครื่องมืออยู่ในระดับปานกลางส่วนด้านนักเรียน และด้านกิจกรรมการเรียนการสอนการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก

2. ผู้ปกครองที่มีอายุต่างกันมีส่วนร่วมในการบริหารการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำ จัดการเรียนร่วม โดยรวมและด้านกิจกรรมการเรียนการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านนักเรียนและด้านสภาพแวดล้อม การปฏิบัติแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านเครื่องมือ การปฏิบัติไม่แตกต่างกัน

3. ผู้ปกครองที่มีอาชีพต่างกันมีส่วนร่วมในการบริหารการเรียนร่วมในโรงเรียนแกน นำจัดการเรียนร่วม โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

4. ผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีส่วนร่วมในการบริหารการเรียนร่วมใน โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม โดยรวม และด้านกิจกรรมการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านเครื่องมือ การปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านนักเรียนและด้านสภาพแวดล้อมการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน

5. ผู้ปกครองมีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการบริหารการเรียนร่วมใน โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม คือ เด็กพิเศษไม่ค่อยสนใจด้านการเรียน มีพัฒนาการด้าน การเรียนค่อนข้างช้า และมักถูกรังแกจากเพื่อนและรุ่นพี่ ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ เด็กเท่าที่ควรเนื่องจาก ภาระงานและสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย และไม่มีส่วนร่วมในการ จัดการเรียนร่วมอย่างแท้จริง ห้องเรียนขาดสื่อและอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสม และสภาพ การเรียนในห้องเรียนไม่เหมาะสำหรับการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ

6. ผู้ปกครองมีข้อเสนอแนะสำคัญเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการบริหารการเรียนร่วม ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม คือ อยากให้ครูช่วยดูแลเด็กพิเศษไม่ให้ถูกรังแกหรือไป รังแกคนอื่น ช่วยทำความเข้าใจกับเด็กปกติให้เข้าใจและช่วยเหลือเด็กพิเศษให้มากขึ้น ควร มีการติดต่อประสานความร่วมมืออย่างจริงจังระหว่างครูผู้สอนกับผู้ปกครอง ห้องเรียนควรจัด ให้มีมุมหรือห้องพิเศษสำหรับเด็กพิเศษโดยเฉพาะ และควรจัดหาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่ช่วยให้การสอนเด็กพิเศษมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำสำคัญ : การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, การบริหารการเรียนร่วม, โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม

 

Abstract

The purposes of this research were to study and compare the parents’ participation in mainstreaming administration in the hardcore schools in Krasang district under the Office of Buriram Primary Education Service Area 2 in 4 aspects, namely student, environmental, instructional activity, and tool, as classified by gender, age , occupation, and educational level. The population used in this research were 66 parents. The instrument used in this research was the rating-scale questionnaire with the open-ended questions. The questionnaire had the reliability of .96. The statistics used for analyzing the data were mean, percentage, standard deviation, Z-test, F-test, and Scheffe´s Method.

The main research findings were summarized as follows:-

1. The parents had participation in mainstreaming administration in the hardcore schools as a whole and in the environmental and tool aspects at the moderate level, while the student and instructional activity aspects at the high level.

2. The parents with different age groups had participation in mainstreaming administration in the hardcore schools as a whole and in the instructional activity aspect with statistically significant difference at the .01 level, and in the student and environmental aspects at the .05 level, while in the tool aspect with no difference.

3. The parents with different occupations had participation in mainstreaming administration in the hardcore schools as a whole and in all individual aspects with statistically significant difference at the .01 level.

4. The parents with different educational levels had participation in mainstreaming administration in the hardcore schools as a whole and in the instructional activity aspect with statistically significant difference at the .05 level, and in the tool aspect at the .01 level, while in the student and environmental aspects with no difference.

5. The parents had some main problems in participation in mainstreaming administration in the hardcore schools including the special children being not interesting in learning , having slow learning development, and being bullied by classmates and senior students ; the parents having not enough time to take care of their children because of work and physical health, and having no real mainstreaming administration ; the classroom lacking suitable learning materials and media suitable for the special children ; and learning in the classroom being unsuitable for learning of the special children.

6. The parents had some suggestions related to participation in mainstreaming administration in the hardcore schools that the teachers help special students from being bullied or bullying others and help the normal students more understand and assist special students, activity coordinate between the teachers and the parents, the classroom be arranged with a special corner or room particularly for the special children, and educational media and technology be provided for more efficiently teaching special children.

Keywords : The parents’ participation, mainstreaming administration, the hardcore mainstreaming schools

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์