ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

สุมาลี เทวฤทธิ์
มนตรี ทองมูล
โชคชัย วิริยะพงษ์

Abstract

บทคัดย่อ

ทักษะชีวิตเป็นความสามารถในด้านต่างๆ ของบุคคล ซึ่งมีคุณค่าและมีความสัมพันธ์ สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน หากบุคคลมีทักษะชีวิตแล้ว ก็จะสามารถเผชิญปัญหาและปรับ ตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุ ที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิต และเพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อ ทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน จำนวน 576 คน จาก 9 โรงเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบวัดจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบวัดทักษะชีวิต 2) แบบวัดปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิต ประกอบด้วย แบบวัดการอบรมเลี้ยงดู แบบประชาธิปไตย แบบวัดบุคลิกภาพแบบแสดงตัว แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัด การเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบวัดสุขภาพจิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้น ทาง (Path Analysis) โดยวิธี PAL (Path Analysis with LISREL)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดกาฬสินธุ์ มี 5 ตัวแปร ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย บุคลิกภาพแบบแสดงตัว การสนับสนุน ทางสังคม การเห็นคุณค่าในตนเอง และสุขภาพจิต

2. โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (χ2 ) ซึ่ง มีค่าเท่ากับ 49.22 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 36 ค่าความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.069 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.991 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.955 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ มีค่าเท่ากับ .763 แสดงว่า ตัวแปรทั้งหมดร่วมกันอธิบายความแปรปรวนทักษะชีวิตของนักเรียน ได้ร้อยละ 76.3 ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงอย่างเดียวต่อทักษะชีวิต ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง และสุขภาพจิต ตัว แปรที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อทักษะชีวิต ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดู แบบประชาธิปไตย บุคลิกภาพแบบแสดงตัว และการสนับสนุนทางสังคม โดยสรุป ผลการวิจัยครั้งนี้ การเห็นคุณค่าในตนเอง สุขภาพจิต การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย บุคลิกภาพแบบแสดงตัว และการสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะชีวิต ดังนั้น ผู้ปกครง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงควรนำผลการวิัจยนี้ไปใช้เป็นสารสนเทศในการพัฒนานักเรียน และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนส่งเสริมนักเรียนให้มีทักษะชีวิตที่ดี หากบุคคลมีทักษะชีวิตแล้วก็จะสามารถปรับตัวเอง และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

คำสำคัญ : ปัจจัยเชิงสาเหตุ, ทักษะชีวิต, การวิเคราะห์เส้นทาง

 

Abstract

Life skills are individuals’ valuable abilities in various aspects related to their daily life. If one possesses life skills, one will be able to confront problems and adjust oneself in order to live in the society with sustainable happiness. This research aimed at studying causal factors influencing life skills of students at Mathayomsuksa 5 in Kalasin province as well as studying the model of such causal factors. The participants were 576 students at Mathayomsuksa 5 in Kalasin province. They were selected by Multi-stage Random Sampling technique. Two tools were used for data collection. The first one was the test of life skills form. The second tool was the test of five Factors Influencing Life Skills comprising 1) democratic upbringing test, 2) extravert personality test, 3) social support test, 4) self-esteem test, and 5) mental health test. The data were analyzed by Path Analysis by means of PAL statistic (Path Analysis with LISREL).

The results were as follows :

1. Causal factors influencing life skills of students at Mathayomsuksa 5 in Kalasin province were democratic upbringing test, extravert personality test, social support test, self-esteem test, and mental health 2. Model have Goodness of Fit Statistics, Chi-Square (X2) = 49.22, Degrees of Freedom (df) = 36, Probability (p) = 0.069, Goodness of Fit Index (GFI) = 0.991, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.955, Coefficient of determination = .763, In that way all variables showed by the empirical data and model accounted for 76.3 percent of variance on life skills. Variables which influence life skills only in direct ways were self-esteem and mental health. Variables which influence life skills in both direct and indirect ways were democratic upbringing, extravert personality and social support.

In conclusion, this research, self-esteem, mental health, democratic upbringing, extravert personality and social support which influence life skills. In that way parents, teachers and related parties, can be used as informatics data, which are beneficial for, in creating a guideline for the encouragement and development of students’ life skills. If one possesses life skills, one will be able to confront problems and adjust oneself in order to live in the society with sustainable happiness.

Keywords : The Causal Factors, Life Skills, Path Analysis

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์