การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ เรื่องการวาดภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซินเนคติกส์และรูปแบบซิปปา

Main Article Content

สายฝน สิงห์เชิดชูวงศ์
จิระพร ชะโน
สังเวียน ปินะกาลัง

Abstract

บทคัดย่อ

ศิลปะเป็นวิชาที่มุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีจินตนาการ ทางศิลปะชื่นซมความงาม สุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ ดังนั้นกิจกรรมศิลปะมุ่งพัฒนานักเรียนด้านร่างกายจิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม ส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง แสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ และสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนตามรูปแบบชินเนคติกส์และรูปแบบซิปปา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ ระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบชินเนคติกส์ และรูปแบบซิปปา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านหมากแข้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานีนักเรียนจำนวน 80 คน จำนวน 2 ห้อง ซึ่งได้มาโดยการลุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แล้วสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากกลุ่มทดลองที่ 1 เรียนรู้ตามรูปแบบชินเนคติกส์จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน40 คน และกลุ่มทดลองที่ 2 เรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา จำนวน 1 ห้องเรียนจำนวน 40 คนเคริ่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3ชนิดคือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนตามรูปแบบชินเนคติกส์จำนวน 10 แผน มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.38 ถึง 4.66 ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับความเหมาะสม มากถึงมากที่สุด 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา จำนวน 10 แผน มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.32 ถึง 4.54 ซึ่งมีคุณภาพอยู่ในระดับความเหมาะสม มากถึง มากที่สุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ้ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ .39 ถึง .97 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .88 4) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ จำนวน 3 กิจกรรม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test (dependent Sample) และ Hotelling’s T2

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. นักเรียนที่เรียนรู้ตามรูปแบบชินเนคติกส์กับที่เรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา            มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะหลังเรียนรู้สูงขึ้นก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนที่เรียนรู้ตามรูปแบบชินเนคติกส์ และรูปแบบซิปปา มีคะแนนโดยเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบชินเนคติกส์และการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีขั้นตอนที่ชัดเจนและพัฒนาในด้านการฝึกวาดภาพอย่างสร้างสรรค์สร้างจิตนาการ ส่งเสริมให้การจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจึงควรสนับสนุนครูผู้สอนวิชาศิลปะ นำวิธีการทั้งสองวิธีไปใช้จัดการเรียนการสอนทุกระดับชั้น

คำสำคัญ : การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะรูปแบบซินเนคติกส์, รูปแบบซิปปา

 

Abstract

Arts is the course focused on encourage artistic creativity and imagination to appreciate the beauty, art aesthetic and the value of art, which affects the quality of human life. The artistic activity aims to develop students’ physical, mental, intellectual, emotional and social aspects, encourage self-confidence, creative expression, and work together happily. The purpose of this research were: 1) to compare the achievement and Art Creativity of students between before and after learning by Synectics Learning and Cl PPA Model, 2) to study the relationship between achievement and Art Creativity, 3) to compare the achievement and Art Creativity of students between learned by Synectics Learning and CIPPA Model. The samples were 80 prathomsuksa 1 students in two classrooms, studying in the second semester of the 2010 academic year at Ban Mak Khaeng school under Udon Thani Provincial Primary Education Office, Area 1, Amphur Muang, Udon Thani province, derived by Cluster Random Sampling technique. Then the names of the sample were drawn to be 2 experimental groups, each of 40 students; the experimental group 1 learned by Synectics Learning and the experimental group 2 learned by CIPPA Model. The 3 instruments used in the study were 1)10 Synectics Learning lesson plan with an average ranging from 4.36 to 4.66 was at the high of appropriate level of quality, 2) 10 CIPPA Model lesson plan with an average ranging from 4.32 to 4.54 was at the high of appropriate level of quality 3) a-20 item with 3 choices achievement test with discriminating powers ranging .39 to .97, and a reliability of .884, 4) Art Creativity test with 3 activities. The statistics used for analyzing data were percentage, mean, standard deviation; and t-test (dependent Sample) and Hotelling’s T2 were employed for testing hypotheses.

The results of the research were as follows:

1. The students who learned by using Synectics Learning and CIPPA Model had Higher achievement and art creativity after learning than before learning at the .05 level of significance.

2. Achievement and Art creativity had the relationships were statistically significant at the 0.05 level.

3. The students who learned by using Synectics Learning and CIPPA Model had average achievement score differences were statistically significant at the 0.05 level.

In conclusion; To organize learning activities by using Synectics Learning and CIPPA Model, have a clear procedures and able to develop in creative drawing, creation of the imagination, and encourage students in learning the arts (visual arts) more effectively. We should encourage Art teachers use two method in learning- teaching arts subject at other grade levels.

Keywords : A Comparison of Achievement, Creative thinking, Synectics Learning, CIPPA Model

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์