เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องแรงและความดัน ความสามารถ ด้านการคิดวิเคราะห์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน กลุ่ม สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการ เรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) ร่วมกับแผนผัง

Main Article Content

วนิดา สุขสมโสด
มนตรี อนันตรักษ์
สุรชา อมรพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ สาระการเรียน รู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและความดัน สำหรับนักเรียนที่เรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับแผนผังความคิด และการจัดการเรียนรู้ตามปกติ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ และทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ตามเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตรข์ ั้นพื้นฐาน หลังเรียนระหวา่ งนักเรยี นที่เรียนรู้แบบวัฏจกั รการเรียนรู้ 7 ขั้น รว่ มกับ แผนผังความคิด และนักเรียนที่เรียนรู้ตามปกติ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านขนวน จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 50 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) แล้วแบ่งเป็น กลุ่มทดลองได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 25 คนเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียน รู้ 7 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด และกลุ่มควบคุมได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 25 คน เรียนรู้ตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 รูปแบบ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับแผนผังความคิด และแผนการจัดการเรียนรู้ตามปกติ จำนวนรูป แบบละ 24 แผน 2) แบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน l แบบ 3) แบบ ทดสอบความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ จำนวน 1 ฉบับ 4) แบบทดสอบทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ Hotelling’S T2

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ร่วมกับแผนผังความคิดและ แผนการจัดการเรียนรู้ตามปกติที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 80.20 / 83.57 และ 76.49 / 75.60 ตามลำดับ

2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับเเผนผัง ความคิด และนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นพื้นฐาน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับแผนผัง ความคิด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ และทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นร่วมกับ แผนผังความคิด, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ขั้นพี้นฐาน

 

Abstract

The purposes of this research were to 1) develop lesson plans of science class in Force and pressure for students in prathomsueksa 5 through Learning cycle (7Es) cooperated with Mind Mapping and a regular learning activity based on standards 75/75. 2) improve learning proficiency which is expected at 750/0 of students in Force and pressure Analytical Thinking Ability’ and Fundamental science process 3) compare science learning proficiency in Force and pressure Analytical Thinking Ability, and Fundamental science process between two groups of students who participated Learning cycle (7Es) cooperated with Mind Mapping and those who joined a regular learning activity. subjects of the study were students in prathomsueksa 5 of the second semester in an academic year 2008 of Ban Khanuan school. The 50 samples were included through purposive sampling from two classes. The research tools consisted of 1) 24 lesson plans of Learning cycle (7Es) cooperated with Mind Mapping and 24 lesson plans of a regular learning activity. 2) A Test of learning proficiency. 3) A Test of Analytical Thinking Ability. 4) A Test of Fundamental Science Process Skills. Statistics for data analysis included mean, percentage, standard deviation (SD), t-test (Independent samples) and Hotelling’s T

Research findings were as follow:

1) The lesson plans of Learning cycle(7Es) cooperated with Mind Mapping were efficient at 80.20/83.57 while the regular lesson plans were at 76.49/75.60 respectively.

2) Students who were in Leaning cycle (7Es) cooperated with Mind Maping had 75% higher learning proficiency in Science, Analytical Thinking Ability and Fundamental science process at .01.

3) Students who were in Learning cycle (7Es) cooperated with Mind Mapping had higher learning proficiency in science, Analytical Thinking Ability and Fundamental science process at .01

Keywords : Achievement, 7E with Mind Map, AnalyticaI Thinking Ability Fundamental science process skill

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์