บุพปัจจัยของความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ

Main Article Content

ศรีพงศ์ บุตรงามดี

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาตัวแปรสำคัญที่เป็นบุพปัจจัยของความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ การศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงปรมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้อำนวยการสำนัก/ กองการศึกษาสังกัดเทศบาล จำนวน 600 ตัวอย่าง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบจำลอง สมการโครงสร้างและจากการสัมภาษณ์เจาะลึก นายกเทศมนตรี ผู้อำนวยการสำนัก/กอง การศึกษาสังกัดเทศบาลและครูที่ถ่ายโอนมาสังกัดเทศบาล ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและปัจจัยด้านศักยภาพในการจัดการศึกษามีอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยด้านประชาชนผู้รับบรการและความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านปัจจัยด้านประชาชนผู้รับบริการ 2) ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการดำเนินการดังนี้ (1) การพัฒนาผ้บริหารท้องถิ่นให้มีความรู้ ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการศึกษา (2) การพัฒนาพนักงานส่วนท้องถิ่นให้เป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ (3) การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม และมีทรัพยากรทางการศึกษาที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษา ทั้งด้านโครงสร้าง บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ และ(4) การพัฒนาประชาชนให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรองการศึกษาท้องถิ่น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้เห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความพร้อม ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งผลการศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพข้อค้นพบได้ยืนยันความสำคัญของทฤษฎีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงซึ่งนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่ว่าการแก้ปัญหาความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการถ่ายโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการจำเป็นจะต้องเร่งส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารงานแบบมีส่วนร่วมมีการสรรหาบุคลากรทางการศึกษามืออาชีพ ส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของประชาชนและพัฒนาประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสาร

คำสำคัญ : ความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน, การถ่ายโอนสถานศึกษา, บุพปัจจัยของความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

Abstract

The objectives of this research are to study the antecedents of foundation education administration readiness for the transferring of schools from the Ministry of Education.

The research is conducted via mixed methodology of quantitative and qualitative researching methods. The sample of quantitative research are 600 education division directors and the structure equation modeling is used. The sample of qualitative research are mayors, education division directors and teachers who have been transferred from Ministry of Education and the in-depth interview, is used. The results are as follows : 1) Local administration organization factors and foundation education administration potential factors had a direct effect on people factors and foundation education administration readiness, as well as an indirect effect on foundation education administration readiness. 2) The foundation education administration readiness preparation steps for the transferring of schools from the Ministry of Education : (1) The mayor development towards a better understanding , knowledge and realization of education significance. (2) The officer development to become professional educators. (3) The local administration organization development towards participative administration and sufficient educational resources in Terms of structure, personnel, budget, material, equipment and building, and (4) The people development, toward a better understanding of local education and public participative promotion. The results are consistent with the data from the qualitative research. And the results confirm the Readiness for Change Theory. The suggestions are :participative management promotion, professional education personnel recruitment, people participation promotion and communication’s efficiency development.

Keywords : Foundation education administration readiness, Transferring schools, Antecedents of foundation education administration readiness, Foundation education administration readiness preparation steps

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์