ผลการฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก และการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมลูกคิดญี่ปุ่นกับกิจกรรมตามปกติ

Main Article Content

ประยูร พันอะนุ
พิศมัย ศรีอำไพ
ประสิทธิ์ นิ่มจินดา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความ คงทนในการเรียนรู้ระหว่างนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมลูกคิดญี่ปุ่นกับนักเรียนที่เรียนโดย ใช้กิจกรรมตามปกติ 2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ระหว่าง นักเรียนชายกับนักเรียนหญิงที่เรียนโดยใช้กิจกรรมลูกคิดญี่ปุ่น 3)ศึกษาความพึงพอใจต่อ กิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมลูกคิดญี่ปุ่นและนักเรียนที่เรียนโดยใช้ กิจกรรมตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองร้อยเอ็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จาก 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 68 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) แล้วใช้วิธีจับ สลากเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมลูกคิดญี่ปุ่น แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม ตามปกติ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดเลขเร็ว แบบวัดความพึงพอใจต่อกิจกรรมการ เรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Hotelling – T2

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมลูกคิดญี่ปุ่น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคงทนใน การเรียนรู้สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนชายและนักเรียนหญิงที่เรียนโดยใช้กิจกรรมลูกคิดญี่ปุ่น มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน

3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมลูกคิดญี่ปุ่นมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม การเรียนรู้อยู่ในระดับมาก นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมตามปกติมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม การเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง

คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคงทนในการเรียนรู้, ความพึงพอใจ, กิจกรรมลูกคิดญี่ปุ่น, กิจกรรมตามปกติ

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์