การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบเว็บ เควสท์ (WebQuest) สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

เผชิญ กิจระการ
สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ
มานิตย์ อาษานอก
เหมราช ธนปัทม์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาบทเรียนแบบเว็บเควสท์ ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนแบบเว็บเควสท์ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ความสามารถการคิดวิเคราะห์ และความคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตก่อน และหลังเรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ รายวิชา 0503 271 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาในห้องเรียน และศึกษาเจตคติของนิสิตที่มีต่อบทเรียนแบบเว็บเควสท์ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 0503 271 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาในห้องเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 70 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้ง นี้มี 5 ชนิด คือ 1) บทเรียนแบบเว็บเควสท์ รายวิชา 0503 271 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการ ศึกษาในห้องเรียน จำนวน 8 หน่วย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 60 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.89 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 3) แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจ จำแนก (B) ตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.79 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 4) แบบทดสอบวัดความคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 50 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.84 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.79 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้ง ฉบับเท่ากับ 0.82 และ 5) แบบวัดเจตคติของผู้เรียนต่อบทเรียนแบบเว็บเควสท์ จำนวน 24 ข้อ ซึ่งแบบวัดมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.88 และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเจตคติ เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. โปรแกรมบทเรียนแบบเว็บเควสท์ รายวิชา 0503 271 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี การศึกษาในห้องเรียน มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.25/80.38 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ มีค่าประสิทธิผลเท่ากับ 0.6488 นั่นคือนิสิตมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 64.88

2. นิสิตที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ รายวิชา 0503 271 การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีการศึกษาในห้องเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถการคิดวิเคราะห์ และความคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 3. นิสิตมีเจตคติต่อบทเรียนแบบเว็บเควสท์ รายวิชา 0503 271 การประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีการศึกษาในห้องเรียน อยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : บทเรียนแบบเว็บเควสท์, ความสามารถการคิดวิเคราะห์, ความคิดอย่างมี วิจารณญาณ, เจตคติต่อบทเรียนแบบเว็บเควสท์

 

Abstract

The purposes of this study were to develop WebQuest-based instruction with an efficiency of 80/80, to examine an effectiveness index of the developed WebQuest-based instruction, to compare the learning achievement, the analytical thinking abilities and the critical thinking of undergraduate students before and after studying WebQuest-based instruction on 0503 271 Classroom Applications of Educational Technology course, and to examine the attitude of undergraduate students toward WebQuest-based instruction. The sample used in this study consisted of 70 undergraduate students studying the bachelor’s degree in educational technology and communication major, Mahasarakham University, obtained using the cluster random sampling technique. The instruments used in this study were (1) WebQuest-based instruction Entitle “0503 271 Classroom Applications of Educational Technology”, (2) the learning achievement test with the discrimination between 0.27-0.89 and reliability as 0.84, (3) the analytical thinking abilities test with the discrimination between 0.34- 0.79 and reliability as 0.89, (4) the critical thinking test with the difficulty between 0.33-0.84, the discrimination between 0.23-0.79 and reliability as 0.82, and (5) the attitudes of undergraduate students toward WebQuest-based instruction test with the discrimination between 0.29-0.88 and reliability as 0.89. The statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, and standard deviation; and t-test (Dependent Sample) were employed for testing hypotheses. The results of this study were: the developed WebQuest-based instruction had an efficiency of 81.25/80.38 which met the criterion 80/80, and had an effectiveness index of 0.6488 showing that the undergraduate students have had increase learning achievement as 64.88 percentage. The undergraduate students have had the learning achievement, the analytical thinking abilities, and the critical thinking posttest’s mean scores higher than pretest’s mean scores with significant difference at the .01 level. The students’ attitude through WebQuest-based instruction mean score, as a whole and in each aspect, were at a high level.

Keyword : WebQuest, analytical thinking abilities, critical thinking, attitudes toward WebQuest

Article Details

Section
บทความวิจัย