การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้

Main Article Content

เกริก ท่วมกลาง
สำเริง บุญเรืองรัตน์
วิเชียร ชิวพิมาย
สุภัทรา เอื้อวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน ขนาดเล็ก มีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้

ประชากร คือโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนตำกว่า 120 คน สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2554

กลุ่มตัวอย่าง คือโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐานจำนวน14โรงเรียนที่มีบุคลากรประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน14คนครู จำนวน 61 คน รวม 75 คน ที่เลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียนขนาดเล็กอำเภอขามสะแกแสง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน มาร่วมกันพัฒนา

วิธีการพัฒนา มุ่งพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน แรง จูงใจใฝ่เของครู และเจตคติที่ดีของครูที่มีต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ซึ่งเป็นตัวแปรต้นที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โดยจัดอบรมเชิงปฏิบติการให้ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การแห่งการแห่งการเรียนรู้ การจัดการความรู้ ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน การเขียนบทความ ทางวิชาการ การทำวิจัยในชั้นเรียน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากบุคคลต่างๆ ได้มีการ นำเสนอ

ผลการวิจัยในชั้นเรียนก่อนและหลังการพัฒนาดำเนินการ 1) วัดระดับความเป็น องค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน 2) วัดระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการ โรงเรียน 3) วัดระดับแรงจูงใจใฝ่รู้ของผู้อำนวยการโรงเรียนและของครู 4) วัดระดับเจตคติ ของผู้อำนวยการโรงเรียนและครูที่มีต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน และ 5) ภายหลังการพัฒนา สอบถามความพึงพอใจของผู้อำนวยการโรงเรียนและของครูต่อการ อบรมเชิงปฏิบ้ติการ ใช้ Sign Test ทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนการพัฒนาและ หลังการพัฒนา

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบในการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เกิดจาก ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน แรงจูงใจใฝ่รู้ของครู และเจตคติที่ดีของ ครูที่มีต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จึงต้องพัฒนาตัวแปรทั้ง 3 นั้นด้วยการอบรมเชิง ปฏิป้ติการให้ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูมีความรู้ความเข้าใจ ความเป็นองค์การแห่งการ เรียนรู้ การจัดการความรู้ ความเป็นผู้นำทางวิชาการ การเขียนบทความทางวิชาการ การทำ วิจัยในชั้นเรียนด้วยการพัฒนาดังกล่าวนี้จึงปรากฏผลว่า

1. ภายหลังการพัฒนาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้โรงเรียนขนาดเล็กมี ระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ a = .01

2. ภายหลังที่ผู้อำนวยการโรงเรียนขนาดเล็กได้รับการพัฒนาความเป็นผู้นำทางวิชาการ ระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ a = .01

3. ภายหลังที่ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูได้เรียนรู้ความเป็นองค์การแห่งการ เรียนรู้การจัดการความรู้การวิจัยในชั้นเรียนการเขียนบทความทางวิชาการระดับแรงจูงใจ ใฝ่รู้ของผู้อำนวยการโรงเรียนและของครูโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ a = .01

4. ภายหลังที่ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูได้เรียนรู้ ความเป็นองค์การแห่งการ เรียนรู้การจัดการความรู้ระดับเจตคติที่ดีที่มีต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้อำนวย การโรงเรียนและของครูโรงเรียนขนาดเล็กเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ a = .01

คำสำคัญ : องค์การแห่งการเรียนรู้, ผู้นำทางวิชาการ, แรงจูงใจใฝ่รู้, เจตคติ

 

Abstract

The purpose of this study was to develop small schools to be learning organization. The research methodology was as follows.

The population was the small schools that had maximum of 120 students under the Office of the Basic Education Commission in the academic year 2011.

The sample group comprised of fourteen small schools under the Office of the Basic Education Commission. These schools had fourteen directors and 61 teachers with the total of 75 staff who were purposively selected in this study from the small schools at Kham Sakaesaeng District under Nakhon Ratchasima Primary Education Service Area 5.

The development procedures emphasized on improving directors’ academic leadership, teachers’ motivations and positive attitudes towards the schools’ learning organization which considered as the independent variables affecting the learning organization. The procedures consisted of arranging the workshop for directors and teachers, and acknowledging the participants on the topics of the learning organization, knowledge management, academic leadership of the school director, academic article writing, classroom action research and exchanging the knowledge from different academicians. Additionally, the results of the classroom action researches and the academic articles were presented; and brainstorming on the development procedures for the schools to be the learning organization was arranged.

The pre-and post-development procedures were as follows. (1) Measure the levels of the learning organization of the schools, (2) Measure the levels of the academic leadership of the school directors, (3) Investigate the levels of the motivation of both the directors and the teachers, (4) Examine the levels of the attitudes of the directors and teachers towards the learning organization, and (5) At the post­ development procedures, investigate the satisfactions of the school directors and teachers on the workshop. Sign Test was employed to investigate the differences of the pre- and post-development scores.

The findings revealed that

The model of the learning organization development was derived from the directors’ academic leadership, teachers’ motivations and positive attitudes towards the schools’ learning organization. Therefore, these three variables must be developed by arranging the workshop for directors and teachers to understand the concepts of the learning organization, knowledge management, academic leadership, academic article writing and classroom action research. The results of the developments were as follows.

After the development of the learning organization, the small schools were increased higher levels of the learning organization with the statistical significant at a =.01 level.

After the development of the directors’ academic leadership, the levels of the academic leadership of small schools directors were increased at the statistical significant at a =.01 level.

After the development of the directors and teachers on the learning organization, knowledge management, classroom action research and academic article writing, the levels of the motivation of the small schools directors and teachers were increased at the statistical significant at a =.01 level.

After the development of the school directors and teachers on the learning organization and knowledge management, the levels of their attitudes towards the learning organization were increased at the statistical significant at a =.01 level.

Keywords : Learning Organization, Academic Leadership, Motivation, Attitudes

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์