การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ และทักษะการคิดวิเคราะห์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์ และบทเรียนบนเครือข่ายแบบสืบเสาะ

Main Article Content

กิตติยา อุดน้อย
สังคม ภูมิพันธุ์
ประมวล โสภาพร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความม่งหมายเพื่อ1)พัฒนาบทเรียนแบบเว็บเควสท์และบทเรียนบนเครีอข่ายแบบสืบเสาะกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องเทคโนโลยี สื่อสารข้อมูลและอินเทอร์เน็ต สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนแบบ เว็บเควสท์และบนเรียนบนเครือข่ายแบบสืบเสาะที่พัฒนาขึ้น 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์กับบทเรียนบนเครือข่ายแบบสืบเสาะ 4) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์กับบทเรียนบนเครีอข่ายแบบสืบเสาะ และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์กับบทเรียนบนเครือข่าย แบบสืบเสาะกลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโนนเมืองวิทยาคาร อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 2 ห้องเรียน ได้จากการลุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ได้แก่ 1) บทเรียนแบบเว็บเควสท์และบทเรียนบนเครือข่ายแบบสืบเสาะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องเทคโนโลยี สื่อสารข้อมูลและอินเทอร์เน็ต 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีความยาก ตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.75 ค่าอำนาจจำแนก 0.25 ถึง 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.89 3) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.79 และมีค่าอำนาจจำแนก 0.22 ถึง 0.60 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.734) แบบสอบถามความพึง พอใจ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.75 ถึง 0.90 และมีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Samples)

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

1. บทเรียนแบบเว็บเควสท์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.83/83.58 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7120 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ71.20

2. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า การเรียนด้วยบทเรียนบนเครีอข่ายแบบสืบเสาะอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์มีการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครีอข่ายแบบสืบเสาะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเว็บเควสท์มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วย บทเรียนแบบเว็บเควสท์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

5.นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครีอข่ายแบบสืบเสาะมีความพึงพอใจต่อการ เรียนด้วยบทเรืยนบนเครือข่ายแบบสืบเสาะโดยรวมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : บทเรียนเครือข่าย, บทเรียนแบบเว็บเควสท์, บทเรียนแบบสืบเสาะ, ทักษะการคิดวิเคราะห์

 

Abstract

The purposes of this research, were 1) to develop an effective web quest lesson and an inquiry based online lesson entitled “Information Technology and Internet” for the career and technology learning strand of Mattayomsuksa 3 students, with the expected 80/80 efficiency value, 2) to investigate the effective index of the developed web quest lesson and the inquiry based online lesson, 3) to compare the learning achievement of the students learning through the web quest lesson and the inquiry based online lesson, 4) to compare the analytical thinking skills of the students learning through the web quest lesson and the inquiry based online lesson, and to study the students’ satisfaction on the use of web quest lesson and the inquiry based online lessons.

The samples included 2 groups of Mattayomsuksa 3 students enrolling in the first semester of the 2010 academic year in Nonmuang Wittayakhan School, Nonsang District, Nongbualampoo Province under the jurisdiction of Office of Educational Service Area 1. The samples were selected by using the cluster random sampling technique while the research tools included 1) the designed web quest lesson and inquiry based online lesson, 2) a 40-question achievement test with the difficulty values ranging from 0.30 to 0.75, the discrimination values from 0.25 to 0.83, and the total reliability value of 0.89, 3) A 20-question analytical thinking test with the difficulty values raging from 0.21 to 0.79, the discrimination value from 0.22 to 0.60, and the total reliability value of 0.73, and 4) a 20-question satisfaction questionnaire about the web quest lesson and inquiry based online lesson, with the discrimination values ranging from 0.75 to 0.90, and the reliability value of 0.83. The statistics used for data analysis were percentage, mean, and standard deviation.

The results revealed that 1) the efficiency value of the developed web quest lesson for the career and technology strand was 84.83/83.58 and its effective value was 0.7120 meaning 71.20 percent of the students had significant learning improvement; 2) the students learning through the web quest lesson significantly had higher learning achievement than those learning through the inquiry based online lesson, at the p-value of .05; 3) the students learning through the web quest lesson significantly had higher analytical thinking skills than those learning through the inquiry based online lesson at the p-value of .05; 4) the students learning through the web quest lesson were satisfied with the lesson at the highest level; and 5) the students learning through the inquiry based lesson were satisfied with the lesson at the high level.

Article Details

Section
บทความวิทยานิพนธ์