การพัฒนานิสิตด้านการประกันคุณภาพการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

กาญจน์ เรืองมนตรี
ธรินธร นามวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

นิสิตนักศึกษาในฐานะผู้รับบริการ เป็นผลผลิต และเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ของสถาบันอุดมศึกษา ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาจึงมีพันธะสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุน ให้นิสิตมีส่วนร่วมและเป็นพลังผลักดันให้งานประกันคุณภาพการศึกษามีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนานิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ มีส่วนร่วมสร้างเครือข่ายการประกัน คุณภาพการศึกษาและนำความรู้มาเขียนโครงการกิจกรรมนิสิตได้ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติ การ (Action Research) 2 วงรอบ การพัฒนาใช้วิธีการอบรม การศึกษาเอกสาร การศึกษา ดูงาน และการทำโครงการกิจกรรมนิสิต กลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้แก่นิสิตที่เรียนวิชา 0501401 ในภาคเรียนที่ 3/2552 จำนวน 30 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 27 คน ประกอบด้วยวิทยากร จำนวน 1 คน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ คณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 1 คน เจ้า หน้าที่ฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ คณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 1 คน เลขานุการภาควิชาการ บริหารการศึกษา จำนวน 1 คน ตัวแทนนิสิตที่เรียนวิชา 0501401ในภาคเรียนที่ 3/2552 จำนวน 10 คน นิสิตจากคณะอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 11 คน และนักศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และแบบบันทึก ตรวจสอบข้อมูลโดย ใช้เทคนิคสามเส้า (Triangulation Technique) และนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนานิสัยในวงรอบที่ 1 โดยใช้วิธีการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาโดยการบรรยายให้ความรู้ การศึกษาเอกสารด้านการ ประกันคุณภาพ เอกสาร SAR ทำให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะการประกันคุณภาพ การศึกษาภายใน เรื่องการทำ SAR ซึ่งนิสิตได้เห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา จึงนำไปขยายผลการเรียนรู้สู่เพื่อนนิสิตต่างคณะเพื่อสร้างเครือข่ายการประกันคุณภาพการ ศึกษาภายในขึ้นโดยใช้วิธีการสร้างเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำให้มีนิสิตจาก คณะอื่นๆ มาร่วมเป็นเครือข่ายจำนวน 11 คน และจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นอีก 2 คน ปัญหา ที่พบในวงรอบที่ 1 คือ นิสิต มีความรู้ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพมากขึ้นจากก่อนการ พัฒนา แต่ไม่ได้เห็นการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นการปฏิบัติการจริงจา หน่วยงานที่ปฏิบัติเป็นเลิศด้านการประกันคุณภาพการศึกษา กลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้ร่วมกันกำหนดให้ มีการศึกษาดูงานจากฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ซึ่ง สมศ.ประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกได้เป็นอันดับ 1 จาก 57 สถาบันของ คณะศึกษาศาสตร์/ครศุ าสตรใ์ นประเทศไทย ดงั นัน้ การพฒั นาในวงรอบที่ 2 จึงใช้วธิ ีการศกึ ษา ดูงาน และการเขียนโครงการโดยให้นิสิตนำความรู้ด้านกระบวนการประกันคุณภาพ PDCA หรือ 5ส. มาใช้ในการเขียนโครงการ ผลปรากฏว่านิสิตและนิสิตเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาเพิ่มขึ้น และสามารถเขียนโครงการกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม

โดยสรุป การวิจัยครั้งนี้ เป็นการสร้างระบบการพัฒนานิสิตโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติ การ ซึ่งมีกลไกการให้ความรู้แก่นิสิตได้แก่การอบรม การศึกษาเอกสาร การศึกษาดูงาน และการจัดทำโครงการกิจกรรมนิสิต อันเป็นแนวทางให้แก่คณะหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำวิธีการ นี้ไปใช้ควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนต่อไป

คำสำคัญ : ระบบการพัฒนานิสิต, การประกันคุณภาพการศึกษา, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, กลไกการให้ความรู้ PDCA, 5 ส.

 

Abstract

University students as service receivers are direct products and stakeholders of higher educational institutions. Thus higher educational institutions have one import mission to promote and support their students to have participation and to be driving force for educational quality assurance to be more efficient and effective. This study aimed to develop students of faculty of Education, Mahasarakam University to have knowledge understanding, skills, and participation in building educational quality assurance network, and to be able to implement the knowledge in writing activity projects. The study used action research in 2 cycles. The development used training, documentary studies, field trips, and making students activity projects. The group of research participants consisted of 3o students who were enrolled in ED 0501401 course in the third semester of the academic year 2009. The group of 27 informants consisted of l resource person, 1 research and quality assurance section assistant dean of Faculty of Education, l research and quality assurance section official of Faculty of Education, l secretary of Educational Administration Department, 10 representatives of the students enrolled in ED 0501401 course, and 2 students from higher educational institutions in Changwat Maha sarakam. The instruments used for collecting data were a test, an interview form, an evaluation form, and a note-taking form. Data were checked using the triangulation technique. Then the results of the study were presented by means of a descriptive analysis.

The study results revealed that developing students in cycle l using the training method to provide knowledge and understanding of educational quality assurance by giving lectures to provide knowledge, documentary studies on quality assurance, and SAR document could cause the students to have knowledge and understanding, and skills in educational quality assurance within SAR making. The students could realize the importance of educational quality assurance. Thus the learning outcomes were extended to student peers in other faculties for building internal educational quality assurance network by using the method of building networks within Mahasarakam University. This could cause 11 students from other faculties and 2 students from other higher educational institutions to participate in being networks. The problem found in cycle l was that the students increased their knowledge and understanding of quality assurance from before development. However, they had never seen operation of the agencies involved. So in order to see actual action from the agencies with excellent performance in education quality assurance, the group research participants cooperatively determined to have field trips at the section of research and educational quality assurance of Faculty of Education, Mahasarakam University which ONESQA evaluated external educational quality to be Number 1 out of 57 institutions of Faculty of Education/Teacher Education in Thailand. Therefore, in cycle 2 the methods of field trip and project writing were used by having students implement their knowledge of the PDCA or 5 Ss quality assurance process in project writing. The results revealed that the sณdents and students on the network increased their knowledge, understanding, and skills in educational quality assurance; and they could write activity projects appropriately.

ln conclusion, this study was creation of the students development system by using action research which had mechanisms for providing knowledge to students including : training, documentary study, field trip, and making students, activity projects, which were a guideline for the facu1ties or agencies involved to implement this method together with organization of learning and teaching in the future.

Keywords : Student Development system, Educational Quality Assurance, Action Research, Mechanisms for Providing Knowledge, PDCA, 5Ss

Article Details

Section
บทความวิจัย