วิพิธพัฒนศิลป์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT <p>วารสาร “วิพิธพัฒนศิลป์” ISSN 2985-265X (Online) รับตีพิมพ์บทความคุณภาพทางด้านศิลปะ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสาขาศิลปะ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และบุคคลทั่วไป ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี <strong>(ไม่มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์)</strong></p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน </p> <p>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม </p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> <p>นอกจากนี้ วารสารวิพิธพัฒนศิลป์ มีความประสงค์สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของวารสาร เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงคุณภาพของวารสาร การให้บริการ ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด จึงขอความอนุเคราะห์ท่านโปรดตอบแบบสำรวจความพึงพอใจการใช้บริการของวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ตามแบบประเมินด้านล่างนี้</p> <p><a href="https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScoOqOOB3tKVuaIlU1cjpd5cg11lfuY0Yiks225-Rmvi4AbUQ/viewform">แบบประเมินความพึงพอใจการใช้บริการวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์</a></p> th-TH <p> เนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น โดยกองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความ</p> <p> </p> [email protected] (ผศ.ดร.ดุษฎี มีป้อม (Asst.Prof.Dr.Dussadee Meepom)) [email protected] (วิไลวรรณ ใจทัศน์กุล (Wilaiwan Chaituskul))) Tue, 30 Apr 2024 15:26:54 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 วัตถุแห่งความศรัทธาในศาลเจ้าเฮียบเทียนเก้งกวนเต้กุน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/265949 <p> บทความงานสร้างสรรค์นี้เป็นการสร้างสรรค์จิตรกรรมบาติก ชุด วัตถุแห่งความศรัทธาในศาลเจ้าเฮียบเทียนเก้งกวนเต้กุน โดยศึกษาวัตถุแห่งความศรัทธาในศาสนสถานพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าเฮียบเทียนเก้งกวนเต้กุน ชุมชนสะปำ จังหวัดภูเก็ต ผู้สร้างสรรค์เก็บข้อมูลภาคสนามภายในศาลเจ้าซึ่งเป็นศูนย์กลางการประกอบพิธีกรรม เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมในรูปแบบของจิตรกรรมบาติก และนําเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการทางศิลปกรรม ผลการศึกษาการสร้างสรรค์ พบว่า 1) ลักษณะวัตถุแห่งความศรัทธาที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาลเจ้าเฮียบเทียนเก้งกวนเต้กุน แสดงออกถึงคติความเชื่อ ความศรัทธาต่อรูปเคารพองค์เทพต่าง ๆ และสัญลักษณ์ทางวัตถุธรรม ด้วยการกราบไหว้บูชาอันเป็น ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยเชื้อสายจีนที่สะท้อนให้เห็นความเป็นตัวตน และความทรงจำถึงบรรพบุรุษที่เป็นคนจีนอย่างเด่นชัด 2) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบาติกผ่านรูปลักษณ์การสื่อความหมายภาพตัวแทน ที่แสดงความงามทางสุนทรียภาพทางรูปสัญลักษณ์ รูปทรงวัตถุแห่งความศรัทธาที่สื่อแสดงเชิงสัญญะทางความหมาย การตีความหมายของรูปทรงต่าง ๆ การลดทอนรูปทรงมาแสดงความหมายทางความรู้สึกตามหลักทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์ทางทัศนธาตุ ผสมผสานเทคนิคบาติกการเขียนเทียนเส้นสีหลายชั้น เทคนิคการสะบัดเทียนผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบาติก</p> ชัยวัฒน์ ลิพอนพล , ทวีรัตน์ กุลดำรงวิวัฒน์ , ปัทมาสน์ พิณนุกูล Copyright (c) 2024 patamas pinnukul https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/265949 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 A Study of the Music Culture and Characteristics of the Tajik Music in Xinjiang, China https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/266149 <p>As an important node of the Silk Road, Xinjiang is a place where multiple ethnic groups co-exist, and the Tajiks there have a unique historical background and musical tradition, which tends to be further enriched by the various cultural exchanges brought by the Silk Road. This study aims are: 1. To explore the origin of the Tajik musical culture. 2. Uncover the themes, emotions and characteristics of Tajik folk songs. Also, this study analyzes the history, culture and music of the Tajiks using documentary research and conducts in-depth field and interview research through fieldwork.</p> <p>The study shows that the Tajik music embodies the deep historical and cultural traditions of the Tajik people, incorporating diverse cultural factors, especially cultural integration with the Silk Road. The Tajik folk songs not only reflect daily life and emotions, but also provide researchers with a window into the Tajik history and culture. In addition, the Tajik musical instruments, such as the eagle flute, Tajik Ghizhak, etc., have their own unique structure and playing skills, and these instruments deeply reflect the style and characteristics of Tajik music. In general, the Tajik music is not only an art form, but also an important carrier of the history and culture of the Tajiks, which merits further research and inheritance.</p> He Xiaoying, Tanarach Anukul Copyright (c) 2024 Xiaoying He, Tanarach Anukul https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/266149 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากระบวนการสอนนาฏศิลป์ไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทยประเภทรำเดี่ยวมาตรฐานของนักศึกษาครูสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/264748 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทยประเภทรำเดี่ยวมาตรฐาน 2) พัฒนากระบวนการสอนนาฏศิลป์ไทยด้านเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทยประเภทรำเดี่ยวมาตรฐาน และ 3) ประเมินประสิทธิผลกระบวนการสอนนาฏศิลป์ไทยด้านการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยประเภทรำเดี่ยวมาตรฐานของนักศึกษาครูสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านนาฏศิลป์ไทย จำนวน 3 ท่าน และนักศึกษา จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบวัดความสามารถ และ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for dependent samples</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทยประเภทรำเดี่ยวมาตรฐานมี 6 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ทักษะพื้นฐานทางด้านนาฏนาฏศิลป์ไทยเป็นเลิศ (2) ความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ (3) ศึกษาจารีตให้ถ่องแท้ (4) ศึกษาเรื่องราวเพื่อสร้างจินตภาพในการรำ (5) ฝึกฝนฝีมือ (6) ควบคุม/ปรับปรุง 2) กระบวนการสอนนาฏศิลป์ไทยด้านเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทยประเภทรำเดี่ยวมาตรฐาน มี 8 ขั้นตอน คือ (1) ทบทวนเนื้อหา (2) การฝึกพื้นฐาน (3) เรียนรู้จารีต (4) การฝึกวิเคราะห์ (5) ความคิดสร้างสรรค์ (6) การนำเสนอผลงาน (7) การน้อมรับและการปรับปรุง และ (8) การเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยผลการทดสอบหาค่าความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 1.00 และมีความเหมาะสมโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57 และผลการทดสอบหาค่าความสอดคล้องของแบบวัดความสามารถในการสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ไทยประเภทรำเดี่ยวมาตรฐาน มีค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 1.00 และ 3) ประสิทธิผลกระบวนการสอนนาฏศิลป์ไทยด้านการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยประเภทรำเดี่ยวมาตรฐาน พบว่า หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> อัมพร ใจเด็จ Copyright (c) 2024 Amporn Chaided https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/264748 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความพึงพอใจของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อคุณภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยนาฏศิลป https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/265760 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อคุณภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยนาฏศิลป โดยมีประชากร คือ ครูพี่เลี้ยงโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูชั้นปีที่ 4 สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 21 คน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสํารวจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อคุณภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยนาฏศิลป เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 46 ข้อ ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 ความรู้ในวิชาเฉพาะ ด้านที่ 2 กระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านที่ 3 การทำงานร่วมกับผู้อื่น ด้านที่ 4 วินัยในการปฏิบัติงาน ด้านที่ 5 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ด้านที่ 6 บุคลิกภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจโดยภาพรวมของครูพี่เลี้ยงที่มีต่อคุณภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิทยาลัยนาฏศิลป โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.79, σ = 0.43) โดยนักศึกษามีความโดดเด่นในด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น (µ = 4.94, σ = 0.42) รองลงมาคือ ด้านบุคลิกภาพ (µ = 4.88, σ = 0.33) ด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (µ = 4.87, σ = 0.34) ด้านวินัยในการปฏิบัติงาน (µ = 4.83, σ = 0.39) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน (µ = 4.70, σ = 0.53) และด้านความรู้ในวิชาเฉพาะ (µ = 4.53, σ = 0.53) ตามลำดับ</p> ภควัต หม้อศรีใจ, เกวลิน ขจรรัตนวัฒน์, รวิศ ทะแสนเทพ Copyright (c) 2024 Ravit Tasantep https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/265760 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การสืบทอดและนวัตกรรม: การนำเครื่องเคลือบกว่างฉ่าย เมืองกว่างโจว ศตวรรษที่ 18 -19 มาใช้ในการออกแบบศิลปะเครื่องเคลือบสมัยใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/265946 <p> ในช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมาเครื่องเคลือบกว่างฉ่าย เมืองกว่างโจว ใช้ลักษณะทางสุนทรียะเฉพาะตัวและฝีมือการผลิตที่ยอดเยี่ยมจนกลายเป็นหนึ่งในมรดกที่สำคัญของวัฒนธรรมเครื่องเคลือบในประเทศจีน งานวิจัยฉบับนี้ใช้วิธีการวิจัยวรรณกรรมและวิธีการตรวจสอบในพื้นที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ เทคนิคการผลิตและจุดเด่นทางศิลปะของเครื่องเคลือบกว่างฉ่าย เมืองกว่างโจว เพื่อให้เข้าใจถึงต้นกำเนิดและพัฒนาการข เป็นการศึกษาเชิงลึกด้านเทคนิคการผลิตและองค์ประกอบให้เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันได้สำรวจการสืบทอดและการสร้างสรรค์งานศิลปะเครื่องเคลือบสมัยใหม่ </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า เครื่องเคลือบกว่างฉ่าย เมืองกว่างโจว มีความสมบูรณ์ มีชีวิตชีวา และงดงามเป็นจุดเด่น เช่น การออกแบบเชิงนวัตกรรมแบบผสมผสาน การออกแบบเชิงนวัตกรรมที่ตกแต่งด้วยลายขอบ การออกแบบเชิงนวัตกรรมแบบแตกโครงสร้าง และการออกแบบเชิงนวัตกรรมแบบเปลี่ยนสี เป็นต้น สามารถผสมผสานองค์ประกอบของเครื่องเคลือบกว่างฉ่าย เมืองกว่างโจวแบบดั้งเดิมให้เข้ากับศิลปะสมัยใหม่อย่างมีชีวิตชีวา ในขณะเดียวกันได้ทำการสืบทอดและออกแบบเชิงนวัตกรรม สร้างแรงบันดาลใจในการประยุกต์งานเครื่องเคลือบสมัยใหม่ อีกทั้งยังสร้างรากฐานทางทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติเพื่อการสืบทอดและออกแบบเชิงนวัตกรรมสมัยใหม่ของเครื่องเคลือบกว่างฉ่าย เมืองกว่างโจว</p> Yang Kepeng, เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์ , ภรดี พันธุภากร Copyright (c) 2024 Yang Kepeng, เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์ , ภรดี พันธุภากร https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/265946 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนบนเว็บร่วมกับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/265761 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพของกิจกรรมการเรียนการสอนบนเว็บร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) ศึกษาผลของการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนบนเว็บร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลังการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนบนเว็บร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 300 - 21006 ความเป็นพลเมืองและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 23 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3) กิจกรรมการเรียนการสอนบนเว็บร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 4) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพกิจกรรมการเรียนการสอนบนเว็บร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่าในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านกิจกรรม พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านสื่อการสอน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาพบว่า มีความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์อยู่ในเกณฑ์ระดับสูงมาก 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนบนเว็บร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> เรียนา หวัดแท่น Copyright (c) 2024 เรียนา หวัดแท่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/265761 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยศึกษาจากองค์ความรู้ของครูผู้สอนนาฏศิลป์ที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์นาฏศิลป์ในบริบทสถานศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/269212 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้จากครูผู้สอนนาฏศิลป์ที่จัดกิจกรรมสร้างสรรค์นาฏศิลป์ในบริบทสถานศึกษา 2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทย สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้องค์ความรู้จากครูผู้สอนนาฏศิลป์ และ 3) หาคุณภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ความรู้จากการจัดกิจกรรมของครูนาฏศิลป์ ระยะที่ 2 พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้องค์ความรู้ที่ได้มา ระยะที่ 3 ตรวจสอบคุณภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย เป็นครูนาฏศิลป์ 5 ท่าน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> 1) องค์ความรู้ของครูผู้สอนนาฏศิลป์จากการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์นาฏศิลป์ในบริบทสถานศึกษา มีหลักการสำคัญ 3 ด้านคือ 1.1) หลักการส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ ได้แก่ คัดเลือกนักเรียน สร้างความรู้พื้นฐาน เสริมความรู้การสร้างสรรค์ จัดประสบการณ์ และสร้างสรรค์ผลงาน 1.2) แนวทางส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ จัดทีม แบ่งผู้รับผิดชอบตามความถนัด 1.3) กลวิธีส่งเสริมความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์ ร่วมเรียนรู้การสร้างสรรค์ และทำงานด้วยตนเอง 2) กิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมี 3 กิจกรรมคือ 2.1) สร้างความรู้พื้นฐาน รำเข้าจังหวะเพลงและบทร้อง ตีความหมายบทร้องและท่ารำ 2.2) เรียนรู้งานสร้างสรรค์ผู้อื่น วิเคราะห์แนวคิด ความสอดคล้ององค์ประกอบการแสดง และ 2.3) สร้างสรรค์งานด้วยตนเอง เชื่อมโยงแนวคิดสู่การออกแบบสร้างสรรค์งานอย่างเป็นเอกภาพ 3) คุณภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด = 4.58, S.D. = 0.54</p> วรินทร์พร ทับเกตุ, พหลยุทธ กนิษฐบุตร , บวรนรรฏ อัญญะโพธิ์ , เกษร เอมโอด Copyright (c) 2024 วรินทร์พร ทับเกตุ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/269212 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผ้าซิ่นนางหาญ: ตำนานและอัตลักษณ์ผ้าทอพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/266271 <p> บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาตำนานและอัตลักษณ์ผ้าซิ่นนางหาญของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ใช้แนวคิดและทฤษฎีอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาผ้าทอพื้นบ้านและการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสารและการลงพื้นที่ภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่า ผ้าซิ่นนางหาญเป็นตำนานที่ถูกสร้างขึ้นโดยไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับตำนานผ้าซิ่นนางหาญที่ถูกเล่าสืบต่อกันมามี 3 ตำนาน ดังนี้ ตำนานแรกผู้หญิงไทดำ 3 คนทอผ้า โดยผู้หญิงคนที่ 1 และผู้หญิงคนที่ 2 เริ่มต้นทอผ้าแล้วเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้หญิงคนที่ 3 จึงได้ทอผ้าต่อ ก่อนทอได้บนบานว่าจะนำผ้าที่ทอเสร็จถวายแก่ผีบ้านผีเรือนในพิธีเสนเฮือน ตำนานที่สอง กล่าวถึงหญิงไทดำชื่อนางหุง อยู่เมืองแถนได้ร่วมรบกับทหาร เพื่อต่อสู้ข้าศึกที่เข้ามารุกรานบ้านเมือง โดยนางได้ทำการรบอย่างเต็มความสามารถ จนขับไล่ข้าศึกออกไปจากเมืองได้ เมื่อกลับถิ่นฐานจึงได้ทอผ้าถวายราชินี และพระราชินีได้พระราชทานชื่อใหม่ว่า “นางหาญ” ส่วนตำนานที่ 3 เป็นเรื่องช่างทอที่ต้องการทอผ้าซิ่นนางหาญถวายพระเจ้าแผ่นดินเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดี อย่างไรก็ดีแต่ละตำนานได้สื่อสารถึงทักษะและความสามารถของหญิงไทดำที่มุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว และกล้าหาญที่จะทอผ้าให้มีความสวยงาม สำหรับอัตลักษณ์ผ้าซิ่นนางหาญ คือ ผ้าทอลายมัดหมี่และลายทอขิดจำนวน 5 ลายคือ ลายนาคใหญ่ ลายนาคน้อย ลายช่อปราสาท ลายขิดผีเสื้อ และลายขิดตุ้ม ที่แฝงเรื่องราวความกล้าหาญของหญิงไทดำ ส่วนคุณค่าของผ้าซิ่นนางหาญ ได้แก่ ด้านความเชื่อ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านวิถีชีวิต ด้านเศรษฐกิจ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และด้านการท่องเที่ยว</p> ไทยโรจน์ พวงมณี, อิสริยาภรณ์ ชัยกุหลาบ Copyright (c) 2024 Thairoj Phoungmanee https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/266271 Tue, 30 Apr 2024 00:00:00 +0700