วิพิธพัฒนศิลป์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT
<p>วารสาร “วิพิธพัฒนศิลป์” ISSN 2985-265X (Online) รับตีพิมพ์บทความคุณภาพทางด้านศิลปะ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสาขาศิลปะ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และบุคคลทั่วไป ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี </p> <p>ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน </p> <p>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม </p> <p>ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม</p> <p> </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ </strong></p> <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">1. <span lang="TH">อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความภาษาไทย ดังนี้</span></span></p> <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;"> (1) <span lang="TH">นักศึกษา บทความละ </span>1,500<span lang="TH"> บาท</span></span></p> <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;"> (2) <span lang="TH">บุคลากร บทความละ </span>2,000<span lang="TH"> บาท</span></span></p> <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;"> (3) <span lang="TH">บุคคลทั่วไป บทความละ </span>3,000<span lang="TH"> บาท</span></span></p> <p style="margin: 0cm; margin-bottom: .0001pt;"><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">2. <span lang="TH">อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความภาษาอังกฤษบทความละ </span>4,500 <span lang="TH">บาท</span></span></p> <p>บัญชี : ธนาคารกรุงไทย</p> <p>ชื่อบัญชี : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (เงินนอกงบประมาณ)</p> <p>เลขที่บัญชี : 982-2-56571-2</p> <p>หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์จะเรียกเก็บเมื่อบทความเข้าสู่กระบวนการพิจารณาบทความ และค่าธรรมเนียมที่ชำระแล้วจะไม่คืนให้กับผู้เขียนไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น</p> <p> </p> <p>นอกจากนี้ วารสารวิพิธพัฒนศิลป์ มีความประสงค์สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของวารสาร เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงคุณภาพของวารสาร การให้บริการ ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด จึงขอความอนุเคราะห์ท่านโปรดตอบแบบสำรวจความพึงพอใจการใช้บริการของวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ตามแบบประเมินด้านล่างนี้</p> <p><a href="https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScoOqOOB3tKVuaIlU1cjpd5cg11lfuY0Yiks225-Rmvi4AbUQ/viewform">แบบประเมินความพึงพอใจการใช้บริการวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์</a></p>
Bunditpatanasilpa Institute
th-TH
วิพิธพัฒนศิลป์
2730-3640
<p> เนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น โดยกองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความ</p> <p> </p>
-
Ndadi: A Preliminary Perspective on Trance in the Angguk Sripanglaras Folk Performance of Kulon Progo, Yogyakarta, Indonesia
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/264789
<p>This study investigates the complexities of dancers' experiences during the <em>ndadi</em> moment in <em>Angguk</em> performances, an emblematic folk performance from Kulon Progo Regency in Yogyakarta. The full <em>Angguk</em> performance consists of three sequences, with <em>ndadi</em> scenes in each sequence. Researchers have often interpreted the <em>Ndadi</em> scene as a state of possession or trance, and this study tries to determine whether it is indeed possession or trance. For this study, <em>Angguk</em> Sripanglara's performances were observed, interviews were conducted with performers and leaders, and the relevant literature was reviewed. The results showed that dancers experienced diverse conditions during an <em>Ndadi</em> scene, and the experience could vary from performance to performance. Based on observation and interviews, <em>ndadi </em>is a mandatory part of a full <em>Angguk</em> performance, whether the dancers experience trance, possession, both, or neither.</p>
Galih Prakasiwi
Paramitha Dyah Fitriasari
Agustinus Paulus Umbu Tali
Copyright (c) 2024 Galih Prakasiwi, Paramitha Dyah Fitriasari, Agustinus Paulus Umbu Tali
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-29
2024-07-29
4 2
1
15
10.14456/wipit.2024.9
-
กลวิธีการเล่นมือฆ้องวงใหญ่เพลงเชิด ตามแนวทางของครูสอน วงฆ้อง
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/268182
<p> งานวิจัยเรื่อง กลวิธีการเล่นมือฆ้องวงใหญ่ เพลงเชิด ตามแนวทางครูสอน วงฆ้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์ประวัติ และผลงานของครูสอน วงฆ้อง 2) ศึกษากลวิธีการเล่นมือฆ้องวงใหญ่เพลงเชิด ตามแนวทางของครูสอน วงฆ้อง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กรณีศึกษาเพลงเชิด จำนวน 16 ตัว ใช้วิธีเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสังเกตจากกลุ่มบุคคลข้อมูล ได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก กลุ่มครูอาจารย์สอนดนตรีไทย และกลุ่มนักวิชาการดนตรีไทย นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำเสนอในรูปแบบงานวิจัย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติครูสอน วงฆ้อง มีประเด็นที่น่าสนใจคือ การเริ่มเรียนดนตรีตามจารีตกับครูทอง ฤทธิรณ ผู้ขัดเกลาให้มีคุณลักษณะนักดนตรีที่สง่างาม จนทำให้ได้เข้าเป็นมหาดเล็กกระทรวงวัง ในสังกัดเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวังในรัชกาลที่ 6 โดยพระยาเสนาะดุริยางค์ เป็นครูสอนวิชาการดนตรี และขัดเกลาให้ครูสอนมีความรู้ ความเชี่ยวชาญการตีฆ้องวงใหญ่ ด้านผลงานของท่านมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะการเล่นมือฆ้องวงใหญ่ ซึ่งเป็นการนำทำนองหลักของเพลงมาแปรทำนอง หรือตกแต่งสำนวน รวมถึงการยืมสำนวนเพลงอื่นมาใช้ เพื่อให้เกิดสำนวนใหม่ที่แตกต่างไปจากทำนองหลัก ฉายสำนวนที่มีลักษณะพิเศษด้วยกลวิธีต่าง ๆ 2) กลวิธีการเล่นมือฆ้องวงใหญ่ในเพลงเชิด พบกลวิธีอยู่ทั้งหมด 4 รูปแบบ คือ การตีเฉี่ยว การตีเล่นสำนวนทำนองหลัก การตีเล่นจังหวะ และการตีสะบัด ซึ่งกลวิธีทั้งหมดนี้ มีส่วนสำคัญในการนำมาสร้างเป็นสำนวนการเล่นมือที่สามารถแสดงอารมณ์เพลงออกมาได้อย่างชัดเจน</p>
ณัฐภัทร ปัญจะ
ดุษฎี มีป้อม
บำรุง พาทยกุล
Copyright (c) 2024 Nattapat Punja
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-29
2024-07-29
4 2
16
32
10.14456/wipit.2024.10
-
ฟ้อนทางหวาน: การสร้างอัตลักษณ์นาฏยศิลป์อีสานของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/266069
<p> บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “อัตลักษณ์ที่ปรากฏในผลงานสร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์” โดยมีวัตถุประสงค์หลักๆ เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ที่ปรากฏในนาฏยศิลป์อีสานของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ โดยใช้กระบวนวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต โดยมีกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน มีกลุ่มผู้สร้างสรรค์ จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้แสดง จำนวน 5 คน จากนั้นเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลตามความมุ่งหมายของการวิจัย ด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์อย่างหนึ่งของนาฏยศิลป์พื้นบ้านอีสานของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์คือสไตล์หรือรูปแบบลีลาท่าทางในการฟ้อน ที่มีลักษณะนุ่มนวล อ่อนหวาน มีความประณีต งดงาม และมีระเบียบ จนได้รับการขนานนามว่า “ฟ้อนหวาน” ซึ่งเกิดจากการนำท่าฟ้อนของท้องถิ่นอันบริสุทธิ์ที่ไม่มีแบบแผนตายตัว มาจัดระเบียบผสมผสานกับหลักการเบื้องต้นของนาฏยศิลป์แบบราชสำนักไทย เพื่อให้การฟ้อนมีระดับและองศาในการเคลื่อนไหวอย่างมีระเบียบแบบแผน งดงาม และชัดเจนมากขึ้น ลักษณะของท่วงท่าลีลาที่อ่อนช้อยและงดงามนี้ จึงเป็นผลพวงมาจากการผสมผสานองค์ความรู้ระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นกับภูมิปัญญาราชสำนัก จนสามารถผลิตและสามารถสร้างตัวตนจากวัฒนธรรมย่อย ให้เกิดการยอมรับในพหุลักษณ์ทางนาฏศิลป์ในเวลาต่อมา ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นเครื่องบ่งบอกความเป็นตัวตนด้านอัตลักษณ์สำคัญของนาฏยศิลป์อีสานของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ว่า มีความแตกต่างจากสไตล์การฟ้อนของที่อื่นอย่างชัดเจน</p>
นุจรินทร์ พลแสน
ภาวิณี บุญเสริม
ดารณี จันทมิไซย
Copyright (c) 2024 นุจรินทร์ พลแสน , ภาวิณี บุญเสริม, ดารณี จันทมิไซย
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-29
2024-07-29
4 2
33
48
10.14456/wipit.2024.11
-
นาฏยประดิษฐ์ ชุด ตีฆารายาปาตานี
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/266558
<p> นาฏยประดิษฐ์ ชุด ตีฆารายาปาตานี เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาศิลปนิพนธ์โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาศิลปะการแสดง (นาฎศิลป์ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์และออกแบบการแสดงนาฏศิลป์ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แนวความคิดและทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์ร่วมกับการปฏิบัติการ นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ แล้วนำมาสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ตามลำดับ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ในประวัติศาสตร์ของอาณาจักรปาตานีมีกษัตรีย์ผู้มีพระปรีชาสามารถปกครองแผ่นดิน 3 พระองค์ ได้แก่ รายาฮิเยา รายาบีรู และรายาอูงู แต่ละพระองค์มีอัตลักษณ์โดดเด่น และสามารถปกครองอาณาจักรปาตานีให้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุคลังกาสุกะ จากข้อความดังกล่าวนำมาสู่การสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์ ชุด ตีฆารายาปาตานี ซึ่งประกอบไปด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวความคิด 2) นักแสดง 3) การประพันธ์บทร้องและการบรรจุเพลง 4) การออกแบบกระบวนท่ารำ 5) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 6)การออกแบบการใช้พื้นที่เวทีการแสดง 7) อุปกรณ์ประกอบการแสดงและการจัดวางตำแหน่งบนเวที ความน่าสนใจประการหนึ่งของการแสดงชุดนี้คือการใช้ท่าทางและดนตรีมะโย่งซึ่งเป็นการรำในราชสำนักปาตานีผสมผสานกับอัตลักษณ์การแสดงพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง นำเสนอในรูปแบบนาฏศิลป์สร้างสรรค์พื้นเมืองภาคใต้ จากการวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้ได้นำมาซึ่งนาฏยประดิษฐ์ ชุด ตีฆารายาปาตานี อันจะเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษาโดยเฉพาะการสร้างสรรค์งานนาฏกรรมจากเกียรติภูมิของบรรพบุรุษ ส่งเสริมให้เยาวชนในท้องถิ่นเกิดความตระหนักรู้และเห็นความสำคัญของประวัติความเป็นมาของกลุ่มคนในถิ่นฐาน วีถีชีวิตที่แสดงออกมาในรูปแบบที่แตกต่าง ความเชื่อ ความเป็นอยู่ การแต่งกาย ศิลปวัฒนธรรมประจำถิ่น อันเป็นมรดกล้ำค่าที่กำลังจะสูญหายไปจากความทรงจำให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อไป</p> <p> </p>
มนัญชยา เพชรูจี
ศศิชา งามสอาด
กาญจนา ท้ายวัด
พัฒนภูมิ เอียดเต็ม
Copyright (c) 2024 มนัญชยา เพชรูจี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-29
2024-07-29
4 2
99
114
10.14456/wipit.2024.15
-
การถ่ายทอดความงามของพืชพรรณผ่านจิตรกรรมสีน้ำ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/264975
<p> ผลงานชุด “การถ่ายทอดความงามของพืชพรรณผ่านจิตรกรรมสีน้ำ” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมด้วยเทคนิคสีน้ำบนกระดาษ เพื่อถ่ายทอดความงามของพืชพรรณตามลักษณะที่เป็นจริงตามธรรมชาติ เลือกพืชดอกที่มีสีอยู่ในโทนอุ่นได้แก่ สีเหลือง สีส้ม สีแดง และเป็นพืชใกล้ตัวที่สามารถพบเห็นได้จริงเพื่อสามารถสังเกตลักษณะได้โดยตรง สร้างสรรค์โดยใช้ทักษะทางด้านจิตรกรรมและหลักวิธีการทางการวาดภาพพฤกษศาสตร์ ซึ่งมีกระบวนการสังเกตลักษณะของพืชโดยสังเกตจากพืชของจริงอย่างละเอียด และศึกษา ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพืชที่จะวาดก่อน เพื่อแสดงถึงลักษณะทางกายภาพที่ถูกต้องของพืช ผลของการสร้างสรรค์ได้ผลงานที่เป็นการบูรณาการศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกันทั้งหมด 3 ชิ้น ซึ่งเป็นผลงานที่มีคุณค่าด้านความงามในทางศิลปะ ทั้งทางด้านองค์ประกอบที่เป็นความจริงตามธรรมชาติและองค์ประกอบทางศิลปะที่ผู้สร้างสรรค์ปรับให้มีความลงตัวมากขึ้น โดยการจัดระเบียบให้รูปทรงที่ยุ่งเหยิงในธรรมชาติให้เกิดเอกภาพในผลงาน เพื่อให้เห็นถึงความงามตามธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาของพืช รวมถึงคุณค่าด้านเนื้อหาข้อมูลความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ สามารถนำภาพผลงานไปใช้อ้างอิงข้อมูลทางในการศึกษาด้านพฤกษศาสตร์ได้ และผลที่เกิดกับผู้สร้างสรรค์คือในระหว่างการสร้างสรรค์ผลงานได้มีการสังเกตและพินิจพิจารณาในลักษณะของพืชพรรณอย่างละเอียด จึงทำให้เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของความงามในรายละเอียดจากธรรมชาติใกล้ตัว</p>
ฐิตา ครุฑชื่น
Copyright (c) 2024 ฐิตา ครุฑชื่น
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-29
2024-07-29
4 2
115
131
10.14456/wipit.2024.16
-
ภาษาไทยกับกลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาต่างประเทศ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/267402
<p> บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายความหมายของภาษาไทย เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประเทศไทย และความสัมพันธ์ระหว่างภาษาไทยกับวัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ยังเน้นถึงการใช้กระบวนการแปล โดยอ้างอิงแนวคิดและทฤษฎีการแปล สำหรับคำทางวัฒนธรรมจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ผู้เขียนต้องการสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงคุณลักษณะเฉพาะและเสน่ห์ของภาษาไทย พร้อมทั้งเน้นย้ำความสำคัญของการแปลภาษาต่างประเทศ โดยคำนึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณี และเรื่องราวของประเทศต้นทาง เนื่องจากภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่องค์ความรู้จากประเทศไทยไปยังประเทศอื่น ๆ และในทางกลับกัน การแปลที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำความเข้าใจ เพื่อให้การแปลมีคุณภาพสูง ผู้แปลต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมไทยและภาษาไทย การแปลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แม้ว่าจะช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการสร้างคำศัพท์ใหม่ในภาษาปลายทาง แต่อาจเกิดความคลาดเคลื่อนทางความหมายได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้แปลจำเป็นต้องพิจารณาความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมต้นทางและปลายทางอย่างรอบคอบเมื่อเลือกใช้คำ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความสำคัญของการแปลในการปฏิบัติงานด้านวิเทศสัมพันธ์ในสถาบันการศึกษาไทยซึ่งมีบทบาทในการเผยแพร่งานวิจัย หลักสูตร สาขาวิชา ข้อมูล และวัฒนธรรมไทยจากสถาบันการศึกษาไทยไปยังมหาวิทยาลัย และองค์กรอื่น ๆ ในต่างประเทศ การแปลที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ผู้แปลจำเป็นต้องเป็น “ทูตวัฒนธรรม” ที่สามารถถ่ายทอดบรรยากาศและความหมายของเนื้อหาต้นฉบับได้อย่างถูกต้องครบถ้วน</p>
ชุติมา สุดจรรยา
Copyright (c) 2024 ชุติมา สุดจรรยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-29
2024-07-29
4 2
49
68
10.14456/wipit.2024.12
-
การศึกษาแนวคิดการออกแบบเนื้อหาและนำเสนองานด้านนาฏศิลป์ ที่ประสบความสำเร็จในแอปพลิเคชัน TikTok กรณีศึกษา: ครูเทเท่ และป้าปุ๋ยนางรำพาเที่ยว
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/266561
<p> บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบ แนวทางการสร้างเนื้อหารวมถึงปัจจัยที่ทำให้การนำเสนอความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ไทยให้ได้รับความสนใจผ่านแพลตฟอร์มติ๊กต๊อก (TikTok) กรณีศึกษา: ครูเทเท่ และป้าปุ๋ยนางรำพาเที่ยว โดยนำเสนอประเด็นการออกแบบเนื้อหาทางด้านศิลปะการแสดงในปัจจุบันผ่านทางแอปพลิเคชัน TikTok ผู้เขียนต้องการศึกษาหาความแตกต่างตลอดจนจุดคิดร่วมของอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) กลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมทางด้านการสร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับนาฏศิลป์ โดยผู้เขียนได้กำหนดกรณีศึกษาอินฟลูเอนเซอร์ที่ผู้ชมรู้จักกันในนาม ครูเทเท่ และป้าปุ๋ยนางรำพาเที่ยว ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานได้ทุกกลุ่มความสนใจ ไม่จำกัดเพศสามารถใช้งานได้ทุกช่วงวัย โดยกรณีศึกษาทั้ง 2 กรณีได้มีการสร้างสรรค์เนื้อหาโดยผ่านวิธีคิดที่น่าสนใจ เช่น การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และมีการทำความรู้จักและเข้าใจกลุ่มฐานผู้ชม การสร้างเนื้อหาที่เป็นการตอบคำถามผ่านเนื้อหารายการ ตลอดจนเลือกเทคนิคและการนำเสนอเนื้อหาของตนเองด้วยรูปแบบที่น่าสนใจ</p>
ศศิชา งามสอาด
ศักดิ์ชัย เอี่ยมกระสินธุ์
Copyright (c) 2024 ศศิชา งามสอาด, ศักดิ์ชัย เอี่ยมกระสินธุ์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-29
2024-07-29
4 2
69
83
10.14456/wipit.2024.13
-
การฝึกทักษะฆ้องวงใหญ่เบื้องต้น
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/WIPIT/article/view/269322
<p> ฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี มีหน้าที่ดำเนินทำนองหลักในวงปี่พาทย์ ผู้เริ่มเรียนดนตรีไทยประเภทเครื่องตีทุกคนต้องมีทักษะการตีฆ้องวงใหญ่เบื้องต้นเพื่อเป็นพื้นฐานในการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีชนิดอื่น การฝึกทักษะฆ้องวงใหญ่เบื้องต้น จึงเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับผู้เริ่มเรียนที่ไม่มีพื้นฐานการบรรเลงดนตรีไทยประเภทเครื่องตี</p> <p> ทักษะพื้นฐานสำหรับการเรียนฆ้องวงใหญ่เริ่มตั้งแต่การนั่ง วิธีการจับไม้ฆ้อง และลักษณะการตีฆ้อง ขั้นตอนการฝึกทักษะการตีฆ้องวงใหญ่เบื้องต้นเริ่มจากแบบฝึกทักษะการตีฉากคู่ 4 คู่ 8 การตีไล่เสียง ทีละมือ ขึ้น - ลง การตีไล่เสียงคู่ 8 แบบเรียงเสียง ขึ้น - ลง การตีไล่เสียงสลับมือขึ้น - ลง เป็นคู่ 8 การตีไล่เสียง 3 เสียง ขึ้น - ลง การตีไล่เสียง 4 เสียง ขึ้น - ลง แบบเรียงเสียง การตีไล่เสียง 4 เสียง ขึ้น - ลง แบบข้ามเสียง การตีแบ่งมือคู่ 8 แบบเรียงเสียง ขึ้น - ลง การตีกรอ การตีสะบัดมือขึ้น - ลง การตีผสมมือบรรเลงเป็นเพลงโดยใช้เพลงเหาะซึ่งเป็นเพลงที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มเรียน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องฝึกทักษะดังกล่าวให้สามารถจดจำลักษณะการตีจนเกิดความชำนาญและการสร้างกำลังแขน เพื่อสามารถนำทักษะพื้นฐานดังกล่าวไปประยุกต์ พัฒนา และต่อยอดความรู้ทางด้านการบรรเลงดนตรีไทยในระดับขั้นสูงต่อไป</p>
น้ำเพชร ฟักทอง
Copyright (c) 2024 น้ำเพชร ฟักทอง
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-07-29
2024-07-29
4 2
84
98
10.14456/wipit.2024.14