วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM <p><strong>วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ </strong>วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เป็นวารสารระดับชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานวิจัยและผลงานวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และด้านอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย</p> <p>โดยบทความที่ส่งเข้ามาจะได้รับการประเมินคุณภาพทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ประเมิน (reviewers) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน โดยพิจารณาแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้เขียนบทความ ผู้พิจารณาบทความ และผู้เกี่ยวข้อง (double-blinded review)</p> <p>วารสารดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2559 โดยกำหนดเผยแพร่วารสาร ปีละ 3 ฉบับ: <br /> ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน)<br /> ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม)<br /> ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม)</p> <p>รูปแบบการตีพิมพ์ ได้เริ่มจัดทำขึ้นวัน 1 กันยายน 2554<br />ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กันยายน - ธันวาคม 2554) ISSN 2229-1598 (Print)<br />และได้เริ่มจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ วันที่ 1 มกราคม 2559<br />ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2562) E-ISSN 2697-4460 (Online)</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ</strong></p> <p>บทความภาษาไทย 4,500 บาท</p> <p>บทความภาษาอังกฤษ 6,500 บาท</p> <p> </p> th-TH <p>ข้อความและบทความในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ เป็นแนวคิดของผู้เขียน ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของคณะผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์</p> <p>ข้อความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หากบุคคลใดหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการก่อนเท่านั้น</p> siriwat.ple@rmutr.ac.th (ผศ.ดร.ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง) Thananchakorn.pak@rmutr.ac.th (ดร.ธนัญชกร ปกิตตาวิจิตร) Thu, 29 Aug 2024 13:53:43 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้านด้วยนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เพื่อการชำระเงิน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/265241 <p>บทความวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการประยุกต์ปัจจัยส่วนขยายในแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยีเพื่อศึกษาความตั้งใจใช้ปัญญาประดิษฐ์ในธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้านมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เพื่อการชำระเงิน 2. ศึกษาแรงกระเพื่อมในตลาดธุรกิจค้าปลีกที่เกิดจากผลการศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ 3. นำเสนอกลยุทธ์การจัดการธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้านในภาวะวิกฤติด้วยนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์เพื่อการชำระเงิน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน สุ่มตัวอย่างแบบโควต้าและจำเพาะเจาะจงในการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 400 ตัวอย่าง และคุณภาพ จำนวน 4 ตัวอย่าง ตามลำดับ วิเคราะห์ประมวลผลด้วยสถิติเชิงอนุมานถดถอยพหุคูณ จากการวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการชำระเงิน ได้แก่ ปัจจัยความคาดหวัง<br />ในผลลัพธ์ของผู้บริโภค ปัจจัยคุณลักษณะของปัญญาประดิษฐ์ ปัจจัยอารมณ์ และปัจจัยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค สามารถทำนายระดับความตั้งใจใช้ได้ร้อยละ 63.2 แรงกระเพื่อมที่เกิดขึ้นกับปัญญาประดิษฐ์เพื่อการชำระเงิน คือ ช่วยทำให้มีความปลอดภัยจากโควิด 19 ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการตัดสินใจเลือกสถานที่ใช้บริการ ช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการได้ ช่วยดึงดูดลูกค้าให้มารับบริการเนื่องจากมีขั้นตอนที่น้อย โดยกลยุทธ์สำคัญที่นำมาใช้เพื่อจัดการกับวิกฤติความซบเซาของธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้านด้วยปัญญาประดิษฐ์เพื่อการชำระเงิน ได้แก่ ส่งเสริมการนำมาใช้งานเพื่อดึงดูดผู้บริโภคที่คำนึงถึงความปลอดภัยจากโควิด19 ในการใช้ชีวิตประจำวัน การนำมาใช้งานในร้านค้าปลีกที่มีปัญหาแถวรอคอยเนื่องจากมีขั้นตอนที่น้อย การนำมาใช้งานเพื่อดึงดูดผู้บริโภคที่ต้องการความรวดเร็วในการใช้บริการ</p> ธมลวรรณ ธีระบัญชร Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/265241 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การศึกษารูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาปฐมวัยด้วยเทคนิคกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/265127 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ องค์ประกอบ รูปแบบการพัฒนาทักษะการคิด และผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาปฐมวัยด้วยเทคนิคกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหารในโรงเรียนฝึกวิชาชีพครู ครูผู้สอน นักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครูสาชาวิชาการศึกษาปฐมวัย ทั้งหมด 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม หาค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามได้ .87 และใช้รูปแบบหลักสูตรฝึกอบรมกับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาปฐมวัย จํานวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาปฐมวัย 4 ปี และประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรจากคณะกรรมการ จำนวน 3 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับและองค์ประกอบทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณที่ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่า โดยภาพรวมรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนองค์ประกอบทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณที่ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 พบว่ามี 5 ปัจจัย คือ (1) จัดทำข้อตกลงเบื้องต้นและการวางแผนเบื้องต้นร่วมกันในการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (2) กระตุ้นให้ผู้เรียนมีกำลังใจจนสามารถทำโครงงานได้ (3) ฝึกให้ผู้เรียนร่วมนำเอาความรู้ที่มีอยู่มาประดิษฐ์หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ ด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (4) ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักตอบปัญหาและแสวงหาความรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานอย่างมีเหตุมีผล และ (5) ให้ผู้เรียนสรุปสิ่งที่ได้จากการค้นพบด้วยการลงมือปฏิบัติของผู้เรียนเองเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการทำกิจกรรมตามความสนใจในครั้งต่อไป 2) ผลการศึกษารูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาปฐมวัยด้วยเทคนิคกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนาหลักสูตร 9 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) หลักการและเหตุผล 3) วัตถุประสงคและขอบขาย 4) จุดมุ่งหมายเนื้อหา 5) กระบวนการฝึกอบรม 6) การสร้างหลักสูตร 7) พัฒนากิจกรรม 8) การนำหลักสูตรไปใช้ และ 9) การสร้างแบบวัดหลักสูตรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 3) ผลการศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบหลักสูตร พบว่า มีการนําแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไปใช้ โดยภาพรวมรายด้านมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด</p> ผ่องนภา พรหมเกษ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/265127 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การบริหารงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/266978 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ รูปแบบของการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างตามภารกิจ และพนักงานจ้างทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานของนายกฯ ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับ คือ มิติด้านการบริหาร มิติด้านทรัพยากรบุคคล มิติด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และมิติด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2) แนวทางการบริหารงานของนายกฯ พบว่า 2.1) ด้านการบริหารควรมีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นและพัฒนาตนเอง 2.2) ด้านทรัพยากรบุคคลควรกำหนดนโยบายและเป้าหมายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้บริหารและหน่วยงานให้ชัดเจน 2.3) ด้านแรงจูงใจควรจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับบุคลากรภายในหน่วยงาน และ 2.4) สภาพแวดล้อมควรจัดสิ่งส่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอ</p> กัญญาณัฐ ไฝคำ, จันทนา อินทฉิม Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/266978 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 สัมพันธภาพของบุคลากรสายวิชาชีพทางการแพทย์ภายในองค์กร เครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/266942 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับสัมพันธภาพของบุคลากรสายวิชาชีพทางการแพทย์ภายในองค์กรเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ของสัมพันธภาพของบุคลากรสายวิชาชีพทางการแพทย์ภายในองค์กรเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล โดยรูปแบบของการวิจัยเป็นงานวิจัยประเภทงานวิจัยทางสังคมศาสตร์หรือพฤติกรรมศาสตร์ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถาม จากบุคลากรทางการแพทย์ด้านปฏิบัติการ (clinical) โรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล มี 11 โรงพยาบาล เก็บประชากรทุกโรงพยาบาล ซึ่งประกอบไปด้วยสาขาวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล และผู้ช่วยพยาบาล โดยคำนวณจำนวนตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power version 3.1.9.2 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างซึ่งคณะผู้วิจัยได้มีการกำหนดจำนวนอาสาสมัครทั้งสิ้น 1,126 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 หรือ 0.01</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับสัมพันธภาพของบุคลากรสายวิชาชีพทางการแพทย์ภายในองค์กรเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล อยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้านคือ ด้านการสร้างทีมสัมพันธ์ รองลงมา คือ ด้านการแก้ปัญหาร่วมกัน ด้านการเคารพความแตกต่างแต่ละช่วงอายุ ด้านวัฒนธรรมองค์กรมี และด้านภาวะผู้นำเหนือผู้นำ ส่วนอีก 3 ด้านอยู่ในระดับมากคือ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และด้านการสื่อสารในกระบวนการทำงาน ด้านศักยภาพของบุคลากรในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพของบุคลากรสายวิชาชีพทางการแพทย์ภายในองค์กรเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล เปรียบเทียบบุคลากร แพทย์ พยาบาล และผู้ช่วยพยาบาล พบว่า พยาบาลมีความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพของบุคลากรสายวิชาชีพทางการแพทย์ภายในองค์กรเครือฯ สูงกว่าผู้ช่วยพยาบาล และแพทย์ โดยวิชาชีพพยาบาลมีค่าความสัมพันธ์สูงสุดคือ อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ค่าความสัมพันธ์ร้อยละ 89.50 (r = 0.895) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 รองลงมาคือ ผู้ช่วยพยาบาล มีค่าความสัมพันธ์สูงสุดคือ อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ค่าความสัมพันธ์ร้อยละ 81.30 (r = 0.813) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และแพทย์ มีค่าความสัมพันธ์สูงสุดคือ อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ค่าความสัมพันธ์ร้อยละ 80.10 (r = 0.801) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 </p> กิติกรณ์ ชลวิสุทธิ์, อิศราภรณ์ พูนสวัสดิ์, ประภาศรี เบญจศิริลักษณ์, กัญญาณัฐ ไฝคำ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/266942 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 นโยบายการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมยานยนต์ของรัฐ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/267030 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ 1) เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน และ 3) เพื่อวิเคราะห์นโยบายภาครัฐ และ 4) เพื่อเสนอรูปแบบการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติที่สนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมยานยนต์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 160 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ดำเนินนโยบาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ</p> <p>ผลการวิจัย 1) ด้านผลการดำเนินงาน พบว่าผู้ประกอบการกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐมีผลการดำเนินงานในระดับ ดี แต่กลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐมีผลการดำเนินงานในระดับพอใช้ 2) ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน พบว่า ประกอบด้วย ความพร้อมของผู้ประกอบการ และสมรรถนะของผู้ประกอบการ 3) ด้านนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนผู้ประกอบการ พบว่า ประกอบด้วยนโยบายสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ นโยบายส่งเสริมการลงทุน และนโยบายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ และ 4) ด้านรูปแบบการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า ประกอบด้วย (ก) รัฐควรกำหนดนโยบายให้มีความสอดคล้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน และ (ข) รัฐควรนำนโยบายไปปฏิบัติโดยเชื่อมโยงข้อมูลกันเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประกอบการ</p> อุดมศักดิ์ หมวดฉิมแก้ว, วรเดช จันทรศร, เพ็ญศรี ฉิรินัง, ชาญ ธาระวาส Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/267030 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการประชาสัมพันธ์ของท่าอากาศไทย กรณีศึกษา: ท่าอากาศยานดอนเมือง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/264727 <p>การวิจัยเรื่องแนวทางการประชาสัมพันธ์ของท่าอากาศไทย กรณีศึกษา: ท่าอากาศยานดอนเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการประชาสัมพันธ์ของท่าอากาศยานดอนเมือง และเพื่อนำเสนอการประชาสัมพันธ์ของท่าอากาศยานดอนเมือง ในการวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ได้กำหนดการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวน 400 คน คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรที่ไม่ทราบจำนวนประชากรของ W.G.cochran โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้วิธีทางสถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ระดับคุณภาพการให้บริการประชาสัมพันธ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านการสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.94 รองลงมา คือ ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านการตอบสนองความต้องการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.93 ส่วนด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ และด้านความเห็นอกเห็นใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.92 ตามลำดับ ได้รับแนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์แบบใหม่ เรียงลำดับจากความเหมาะสมจากมากไปหาน้อย ได้แก่ Facebook, Twitter, Line, AOT application, YouTube และทำคลิปผ่าน Social Media ง่ายต่อการเข้าถึง แนวทางการพัฒนาแนวทางประชาสัมพันธ์ควรเป็นลักษณะ Two-ways communication (การสื่อสารแบบสองทาง มีการโต้ตอบซึ่งกันและกัน) </p> ปุณณภา ธัญฐาดิษกร, วราภรณ์ เต็มแก้ว, ธัญญรัตน์ คำเพราะ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/264727 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการสั่งซื้อ บริษัท เวิลด์ เอเชีย โซลูชั่น จำกัด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/264803 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนสำหรับบริษัท เวิลด์ เอเชีย โซลูชั่น จำกัดและเพื่อจัดประเภทของสินค้าคงคลังตามลำดับความสำคัญได้อย่างเหมาะสมใช้วิธีการแบ่งกลุ่มของสินค้าโดยนำ ABC Analysis เป็นแนวทางในการช่วยจัดประเภทกลุ่มสินค้า และวิเคราะห์หาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมEOQและหาจุดสั่งซื้อช้ำROP (Reorder point) โดยนำสินค้าตัวอย่างกลุ่ม A จำนวน 5 รายการมาเปรียบเทียบการสั่งซื้อจริงกับการสั่งซื้อที่เหมาะสมแบบEOQ ผลการวิจัยจากการเปรียบเทียบรูปแบบการสั่งซื้อจะเห็นได้ว่ารูปแบบการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสมแบบ EOQ เป็นรูปแบบที่สามารถช่วยให้บริษัทกรณีศึกษานี้ต้นทุนรวมลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการสั่งซื้อจริงในปี 2564 ซึ่งพบว่าต้นทุนรวมมีผลต่างที่ลดลงเป็นจำนวน 13,682 บาทต่อปีและสามารถช่วยให้พนักงานวางแผนการสั่งซื้อสินค้าได้ในปริมาณที่เหมาะสมเนื่องจากเป็นวิธีที่บริษัทกรณีศึกษาไม่เคยนำมาใช้ รวมถึงเทคนิคการจัดกลุ่มสินค้าคงคลังแบบABC Analysis และการหาจุดสั่งซื้อใหม่ (ROP) หากบริษัทกรณีศึกษาได้นำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้จะส่งผลให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดหาสินค้าและตอบความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> วราภรณ์ แก่นตะนุ, พฤฒิพงศ์ อภิวัฒนกุล Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/264803 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 ความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/264867 <p>การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 และเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 จำแนกตามเพศ อายุ และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการครู จำนวน 373 คน ดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .917 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ one-way ANOVA</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปน้อย คือ ด้านบรรทัดฐานทางสังคม ด้านความรู้สึก และด้านความต่อเนื่อง ตามลำดับ ในส่วนของการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ที่มีเพศต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ที่มีอายุและระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> ยุพาภรณ์ สีวิกะ, ระติกรณ์ นิยมะจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/264867 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเรียนหลักสูตรปริญญาโท: กรณีศึกษา หลักสูตรนโยบายและการบริหารดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/265599 <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเรียนหลักสูตรปริญญาโทของหลักสูตรนโยบายและการบริหารดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีและบุคคลทั่วไปที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน สุ่มโดยวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเรียน หลักสูตรนโยบายและการบริหารดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด (ค่าเฉลี่ย=3.94 ค่า Beta=.335 และค่า Sig.=.000) ปัจจัยด้านการพัฒนาสถานภาพทางสังคม (ค่าเฉลี่ย=4.00 ค่า Beta=.181 และค่า Sig.=.004) และปัจจัยด้านการสร้างเครือข่าย (ค่าเฉลี่ย=3.81 ค่า Beta=.214 และค่า Sig=.001) ซึ่งสามารถทำนายตัวแปรตามได้ร้อยละ 21 (ค่า Adjusted R2=0.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> พีรยา เวชชศาสตร์, วศินี หนุนภักดี, มานิต สาธิตสมิตพงษ์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/265599 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนของผู้สูงอายุในชุมชนกบเจา ตำบลกบเจา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/266227 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนของผู้สูงอายุในชุมชนกบเจา ตำบลกบเจา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนของผู้สูงอายุในชุมชนกบเจา ตำบลกบเจา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกลุ่มเป้าหมาย คือ ประชากรในกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนตำบลกบเจา หมู่ที่ 8 บ้านกรอกต้นไทร จำนวน 13 คนการวิจัยครั้งนี้ใช้เชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึก</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนของผู้สูงอายุในชุมชนกบเจา คือทางกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนกบเจามีการบริหารจัดการกลุ่มโดยมีประธานกลุ่มเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการกลุ่มและการตลาด จะเป็นคนคอยจัดหาอุปกรณ์และดูแลสมาชิกภายในกลุ่มและเป็นคนนำเอาผลิตภัณฑ์ที่ทางสมาชิกกลุ่มทำเสร็จแล้วนำไปออกขายสู่ท้องตลาดเองและมีรองประธานช่วยดูแลหน้าร้านเวลาออกขายตามบูธต่างๆ ส่วนเรื่องการขายของในช่องทางออนไลน์ก็จะมีสมาชิกในกลุ่มคอยช่วยดูแลและสมาชิกในกลุ่มที่เข้าร่วมจะมีหน้าที่เป็นเหมือนคนงานที่คอยทำตามคำสั่งของประธาน คือผลิตสินค้าตามที่ทางกลุ่มต้องการเมื่อถึงเวลาจะนำสินค้าที่ทำเสร็จแล้วส่งให้กับกลุ่มเพื่อนำไปขายสู่ท้องตลาดต่อไป</p> <p>ปัจจัยที่มีผลต่อกลุ่มอาชีพเสริมชุมชนของผู้สูงอายุในชุมชนกบเจา คือ สมาชิกในกลุ่มให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี รวมถึงการที่กลุ่มมีผู้นำกลุ่มที่ดีถือว่าโชคดีมากที่มีผู้นำที่จะนำพากลุ่มประสบความสำเร็จและยังมีหน่วยงานที่ช่วยเหลือและสนับสนุนอยู่ จะให้เป็นอุปกรณ์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับกลุ่มอาชีพเสริมแล้วยังมีอีกหลายหน่วยงานที่อยากจะเข้ามาส่งเสริมทั้งหน่วยงานพัฒนาชุมชน กองทุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเข้าถึงผู้บริโภคโดยมีตลาดรองรับ กลุ่มเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและยังเป็นหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จึงทำให้กลุ่มอาชีพเสริมชุมชนของผู้สูงอายุในชุมชนกบเจามีหน้าร้านภายในชุมชนและยังสามารถไปออกบูธตามท้องตลาดได้จึงส่งผลให้ทางกลุ่มประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้ </p> นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์, เอนก รักเงิน, กุลณัฐ ดวงโสม, สุทธิพงษ์ ชูกลิ่น Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/266227 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการพยากรณ์อะไหล่ซ่อมบำรุงคงคลังประเภทที่มีอายุการใช้งานที่จำกัด ด้วยเทคนิคการพยากรณ์อนุกรมเวลา 4 เทคนิค กรณีศึกษา บริษัทสายการบินขนาดกลาง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/266689 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสง 1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาของการสูญเสียอะไหล่หมดอายุ จากอะไหล่คงคลังที่มีอายุการใช้งานที่จำกัด 2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้ออะไหล่ซ่อมบำรุงประเภทที่มีอายุการใช้งานจำกัด 3. เพื่อหาตัวแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดในการพยากรณ์ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความต้องการสินค้าคงคลังที่มีความต้องการไม่แน่นอน เป็นศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรคืออะไหล่ซ่อมบำรุงที่มีอายุการใช้งานที่จำกัด โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากอะไหล่ซ่อมบำรุงที่หมดอายุช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 จำนวนทั้งสิ้น 7 รายการ ได้แก่อะไหล่ซ่อมบำรุงรหัส EC3524A-B, V04-018, PR1440B1-2, PS870B1-2, PR1784B1-2, PR1826B1-2 และ P0LY-KIT โดยใช้เครื่องมือวิจัยคือ 1. แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในองค์กร 2. ระบบการจัดการข้อมูลการซ่อมบำรุงอากาศยานและชิ้นส่วนอะไหล่ 3. โปรแกรมคำนวณสำเร็จรูป Minitab 21 (Minitab Statistical Software) ในการพยากรณ์อนุกรมเวลาทั้ง 4 เทคนิค และการคำนวณค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ ผู้วิจัยได้ทำการการศึกษาเปรียบเทียบเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการพยากรณ์อะไหล่ซ่อมบำรุงคงคลังประเภทที่มีอายุการใช้งานที่จำกัด ด้วยเทคนิคการพยากรณ์อนุกรมเวลา 4 เทคนิค ได้แก่ วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีเอกซ์โพเนนเชียลแบบง่าย วิธีโฮล์ทและวิธีวินเทอร์ โดยนำข้อมูลการเบิกจ่ายของอะไหล่กลุ่มตัวอย่าง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 - มิถุนายน พ.ศ. 2566 จำนวน 30 ค่า มาทำการพยากรณ์ทั้ง 4 เทคนิค โดยเปรียบค่าความแม่นยำของการพยากรณ์ ด้วยวิธี MAD และ MAPE</p> <p>ผลการศึกษาวิจัย บริษัทกรณีศึกษาเป็นสายการบินขนาดกลาง มีความต้องการใช้อะไหล่ซ่อมบำรุงที่หลากหลายและเปลี่ยนไปตามลักษณะการซ่อมบำรุงที่จำเป็นของเครื่องบินลำต่างๆ ซึ่งมีลักษณะของความเสียหายที่เกิดจากการปฏิบัติงาน รอบระยะเวลาของการปฏิบัติการบิน ที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งปัญหาการขาดแคลนของสินค้าจากผู้ผลิต (OEM) ในบางช่วงเวลา อาจทำให้เกิดระยะเวลาในการรอคอยสินค้า (Lead time) ที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้การดำเนินการจัดซื้อในอดีตสามารถพยากรณ์หรือวางแผนได้ยาก เป็นเหตุให้เกิดสินค้าคงคลังขาดแคลน เมื่อมีความกังวลเรื่องสินค้าคงคลังขาดแคลนทำให้ความพยายามในการกักตุนสินค้าในปริมาณมากเกินความจำเป็นจนเกิดสินค้าคงคลังหมดอายุ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อจึงได้มีการนำการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลาทั้ง 4 เทคนิค มาศึกษาเปรียบเทียบการพยากรณ์เนื่องจากแต่ละเทคนิคเหมาะกับข้อมูลอนุกรมเวลาที่แตกต่างกันออกไป เพื่อหาตัวแบบจำลองที่เหมาะสมและได้ผลลัพธ์ว่าการพยากรณ์ด้วยวิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 6 periods ให้ผลลัพธ์จากการพยากรณ์ที่ดีที่สุด ด้วยค่าความคลาดเคลื่อนจากวิธี MAPE ของอะไหล่ซ่อมบำรุงรหัส PR1440B1-2 ต่ำที่สุดที่ 22.869 และค่าความคลาดเคลื่อนวิธี MAD ของอะไหล่ซ่อมบำรุงรหัส P0LY-KIT เข้าใกล้ 0 มากที่สุด ที่ 1 ดังนั้นการพยากรณ์วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เหมาะที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับการพยากรณ์กับอะไหล่ซ่อมบำรุงประเภทมีอายุการใช้งานที่จำกัด งานวิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับผิดชอบงานบริหารสินค้าคงคลังประเภทอะไหล่ซ่อมบำรุงหรือสินค้าที่มีความต้องการที่ไม่แน่นอนและมีอายุการใช้งานที่จำกัด ในการนำเทคนิคการพยากรณ์ที่เหมาะสมไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการจัดซื้อสำหรับอะไหล่ซ่อมบำรุงหรือสินค้าที่มีความต้องการที่ไม่แน่นอนและมีอายุการใช้งานที่จำกัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการจัดซื้อหรือบริหารจัดการสินค้าคงคลังต่อไป </p> ศรัญญา จันทรี, พฤฒิพงศ์ อภิวัฒนกุล, ไชยรัช เมฆแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/266689 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700 การจัดการสินค้าคงคลังโดยการพยากรณ์ค่าความต้องการเฉลี่ยและการสั่งสินค้าด้วย EOQ: กรณีศึกษา บริษัท AAA จำกัด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/267085 <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาจำนวนการสั่งผลิตที่ประหยัดในแต่ละครั้ง และศึกษารูปแบบการพยากรณ์ความต้องการของผู้บริโภค การวิจัยในครั้งนี้จะใช้ข้อมูลปริมาณการจำหน่ายสินค้าของ บริษัท AAA จำกัด โดยนำข้อมูลการจำหน่ายกลุ่มลูกค้าขายปลีก ตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. 2564 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2565 นำมาคำนวณหาค่าความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุดเป็นเกณฑ์ในการเลือก คือ ค่า MAPE (Mean Absolute Percentage Error) ที่ได้จากการพยากรณ์ 2 เทคนิค ประกอบไปด้วย การหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบปกติ, การหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก, การหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด พบว่า ค่าเฉลี่ยของข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนที่ต่ำ และมีความใกล้เคียงกับข้อมูลยอดขายสินค้า โดยปริมาณการสั่งซื้อสินค้ารวม เดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2565 สามารถนำข้อมูลหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด ที่มีค่าปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมจำนวน 3,600 กล่องต่อครั้ง และรูปแบบการพยากรณ์ความต้องการของผู้บริโภค มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2,895 กล่อง</p> สวัสกมล เสกสรรค์วิริยะ, พฤฒิพงศ์ อภิวัฒนกุล, ไชยรัช เมฆแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/267085 Thu, 29 Aug 2024 00:00:00 +0700