https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/issue/feed
วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
2024-12-23T13:27:53+07:00
ดร.หฤทัย สมศักดิ์
haruthai.s@rmutr.ac.th
Open Journal Systems
<p>วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เป็นวารสารระดับชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานวิจัยและผลงานวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และด้านอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย</p> <p>โดยบทความที่ส่งเข้ามาจะได้รับการประเมินคุณภาพทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ประเมิน (reviewers) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน โดยพิจารณาแบบปกปิดรายชื่อทั้งผู้เขียนบทความ ผู้พิจารณาบทความ และผู้เกี่ยวข้อง (double-blinded review)</p> <p>วารสารดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2559 โดยกำหนดเผยแพร่วารสาร ปีละ 3 ฉบับ: <br /> ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน)<br /> ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม)<br /> ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม)</p> <p>รูปแบบการตีพิมพ์ ได้เริ่มจัดทำขึ้นวัน 1 กันยายน 2554<br />ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (กันยายน - ธันวาคม 2554) ISSN xxxx-xxxx (Print)<br />และได้เริ่มจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ วันที่ 1 มกราคม 2559<br />ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2562) E-ISSN xxx-xxxx (Online)</p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ</strong></p> <p>บทความภาษาไทย 4,500 บาท</p> <p>บทความภาษาอังกฤษ 6,500 บาท</p> <p> </p>
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/270316
นวัตกรรมเชิงระบบเพื่อพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อเตรียมเข้าสู่ การเป็นศูนย์กลางส่งเสริมสุขภาพแห่งเอเชีย
2024-05-13T10:29:26+07:00
ศิริพงศ์ รักใหม่
Siripong.ru@dtc.ac.th
จุฑารัตน์ พิริยะเบญจวัฒน์
jutarat.pi@dtc.ac.th
สุวจี แตงอ่อน
suwajee.ta@dtc.ac.th
กฤติยา รุจิโชค
rujichokkritiya@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นแผนงานโครงการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างนวัตกรรมเชิงระบบเพื่อพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อเตรียมเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางส่งเสริมสุขภาพแห่งเอเชีย โดยใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากโครงการวิจัยย่อย 3 โครงการ ที่เน้นศึกษาแนวทางพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพด้านการจัดการ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้านการสื่อสารการตลาดเพื่อการประชาสัมพันธ์ตลาดท่องเที่ยวสปาเพื่อสุขภาพ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีผสมผสานทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย และสำรวจด้วยแบบสอบถาม จากตัวอย่างครอบคลุมทั้งผู้ประกอบการ บุคลากร และผู้ใช้บริการสปาเพื่อสุขภาพในพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมเชิงระบบเพื่อพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันออก ต้องบูรณาการความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของแต่ละภาคส่วนใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบมาตรฐานและการควบคุมคุณภาพในธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ 2) การสร้างอัตลักษณ์สปาตะวันออก 3) การพัฒนาบุคลากรด้านสปาเพื่อสุขภาพ 4) การเพิ่มศักยภาพด้านการสื่อสารการตลาด และ 5) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการกำหนดมาตรฐานสปาเพื่อสุขภาพที่เป็นสากล มีการพัฒนาระบบการประเมินและประกันคุณภาพการให้บริการสปาตามเกณฑ์มาตรฐานเป็นรอบเวลา (ภายใน 5 ปี) รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการและบุคลากรวิชาชีพสปาเพื่อสุขภาพให้มีมาตรฐานและมีการขึ้นทะเบียนบุคลากร นอกจากนี้ต้องส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์สปาเพื่อสุขภาพแบบตะวันออก ที่เน้นการนวดแบบไทย การใช้สมุนไพร และผลไม้ท้องถิ่น ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากรให้มีความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพบางแห่งให้เป็นสถานประกอบการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุก การบูรณาการระบบการสื่อสารการตลาดท่องเที่ยวสปาเพื่อสุขภาพ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทีสำคัญเร่งด่วน ได้แก่ การกำหนดนโยบายและกลไกการพัฒนาระบบมาตรฐานการควบคุมคุณภาพสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ การพัฒนาระบบการขออนุญาตเปิดดำเนินการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และการสร้างเครือข่ายฐานข้อมูลออนไลน์สำหรับธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ เพื่อให้สถานประะกอบการสปาเพื่อสุขภาพทุกแห่งสามารถเรียนรู้ร่วมกันและใช้ข้อมูลในการวางแผนธรุกิจสปาเพื่อสุขภาพได้</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/268178
การศึกษาพฤติกรรมการรับชมรายการโทรทัศน์ ต่อรูปแบบรายการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว
2024-02-27T09:22:54+07:00
อิสรี ไพเราะ
isari.pa@ssru.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสนใจ ความต้องการ ตลอดจนพฤติกรรมในการเลือกรับชมรายการโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว เพื่อศึกษารูปแบบรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว โดยการรวบรวมข้อมูลจากการวิจัย<br />เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล คือ จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คนเป็นเพศชาย 200 คน และเป็นเพศหญิง 200 คน ด้วยสาเหตุเพราะต้องการทราบข้อมูลผู้ที่เป็นทั้งพ่อบ้าน และแม่บ้านที่เลือกรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว ด้วยเลือกการสุ่มตัวอย่างจากประชากรในกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 เขต จำนวนประชากรประมาณ 10,161,694 คน โดยสุ่มประชากรที่เป็นพ่อบ้านเพศชายเขตละ 2 คน สุ่มประชากรที่เป็นแม่บ้านเพศหญิงเขตละ 2 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และประเมินผลโดยการจัดทำกรรมวิธีสรุปข้อมูล โดยคำถามปลายเปิดใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และคำถามปลายปิด ทำการลงรหัส และประมวลผลข้อมูล โดยใช้การแสดงผลในรูปแบบของตารางร้อยละ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมและความต้องการในการรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวได้ว่า กลุ่มเป้าหมายหลักในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือกลุ่มประชาชนทั่วไป เพราะทุกคนมีสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันมูลฐานที่เป็นสังคมแรกเริ่มของคนทุกคน การกระตุ้นให้กลุ่มบุคคลทั่วไปรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวนั้น จึงเป็นการสร้างเสริมให้เกิดความรักเข้าใจกัน และการสร้างปฏิสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในครอบครัว โดยสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมในการรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว คือ สถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 อสมท. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ คือ ช่วงกลางคืน (20.01-00.00 น.) และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวในวันเสาร์และวันอาทิตย์ คือช่วงเย็น (17.01-20.00 น.) จากผลการวิจัยนั้นกลุ่มเป้าหมายต้องการรายการโทรทัศน์ที่เป็นไปในแนวทางของ เนื้อหาที่เป็นเรื่องราวเหตุการณ์ที่ต้องแก้ไขเฉพาะหน้า วันดี วันร้าย และนื้อหาลักษณะที่เป็นวิธีการเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ของบุคคลในครอบครัว ส่วนประเภทรายการที่กลุ่มบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ต้องการรับชมเนื้อหาสาระที่รายการนำเสนอด้วยรูปแบบของรายการประเภทวาไรตี้โชว์ เป็นการนำเสนอผู้ที่มาร่วมรายการที่เป็นบุคคลทั่วไป ซึ่งกิจกรรมพิเศษที่รายการโทรทัศน์ประเภทส่งเสริมสถาบันครอบครัวจัดขึ้น เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ร่วมกิจกรรมกิจกรรมที่ได้รับความสนใจ คือการรับชมภาพยนตร์ และกิจกรรมร่วมสนุกกับรายการขณะรับชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว ที่ได้รับความสนใจจากผู้ชมรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว คือ กิจกรรมร่วมสนุกผ่านทาง SMS/MMS โดยที่สามารถนำผลการวิจัยนี้ ไปศึกษาถึงรูปแบบรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัวได้ต่อไปในอนาคต</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/267749
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาต่างชาติเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ ในวิชาจิตวิทยาทั่วไปในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19
2024-01-23T09:17:01+07:00
ชุติวรรณ ภัทรานุรักษ์กุล
chutiwan.pha@bkkthon.ac.th
ดารารัตน์ โลบุญ
dararat.lobun@gmail.com
ภัควลัญชญ์ ผาณิตพิเชฐวงศ์
pakvalunh.pan@bkkthon.ac.th
นุชนาฏ บัวศรี
Nutchanat.b@msu.ac.th
เสี่ยวอิง เฉิน
xiaoying.che@bkkthon.ac.th
คชาภรณ์ ทองสาดี
kachaporn26@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาต่างชาติในการเรียนออนไลน์วิชาจิตวิทยาทั่วไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 115 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน </p> <p>ผลการวิเคราะห์ระดับความสัมพันธ์ของตัวแปรพบว่าความพึงพอใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเครียดในระดับ ปานกลาง (r=0.629, p-value<0.01) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่าความเครียดต่อการเรียนออนไลน์และแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันอธิบายความพึงพอใจในการเรียนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 54.5 (F=14.149, p-value < 0.05) และสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z = 0.589 Z(ความเครียดต่อการเรียนออนไลน์) + 0.416 Z(แรงสนับสนุนทางสังคม) จากสมการพบว่าความเครียดต่อการเรียนออนไลน์มีความสำคัญอันดับแรกในการพยากรณ์ความพึงพอใจในการเรียนออนไลน์ รองลงมาคือ แรงสนับสนุนทางสังคม โดยอีกร้อยละ 45.5 เป็นผลมาจากปัจจัยอื่น</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/267553
แนวทางการจัดการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ
2024-01-11T13:54:04+07:00
สุภารัตน์ ฤกษ์อรุณทอง
suparat.r@rmutr.ac.th
เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์
m_chaowarit@hotmail.com
รัชยา ภักดีจิตต์
Rachaya_pa@yahoo.co.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพรรณนากระบวนการการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 30 คน และการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน</p> <p>ผลการวิจัย 1) ด้านกระบวนการ พบว่ามหาวิทยาลัยของรัฐได้ให้ความสำคัญในกระบวนการการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ มีการกำหนดโครงสร้างการบริหารงาน ตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ มีนโยบาย แผนงานและมาตรการ และกระบวนการการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสเป็นไปตามหลักการที่สำนักงาน ป.ป.ช.กำหนด 2) สภาพปัญหาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ พบว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีตัวชี้วัดที่คะแนนบรรลุค่าเป้าหมาย 85 คะแนน 1 ตัวชี้วัด คือ การปฏิบัติหน้าที่ (89.38) และตัวชี้วัดที่คะแนนต่ำกว่าค่าเป้าหมาย 85 คะแนน มี 9 ตัวชี้วัด เรียงลำดับจากน้อยไปหามาก ดังนี้ การเปิดเผยข้อมูล (58.63) การแก้ไขปัญหาการทุจริต (78.93) การใช้งบประมาณ (79.44) การใช้ทรัพย์สินของราชการ (79.85) การป้องกันการทุจริต (81.25) การปรับปรุงการทำงาน (82.79) ประสิทธิภาพการสื่อสาร (83.34) คุณภาพการดำเนินงาน (84.12) และการใช้อำนาจ (84.30) 3) แนวทางการจัดการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานมหาวิทยาลัยของรัฐ ประกอบด้วย 4 มิติ 21 แนวทาง มิติที่ 1 การวางแผน ประกอบด้วย การใช้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นเครื่องมือ การกำหนดแผนกลยุทธ์ การกำหนดแผนปฏิบัติงานประจำปี มิติที่ 2 การจัดองค์การ ประกอบด้วย ความเป็นพลวัต การกำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ การกำหนดเจตจำนงด้านคุณธรรมและความโปร่งใส การใช้หลักการบริหารสมัยใหม่ การบริหารบุคคลเป็นธรรมและโปร่งใส การปลูกฝังค่านิยม การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร การมีวัฒนธรรมการบริการ การสร้างเครือข่าย มิติที่ 3 การนำ ประกอบด้วย การเป็นแบบอย่างของผู้นำ การแสดงจุดยืนด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของผู้นำ ความเด็ดขาดของผู้นำ การสร้างผู้สืบทอดอุดมการณ์ มิติที่ 4 การควบคุม ประกอบด้วย การสร้างระบบการตรวจสอบภายนอก การสร้างวัฒนธรรมการตรวจสอบภายใน การสื่อสาร การมีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และการมีส่วนร่วม</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/270238
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ยุคดิจิทัล
2024-05-08T09:55:33+07:00
พรพันธ์ พรมวัง
propornpan2016@gmail.com
สุภัททา ปิณฑะแพทย์
supatta.p@bid.kmutnb.ac.th
ภาวิณี บุณยโสภณ
pawinee.b@archd.kmutnb.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศยุคดิจิทัล เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศยุคดิจิทัล และจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ยุคดิจิทัล กระบวนการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย และการประชุมสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้ข้อมูลในเทคนิคเดลฟาย จำนวน 23 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจเครื่องสำอาง และผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการบริหารจัดการในธุรกิจเครื่องสำอาง และ (ร่าง) รูปแบบ และ (โครงร่าง) คู่มือ ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม จำนวน 18 คน ได้แก่ เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร นักวิชาการ นักบริหารการตลาด การตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของคู่มือโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้แก่ นักวิชาการ และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และนักบริหารการตลาด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 4 มิติ 12 องค์ประกอบหลัก มิติที่1) กลยุทธ์การตลาด ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1) ตัวผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบหลักที่ 2) กลยุทธ์ด้านราคา องค์ประกอบหลักที่ 3) บรรจุภัณฑ์ องค์ประกอบหลักที่ 4) ช่องทางการขาย องค์ประกอบหลักที่ 5) การส่งเสริมการขาย มิติที่ 2) ด้านการส่งออก ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 6) กฎหมายและข้อบังคับ องค์ประกอบหลักที่ 7) ด้านพิธีการส่งออก องค์ประกอบหลักที่ 8 ความรู้ในกระบวนการส่งออก มิติที่ 3) การบริหารองค์กร ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลักที่ 9) การบริหารงบประมาณ องค์ประกอบหลักที่ 10) การบริหารทรัพยากร มิติที่ 4) เทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลักที่ 11) แพลตฟอร์ม องค์ประกอบหลักที่ 12) นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ผลจากการศึกษาองค์ประกอบนำมาพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศยุคดิจิทัล และจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ โดยคู่มือแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 แนะนำการใช้คู่มือ และส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศยุคดิจิทัล ซึ่งทั้งรูปแบบและคู่มือได้รับการประเมินและเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านความเหมาะสมของเนื้อหา สามารถนำไปศึกษาต่อยอดเพื่อประโยชน์สูงสุดในการศึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจเครื่องสำอางขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศยุคดิจิทัล</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/269822
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในสังคมไทยและต่างประเทศ
2024-04-24T09:49:35+07:00
สุธี โกสิทธิ์
sutee@aru.ac.th
<p>การศึกษาเชิงเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในสังคมไทยและต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในสังคมไทยและต่างประเทศ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพชีวิตในสังคมต่างประเทศ มีคุณภาพชีวิตในสังคม 9 ด้าน ได้แก่ ระบบการศึกษาของรัฐที่พัฒนาอย่างดี เหมาะสำหรับครอบครัว เสถียรภาพทางการเมืองที่ดี ความปลอดภัย ระบบสาธารณสุขที่พัฒนาเป็นอย่างดี ตลาดการจ้างงานที่ดี เสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ดี ความเท่าเทียมกันของรายได้ และราคาสินค้าที่สามารถจ่ายได้ มีเพียง 2 ประทศที่คุณภาพชีวิตในสังคมยังไม่บรรลุผลสำเร็จในด้านตลาดการจ้างงานที่ดี คือ ประเทศเยอรมนี และประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งถือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และ 2) ผลการศึกษาเชิงเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในสังคมไทยและต่างประเทศ พบว่า ต่างประเทศที่มีคุณภาพชีวิตในสังคม ได้แก่ ราคาสินค้าที่สามารถจ่ายได้ ตลาดการจ้างงานที่ดี ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความเหมาะสำหรับครอบครัว ความเสมอภาคทางรายได้ ความมั่นคงทางการเมือง ความปลอดภัย ระบบการศึกษาของรัฐที่พัฒนาอย่างดี และระบบสาธารณสุขที่พัฒนาอย่างดี โดยประเทศเหล่านี้มีความโดดเด่น ซึ่งเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนประเทศไทยมีคุณภาพชีวิตในสังคมที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จและคุณภาพชีวิตในสังคมบรรลุผลสำเร็จแล้วในการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่มีคุณภาพชีวิตในสังคม ได้แก่ คุณภาพชีวิตในสังคมที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ คือ การขจัดความยากจน การสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม การพัฒนาเพื่อด้านเศรษฐกิจ สถานการณ์การเมืองที่วุ่นวาย คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปของคนในสังคมไทยจะแย่ลง คุณภาพชีวิตในสังคมที่บรรลุผลสำเร็จ คือ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าด้านคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง สุขภาพและอนามัย โอกาสการเข้าถึงการศึกษาขั้นสูง และด้านที่อยู่อาศัย</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/269823
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดการโต้แย้งและคัดค้านการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายในประเทศไทย
2024-04-24T09:56:58+07:00
ตราดุลย์ นรนิติผดุงการ
tradul@aru.ac.th
<p>การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดการโต้แย้งและคัดค้านการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนและแนวทางการแก้ไขปัญหาของประชาชนในการลดการโต้แย้งและคัดค้านการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายในประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่มที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 8 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ประชาชนบางส่วนยังไม่รับทราบมาตรการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านกฎหมายทำให้ประชาชนไม่เข้ามามีส่วนร่วมมากนัก ภาครัฐจึงควรประชาสัมพันธ์มาตรการด้านกฎหมายที่หลากหลายช่องทาง 2) การให้ประชาชนเข้ามามีบทบาท ประชาชนยังไม่มีส่วนร่วมในการหาแนวทาง แก้ไขปัญหาการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย ภาครัฐควรและควรประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนในการสำรวจประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหารายบุคคล 3) การปรึกษาหารือ ภาครัฐยังไม่มีการจัดเวทีประชาคมเพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้ได้มาซึ่งคําปรึกษา ภาครัฐควรจัดทำแบบสอบถามสำรวจเพื่อนำมาแก้ไขหรือปรับปรุงด้านกฎหมาย 3) การให้อำนาจแก่ประชาชน ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบการเข้าไปมีส่วนร่วมในการร้องทุกข์ ภาครัฐจึงควรจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยในหน่วยงานราชการแต่ละพื้นที่เพื่อให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการร้องทุกข์เพื่อผดุงความยุติธรรม 4) การสร้างความร่วมมือ ประชาชนบางกลุ่มที่ไม่มีความรู้การให้ข้อมูลด้านกฎหมาย ภาครัฐจึงควรจัดหาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมาให้ความรู้แก่ตัวแทนประชาชน</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/267067
นวัตกรรมการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์
2023-12-14T09:43:32+07:00
ศักดิ์ชายวัฒนา สุทนต์
sakchaiwattana.sut@rmutr.ac.th
ฐิติมา โห้ลำยอง
thitimah@gmail.com
ฟ้าใส สามารถ
sphasai.s@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจุบันของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ 2) เพื่อระบุปัญหาการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ 3) เพื่อเสนอแนวทางนวัตกรรมการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 10 คน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 1 คน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต จำนวน 1 คน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จำนวน 1 คน และผู้บริโภคพลังงานไฟฟ้า จำนวน 3 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ</p> <p>ผลการวิจัย 1) วิเคราะห์ พบว่า (ก) มีปัญหาเรื่องการกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะแผงเซลล์แสงอาทิตย์จากจีน ที่อาจทำให้การเติบโตของธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์เกิดการชะลอตัวในภูมิภาคบางส่วนของโลก (ข) พลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้เฉพาะเวลากลางวัน ต้องมีการพัฒนาร่วมกับแหล่งพลังงานอื่น (ค) พลังงานแสงอาทิตย์ยังมีต้นทุนพลังงานสูงกว่าพลังงานฟอสซิล 2) ปัญหา พบว่า (ก) อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน (ข) ขั้นตอนขออนุญาตซับซ้อน ใช้เวลาในการขออนุญาตนาน (ค) ผู้แข่งขันรายใหม่มีศักยภาพสูงในการเข้าสู่อุตสาหกรรม (ง) มี Supplier จำนวนมาก และการแข่งขันสูง (จ) ผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองสูง (ฉ) การแข่งขันระหว่างองค์กรในอุตสาหกรรมมีความรุนแรง และ 3) นวัตกรรมการจัดการเชิงกลยุทธ์โดยใช้แนวคิด ESG ควรมีแนวทาง ดังนี้ (ก) การวิเคราะห์ (ข) กำหนดกลยุทธ์ (ค) การดำเนินงานและการเปิดเผย</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/268201
แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านห่วงโซ่คุณค่าของสายการบินในประเทศไทย
2024-02-29T13:10:13+07:00
ลัคณา สันติณรงค์
namfonplus@gmail.com
วราภรณ์ เต็มแก้ว
waraporntung@gmail.com
ธัญญรัตน์ คำเพราะ
Thanyarat_b@hotmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและนำเสนอแนวทางการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านห่วงโซ่คุณค่าของสายการบินในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 2 แหล่ง ได้แก่ 1) ข้อมูลปฐมภูมิ ทำการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีคุณสมบัติเป็นผู้บริหารระดับสูงของสายการบินที่มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกำหนดนโยบายการดำเนินงานขององค์กร หรือรับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายการการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านห่วงโซ่คุณค่าของสายการบิน จำนวน 3 ท่าน 2) ข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ ประกอบด้วย ข้อมูลจากเอกสาร วารสาร เอกสารเผยแพร่ คู่มือ รายงานประจำปี สื่อสารสนเทศต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินงานความรับผิดชอบทางสังคมผ่านห่วงโซ่คุณค่าของสายการบินนั้น มีทั้งหมด 4 มิติ คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และด้านการกุศล โดยปรากฎผลการดำเนินงานด้านกฎหมายและข้อบังคับการกำกับดูแลมากกว่ามิติอื่นๆ ทั้งนี้ในด้านการกุศลนั้นสายการบินมีโครงการต่างๆ สนับสนุนต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรและการตลาด นอกจากนี้สายการบินได้กำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมต่อการจัดการห่วงโซ่คุณค่า ส่งผลต่อความยั่งยืนของธุรกิจ อย่างไรก็ตามสายการบินยังต้องมีการลงทุนและใช้ระยะเวลาเพื่อสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร ในส่วนระดับนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านห่วงโซ่คุณค่าของสายการบินได้รับการบรรจุอยู่ในกระบวนการผลิต คือ เป็นการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการหลักของธุรกิจที่ประกอบกิจการหากำไรอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้นำขององค์กรจึงสามารถบรรลุเป้าหมายได้ แนวทางการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านห่วงโซ่คุณค่าของสายการบินของไทยให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน คือการพัฒนาให้อยู่ในกระบวนการผลิตและอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงการต่อยอดสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินธุรกิจของสายการบินในทุกมิติอย่างเป็นรูปธรรม</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/270245
การพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรและการปรับภารกิจหลังการถ่ายโอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จังหวัดร้อยเอ็ด
2024-05-08T11:54:34+07:00
จุลพันธ์ สุวรรณ
jp_suwan@yahoo.com
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรและการปรับภารกิจหลังการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ระยะเปลี่ยนผ่าน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ และระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง จำนวน 249 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือเชิงปริมาณ 3 ชุด ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทัศนคติต่อองค์กร แบบสอบถามการมีส่วนร่วม และแบบประเมินความพึงพอใจได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช เท่ากับ 0.88, 0.80, 0.78 ตามลำดับ เครื่องมือเชิงคุณภาพ 2 ชุด ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนถ่ายโอนฯ มีบุคลากรประจำสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง จำนวน 109 คน เมื่อมีการถ่ายโอน บุคลากรที่ไม่มีความประสงค์ถ่ายโอนต้องย้ายไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่สังกัด ทำให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอมีบุคลากรเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 249 คน โดยไม่มีรูปแบบการจัดการองค์กรและการปรับภารกิจเพื่อรองรับบุคลากรกลุ่มนี้อย่างชัดเจน เกิดปัญหาการประสานงานและการดำเนินงานสาธารณสุขเชิงรุกในพื้นที่ ปัญหาการพัฒนาตัวชี้วัดด้านสุขภาพของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 2) รูปแบบการจัดการองค์กรที่พัฒนาขึ้นใช้กลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน โดยการประชุมชี้แจง จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแนวทางการบริหารภาครัฐแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาศักยภาพทีมวิทยากร 2) การปฏิบัติการ โดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ วางแผนพัฒนาองค์กรแบบมีส่วนร่วม การศึกษาดูงานนอกพื้นที่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน การปรับโครงสร้างองค์กรโดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มงาน การปรับภารกิจหลัก ภารกิจรอง และภารกิจสนับสนุน 3) การสังเกตการณ์โดยการติดตามประเมินแบบสร้างเสริมพลังอำนาจและเพิ่มช่องทางในการสื่อสาร และ 4) การสะท้อนผลการปฏิบัติโดยการถอดบทเรียนและการสกัดชุดความรู้ใหม่ 3) ผลการพัฒนาพบว่าบุคลากรมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 1.39 โดยมีส่วนร่วมมากที่สุดในด้านการจัดการองค์กร รองลงมาคือด้านการดำเนินงานเชิงรุกในพื้นที่ ด้านการปรับภารกิจ และด้านการพัฒนาและประเมินผลตัวชี้วัดด้านสุขภาพ ตามลำดับ และมีความพึงพอใจในการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 78.7</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/264522
อิทธิพลของปัจจัยความไว้วางใจในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี แอปพลิเคชันเป๋าตังของผู้บริโภคในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
2024-01-24T09:38:59+07:00
จักรกฤษณ์ แก้วประเสริฐ
jakkritk@sau.ac.th
สุมาลี รามนัฏ
Sumalee.sau@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของตัวแปรความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ ความสะดวกในการใช้งาน ความไว้วางใจ และการตั้งใจใช้แอปพลิเคชันของประชากรในเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาความไว้วางใจในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงการยอมรับเทคโนโลยีสู่การตั้งใจใช้แอปพลิเคชันเป๋าตังพื้นที่วิจัยคือเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือคือแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 219 คน คิดเป็น ร้อยละ 54.75 เพศชายจำนวน 181 คน คิดเป็น ร้อยละ 45.25 มีอายุ 36-45 ปีจำนวน 117 คน คิดเป็น ร้อยละ 29.25 สถานะสมรส จำนวน 264 คน คิดเป็น ร้อยละ 66.00 ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่า จำนวน 156 คน คิดเป็น ร้อยละ 39.00รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 20,000 บาท จำนวน 138 คน คิดเป็น ร้อยละ 34.50 2) ระดับของตัวแปรความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ ความสะดวกในการใช้งาน ความไว้วางใจและการตั้งใจใช้แอปพลิเคชันเป๋าตังของประชากรในเขตหนองแขม โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95, 3.99, 3.97, 3.99 และ 4.00 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.349, 0.297, 0.298, 0.293 และ 0.322 ตามลำดับ 3) ความไว้วางใจในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงการยอมรับเทคโนโลยีสู่การตั้งใจใช้แอปพลิเคชันเป๋าตังมีค่าเท่ากับ 0.673 ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ ความสะดวกในการใช้งานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความตั้งใจใช้แอปพลิเคชันมีค่าเท่ากับ 0.082, 0.066 และ 0.450 ตามลำดับ</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/RCIM/article/view/269285
ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ส่วนกลาง
2024-03-28T15:11:54+07:00
ณฐมน พุทธสุวรรณ
natamon.put@ku.th
ลดาวัลย์ ไข่คำ
Ladawan.kh@ku.th
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงาน ป.ป.ส. ส่วนกลาง 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ส. ส่วนกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงานเป็นทีมกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ส. ส่วนกลาง โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 236 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ส. ส่วนกลาง อยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ส. ส่วนกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ส. ส่วนกลาง ที่ประกอบด้วย เพศ สถานภาพ มีระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วน อายุ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสุดท้ายพบว่าปัจจัยการทำงานเป็นทีมกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ส. ส่วนกลาง มีความสัมพันธ์การในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2024-12-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ