วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal
<p>วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ (Journal of Social Science, Law and Politics) เป็นวารสารวิชาการที่จัดตั้งขึ้น โดยคณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เริ่มดำเนินการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา และเมื่อปี พ.ศ. 2565 วารสารฯ ได้รับการพิจารณารับรองให้มีผลการประเมินคุณภาพวารสารจัดอยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre) TCI กลุ่มที่ 2 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 และต่อเนื่อง 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2567</p> <p>วารสารฯ มีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนโลกทัศน์ทางความรู้เชิงวิชาการ และเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าและการอ้างอิงในวงวิชาการ โดยมีขอบเขตเนื้อหาในการเผยแพร่บทความด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดการออกเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ทุก ๆ 6 เดือนต่อปี ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> <p>วารสารฯ เก็บค่าธรรมเนียมการพิจารณาตีพิมพ์บทความ <strong>ภาษาไทยบทความละ </strong><strong>3,000 บาท</strong> <strong>ภาษาต่างประเทศบทความละ </strong><strong>3,500 บาท โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฯ ครั้งเดียว เมื่อผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการ ก่อนส่งบทความ</strong>เข้าสู่กระบวนการพิจารณา<strong>ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ</strong></p> <p>วารสารฯ มีระบบการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Peer-Review) จำนวน 3 ท่าน โดยปกปิดข้อมูลทั้งสองฝ่าย (Double-Blind Peer Review) และจะต้องได้รับผลการประเมินว่า “ผ่านการพิจารณา” จึงถือได้ว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินการตีพิมพ์บทความ</p> <p><strong>วารสารฯ ไม่มีนโยบายรับจัดรูปแบบต้นฉบับบทความ</strong></p> <p><strong> </strong><strong>เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร </strong><strong>[</strong>ISSN<strong>] </strong>Online 2985-2102</p>
th-TH
<div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด</p> <p>ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์</p> </div>
law_pol.journal@reru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เบญจวรรณ บุญโทแสง)
law_pol.journal@reru.ac.th (นางสาววาสนา เลิศมะเลา)
Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
กฎหมายต้นแบบว่าด้วยสัญญาทางปกครอง
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/269527
<p> พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ดังนั้น ประเด็นสำคัญ คือ การพิจารณาว่าสัญญาลักษณะใดถือเป็นสัญญาทางปกครอง ซึ่งมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นิยามเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองโดยกำหนดลักษณะสัญญาทางปกครองอันถือเป็นลักษณะด้านเนื้อหาของสัญญาไว้สี่กรณี คือ (1) สัญญาสัมปทาน (2) สัญญาให้จัดทำบริการสาธารณะ (3) สัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค และ (4) สัญญาแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้ศาลปกครองสามารถพัฒนาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะสัญญาทางปกครองที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงสัญญาทั้งสี่กรณีตามคำนิยามเท่านั้นซึ่งการบัญญัติกฎหมายในลักษณะนี้ถือเป็นนิติวิธีในลักษณะเช่นเดียวกับแนวคิดของสัญญาทางปกครองตามกฎหมายฝรั่งเศสที่มีพัฒนาการของกฎหมายอันเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองโดยผ่านคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด อย่างไรก็ตาม สัญญาทางปกครองของไทยยังมีปัญหาหลายประการ เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยสัญญาทางปกครองที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ รวมถึงไม่มีการกำหนดเนื้อหา เงื่อนไข และลักษณะสัญญาทางปกครอง ไว้อย่างชัดเจน จึงทำให้เกิดความสับสน และมักเกิดเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เนื่องจากประเทศไทยยึดถือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง จึงควรที่จะมีการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เพื่อให้เป็นกฎหมายที่สามารถให้ความคุ้มครองและรักษาประโยชน์ของรัฐและประชาชนโดยส่วนรวมได้อย่างเหมาะสม </p> <p> </p>
ศิริโรจน์ โรจน์วรพร, ตรีเพชร์ จิตรมหึมา
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/269527
Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
กรณีศึกษามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ตามมาตรา 90 และมาตรา 132 พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/270515
<p> บทความวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดีตามกรอบความคิด การเบี่ยงเบนเด็กและเยาวชนความผิดออกจากกระบวนการยุติธรรม และเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของ มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 90 และ มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดี ตามมาตรา 132 แห่งพระราชบัญญัติ ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 อันมีแนวคิดทฤษฎี หลักกฎหมาย อนุสัญญา รวมทั้งกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้</p> <p> อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the rights of the child) เป็นอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ประเทศไทยได้ลงนามเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2532 สหประชาชาติได้ประกาศปฏิลญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่า เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลและการช่วยเหลือเป็นพิเศษโดยเฉพาะเด็กควรได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นเพื่อที่จะเติบโตสามารถมีความรับผิดชอบในชุมชนของตนได้เป็นอย่างดี ตลอดจนการได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพในการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไปในอนาคต การเบี่ยงเบนคดี (Diversion) 1. เมื่อมีความเหมาะสม ควรพิจารณาดำเนินการผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนโดยไม่ต้องใช้กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดี 2. ปัญหาอุปสรรคในการนำมาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดี 3. การพัฒนาแนวทางการนำหลักเกณฑ์ของมาตรา 90 และมาตรา 132 วรรคหนึ่ง มาใช้แทนการพิพากษาคดีในเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ ศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสาร คู่มือปฏิบัติงานของหน่วยงาน บทความ และจุลสาร ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือการปฏิบัติตามมาตราการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา มาตรา 90 และมาตรา 132 ซึ่งมีความแตกต่างในขั้นตอนและช่วงเวลาในกระบวนการพิพากษาคดีของศาลแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อนำไปสู่แนวทางความเข้าใจในข้อแตกต่างระหว่างบริบทของทั้งสองมาตราดังกล่าว ดังนั้นจะเห็นได้ว่า มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 90 และ มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดี ตามมาตรา 132 ถือได้ว่า มาตรการแทนการพิพากษาคดียังไม่สามารถยับยั้งหรือทำให้เด็กและเยาวชนกลับตัวเป็นคนดีของสังคมได้ กล่าวได้ว่ามาตรการตามกฎหมายนั้นมีความสมบูรณ์ แต่ยังคงมีส่วนที่ควรปรับปรุงเกี่ยวกับเรื่องการให้อำนาจในการตัดสินกับผู้พิพากษา ที่กว้างเกินความจำเป็นและรวมไปถึงการนำกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้</p>
เมตตา เลิศสิน, ฉิ้น ประสบพิชัย
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/270515
Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ปัญหาการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังของบุคคล ที่มีความหลากหลายทางเพศตามกฎหมายไทย
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/270269
<p> บทความนี้ได้เสนอการศึกษาประวัติ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศตามกฎหมายไทย โดยเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ และนำไปวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายและอุปสรรค พร้อมทั้งเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง</p> <p> จากการศึกษา พบว่า กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ ยังคงยึดถือตามเพศกำเนิดเป็นสำคัญ โดยไม่ได้ยึดถือตามเพศสภาพ ประกอบกับกฎหมายไทยในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศ ให้ได้สิทธิตามเพศสภาพที่เป็นอยู่ ทำให้การปฏิบัติต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในฐานะผู้ต้องขังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในเรื่อง การค้นตัว การแยกประเภทการคุมขังที่ใช้เกณฑ์ตามเพศกำเนิด สิทธิร้องเรียนของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศกรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศที่ให้การคุ้มครองเฉพาะเพศหญิงเท่านั้น และสิทธิในการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศในฐานะคู่สมรส ซึ่งจากการศึกษาหลักการยอกยาการ์ตา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหราชอาณาจักร พบว่ามีกฎหมายที่ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ ดังนั้น การที่ไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศย่อมทำให้เกิดการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งเพศ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ</p> <p> ด้วยเหตุนี้ จึงบทความนี้ จึงเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 31(1) โดยเพิ่มคำว่า “เพศสภาพ” และแก้ไขมาตรา 47, 59 ให้ครอบคลุมถึงสิทธิของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 85 วรรคสอง และมาตรา 132(1) ในขั้นตอนการจับของพนักงานสอบสวนเพื่อให้มีการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศตามหลักสิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล</p>
อัสสชิ เสื้อวิจิตร, สุธี อยู่สถาพร
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/270269
Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/269799
<p> การฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นเฉพาะกรณีศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนคำสั่งทางปกครองไม่ว่าจะเป็นเพราะหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ผู้ฟ้องคดีที่เป็นผู้ชนะคดีไม่สามารถยื่นคำขอให้มีการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองชั้นต้นได้ การที่ศาลปกครองชั้นต้นไม่สามารถให้คู่กรณีฝ่ายแพ้คดีปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ แต่เป็นหน้าที่คู่กรณีฝ่ายชนะคดีหากประสงค์ให้มีการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นต้องเป็นผู้ยื่นคำขอต่อศาลปกครอง บทความนี้มีจุดมุ่งหวังเพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงเหตุผลที่คู่กรณีซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีในศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีไม่สามารถปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองชั้นต้นได้ เหตุที่คู่กรณีฝ่ายที่ชนะคดีไม่อาจยื่นคำให้มีการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองชั้นต้นได้ และเพราะเหตุคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นไม่ผูกพันคู่กรณี</p> <p> จากการศึกษา พบว่า เนื่องจากคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีพิพาทนั้นยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่สามารถขอให้ปฏิบัติตามคำบังคับได้ ประกอบกับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองศาลไม่จำต้องออกคำบังคับ ทำให้คู่กรณีฝ่ายที่ชนะคดีก็ไม่อาจยื่นคำให้มีการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองชั้นต้นได้ กรณีที่ต้องการให้ฝ่ายที่แพ้คดีเป็นฝ่ายยื่นคำขอต่อศาลปกครองชั้นต้น เพื่อให้ตนไม่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นก่อน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเกิดประโยชน์ต่อสังคมต่อไป</p>
อภิรักษ์ บูรรุ่งโรจน์, เบญจวรรณ บุญโทแสง
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/269799
Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน ที่มีความหลากหลายทางเพศ: ศึกษากรณีเด็กและเยาวชน ที่ถูกควบคุมในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/269602
<p> บทความนี้มุ่งศึกษาถึงแนวทางการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถูกควบคุมในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีความต้องการที่มีลักษณะเฉพาะและมีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากเด็กและเยาวชนเพศชายและเพศหญิง ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน เด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ควรได้รับการปฏิบัติที่มีความเหมาะสมกับอัตลักษณ์ทางเพศ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถูกควบคุมในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ โดยการคุ้มครองสิทธิยังคงพิจารณาจากเพศกำเนิดเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้เด็กและเยาวชนดังกล่าว ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างเหมาะสมกับอัตลักษณ์ทางเพศ จากการศึกษาพบว่า การปฏิบัติต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยคำนึงถึงเพศกำเนิดเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็กที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศด้วยความเท่าเทียม เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเหมาะสมกับอัตลักษณ์ทางเพศ ตั้งแต่ขั้นตอนการจำแนกเพศ การตรวจค้นร่างกายการจัดสถานที่ควบคุม รวมถึงความต้องการเฉพาะอื่น ๆ</p> <p> ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งถูกควบคุมในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนเอาไว้เป็นการเฉพาะ เพื่อให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้รับการปฏิบัติอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางเพศ</p>
วรพล วิจิตรพงษา
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/269602
Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการบุกรุก ที่ดินสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/269736
<p> บทความนี้นำเสนอปัญหาการกระทำความผิดฐานบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน การบุกรุกที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น ปรากฏว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งจากประชาชนและผู้นำชุมชน โดยไม่คำนึงถึงบทลงโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิ ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในสังคม และภาครัฐไม่สามารถที่จะนำที่ดินที่ถูกบุกรุกมาใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวมได้ ทั้งยังสูญเสียงบประมาณแผ่นดินเพื่อดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในการจัดการกับผู้บุกรุกโดยไม่จำเป็นอีกด้วย</p> <p> พิจารณาแล้วเห็นควรกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน โดยกำหนดการควบคุมการบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และกำหนดการระวางโทษอันเหมาะสม เพื่อดำเนินการยับยั้งผู้ที่จะกระทำการบุกรุกให้เกิดความเคารพและเกรงกลัว ในการที่จะกระทำการฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎหมาย ซึ่งจะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย ทั้งนี้ ภาครัฐควรดำเนินการจัดทำแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ โดยดำเนินการให้มีประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการ และดูแลที่ดินของรัฐด้วย</p>
สรไกร บำเพ็ญบุญ, สุธี อยู่สถาพร
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/269736
Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
การกำหนดขอบเขตนิยามความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/270336
<p> บทความฉบับนี้ มุ่งศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการกำหนดขอบเขตนิยามความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด เนื่องด้วยบทนิยามว่าด้วยความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด กำหนดความผิดไว้ 5 ลักษณะคือ การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย และมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติด อันเป็นลักษณะความผิดที่มีความร้ายแรงและความเสียหายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นการกำหนดบทนิยามที่กว้างมากจนเกินไป อันส่งผลให้กฎหมายขาดความชัดเจนแน่นอน และส่งผลเสียต่อกระบวนยุติธรรมทางอาญาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดความรับผิดแก่ผู้พยายามกระทำความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดสำเร็จ อันเป็นเรื่องที่ขัดแย้งต่อหลักการลงโทษทางอาญาที่กำหนดให้บุคคลจำต้องรับผิดแต่เฉพาะขอบเขตหรือการกระทำที่ตนได้กระทำโดยเจตนาโดยคำนึงถึงเจตนาของผู้กระทำความผิดมากกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และนำมาซึ่งการดำเนินกระบวนยุติธรรมทางอาญาที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้พยายามกระทำความผิด อันอยู่ในฐานะจำเลยในด้านต่าง ๆ ได้แก่ จำเลยถูกลงโทษมากกว่าขอบเขตการกระทำที่ตนควรจะได้รับ และปิดโอกาสที่จำเลยจะได้รับในทางกฎหมายด้านต่าง ๆ เช่น การยกเว้นโทษอันเนื่องมาจากการยับยั้งหรือกลับใจในการกระทำความผิด หรือการได้รับดุลยพินิจในการรอการลงโทษ ฯลฯ เปรียบเทียบกับการกำหนดความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติดในต่างประเทศไม่มีบทบัญญัติการลงโทษ<br />ในลักษณะดังกล่าว ทั้งต่างมีแนวโน้มที่จะนำมาตรการอื่น ๆ แทนการลงโทษทางอาญาเพื่อลดทอนความรุนแรงในคดียาเสพติด เช่น การมองผู้กระทำความผิดเป็นผู้ป่วย หรือการยกเลิกความผิดยาเสพติดในบางประเภท ฯลฯ</p> <p> ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จักกำหนดความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด แต่เฉพาะลักษณะหรือพฤติการณ์ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่เหมาะสมอย่างแท้จริง กล่าวคือความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยของประเทศ หรือความผิดยาเสพติดที่ร้ายแรงเท่านั้น โดยพิจารณาตาม มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ (International Crime Classification for Statistical Purposes - ICCS) โดยผู้เขียนจักเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุง คือ (1) แก้ไขบทบัญญัติมาตรา 1 แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติดว่าด้วยบทนิยามความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด กำหนดแต่เฉพาะความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย และมีไว้ในครอบครองซึ่งประกอบด้วยพฤติการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยของประเทศ เป็นความผิดร้ายแรงเท่านั้น (2) ศึกษาและอภิปรายเน้นย้ำถึงความเข้าใจเรื่องการลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นไปตามพื้นฐานความรับผิดของบุคคลในทางอาญาและสอดคล้องกับความร้ายแรงของการกระทำและความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สังคม พร้อมด้วยตระหนักไปถึงผลกำหนดบทลงโทษทางอาญาที่มีผลถึงมาตรการทางอาญาในด้านอื่น ๆ</p>
วีร์พศุตม์ วรธีรฉัตร
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/270336
Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ปัญหาทางกฎหมายในการจัดระบบ โครงสร้างกลไกการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ศึกษากรณี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/269720
<p> บทความนี้มีความมุ่งหมายที่จะนำเสนอถึงกฎเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับกลไกการบริหารงานบุคคล การกระทำทางปกครอง และการควบคุมและตรวจสอบการกระทำทางปกครองของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งระบบการบริหารงานบุคคลเพื่อให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม (Merit System) จะมีการจัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าที่ ในการบริหารงานบุคคลขึ้นมาในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ โดยมีองค์กรกลางการบริหารงานบุคคลเป็นผู้กำหนดนโยบายบริหารงานบุคคลมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการบริหารงานบุคคล เพื่อให้องค์กรบริหารงานบุคคลในส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติ ตลอดจนควบคุมและตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยได้ศึกษาถึงวิวัฒนาการ แนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล การกระทำทางปกครอง และการควบคุมตรวจสอบการกระทำทางปกครองขององค์กรการบริหารงานบุคคลภาครัฐของข้าราชการประเภทอื่นในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของประเทศไทย โดยเฉพาะกรณีซึ่งสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน</p> <p> เมื่อพิจารณาการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของประเทศไทยแล้วจะเห็นได้ว่า มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล การกระทำทางปกครอง และการควบคุมตรวจสอบการกระทำทางปกครอง และไม่เอื้อต่อหลักประกันความเป็นธรรมให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอในบางกรณีอันส่งผลให้เกิดปัญหาบางประการ ซึ่งได้แก่ ปัญหาความล่าช้าในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และปัญหาการขาดความเสมอภาค มีความลักลั่น และเกิดความไม่เท่าเทียมกันในกระบวนการบริหารงานบุคคลสำหรับตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อเปรียบเทียบกับราชการส่วนอื่น รวมถึงมีการที่ไม่เป็นไปตามหลักความเป็นกลางในการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กรกลางเพื่อทำการควบคุมและตรวจสอบการดำเนินการทางวินัยของตำแหน่งดังกล่าว</p> <p> จากการศึกษาองค์กรควบคุมและตรวจสอบการกระทำทางปกครองในการบริหารงานบุคคล ของภาครัฐในต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น พบว่า องค์กรควบคุมตรวจสอบการกระทำทางปกครองในการบริหารงานบุคคลของภาครัฐในต่างประเทศดังกล่าวมีหลายรูปแบบ การจัดตั้งในรูปแบบใดย่อมขึ้นอยู่กับความจำเป็นที่ต้องการในด้านบทบาทและพันธกิจ เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดภายใต้บริบททางสังคมในขณะนั้น โดยกฎหมายของสหราชอาณาจักร มีคณะกรรมการภายใต้ฝ่ายบริหารทำหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาข้าราชการ และมีคณะกรรมการที่เป็นอิสระจากรัฐบาลทำหน้าที่พิทักษ์ระบบคุณธรรม ทั้งนี้ จะมีคณะกรรมการกลางผสมระหว่างคณะกรรมการอิสระและหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับฝ่ายบริหาร ในส่วนกฎหมายของสหรัฐอเมริกานั้น มีรูปแบบคณะกรรมการที่เป็นอิสระและขึ้นตรงต่อฝ่ายบริหาร สำหรับประเทศญี่ปุ่นได้นำรูปแบบคณะกรรมการอิสระของสหรัฐอเมริกามาปรับใช้ ซึ่งหลักการดังกล่าวถูกนำมาเป็นแบบในการจัดตั้งองค์กรควบคุมและตรวจสอบการกระทำทางปกครองในการบริหารงานบุคคลของภาครัฐในประเทศไทย ซึ่งได้แก่ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” ที่เป็นองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนภายใต้ฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมี อ.ก.พ. กระทรวง อ.ก.พ. กรม และ อ.ก.พ. จังหวัด ที่ตั้งขึ้นเพื่อการกระจายอำนาจ และทำหน้าที่เป็นองค์กรปฏิบัติงานการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ โดยแยกคณะกรรมการที่ทำหน้าที่พิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ ก.พ.ค. เป็นอีกคณะหนึ่ง ดังนั้น ควรมีการนำแนวคิดการควบคุมและตรวจสอบการกระทำทางปกครองในการบริหารงานบุคคลของภาครัฐในต่างประเทศ และรูปแบบผสมผสานที่เป็นคณะกรรมการอิสระ และคณะกรรมการภายใต้ฝ่ายบริหาร รวมทั้งรูปแบบของข้าราชการพลเรือนของประเทศไทยมาปรับใช้ในการจัดตั้งองค์กรควบคุมและตรวจสอบการกระทำทางปกครองในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบดุลพินิจของบังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และทำหน้าที่บริหารงานบุคคลสำหรับตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยตั้ง อ.ก.ค.ศ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้นมาเป็นการเฉพาะอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับกลไกการบริหารงานบุคคล การกระทำทางปกครอง และการควบคุมและตรวจสอบการกระทำทางปกครองต่อไป</p>
จีรนันท์ เพ่งพินิจ, สุธี อยู่สถาพร
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/269720
Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700
-
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ของส่วนราชการไทยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/270290
<p> บทความวิชาการนี้ได้ศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของส่วนราชการไทยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยมุ่งเน้นศึกษาปัญหาและวิเคราะห์ปัญหากรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของส่วนราชการไทยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภาครัฐ พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการในการจัดซื้อจัดจ้างที่จะต้องเกิดความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และตรวจสอบได้ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย</p> <p> จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติฉบับนี้มีปัญหาเกี่ยวกับกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของส่วนราชการไทยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดราคากลางของส่วนราชการไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ปัญหาเกี่ยวกับการตรวจสอบและการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ปัญหาเรื่องความยืดหยุ่นในการบังคับใช้พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กับส่วนราชการไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของส่วนราชการไทยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศไม่คุ้มค่า ไม่โปร่งใส ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และไม่สามารถตรวจสอบได้</p> <p> ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยให้กรมบัญชีกลางจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับราคากลางของทุกประเทศทั่วโลก เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่มีส่วนราชการในต่างประเทศสืบค้นในการใช้อ้างอิงแหล่งที่มาของราคากลาง รวมทั้งเห็นควรให้แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้อำนาจหน่วยงานของรัฐสามารถออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุขึ้นใช้เองได้ โดยผู้เขียนเห็นควรให้กระทรวงการคลังควรออกระเบียบกลางเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการไทยที่อยู่ในต่างประเทศ เพื่อให้ส่วนราชการในต่างประเทศถือปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน</p>
ณัฐนันท์ เซ่งอั้น, สุธี อยู่สถาพร
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/270290
Tue, 24 Dec 2024 00:00:00 +0700