วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal
<p>วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ (Journal of Social Science, Law and Politics) เป็นวารสารวิชาการที่จัดตั้งขึ้น โดยคณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เริ่มดำเนินการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา และเมื่อปี พ.ศ. 2565 วารสารฯ ได้รับการพิจารณารับรองให้มีผลการประเมินคุณภาพวารสารจัดอยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre) TCI กลุ่มที่ 2 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 และต่อเนื่อง 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2567</p> <p>วารสารฯ มีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนโลกทัศน์ทางความรู้เชิงวิชาการ และเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าและการอ้างอิงในวงวิชาการ โดยมีขอบเขตเนื้อหาในการเผยแพร่บทความด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์ สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดการออกเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ ทุก ๆ 6 เดือนต่อปี ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)</p> <p>วารสารฯ เก็บค่าธรรมเนียมการพิจารณาตีพิมพ์บทความ <strong>ภาษาไทยบทความละ </strong><strong>3,000 บาท</strong> <strong>ภาษาต่างประเทศบทความละ </strong><strong>3,500 บาท โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมฯ ครั้งเดียว เมื่อผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการ ก่อนส่งบทความ</strong>เข้าสู่กระบวนการพิจารณา<strong>ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ</strong></p> <p>วารสารฯ มีระบบการประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Peer-Review) จำนวน 3 ท่าน โดยปกปิดข้อมูลทั้งสองฝ่าย (Double-Blind Peer Review) และจะต้องได้รับผลการประเมินว่า “ผ่านการพิจารณา” จึงถือได้ว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินการตีพิมพ์บทความ</p> <p><strong>วารสารฯ ไม่มีนโยบายรับจัดรูปแบบต้นฉบับบทความ</strong></p> <p><strong> </strong><strong>เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร </strong><strong>[</strong>ISSN<strong>] </strong>Online 2985-2102</p>
คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
th-TH
วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์
2985-2099
<div class="item copyright"> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด</p> <p>ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์</p> </div>
-
วิเคราะห์เปรียบเทียบการควบคุมกฎหมาย มิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, 2550 และ 2560
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/268068
<p>รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ การที่รัฐธรรมนูญมีสถานะสูงกว่ากฎหมายอื่นทั้งหลาย กฎหมายอื่นทั้งหลายย่อมไม่อาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ เพื่อให้ความสูงสุดของรัฐธรรมนูญมีความศักดิ์สิทธิ์ในการประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้ไม่ถูกละเมิดหรือทำลายหลักความสูงสุดของรัฐธรรมนูญ จึงต้องมีการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ละฉบับแตกต่างกัน จึงต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, 2550 และ 2560 เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีหลักเกณฑ์ วิธีการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญที่เหมือนและแตกต่างกัน</p> <p>ความแตกต่างในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ พบว่า 1) การควบคุมร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมีความแตกต่างกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และ พ.ศ.2550 ไม่มีบทบัญญัติการควบคุมร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้โดยตรงว่าบุคคลใดมีสิทธิเข้าชื่อให้มีการควบคุมร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังเช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ได้บัญญัติไว้โดยตรง 2) การควบคุมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540, พ.ศ.2550 และ พ.ศ. 2560 ได้วางหลักการควบคุมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ลักษณะเดียวกันกับการควบคุมร่างพระราชบัญญัติ</p>
อรทัย อินต๊ะไชยวงค์
สิทธิกร ศักดิ์แสง
กฤติญา สุขเพิ่ม
ตรีเนตร สาระพงษ์
เอกพงษ์ สารน้อย
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-29
2024-06-29
8 1
125
145
-
แนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมของ ‘เฮเสียด’
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/266386
<p>เฮเสียดกวีกรีกโบราณมีชีวิตประมาณศตวรรษที่หกก่อนคริสตกาล <br />เสนอความรู้และความคิดทางสังคมการเมืองผ่านบทกวี ‘Theogony’ กับ ‘Works and Days’ ที่ให้ความรู้ถึงกำเนิดเหล่าเทพเจ้าของกรีกโบราณ ความสัมพันธ์ระหว่างเหล่าเทพเจ้าด้วยกันและกับมนุษย์ในลักษณะของมานุษยรูปนิยม (Anthropomorphic) และให้ภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ</p> <p>เนื้อหาในบทกวีของเฮเสียดแสดงให้เห็นถึงแนวคิดในเรื่องพัฒนาการกำเนิดของเผ่าพันธุ์มนุษย์ (Myth of Races) และธรรมชาติของมนุษย์เมื่อมาอาศัยอยู่รวมกัน เริ่มตั้งแต่เผ่าพันธุ์ทองคำ เงิน ทองสัมฤทธิ์ วีรบุรุษและเหล็กตามลำดับ โดยความเสื่อม ความตกต่ำลงของเผ่าพันธุ์มนุษย์ มีสาเหตุมาจากการปฏิบัติตัวไร้ ซึ่งคุณธรรม ธรรมชาติที่ชอบใช้กำลัง ความรุนแรง และอาวุธตัดสินปัญหา ปราศจากความยุติธรรม เฮเสียดนำเสนอความยุติธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ภายใต้แนวคิดเทวายุติธรรม ที่รับมอบมาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความยุติธรรมในโลกธรรมชาติและความยุติธรรมที่เกิดขึ้นมาจากมนุษย์ตกลงกัน โดยการอ้างความยุติธรรมทั้งสามแบบมักนำไปสู่ความขัดแย้งกันบ่อยครั้ง เนื่องจากคู่ขัดแย้งใช้ความยุติธรรมมาสนับสนุน ปกป้องผลประโยชน์ตนเอง ในลักษณะของการอ้างความยุติธรรมเพื่อสร้างความอยุติธรรม</p> <p>เรื่องเล่าในเชิงเทพปกรณัม คุณธรรมและความยุติธรรมที่เฮเสียดนำเสนอ คือความรู้ทางปรัชญาการเมืองที่มีความหมาย และคงความสำคัญต่อพัฒนาการความคิดทางการเมืองกรีกในยุคต่อมา ทั้งกับโสเกรตีส เพลโต และอริสโตเติล รวมไปถึงการอาศัยอยู่ร่วมกันในรูปแบบของระบอบการปกครองต่าง ๆ ทั้งฝ่ายผู้ปกครองและใต้การปกครองจะต้องมีความรู้ในเรื่องคุณธรรมและความยุติธรรมใช้กำกับ</p>
พิศาล มุกดารัศมี
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-29
2024-06-29
8 1
1
21
-
สถานะองค์ความรู้ด้านชายแดนไทยในแวดวงวิชาการไทย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 ถึง 2022
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/268070
<p>บทความวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสถานะองค์ความรู้ด้านชายแดนไทยของแวดวงวิชาการไทยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 ถึง 2022 และ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ความรู้ด้านชายแดนไทยของแวดวงวิชาการไทยกับพัฒนาการของบริบทด้านความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรมในประเทศและ/หรือระหว่างประเทศ ผู้เขียนใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการดำเนินการวิจัย โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเอกสารแบบสร้างข้อสรุปจากข้อมูลเชิงบรรยาย นำมาซึ่งบทสรุปที่มาจากการวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลกับแนวคิดที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมที่ผู้เขียนสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย จากการสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่ชายแดน การบริหารจัดการชายแดนและบริบทนโยบายของรัฐไทย และการศึกษาชายแดนผ่านนโยบายต่างประเทศไทยกับบริบททางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผลการวิจัย พบว่า ประเด็นศึกษาด้านชายแดนไทยในแวดวงวิชาการไทย สามารถจัดแบ่งได้ตามมิติทางการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม-วัฒนธรรม โดยในแต่ละปี แต่ละด้านชายแดนมีมิติของสาขาวิชา และประเด็นที่ทำการศึกษาเน้นหนักและให้ความสำคัญแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าด้วยนโยบายต่างประเทศของไทยและนโยบายภายในของรัฐเกี่ยวกับชายแดน ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา จะมุ่งความสำคัญไปที่การส่งเสริมกิจกรรมและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ แต่ก็มีรายละเอียดเชิงเนื้อหาที่สะท้อนผ่านงานศึกษาแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะมิติทางด้านการเมือง ความมั่นคง รวมถึงสังคม-วัฒนธรรมที่ยิ่งมีความแตกต่างตามลักษณะเฉพาะของแต่ละด้านชายแดนในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งงานวิจัยการสำรวจสถานะองค์ความรู้ด้านชายแดนไทยชิ้นนี้ อาจเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อแวดวงวิชาการ ในการศึกษาเกี่ยวกับชายแดนไทยและแวดวงนักปฏิบัติในส่วนราชการด้านความมั่นคง ทั้งในระดับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และระดับพื้นที่ ในการจัดทำแผนด้านความมั่นคงและการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชายแดนที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการเฉพาะของพื้นที่ต่อไป</p>
สุวิชชญา จันทรปิฎก
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-29
2024-06-29
8 1
22
65
-
อำนาจยึดคริปโทเคอร์เรนซี ภายใต้พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/267539
<p>ปัญหาการฟอกเงิน (Problem of Money Laundering) เป็นปัญหาสะสมที่มีมานาน และไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ซึ่งในยุคแรก อาชญากรรม (Crime) มักมีรูปแบบความสัมพันธ์ที่ไม่ซับซ้อนและมักจะเป็นรูปแบบที่มีความรุนแรงและเกี่ยวข้องกับปัจจัยพื้นฐานของชีวิต (Fundamental Factors of Life) เมื่อสังคมได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป รูปแบบของการก่ออาชญากรรมจึงเกิดขึ้นหลายรูปแบบและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น มีการนำเอาลักษณะของการประกอบธุรกิจหรือเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ มาผสมผสานกับการกระทำความผิดจนยากแก่การบังคับใช้กฎหมาย ต่อมาเมื่อคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เหล่าอาชญากรจึงหันมาก่ออาชญากรรม โดยการนำเงินหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินการฟอกเงินผ่านกระบวนการของคริปโทเคอร์เรนซีให้ดูเสมือนว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ เนื่องจากการฟอกเงินผ่านคริปโทเคอร์เรนซีนั้นเป็นการฟอกเงิน โดยอาศัยเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ จึงทำให้มีความซับซ้อนในทางระบบเทคโนโลยี ประกอบกับมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องหลายฉบับ จึงทำให้การตัดวงจรของการประกอบอาชญากรรมดังกล่าวมีความซับซ้อนยุ่งยาก โดยการดำเนินการบังคับคดีแก่คริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นมีลักษณะแตกต่างกับทรัพย์สินประเภทอื่นที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ซึ่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 (Anti-Money Laundering Act B.E. 2542) มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการยึดคริปโทเคอร์เรนซีไว้เป็นการเฉพาะ และปัจจุบันก็ยังไม่ได้มีการแก้ไขให้สอดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะของคริปโทเคอร์เรนซีแต่อย่างใด ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจในการยึดคริปโทเคอร์เรนซียังไม่ชัดเจนว่า กรณีใดที่เจ้าหน้าที่มีอำนาจกระทำได้ และกรณีใดที่เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจกระทำ รายการที่เกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีคืออะไร รายการใดบ้างที่สามารถถูกยึดได้ และมีวิธีการยึดหรืออายัดอย่างไร ดังนั้น กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้ก้าวทันยุคสมัยที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เนื้อหาในบทความนี้มุ่งเน้นการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศในประเด็นเกี่ยวกับการต่อต้านการฟอกเงินและการยึดคริปโทเคอร์เรนซี เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว</p>
พิริยาภรณ์ ศาสตร์บัณฑิตย์
จิรวุฒิ ลิปิพันธ์
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-29
2024-06-29
8 1
66
90
-
วิเคราะห์ปัญหาตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/269497
<p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งการวิจัยวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการรับฟังความคิดเห็น ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และนักกฎหมายมหาชน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุของปัญหาและอุปสรรคในการปรับใช้กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 นั้น ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น ปัญหาการที่ไม่ปรากฏว่ามีบทนิยามคำว่า “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” ปัญหาการไม่มีบทนิยามคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” ปัญหาเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่และมิใช่การปฏิบัติหน้าที่ ปัญหาการจำกัดสิทธิในการฟ้องคดีของผู้เสียหาย ปัญหาเรื่องอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากหน่วยงานของรัฐ กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดโดยการปฏิบัติหน้าที่ ปัญหาการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่ หรือปัญหาเจ้าหน้าที่กระทำการใด ๆ อันเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ปัญหาเหล่านี้ทำให้การใช้ดุลพินิจและการวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ในการดำเนินการเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จากการวิจัยนี้ได้จัดทำเป็นกรอบกฎหมายต้นแบบว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และการดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> <p>ข้อเสนอแนะการวิจัยในครั้งนี้ จึงเสนอแนะให้ยกเลิกพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี<br />ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และนำร่างไปสู่การร่างกฎหมายต้นแบบด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และการดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน พ.ศ. .... ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้เกิดความชัดเจนในการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดยิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้างหลักประกัน และสร้างความเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐ ผู้เสียหาย โดยจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติราชการทางปกครองอันทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ บรรลุผล และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p>
สุภาวดี ประภาการ
ตรีเพชร์ จิตรมหึมา
สำเรียง เมฆเกรียงไกร
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-29
2024-06-29
8 1
91
124
-
ปัญหาและการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลเด็กปากแหว่ง เพดานโหว่ ศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/265630
<p>เด็กปากแหว่งเพดานโหว่ต้องได้รับการรักษาในสถานรักษาที่มีศักยภาพและมีกระบวนการรักษายาวนานตามลักษณะของโรค ส่งผลต่อผู้ดูแลทั้งด้านร่างกาย ด้านจิต ใจและด้านสังคม การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของผู้ดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ และเพื่อศึกษาการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ จำนวน 73 ราย โดยคัดเลือกจากการสุ่มตามสะดวก และการสัมภาษณ์นักสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จำนวน 2 ราย โดยใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การคัดเข้า และเกณฑ์การคัดออก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการถอดถ้อยคำจากการสัมภาษณ์</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัญหาของผู้ดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ มีภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด 2) การสนับสนุนของผู้ดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ มีภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.77 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การสนับสนุนด้านอารมณ์และจิตใจมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจของผู้ดูแลเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการสนับสนุนทางสังคมด้านเครือข่ายทางสังคม (r =.231, P < 0.05) ข้อมูลเชิงคุณภาพสะท้อนข้อมูล 6 ประเด็นหลัก คือ 1) ปัญหาทางด้านร่างกาย 2) ปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ 3) ปัญหาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ 4) การสนับสนุนด้านอารมณ์จิตใจ 5) การสนับสนุนด้านการยอมรับและเห็นคุณค่า 6) การสนับสนุนด้านเครือข่ายทางสังคม</p>
ปัญยพัชร์ เรืองสำราญ
เสาวธาร โพธิ์กลัด
ปิ่นหทัย หนูนวล
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-29
2024-06-29
8 1
146
175
-
ปัญหาทางกฎหมายการยกเลิกคำสั่งการเลื่อนระดับ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาภายหลังที่เสียชีวิต
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/266144
<p>ปัญหาการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับการเลื่อนระดับและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตามกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (Law on Government Teacher and Educational Personnel) มีประเด็นทางกฎหมายที่สำคัญ คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 63 วางหลักว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เลื่อนตำแหน่งหรือเลื่อนวิทยฐานะ โดยไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐานตำแหน่ง หรือมาตรฐานวิทยฐานะหรือไม่ผ่านกระบวนการเลื่อนตำแหน่งหรือกระบวนการเลื่อนวิทยฐานะตามกฎหมาย หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) กำหนดให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ผู้นั้นกลับไปดำรงตำแหน่งหรือวิทยฐานะเดิมโดยพลัน โดยกฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งการเลื่อนระดับและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาภายหลังที่เสียชีวิตไว้ จึงเกิดประเด็นปัญหาข้อกฎหมายหลายประการ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมาย วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการยกเลิกคำสั่งเลื่อนระดับและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาภายหลังที่เสียชีวิตที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เปรียบเทียบการยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งทางปกครองประเทศไทยกับกฎหมายต่างประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศส การวิจัยนี้ได้ค้นพบว่า การยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งการเลื่อนระดับและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงมีการปรับใช้หลักกฎหมายและดุลพินิจแตกต่างกันไม่เป็นธรรมกับได้ผู้รับผลกระทบจากคำสั่ง กล่าวคือ คำสั่งไม่มีผลบังคับแก่เจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตแล้ว การเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบเป็นเรื่องดุลพินิจจะสั่งย้อนหลังหรือมีผลในอนาคตก็ได้ คำสั่งให้ประโยชน์เกินเก้าสิบวันเพิกถอนไม่ได้ ผลศึกษาเปรียบเทียบการเพิกถอนคำสั่งให้ประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายพบว่า ระยะเวลาการเพิกถอนตามกฎหมายประเทศไทยจะสั้นกว่ากฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ส่วนสาธารณรัฐฝรั่งเศส การเพิกถอนคำสั่งให้ประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจะเข้มงวดจำกัดระยะเวลาต้องกระทำภายในสี่เดือนนับแต่วันที่มีคำสั่ง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีนำหลักการคุ้มครองความเชื่อถือหรือความไว้วางใจโดยสุจริตมาปรับใช้กับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองชัดเจนกว่าประเทศไทย ส่วนสาธารรัฐฝรั่งเศสนำหลักคุ้มครองความมั่นคงสิทธิมาใช้อย่างชัดเจนกว่าประเทศไทย ดังนั้น เพื่ออำนวยความยุติธรรมจึงเสนอแนะให้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และบทบัญญัติในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ด้วย</p>
ธวัชชัย มงคลมะไฟ
ตรีเพชร์ จิตรมหึมา
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-29
2024-06-29
8 1
176
211
-
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของคู่กรณี ในการได้รับฟังในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง: ศึกษากรณีการเนรเทศคนต่างด้าว
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/266814
<p> </p> <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า สิทธิของคู่กรณีในการได้รับฟังในกระบวนพิจารณาทางปกครองในกรณีการเนรเทศคนต่างด้าวนั้นมีหรือไม่ เนื่องจากหลักการรับฟังคู่กรณีในกระบวนการพิจารณาคดีทางปกครองมีความสำคัญ เพราะเป็นหลักประกันความยุติธรรมสำหรับประชาชนซึ่งเป็นคู่กรณีผู้จะได้รับผลกระทบจากการกระทำของฝ่ายปกครองสามารถใช้ปกป้องตนเองจากการใช้อำนาจออกคำวินิจฉัยสั่งการของฝ่ายปกครองที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิของตน</p> <p>จากการศึกษา พบว่า ในประเทศไทยนั้นกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมิได้ให้สิทธิแก่คนต่างด้าว ซึ่งจะถูกเนรเทศในการได้รับฟังในกระบวนการพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่ก่อนออกคำสั่งเนรเทศตน กล่าวคือ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 30 วรรคสอง (6) กำหนดให้สามารถออกกฎกระทรวงในเรื่องที่เจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องให้คู่กรณีมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนได้ และกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ในวรรคสอง (6) กำหนดให้การสั่งให้เนรเทศเป็นคําสั่งทางปกครองตามมาตรา 30 วรรคสอง (6) และกฎหมายที่เกี่ยวกับการเนรเทศ คือ พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติให้มีการรับฟังคนต่างด้าวที่จะถูกเนรเทศก่อนออกคำสั่งเนรเทศ</p> <p>แนวความคิดที่ยอมรับกันในนานาอารยประเทศ ตลอดจนกฎหมายระหว่างประเทศ และดังนั้น บทความนี้จึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2540) ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยให้มีบทบัญญัติคุ้มครองคนต่างด้าวโดยให้คนต่างด้าวซึ่งจะถูกเนรเทศได้รับสิทธิที่ได้รับฟังในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ก่อนออกคำสั่งเนรเทศ</p> <p>ด้วยเหตุที่กฎหมายของประเทศไทยมิได้ให้สิทธิคนต่างด้าวมีสิทธิเข้าร่วมในการต่อสู้ในกระบวนการ พิจารณาของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในการเนรเทศคนต่างด้าวก่อนมีการออกคำสั่งเนรเทศคนต่างด้าวจึงเป็นการขัดต่อ หลักกฎหมายหรือแนวความคิดที่ยอมรับกันในนานาอารยประเทศ ตลอดจน กฎหมายระหว่างประเทศ และดังนั้น บทความนี้จึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 <br />(พ.ศ.2540) ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499 และพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง <br />พ.ศ. 2522 โดยให้มีบทบัญญัติคุ้มครองคนต่างด้าวโดยให้คนต่างด้าวซึ่งจะถูกเนรเทศได้รับสิทธิที่ได้รับฟังในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ก่อนออกคำสั่งเนรเทศ</p>
ปัณฑ์นิชา อัศวโรจน์
ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-29
2024-06-29
8 1
212
233
-
ปัญหามลพิษทางอากาศและแนวคิดในการจัดทำ ร่างกฎหมายเพื่อแก้ไขมลพิษทางอากาศ
https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/269516
<p>การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ (Air Pollution Management) ของหน่วยงานของรัฐ เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ และพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่เฉพาะในการใช้มาตรการบังคับกฎหมายแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ โดยศึกษาและค้นคว้าเพื่อนำเสนอแนะแนวคิดในการยกร่างกฎหมายต้นแบบ (Model Law) เพื่อแก้ไขมลพิษทางอากาศ และกำหนดให้อำนาจหน้าที่คณะกรรมการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศในการออกกฎ (By-law) ระเบียบ (Rule) ข้อบังคับ (Regulation) ให้แก่หน่วยงานของรัฐ เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ และพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อใช้เป็นมาตรการตรวจสอบ ควบคุม ป้องกัน ลด และขจัดมลพิษทางอากาศในประเทศให้หมดไป โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการรับฟังความคิดเห็น</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุของปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมมลพิษทางอากาศของหน่วยงานของรัฐ (State Agency) เจ้าพนักควบคุมมลพิษ (Pollution Control Officer) และพนักงานเจ้าหน้าที่ (Competent Official) ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 (Improvement and Conservation of the National Environmental Quality Act B.E. 2535 (1992)) และกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับอื่นนั้น ยังไม่ได้กำหนดการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศไว้ชัดเจน จึงทำให้การดำเนินงานของพนักงานเจ้าหน้าที่เกิดความล่าช้าในการควบคุมมลพิษทางอากาศ หากเปรียบเทียบกับกระบวนการควบคุมมลพิษทางอากาศกฎหมายต่างประเทศจะเห็นได้ว่า กฎหมายต่างประเทศมีการกำหนดให้อำนาจหน้าที่ไว้โดยเฉพาะแก่หน่วยงานของรัฐ เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ และพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้บังคับกฎหมายแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ แต่กฎหมายไทยยังไม่มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐ เจ้าพนักควบคุมมลพิษ และพนักงานเจ้าหน้าที่บริหารจัดการมลพิษทางอากาศไว้ชัดเจน การวิจัยนี้จึงจัดทำเป็นกรอบของกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการแก้ไขมลพิษทางอากาศ เพื่อเป็นแนวคิดทางกฎหมายในการกำหนดให้อำนาจหน้าที่คณะกรรมการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ (the Air Pollution Management Committee) ที่จะออกกฎหมายลำดับรอง (Subordinate Legislation) เพื่อแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับกฎหมายต่างประเทศ</p> <p>การวิจัยนี้ มีข้อเสนอแนะทางวิชาการ (Academic Recommendations) ให้นำกฎหมายต้นแบบที่ยกร่างขึ้นมาใช้เป็นบทบัญญัติที่กำหนดอำนาจและหน้าที่ให้แก่เจ้าหน้าที่ (the Officials) เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในท้องที่ ซึ่งหากมีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะนี้แล้ว อาจช่วยให้การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น สามารถสร้างวิธีการมีส่วนร่วม (Methods of Participation) ระหว่างประชาชนและรัฐ ทั้งในด้านกฎหมาย สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้การบริหารจัดการมลพิษทางอากาศร่วมกันระหว่างภาครัฐ (Public Sector) และภาคเอกชน (Private Sector) อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศควบคู่ไปกับการพัฒนากฎหมายสิ่งแวดล้อมให้มีลักษณะเป็นเอกภาพ (Unity) สามารถแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม (Public Interest)</p>
ณัฐภณ อันชัน
สำเรียง เมฆเกรียงไกร
ตรีเพชร์ จิตรมหึมา
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-29
2024-06-29
8 1
234
270