@article{วริวรรณ_นาแพงหมื่น_2022, title={ข้อพิจารณาความเป็นสัญญาทางปกครอง}, volume={6}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/255632}, abstractNote={<p>สัญญาทางปกครองเป็นการกระทำทางปกครองที่มีคู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามบทนิยามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 6/2544 ได้พัฒนาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความสัญญาทางปกครองเพิ่มเติม โดยเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐตกลงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าดำเนินการหรือเข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง หรือเป็นสัญญาที่มีข้อกำหนดในสัญญา ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐ เพื่อให้การใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครองบรรลุผล นอกจากนี้ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยังได้วางแนวทางการวินิจฉัยเพิ่มเติมว่า สัญญาใดจะเป็นสัญญาทางปกครองต้องพิจารณาวัตถุแห่งสัญญาที่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การบริการสาธารณะบรรลุผลด้วยเช่นกัน ดังนั้น การพิจารณาความเป็นสัญญาปกครองจึงต้องนำหลักเกณฑ์หลายอย่างมาประกอบการพิจารณา ซึ่งในแง่หนึ่งก็เป็นไปตามเจตจำนงของฝ่ายนิติบัญญัติที่กำหนดคำว่า “หมายความรวมถึง” เอาไว้ในนิยามความหมายของสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งต้องการเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาหลักเกณฑ์ของสัญญาทางปกครองในอนาคต แต่ในอีกแง่หนึ่ง ความเป็นสัญญาทางปกครองก็ขาดความชัดเจนแน่นอนในหลักกฎหมาย จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมนิยามของสัญญาทางปกครองมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ให้มีความครอบคลุมชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรืออาจมีการตราพระราชบัญญัติเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองขึ้นมาโดยเฉพาะ แยกจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542</p>}, number={1}, journal={วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์}, author={วริวรรณ วรฉัตร and นาแพงหมื่น ปัญญา}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={40–58} }