Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA <p> <strong>Journal of Roi Kaensarn Academi</strong> เป็นวารสารวิชาการ ราย 1 เดือน (ปีละ 12 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม, ฉบับที่ กุมภาพันธ์, ฉบับที่ 3 มีนาคม, ฉบับที่ 4 เมษายน, ฉบับที่ 5 พฤษภาคม, ฉบับที่ 6 มิถุนายน, ฉบับที่ 7 กรกฎาคม, ฉบับที่ 8 สิงหาคม, ฉบับที่ 9 กันยายน, ฉบับที่ 10 ตุลาคม, ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน, และฉบับที่ 12ธันวาคม) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษา ด้านศาสนา ปรัชญา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาศาสตร์ การศึกษาเชิงประยุกต์ รวมถึงสหวิชาการอื่นๆ</p> <p> บทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) 3 ท่าน พิจารณาตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p> ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ <strong>Journal of Roi Kaensarn Academi</strong> ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะของกองบรรณาธิการ <strong>Journal of Roi Kaensarn Academi</strong> ไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา</p> th-TH journal1990jmsd@gmail.com (Editor Dr.Teedanai Kapko) kapko1990@gmail.com (Miss Nirawan Budjan) Mon, 30 Dec 2024 22:49:07 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 หลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์: การทำแผนประทุษกรรมผ่านสื่อ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275582 <p> ตามหลักการ Presumption of Innocent หรือ หลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาตามหลักสิทธิมนุษยชนอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์พึงมี ด้วยเหตุนี้ ตำรวจและสื่อมวลชนจึงจำเป็นต้องปกปิดใบหน้าผู้ต้องหาเมื่อนำเสนอข่าวการนำตัวไปทำแผนประทุษกรรมและการแถลงข่าว อันเนื่องจากสถานการณ์ในอดีตผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหาถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลขณะเข้าชี้แผนประกอบคำรับสารภาพ และหลักกระบวนการยุติธรรมมิได้มีกระบวนการที่คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานนี้มากพอ หากแต่เพียงเน้นถึงประสิทธิผลในการปราบปราบอาชญากรรม แต่มิได้มีการตรวจสอบและคานอำนาจระหว่างการป้องปรามอาชญากรรมกับหลักกระบวนการนิติธรรมอันคำนึงถึงสิทธิและความเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย บทความวิชาการฉบับนี้จึงต้องการวิเคราะห์ถึงความเชื่อมโยงของหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์กับสิทธิผู้ต้องหาในการทำแผนประทุษกรรมผ่านสื่อ โดยใช้หลักแนวคิดที่มีความสอดคล้องกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งได้ข้อสรุปว่า 1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีผิดตามกฎหมายของการพิจารณาเปิดเผย และมีหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม 2) ประเทศไทยมีการส่งเสริมการตระหนักรู้และคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหา โดยมีความร่วมมือระหว่างตำรวจและองค์กรสื่อมวลชนมีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 3) การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของตำรวจ ควรดำเนินงานควบคู่ระหว่างหลักการควบคุมอาชญากรรมและหลักกระบวนการนิติธรรม นอกจากนี้ได้ชี้ให้เห็นภาพถึงกระบวนการความเชื่อมโยงระหว่างหลักการเบื้องต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว เพื่อนำไปประกอบและประยุกต์ใช้ในองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป</p> ทชาน์ศิริก์ สุขเกษม, กฤษฎา เลิศสถิตไพโรจน์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275582 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเรียนรู้ (มหาวิทยาลัย) สร้างความเปลี่ยนแปลง: ความเปลี่ยนแปลง สร้างการเรียนรู้ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275445 <p> ปัจจุบันมหาวิทยาลัยกำลังเผชิญกับความท้าทายในการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ทางเทคโนโลยี สังคม และเศรษฐกิจ บทความนี้มุ่งวิเคราะห์ความท้าทายดังกล่าวผ่านกรอบการวิเคราะห์ SWOT เพื่อประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัล ผลการวิเคราะห์พบว่ามหาวิทยาลัยมีจุดแข็งด้านการเข้าถึงองค์ความรู้แบบไร้พรมแดน การผลิตผู้เรียนที่มีทักษะสอดคล้องกับตลาดแรงงานยุคใหม่ และความร่วมมือทางวิชาการที่เข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนที่พบได้แก่ ข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน การปรับตัวของบุคลากรต่อเทคโนโลยี และกระบวนการบริหารที่ล่าช้า ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยยังมีโอกาสในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มศักยภาพ แต่ต้องเผชิญภัยคุกคามจากการแข่งขันที่สูงและความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน กลยุทธ์สำคัญในการแก้ปัญหาที่นำเสนอได้แก่ การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน การสร้างพันธมิตรและเครือข่ายความร่วมมือ การพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดการและปรับองค์กร กลยุทธ์เหล่านี้จะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ สร้างความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมในยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน</p> <p> </p> ปานรัตน์ นิ่มตลุง, ศริญญา ขวัญทอง, สุวิมล แมตสอง, กันยามาศ ช่วยสมบูรณ์, พิมพ์ฉัตร รสสุธรรม, ชนิกานต์ กู้เกียรติ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275445 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำเชิงประกอบการ: การพัฒนานักศึกษาอาชีวะสู่เส้นทาง การเป็นผู้ประกอบการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271066 <p> การจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษามีความเกี่ยวข้องกับบริบทของการประกอบอาชีพ โดยมีการปฏิรูปปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมามีการพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับนักศึกษาอาชีวะในหลากหลายรูปแบบที่จะทำให้นักศึกษากลายเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ โดยบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนานักศึกษาอาชีวะให้มีภาวะผู้นำเชิงประกอบการ ด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงประกอบการ เป็นคุณลักษณะของนักศึกษาอาชีวะที่แสดงออกให้เห็นถึงการเป็นผู้ประกอบการ 2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงประกอบการ เป็นวิธีการที่ใช้เพิ่มพูนความรู้ ปรับปรุงทักษะและความสามารถการเป็นผู้ประกอบการ และ 3) กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงประกอบการ เป็นขั้นตอนที่ใช้ในการดำเนินการพัฒนานักศึกษาอาชีวะตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ ถึงสิ้นสุดกระบวนการ เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาอาชีวะให้สามารถเป็นผู้ประกอบการได้หลังจบการศึกษา</p> วรวิทย์ อินปาน , จิติมา วรรณศรี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271066 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Research on Huizhou Traditional Dwellings in China from the Perspective of Green Architecture https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270253 <p> Huizhou traditional dwellings occupy an important position in the history of Chinese architecture with their unique architecture style and cultural connotation. From the perspective of green architecture, this article explores the practice and wisdom of Huizhou traditional architecture in terms of ecological adaptability, resource conservation, and sustainable development. Firstly, the article introduces the theoretical basis of Chinese traditional architecture and explores its importance in sustainable development and environmental protection. Next, the traditional residential architecture of Huizhou is analyzed, including the Impact factors, the characteristics of the architecture types, and the Green wisdom embedded in them. To study the green architecture wisdom of Huizhou traditional dwellings, the researcher must not only focus on the architectures themselves but some relevant contexts around the research objectives must also be taken into account. This is because factors such as geographic environment, cultural heritage, and construction technology together shape the unique appearance of Huizhou traditional dwellings. After comprehensive analyses, it is concluded that Huizhou dwellings have achieved good natural ventilation, lighting, and water management through rational site selection, layout, material selection, and architectural structure design, reflecting the core concepts of green architecture. These traditional wisdom not only play an important role in traditional architecture but also have important reference significance for modern green architecture design.</p> Chen Juan , Sarawuth Pintong Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270253 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ทักษะชีวิตของนักเรียน : แนวทางการพัฒนาในสถานศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275661 <p> ทักษะชีวิต เป็นเป้าหมายหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพคน เนื่องจากทักษะชีวิตเป็นความสามารถเชิงสังคมที่จะช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต การพัฒนาทักษะชีวิตจึงเกิดจากการพัฒนาความรู้ความสามารถภายในตัวของผู้เรียนเองและต้องใช้เวลาพัฒนาฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง สถานศึกษาและครูจึงมีความจำเป็นสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กโดยการจัดกิจกรรมในโรงเรียนเพื่อเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนมีภูมิคุ้มกัน ใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีความเข้มแเข็งและเผชิญปัญหาตั้งรับต่อการก้าวหน้าทางสังคมที่พัฒนาอย่างรวดเร็วได้อย่างรู้เท่าทัน แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) การตระหนักรู้และการเข้าใจในตนเองและผู้อื่น 2) การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหา 3) การจัดการอารมณ์และความเครียด และ 4) การสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น โดยเสริมสร้างทักษะชีวิตที่ก่อให้เกิดทักษะความสามารถตามตัวชี้วัดที่กำหนด สอดแทรกทั้งใน 8 สาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมนักเรียน (กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมชมรม/ชุมนุม) กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ และกิจกรรมที่เสริมสร้างคุณลักษณะตามนโยบายของสถานศึกษา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและเสริมสร้างทักษะชีวิตได้ทุกองค์ประกอบของทักษะชีวิต</p> ธัญชนิต มากมี , จิติมา วรรณศรี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275661 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Conversational Agents and Natural Language Processing: Artificial Intelligence in Medicine https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274899 <p> Background and Objective: The adoption of digital technology to enhance service delivery represents a significant advancement in the medical field. Digital Assistance Systems are gaining prominence, with Artificial Intelligence (AI) expected to play a pivotal role in transforming doctor-patient communication in the future. Advances in conversational agents equipped with natural language processing (NLP) capabilities are particularly compelling and are increasingly applied in diverse areas, including medical education. This review article explores these developments in detail, focusing on the integration of AI-driven conversational tools.<br /> Materials and Methods: This review article outlines a structured methodology for conducting a literature review and critiquing the integration of artificial intelligence (AI) tools with conversational agents and natural language processing in educational contexts. The goal is to assess their potential in enhancing knowledge acquisition, skill development, and understanding of complex medical concepts.<br /> Results: The integration of AI tools in learning has demonstrated significant potential in improving knowledge acquisition, skill development, and comprehension of medical concepts. These tools have been implemented in various forms, including 1) Medical information chatbots 2) Appointment scheduling chatbots 3) Medication management chatbots 4) Chatbots as mental health support 5) Post-discharge follow-up chatbots 6) Health Insurance guidance chatbots 7) Chronic disease management chatbots<br /> Conclusion: Conversational agents and Natural Language Processing (NLP) are groundbreaking technologies revolutionizing the medical field. They enhance diagnostic processes, streamline healthcare delivery, and support the development of clinical skills. However, it is crucial to prioritize accuracy, reliability, and validity in their application. Moreover, safeguarding sensitive data through robust privacy and security measures is essential to ensure the ethical use of AI in healthcare.</p> <p> </p> Mathuwan Srikong, Atiporn Thuangtong, Chutirut Prasongmanee Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274899 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Comparative Study of Chinese and Western Cultural Heritage Management Based on Cultural Perspective https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275369 <p> From the perspective of culture, this paper compares the similarities and differences between Chinese and western cultural heritage management, and sorts out the cultural heritage management under the influence of Chinese and Western culture.<br /> The main objectives of this study are as follows:<br /> First, compare the similarities and differences of Chinese and Western heritage management, starting from the concept, compare the essential differences in order to better understand themselves and explore the experience that can be used for reference;<br /> Second, how are the management mechanisms of cultural heritage different between China and the west? Cultural theory and cross-cultural theory are applied to all levels of cultural heritage management, trying to analyze the cultural value embodied by heritage and the profound impact of cultural heritage on heritage management. The comparison between Chinese and Western cultural heritage management can be divided into two aspects: horizontal and vertical. Horizontal comparison can be divided into static comparison and dynamic comparison, that is, static comparison between Chinese and western management systems and cross-cultural communication in heritage management. The longitudinal comparison is to compare the development stages of Chinese and Western heritage management. The horizontal proportion of heritage management is divided into three parts: main body, client cultural heritage and intermediary management system.<br /> Thirdly, the management of Chinese and Western cultural heritage should take its essence and discard its dross.</p> Luan Yi , Chaiyot Vanitwatthananuwat Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275369 Mon, 06 Jan 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษทางอาญาเด็กและเยาวชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271169 <p> ในการกำหนดโทษทางอาญาสำหรับเด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิด หากเด็กและเยาวชนนั้นมีอายุในขณะกระทำผิดอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ประมวลกฎหมายอาญากำหนดให้เด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดนั้นได้รับการยกเว้นโทษหรือลดโทษเสมอ ไม่ว่าจะเป็นกระทำความผิดอาญาร้ายแรงเพียงใดหรือเป็นการกระทำความผิดซ้ำกี่ครั้งก็ตาม ทำให้โทษที่ได้รับนั้นไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด จนอาจทำให้เด็กและเยาวชนกล้าที่จะกระทำความผิดโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายและการถูกลงโทษ นำมาซึ่งความเสียหายเดือดร้อนแก่สังคม บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการมุ่งศึกษาถึงองค์ความรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สาเหตุการกระทำความผิด ทฤษฎีการลงโทษ และแนวทางการลงโทษเด็กและเยาวชนตามกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทย เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงและพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษเด็กและเยาวชนให้ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด เพื่อให้สามารถแก้ไขพฤติกรรมเด็กได้จริงและบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายดังนี้ 1) ควรมีการนำพฤติการณ์แห่งคดี ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวผู้กระทำความผิด และประเภทความผิดอาญาร้ายแรงมาประกอบการพิจารณากำหนดโทษแก่เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญาควบคู่ไปกับเกณฑ์อายุของผู้กระทำความผิด 2) ควรมีการจำแนกกลุ่มเด็กและเยาวชนออกเป็นกลุ่มผู้ที่กระทำความผิดด้วยความพลั้งพลาดและมีโอกาสแก้ไขฟื้นฟูให้กลับตนเป็นคนดีได้ และกลุ่มผู้ที่มีพฤติกรรมเป็นอาชญากรและยากต่อการแก้ไขฟื้นฟู แล้วจึงกำหนดมาตรการลงโทษให้เหมาะสมกับเด็กและเยาวชนแต่ละกลุ่ม</p> ธัญลักษณ์ นามจักร Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271169 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 พัฒนานวัตกรรมดนตรีบรรเลงเพลงกล่อมเด็กภาคใต้สำหรับการนอนกลางวัน ของนักเรียนปฐมวัย กรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบางดาน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274941 <p> การพัฒนานวัตกรรมดนตรีบรรเลงเพลงกล่อมเด็กภาคใต้สำหรับการนอนกลางวันของนักเรียนปฐมวัย กรณีศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบางดาน อำเภอเมือง จังหวัด มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1. ประพันธ์ดนตรีบรรเลงเพลงกล่อมเด็กภาคใต้สำหรับการนอนกลางวันของเด็กปฐมวัย 2. ศึกษาผลการใช้ดนตรีบรรเลงเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ภายหลังให้ฟังดนตรี กลุ่มเป้าหมายที่จะนำนวัตกรรมดนตรีบรรเลงไปใช้ทดลอง คือ นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบางดาน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ในห้องเรียนเด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการนอนหลับ (Sleep diaries) เพื่อจดบันทึกระยะเวลาการนอนหลับของกลุ่มเป้าหมายผลการวิจัย <em>ตอนที่ 1</em> สำหรับนวัตกรรมดนตรีบรรเลงเพลงกล่อมเด็กผู้วิจัยใช้ชื่อว่า เพลง Deep Sleep ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเพลงชาเปล “บ่าวน้อยรังเกต้นสูง” ของนางคำแก้ว พวงแก้ว แม่เพลงอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เครื่องดนตรีที่ใช้ในบทประพันธ์ประกอบด้วย เปียโน (Piano) และไวบราโฟน (Vibraphone) ทั้งนี้ผู้ประพัน์ได้นำเอาเสียงธรรมชาติ ได้แก่ เสียงน้ำไหล และเสียงนกร้อง มาใช้ประกอบในบทประพันธ์เพื่อสามารถช่วยให้ผู้ฟังสามารถจินตนาการได้ถึงความสงบและเกิดความผ่อนคลาย ความยาวของบทประพันธ์เพลงโดยประมาณ 13 นาที <em>ตอนที่ 2</em> ผู้วิจัยนำนวัตกรรมดนตรีบรรเลงไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยเริ่มฟังเพลงตั้งแต่ช่วงรับประทานอาหารจนกระทั่งเข้านอนเปิดเพลงอย่างต่อเนื่องประมาณ 45 นาที สำหรับผลการใช้นวัตกรรมดนตรีบรรเลง พบว่า นวัตกรรมดนตรีบรรเลงสามารถทำให้กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการนอนในทางที่ดีขึ้น คือ กลุ่มเป้าหมายสามารถนอนหลับสนิทได้เร็วขึ้นกว่าเดิม มีการตื่นกลางคันน้อยลง และมีระยะเวลาในการนอนมากขึ้น</p> สุภาพร ฉิมหนู Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274941 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ตามแนวคิดพลังการเรียนรู้ของนักเรียน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271069 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (จุดแข็ง จุดอ่อน) และสภาพแวดล้อมภายนอก (โอกาสและภาวะคุกคาม) ของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดพลังการเรียนรู้ของนักเรียน ประชากร คือ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 26,766 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 395 โรงเรียน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชนชั้นและการสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ และครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 1,185 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNI<sub>modified <br /></sub> ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านสภาพแวดล้อมภายใน (จุดแข็ง จุดอ่อน) ของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา จากการวิเคราะห์พบว่า การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เป็นจุดอ่อน (PNI<sub>modified</sub> = 0.167) และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เป็นจุดแข็ง (PNI<sub>modified</sub> = 0.149) รองลงมาคือ การวัดผลประเมินผล เป็นจุดแข็ง (PNI<sub>modified</sub> = 0.164) 2) ด้านสภาพแวดล้อมภายนอก (โอกาสและภาวะคุกคาม) จากการวิเคราะห์พบว่า สภาพสังคมเป็นโอกาสด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (ร้อยละ 27) ถัดมาคือ สภาพเทคโนโลยีเป็นโอกาสด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (ร้อยละ 25) และ ด้านการเมืองและนโยบายของรัฐ เป็นภาวะคุกคามต่อกการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (ร้อยละ 25) ถัดมาคือ สภาพเศรษฐกิจ เป็นภาวะคุกคามต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (ร้อยละ 22)</p> วิทวัส แทนศิริ, ธีรภัทร กุโลภาส , สุกัญญา แช่มช้อย Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271069 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 โมเดลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำดิจิทัลต่อความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน: วัฒนธรรมองค์การดิจิทัล ในบทบาทการเป็นตัวแปรส่งผ่าน ของผู้ประกอบการ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275119 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของภาวะผู้นำดิจิทัลและวัฒนธรรมองค์การดิจิทัลที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน และวิเคราะห์ผลกระทบทางอ้อมของภาวะผู้นำดิจิทัลต่อความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน ผ่านวัฒนธรรมองค์การดิจิทัล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ประกอบการ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และใช้โมเดลสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหาร ผู้จัดการ พนักงานของธุรกิจ SMEs ในภาคการค้า ภาคการผลิต และภาคการบริการ และนักวิชาการด้านการจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์ โยวิธีเลือกแบบเจาะจง และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำมีผลทางตรงต่อทั้งตัวแปรวัฒนธรรมองค์การดิจิทัล และความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน วัฒนธรรมองค์การดิจิทัลมีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน และภาวะผู้นำดิจิทัลมีผลทางอ้อมต่อตัวแปรความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานผ่านตัวแปรส่งผ่านคือ วัฒนธรรมองค์การดิจิทัล หากองค์การมีภาวะผู้นำดิจิทัลเพิ่มขึ้นจะมีวัฒนธรรมองค์การดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการมีความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานที่เพิ่มขึ้น จากข้อค้นพบนี้องค์การควรสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การดิจิทัลเพื่อส่งเสริมพนักงานในองค์การให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในระดับที่สูงขึ้น</p> ปรีชา คำมาดี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275119 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงคำนวณและการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ การจัดกิจกรรม Unplugged Coding https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271256 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาความสามารถในการคิดเชิงคำนวณและการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการจัดกิจกรรม Unplugged Coding กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยหว้า ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 17 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผล ได้แก่ แบบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ของครู แบบสังเกตพฤติกรรมของครูและนักเรียน 3) เครื่องมือประเมินผล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดเชิงคำนวณเฉลี่ย 12.94 คิดเป็นร้อยละ 85.94 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 13 คน คิดเป็นร้อยละ 76.47 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเฉลี่ย 7.53 คิดเป็นร้อยละ 83.66 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 82.35 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้</p> <p> </p> จารุวรรณ ดีแซง, ปริณ ทนันชัยบุตร Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271256 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์รายวิชา สังคมศึกษา โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271177 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาสังคมศึกษา โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ร้อยละ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับแผนผังความคิด และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนอนุบาลภูบดินทร์ จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่ามัชฌิมเลขคณิต และ t-test<br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาสังคมศึกษา โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.24/80.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาสังคมศึกษา โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับแผนผังความคิด มีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาสังคมศึกษา โดยใช้เทคนิค 5W1H ร่วมกับแผนผังความคิด มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> ภูเบศ บุตรเคน, มานิตย์ อาษานอก Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271177 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Relationship Between Organizational Culture Knowledgemanagement and Innovation Performance in High-Tech Enterprises https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271580 <p> Focusing on innovation performance in high-tech enterprises, analyzing the influencing factors, and modeling and verifying the two crucial factors of organizational culture and knowledge management among many factors affecting innovation performance, effective strategies and recommendations can be provided for enhancing technological innovation performance.<br /> The objectives of this research were to study investigates the relationship between organizational culture, knowledge management, and innovation performance in high-tech enterprises based on the organizational culture model and two-dimensional knowledge management model within the dual S-cube framework.<br /> The research method was a mixed method, including qualitative research and quantitative research. The sample was 620 people from population of this study includes national-level high-tech enterprise parks in China, This study used purposive sampling method, using the snowball method. Obtained by purposive sampling method. The instruments used for data collection was five-point rating scale questionnaires form. Statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean, Standard Deviation, Confirmatory Factor Analysis, and Structural Equation Model was employed.<br /> Research findings were: 1)This research explores the interplay between organizational culture, knowledge management practices, and innovation performance within high-tech enterprises. It investigates how organizational culture influences knowledge management processes and subsequently affects innovation outcomes. The study aims to provide insights into strategies that can enhance innovation performance through effective management of organizational culture and knowledge resources in high-tech settings.2) The different organizational cultures of enterprises, their knowledge management methods have different ways and means of affecting the innovation performance of the organization. 3) According to the above empirical results, although the effect of chain mediation is significant, due to the greater direct effects of collective organizational culture on codified knowledge management and fragmented organizational culture on Inter personalization knowledge management, combining codification. The correlation coefficients from centralized knowledge management and Inter personalization knowledge management to knowledge socialization, knowledge internalization, knowledge combination, and knowledge internalization.</p> Wang Bo , Li Zhongwu Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271580 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการในการใช้บริการขนส่งทางถนน ในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271490 <p> การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์องค์กร และความภักดีของผู้ใช้บริการในการใช้บริการขนส่งทางถนน ในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี และ 2) ศึกษาปัจจัยคุณภาพการบริการ และปัจจัยภาพลักษณ์องค์กร ที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการในการใช้บริการขนส่งทางถนน ในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี ทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกที่มีอำนาจในการตัดสินใจหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านการขนส่ง จำนวน 327 ตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน<br /> ผลการศึกษา พบว่า 1) คุณภาพการบริการและภาพลักษณ์องค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก ความภักดีของผู้ใช้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ปัจจัยคุณภาพการบริการ ด้านความตรงต่อเวลา ด้านความพร้อมในการให้บริการ ด้านความเป็นรูปธรรม ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านความปลอดภัย และด้านการรู้จักและเข้าใจลูกค้า มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยภาพลักษณ์องค์กร ด้านเอกลักษณ์ขององค์กร ด้านชื่อเสียง และด้านการติดต่อระหว่างบุคคล มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการในการใช้บริการขนส่งทางถนน ในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p> </p> ชมพูนุท รัตนวิชัย, นิภา นิรุตติกุล Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271490 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 สิ่งคุมคามสุขภาพ และการประเมินด้านการยศาสตร์ในอาชีพช่างติดตั้งนั่งร้าน ในจังหวัดระยอง: การศึกษานำร่อง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271076 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานและการยศาสตร์ในช่างติดตั้งนั่งร้านจังหวัดระยองโดยเป็นการศึกษาแบบพรรณนา การติดตั้งนั่งร้านเป็นงานที่มีความสำคัญในงานก่อสร้างโดยช่างติดตั้งนั่งร้านต้องประสบกับสิ่งคุกคามสุขภาพต่าง ๆ เช่น ความร้อน สารเคมี ปัจจัยทางจิตสังคม และสิ่งคุกคามด้านชีวกลศาสตร์ การศึกษานี้ใช้วิธีการสำรวจและสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อระบุสิ่งคุกคามทางสุขภาพ และประเมินท่าทางการทำงานของช่างติดตั้งนั่งร้านโดยใช้วิธีการประเมินทั่วทั้งร่างกาย (REBA) ผลการศึกษาพบว่าขั้นตอนการส่งต่อท่อเหล็ก การส่งต่อแผ่นกระดาน และการส่งแคลมป์มีค่าเฉลี่ยคะแนน REBA อยู่ที่ 8.7 ซึ่งจัดอยู่ในระดับความเสี่ยงสูง ในขณะที่ขั้นตอนการยกท่อเหล็ก การหามท่อเหล็ก การยกแผ่นกระดาน และการยกแคลมป์มีค่าเฉลี่ยคะแนน REBA อยู่ในช่วง 5.3 ถึง 7 ซึ่งจัดอยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการวางแผนและปรับปรุงวิธีการทำงานให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยในการออกแบบมาตรการป้องกันและแนวทางการส่งเสริมสุขภาพแก่สถานประกอบการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาต่อยอดเพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกและเชิงปริมาณเพิ่มเติมได้ในอนาคต</p> <p> </p> ณภัทร อภิญญาชน , วิโรจน์ เจียมจรัสรังสี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271076 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274845 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในบริบทของประเทศไทย และ 2) พัฒนากรอบแนวคิดความสำเร็จของการสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนที่มีประสบการณ์บริหารมากกว่า 10 ปีและโรงเรียนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจำนวน 5 คน ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเรียนในโรงเรียนเอกชนมาแล้วอย่างน้อย 3 ปีจำนวน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์ที่มีประสบการณ์ให้คำปรึกษาสถาบันการศึกษามากกว่า 5 ปีจำนวน 1 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ<br /> ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์โรงเรียนเอกชนประกอบด้วย 3 มิติหลัก ได้แก่ 1) มิติอัตลักษณ์แบรนด์ ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ที่ยืดหยุ่นและปรับตัวได้ พันธกิจที่บูรณาการวิชาการและคุณธรรม ค่านิยมที่เป็นเอกภาพ และวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง 2) มิติการนำเสนอแบรนด์ ครอบคลุมการสื่อสารแบบปากต่อปาก สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ คุณภาพการบริการที่เป็นเลิศ และบุคลากรที่เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ และ 3) มิติคุณค่าแบรนด์ ซึ่งรวมถึงการรับรู้ผ่านประสบการณ์ที่ประทับใจ คุณภาพที่รับรู้จากผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม สหสัมพันธ์ผ่านอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ความพึงพอใจจากการตอบสนองความคาดหวัง และความภักดีที่แสดงผ่านความสัมพันธ์ระยะยาว นอกจากนี้ การศึกษายังนำเสนอกรอบแนวคิดการบูรณาการองค์ประกอบทั้งสามมิติเข้าด้วยกันเพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จอย่างยั่งยืน<br /> ผลการวิจัยนี้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาแบรนด์โรงเรียนเอกชนไทย โดยเฉพาะแนวคิดความยืดหยุ่นของอัตลักษณ์แบรนด์และบทบาทของความพึงพอใจในฐานะองค์ประกอบแยกต่างหากของคุณค่าแบรนด์ ข้อค้นพบนี้มีนัยสำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและการประยุกต์ใช้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน</p> รัชพล วิทยานนท์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274845 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสื่อสารประเด็นสังคมร่วมสมัยของละครไม่มีบทพูดในเทศกาลละครกรุงเทพ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271270 <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การสื่อสารประเด็นทางสังคมร่วมสมัยของละครไม่มีบทพูดในเทศกาลละครกรุงเทพ โดยทำการคัดเลือกละครไม่มีบทพูดที่มีการสื่อสารประเด็นทางสังคมในเทศกาลละครกรุงเทพในปีพ.ศ. 2566 ที่จัดแสดงในหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) จำนวน 10 เรื่อง ประกอบด้วย ละครใบ้ ฟิสิคัลเธียเตอร์ การเต้นร่วมสมัย และการแสดงแสง เสียง และเงา เก็บรวบรวมข้อมูล จากวีดิทัศน์บันทึกภาพการแสดง และการลงพื้นที่สัมภาษณ์ศิลปินผู้ผลิตละครไม่มีบทพูด ผลการวิจัยพบว่า วิธีการสื่อสารประเด็นสังคมของละครไม่มีบทพูดในเทศกาลละครกรุงเทพ สามารถบอกเล่าประเด็นสังคมได้เช่นเดียวกันกับละครที่มีบทพูด แต่มีวิธีการสื่อสารการแสดงที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละรูปแบบการแสดง ซึ่งการตีความอาจขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล นับว่าเป็นจุดเด่นของละครไม่มีบทพูดที่ต้องการเปิดกว้างทางความคิดให้ผู้ชมสามารถจินตนาการและตีความเรื่องราวได้หลากหลายทิศทางอย่างไม่มีถูกหรือผิด ประเด็นสังคมที่ถูกเล่าผ่านละครไม่มีบทพูด ได้แก่ สิ่งแวดล้อม ครอบครัว ความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา การใช้ชีวิตและกฎเกณฑ์ในสังคม และเศรษฐกิจการเมือง โดยประเด็นดังกล่าวนี้มักมีการอ้างอิงมาจากประสบการณ์ส่วนตัวหรือจากบุคคลรอบตัว รวมถึงมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันที่ถูกเล่าผ่านมุมมองของศิลปิน/ผู้ผลิต จากที่กล่าวข้างต้นนี้ ผู้วิจัยจึงรวบรวมวิธีการสื่อสารประเด็นสังคมของละครไม่มีบทพูดในเทศกาลละครกรุงเทพ เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานการแสดงให้กับศิลปิน นักเรียน และบุคคลที่สนใจในศิลปะการแสดงในการประกอบสร้างเรื่องราวผลงานการแสดงในอนาคต </p> ปณิชา เดชโรจนัย, ปอรรัชม์ ยอดเณร Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271270 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 คดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270909 <p> การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาคำสั่งและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่เกี่ยวข้องกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ที่เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการฟ้องคดี ประเภทของคดี แนวโน้มคดีปกครองที่เกิดขึ้น ตลอดจนแนวทางในการปฏิบัติราชการที่ดี การวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาสรุปประเด็นเนื้อหาด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ทั้งนี้ เพื่อเสนอแนะแนวทางพัฒนา และสร้างความเข้มแข็งให้กับบุคลากรและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน<br /> ผลการวิจัยพบว่า ตั้งแต่ป<strong>ี </strong>พ.ศ.2557 -2565 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคดีที่ถูกฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นจำนวน 1,818 คดี เมื่อผู้วิจัยได้วิเคราะห์คดีปกครองที่เกี่ยวข้องกับครูและบุคลากรทางการศึกษา มีจำนวน 209 คำวินิจฉัย โดยจำแนกเป็นกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ถูกฟ้องคดี 177 คำวินิจฉัย คิดเป็นร้อยละ 86.68 และเป็นกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ฟ้องคดี 32 คำวินิจฉัย คิดเป็นร้อยละ 15.31 จึงสามารถสรุปแนวโน้มคดีปกครองได้ว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา จะยังคงนำเรื่องมายื่นฟ้องสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวนมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบุคลากรและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยังขาดความเชี่ยวชาญในกฎหมายหลักและกฎหมายเฉพาะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติราชการที่ดี ดังนั้น การจัดการความรู้แก่บุคลากรและหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าว จึงยังคงมีความจำเป็นและสมควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการวางระบบการทำงานที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดปัญหาการนำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองได้</p> ทัศนะ ศรีปัตตา Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270909 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทเสื้อผ้าที่ส่งผลต่อ ความได้เปรียบในการแข่งขัน มณฑลเจียงซี ประเทศจีน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275227 <p> งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาความสำคัญการจัดการความรู้ ความสามารถทางการตลาด นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และความได้เปรียบในการแข่งขัน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของมณฑลเจียงซี ประเทศจีน (2) เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ของการจัดการความรู้ ความสามารถทางการตลาด นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมณฑลเจียงซี ประเทศจีน และ(3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทเสื้อผ้าเพื่อการความได้เปรียบในการแข่งขัน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทเสื้อผ้า ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่มลฑลเจียงซี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ราย และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้องจำนวน 26 คน ข้อมูลที่รวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่างแรกทำการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม AMOS กรณีของข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) <br /> ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความสำคัญด้านการจัดการความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความสามารถทางการตลาด ด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ด้านเทคโนโลยีสารเทศ และด้านความได้เปรียบในการแข่งขันอยู่ในระดับมาก (2) ผลการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ พบว่า การจัดการความรู้ส่งผลต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ การจัดการความรู้ส่งผลต่อเทคโนโลยีสารสนเทศความสามารถทางการตลาดมีอิทธิพลต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ความสามารถทางการตลาดส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน นวัตกรรมผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลต่อความความได้เปรียบในการแข่งขัน และเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ตามลำดับ (3) รูปแบบที่เหมาะสม การจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทเสื้อผ้า เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน คือ SME “BCG CPMIK”</p> Xu Li, นิตยา วงศ์ยศ, สถาพร แสงสุโพธิ์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275227 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเพิ่มประสิทธิภาพทางความร้อนในเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์โดยการประยุกต์ใช้วัสดุคอมโพสิทเปลี่ยนเฟสเป็นตัวกักเก็บความร้อน : กรณีศึกษาการอบแห้งลำไยบ้านท่ากลอย อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274457 <p> การเพิ่มประสิทธิภาพทางความร้อนในเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการประยุกต์ใช้วัสดุคอมโพสิทเปลี่ยนเฟสเป็นตัวกักเก็บความร้อน : กรณีศึกษา การอบแห้งลำไยบ้านท่ากลอย อำเภอ ท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมบัติทางความร้อนและเคมีที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาวัสดุคอมโพสิทเปลี่ยนเฟสทำหน้าที่กักเก็บความร้อนในเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่พัฒนาขึ้น 2) เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้วัสดุคอมโพสิทเปลี่ยนเฟสเป็นตัวกักเก็บความร้อน และ 3) เพื่อศึกษาคุณภาพของลำไยอบแห้งที่เหมาะสมและการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตลำไยอบแห้งโดยใช้เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับวัสดุคอมโพสิทเปลี่ยนเฟส การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดำเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มจากอาสาสมัครในชุมชนบ้านท่ากลอย จำนวน 30 คน ประกอบด้วย หัวหน้าหมู่บ้าน สมาชิกหมู่บ้าน และบุคคลทั่วไปที่สนใจ เป็นกลุ่มตัวแทนสำหรับการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนในการประยุกต์ใช้งานเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่พัฒนาขึ้น โดยใช้เครื่องมือวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนาด้วยคำถามปลายเปิดแบบไม่มีโครงสร้างชัดเจน ด้านข้อมูลทั่วไปทางด้านข้อมูลกายภาพของพื้นที่ ข้อมูลด้านสังคม ปัญหาและความต้องการในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชุมชน และแนวทางบริหารจัดการผลผลิตทางการเกษตร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัย พบว่า ผลการศึกษาสมบัติทางความร้อนและเคมีที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาวัสดุคอมโพสิทเปลี่ยนเฟสเพื่อทำหน้าที่กักเก็บความร้อนในเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่พัฒนาขึ้น เนื้อลำไยอบแห้งที่ใช้วัสดุคอมโพสิทเปลี่ยนเฟสระหว่างพาราฟินผสมหินภูเขาไฟที่อัตราส่วน 2 :1 มีความเหมาะสมที่สุด ค่าจุดหลอมเหลว และความร้อนแฝงเท่ากับ 79.9 องศาเซลเซียส และ 89.6 จูลต่อกรัม การใช้วัสดุคอมโพสิทเปลี่ยนเฟสมีผลต่ออุณหภูมิภายในเครื่องอบแห้งเฉลี่ย 40 - 50 องศาเซลเซียส โดยใช้ระยะเวลาการอบแห้ง 16 ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้วัสดุคอมโพสิทเปลี่ยนเฟสสามารถลดระยะเวลาอบแห้ง เท่ากับ 6 ชั่วโมง คิดเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตลำไยอบแห้งร้อยละ 73 ในด้านคุณภาพของสี ผลการศึกษาพบว่า เนื้อลำไยอบแห้งที่ใช้วัสดุคอมโพสิทเปลี่ยนเฟสและไม่ใช้วัสดุคอมโพสิทเปลี่ยนเฟสช่วยกักเก็บความร้อนในตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ มีค่าสีแดง (a*) และค่าสีเหลือง (b*) สูงกว่าเนื้อลำไยที่จำหน่ายโดยทั่วไป และค่าการหดตัวร้อยละ 86 และมีค่าวอเตอร์แอคทิวิตีไม่เกิน 0.6</p> จักรพันธ์ ปิ่นทอง, ศรินยา ประทีปชนะชัย , ณัฐภัทร กาญจนเรืองรอง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274457 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Classroom Curriculum Development for National Aviation Security Instructor https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271404 <p> The study aimed to identify the objectives related to the National Aviation Security Instructor Curriculum (NASIC), employing Outcome-Based Education (OBE) principles and the ADDIE (Analysis, Design, Development, Implementation, Evaluation) Model, and to evaluate the effectiveness of the NASIC implementation. The methodology included mixed research methods, both quantitative and qualitative, utilizing three rounds of Delphi surveys to determine the competencies of National Aviation Security Instructors (NASI). The development of NASIC was based on the analysis of expert opinions, utilizing various criteria such as positive coefficient, concentration of opinions, expert authority coefficient, and expert coordination coefficient. This process resulted in the identification of 33 competencies for NASIs. To evaluate the effectiveness of the curriculum, an experiment was conducted, involving both an experimental group and a control group. The study ensured there were no significant baseline differences between the two groups concerning demographics and background variables. The evaluation of the curriculum's effectiveness was carried out across three dimensions: knowledge, skills, and attitudes. Statistical analysis, including Chi-square tests and Mann-Whitney U tests, was performed on the data collected from both groups. The results indicated statistically significant differences between the experimental and control groups across all three areas of knowledge, skills, and attitudes, suggesting that the NASIC implementation had a positive impact. These findings provide a framework for future research in applying OBE concepts and the ADDIE model to other aviation curricula.</p> Zhang Yiyan , Supinda Lertlit Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271404 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะหลักของครูด้วยการศึกษา นอกระบบแบบมีส่วนร่วม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275047 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะหลักของครูในปัจจุบันและสมรรถนะที่ควรได้รับการพัฒนา และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะหลักของครู เป็นการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารและครูโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของรัฐแห่งหนึ่ง จำนวน 85 คน กลุ่มตัวอย่างที่ 1 เลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างที่ 2 และ3 เลือกแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม แผนกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตและแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าเครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัย มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 แสดงถึงความสอดคล้องในระดับสูง สถิติที่ใช้ในการวิจัย วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พร้อมทั้งใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา<br /> ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารและครูทุกคนให้ความสำคัญกับสมรรถนะด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานเป็นอันดับแรก แต่จากประสบการณ์เห็นความจำเป็นว่าการทำงานเป็นทีมจะมีส่วนช่วยให้สมรรถนะดังกล่าวบรรลุผลได้ จึงได้พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการสมรรถนะทั้งสองด้าน ผ่านโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถนะหลักการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานด้วยกระบวนการทำงานเป็นทีม (Team Boost Excellence Initiative) ผลการประเมินพบว่า กิจกรรมสามารถกระตุ้นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.86, S.D. = 0.37) และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง</p> ธีระศักดิ์ ทั่งสุวรรณ , กชวร จุ๋ยมณี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275047 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Effectiveness of Student-Oriented Educational Management of Administrators in Universities under Jiangxi Province https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/272267 <p> The objectives of this research were: (1) to explore the components of effectiveness of student-oriented educational management of administrators in Universities under Jiangxi Province, and (2) to propose the guidelines to improve effectiveness of educational management of administrators practice of student-oriented in Universities under Jiangxi Province.</p> <p>The research was mixed methodology design which were comprised of quantitative and qualitative research. Sample was 297 administrators and instructors from 11 key universities in JiangXi Province of the People's Republic of China. The researcher determined sample size with Krejcie and Morgan's table (1970), and obtained by the stratified random sampling technique. The key informants consisted of nine for in-depth interviews and 11 key informants for Focus Group Discussion consists of dean from 11 universities in JiangXi Province. The instruments used for data collection were semi-structured interview form, five-point rating scale questionnaire and Focus Group Discussion form. The statistics used for data analysis included frequencies, percentages, means, Standard Deviations, Exploratory Factor Analysis and Content Analysis.<br /> The results of the study showed that:(1) The effective education management practices of student-oriented higher education in Jiangxi Province mainly consist of five parts:effectiveness talent training plan,student oriented administrative management, Human resource management,student-oriented teaching management,student self-management and participation ability; (2) The practical guide for student-oriented effective education management in higher education institutions in Jiangxi Province includes 46 management guidelines for these 5 parts. Among them, there are 7 managerial guidelines for effectiveness talent training plan and training philosophy, 13 managerial guidelines for student oriented administrative management,9 managerial guidelines for human resource effectiveness management, 8 managerial guidelines for student-oriented teaching management, and 9 managerial guidelines for effectiveness student self-management level and self participation ability.</p> <p> </p> Fu Youyou , Nitwadee Jirrojpinyo , Somsak Chanphong Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/272267 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 A Study of Audience Perception and Artistic Integration of Chinese Opera in a Multicultural Society of Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274692 <p> The introduction of Chinese opera to Thailand represents a significant chapter in the country's cultural history, marking the commencement of a transformative journey that has left a lasting impact on Thailand's artistic landscape. Chinese opera, with its rich heritage and vibrant performances, has not only entertained audiences but also influenced and shaped the Thai performing arts scene in profound ways. This chapter seeks to explore the evolution and adaptation of Chinese opera within the unique Thai context, exploring the changes, innovations, and fusion of artistic traditions that have emerged following its introduction to Thailand. By examining the ways in which Chinese opera has evolved and transformed in response to the Thai cultural milieu, this chapter aims to shed light on the dynamic interplay between tradition and innovation in Thailand's vibrant and diverse performing arts scene,showcasing the enduring legacy of traditional music culture and the fusion of Chinese opera within Thailand's vibrant cultural tapestry.<br /> Research has shown that Chinese opera has evolved with changes in Thailand's cultural environment, revealing the dynamic interaction between tradition and innovation in Thailand's dynamic and diverse performing arts field, showcasing the enduring heritage of traditional music culture and the integration of Chinese opera in Thailand's vibrant cultural tapestry. This has a positive guiding role in the appreciation of cross-cultural art in a multicultural society. In future related research, it is recommended to combine more cross-cultural comparisons to enrich the longitudinal adaptability research on cultural integration, while focusing on the audience under 30 years old and related educational outreach, evaluating the effectiveness and continuity of the younger generation's appreciation and integration of traditional art, which is important for the protection and inheritance of traditional culture in a multicultural society.</p> Jian Ma, Kovit Kantasiri Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274692 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Model-Eliciting Activities เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ ด้านคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271539 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Model-Eliciting Activities ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ และเพื่อศึกษาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนหลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด MEAs กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 29 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 และใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนตามวงจรปฏิบัติการ PAOR จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและหาค่าเฉลี่ย ร้อยละของคะแนนที่ได้จากแบบวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด MEAs ควรใช้สถานการณ์ใกล้เคียงชีวิตจริงเพื่อกระตุ้นความสนใจ ควรนำเสนอยุทธวิธีในการแก้ปัญหาเพื่อช่วยนักเรียนในการวางแผนแก้ปัญหา เปิดโอกาสนักเรียนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างอิสระ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไขจนกระทั่งได้รูปแบบการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ<br /> ผลความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน พบว่า ร้อยละของค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เท่ากับ 60.57 ในด้านการคิดหรือแปลงปัญหาทางคณิตศาสตร์ นักเรียนสามารถวิเคราะห์ ระบุ ประเด็นปัญหา กำหนดตัวแปร และเขียนสมการ ในด้านการใช้คณิตศาสตร์ นักเรียนสามารถใช้ความรู้<br /> เรื่องการแก้สมการในการแก้ปัญหาได้ และในด้านการตีความและประเมินผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ นักเรียนสามารถตีความผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ และอธิบายความสมเหตุสมผลของผลลัพธ์กลับไปสู่บริบทในชีวิตจริงได้อย่างเหมาะสม</p> ธีรภัทร ถึงสุข, วันดี เกษมสุขพิพัฒน์, ต้องตา สมใจเพ็ง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271539 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง ระบบบัญชาการเหตุการณ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270850 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรมแบบออนไลน์เรื่อง ระบบบัญชาการเหตุการณ์ และ 2) เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการฝึกอบรมด้วยชุดฝึกอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการสังกัดสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ ชุดฝึกอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง ระบบบัญชาการเหตุการณ์ และแบบทดสอบความรู้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีการทดสอบก่อน – หลัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบค่าทีสำหรับประชากร 1 กลุ่ม<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดฝึกอบรมแบบออนไลน์ เรื่อง ระบบบัญชาการเหตุการณ์ มีเนื้อหาแบ่งออกเป็น 4 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 การจัดการในภาวะฉุกเฉิน หน่วยที่ 2 ระบบบัญชาการเหตุการณ์ หน่วยที่ 3 โครงสร้างองค์กรระบบบัญชาการเหตุการณ์ และหน่วยที่ 4 กระบวนการวางแผนในระบบบัญชาการเหตุการณ์ และ 2) คะแนนหลังการอบรมแบบออนไลน์ สูงกว่าก่อนการอบรมแบบออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> กีรติ ศรีประไหม, กันต์ธสิทธิ์ พิมพ์สอาด, ธีรพันธ์ ศรีเนาวรัตน์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270850 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการบริหารบริษัทอสังหาริมทรัพย์ จังหวัดสงขลา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271155 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลและ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร 2) ความสำเร็จในการบริหารบริษัทอสังหาริมทรัพย์ และ 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการบริหารบริษัทอสังหาริมทรัพย์ จังหวัดสงขลา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ในจังหวัดสงขลา จำนวน 217 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น .05 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป <br /> ผลการวิจัย พบว่า<br /> 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดสงขลา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านการสร้างแรงบันดาลใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และการกระตุ้นทางปัญญามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด <br /> 2. ความสำเร็จในการบริหารบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ในจังหวัดสงขลา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านพนักงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านทักษะฝีมือ ด้านรูปแบบ ด้านค่านิยมร่วม ด้านกลยุทธ์ ด้านระบบ และด้านโครงสร้างมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด <br /> 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จในการบริหารบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ได้ร้อยละ 88 (R2 = 0.77, p= 0.004) และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนาย 0.29 <br /> สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ คือ ความสำเร็จในการบริหารบริษัทอสังหาริมทรัพย์ = 0.34 + 0.36การกระตุ้นทางปัญญา + 0.32การสร้างแรงบันดาลใจ + 0.16การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล + 0.22ประสบการณ์ทำงานต่ำกว่า 5 ปี<br /> สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน คือ = 0.88 </p> ฉัตรแก้ว ธนินทรานนท์, ยรรยง คชรัตน์ , เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271155 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะสู่อนาคตของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275244 <p> การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ<br />สู่อนาคตของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะสู่อนาคตของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะสู่อนาคตของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี ในการวิจัยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม คือการวิจัยเชิงปริมาณ โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรที่สังกัดในเทศบาลเมืองบางศรีเมือง จำนวน 236 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 148 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้รับแบบสอบถามตอบกลับมาทั้งสิ้น 148 คน และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ<br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ระดับการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะสู่อนาคต ของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ </span><span style="font-size: 0.875rem;">ด้านความพร้อมด้านการบริหารภาครัฐอัจฉริยะ ด้านความพร้อมด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ </span><span style="font-size: 0.875rem;">ด้านความพร้อมด้านการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ด้านความพร้อมด้านการพัฒนาพลเมืองอัจฉริยะ ด้านความพร้อมด้านการพัฒนาการดำรงชีวิตอัจฉริยะ ด้านความพร้อม </span><span style="font-size: 0.875rem;">ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ด้านความพร้อมด้านเศรษฐกิจอัจฉริยะ </span><span style="font-size: 0.875rem;">ด้านความพร้อมด้านการพัฒนาการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ และด้านความพร้อมด้านการพัฒนาพลังงานอัจฉริยะ<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะสู่อนาคตของเทศบาล</span><span style="font-size: 0.875rem;">เมืองบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ ปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรขององค์การ ปัจจัยด้านการสนับสนุน</span><span style="font-size: 0.875rem;">จากผู้บริหารขององค์การ และปัจจัยด้านการสนับสนุนจากเครือข่ายขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</span><span style="font-size: 0.875rem;">ที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. แนวทางการพัฒนาการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะสู่อนาคตของเทศบาล</span><span style="font-size: 0.875rem;">เมืองบางศรีเมือง จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ การให้ความรู้ กับบุคลากรและประชาชนในพื้นที่ของเทศบาลเมือง</span><span style="font-size: 0.875rem;">บางศรีเมือง ในเรื่องการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และสร้างความเข้าใจกับบุคลากร ประชาชนในพื้นที่</span><span style="font-size: 0.875rem;">ของเทศบาลเมืองบางศรีเมือง ในการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะสู่อนาคต ทั้งนี้เทศบาลเมืองบางศรีเมือง มีโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายที่เป็นแนวทางการดำเนินงานที่ดี ซึ่งสามารถขับเคลื่อน</span><span style="font-size: 0.875rem;">สู่การเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะสู่อนาคตต่อไป</span></p> <p> </p> นิสรา ใจซื่อ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275244 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์อำนาจและอิทธิพลของโอปปาติกะตามภพภูมิในคัมภีร์พระพุทธศาสนา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274465 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภพภูมิในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) โอปปาติกะตามภพภูมิ และ 3) วิเคราะห์อำนาจและอิทธิพลของโอปปาติกะ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสาร ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ภพภูมิแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ (1) กามาวจรภูมิ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้สึกพึงพอใจและไม่พึงพอใจ (2) รูปาวจรภูมิ เป็นระดับจิตที่เกี่ยวข้องกับรูปธรรม (3) อรูปาวจรภูมิ เป็นระดับจิตที่เกี่ยวข้องกับอรูปธรรม และ(4) อปริยาปันนภูมิหรือโลกุตตรภูมิ ซึ่งเป็นภูมิของพระอริยะผู้พ้นจากโลกียภูมิ 2. โอปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ผ่านการตั้งครรภ์และคลอด แบ่งเป็น 10 ประเภท ได้แก่ มนุษย์บางจำพวก สัตว์นรก เปรตหรืออสุรกาย เทวดา พรหม วิสุทธิเทพ มาร ยักษ์ นาค และครุฑ โดยแต่ละประเภทมีลักษณะการเกิดและการดำรงอยู่ที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตทั่วไป 3. ด้านอำนาจและอิทธิพลของโอปปาติกะแบ่งเป็นสองประเภท คือ 1. ประเภทให้คุณ เช่น เทวดาและพรหม ที่ใช้อำนาจในเชิงบวกจากการทำบุญและปฏิบัติธรรม 2. ประเภทให้โทษ เช่น เปรต อสุรกาย มาร ซึ่งมีอำนาจในการเข้าสิง จำแลงกาย และเนรมิต อิทธิพลของความเชื่อในอำนาจของโอปปาติกะส่งผลต่อความเชื่อของคนไทยในด้านการเวียนว่ายตายเกิด กรรมและผลกรรม ภพภูมิ ตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรม เช่น การทำบุญตักบาตรเทโว สงกรานต์ ลอยกระทง สารทเดือนสิบ และบุญบั้งไฟ นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคม โดยกระตุ้นให้ละเว้นความชั่ว มุ่งสร้างกรรมดี และดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท อันนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมที่สงบสุข</p> <p><strong> </strong></p> พระศิระ จิตฺตสุโภ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274465 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Fusion of Chinses Iron Painting https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275080 <p> The art of iron painting, a unique traditional craft of China, originated during the Kangxi period of the Qing Dynasty. It represents a significant fusion of traditional iron forging techniques and Chinese painting. In the fast-paced modern era, iron painting faces challenges in transmission and innovation, struggling to keep pace with contemporary demands. Research objectives trace the historical development of Chinese iron painting, analyze representative works resulting from collaborations between artisans and artists, and identify core factors influencing its evolution. Recommendations for sustainable and high-quality development of Chinese iron painting are proposed. Qualitative research methods were employed, comprising literature reviews, field surveys, case studies, expert interviews,data collection, and data analysis . The study systematically analyzes the historical factors promoting development, the current challenges, and representative works that resulted from artisan-artist collaboration. <br /> The findings reveal that artists have played an integral role in every developmental phase of Chinese iron painting. Due to artisans’ limited knowledge of painting and aesthetics, collaboration with artists has been particularly pivotal. Representative works are often the results of such partnerships. Establishing a cooperative model between artisans and artists or cultivating artisans skilled in techniques, painting, and design could achieve the organic Fusion of "technique" and "art" in Chinese iron painting, thus fostering its sustainable, high-quality development. </p> <p> </p> Yuanliang Ding, Watanapun Krutasaen Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275080 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การสอนพระพุทธศาสนาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/272601 <p> ปัญหาที่เยาวชนไม่สนใจและไม่ให้ความสำคัญกับการศึกษาสาระพระพุทธศาสนา หรือให้ความใส่ใจน้อยที่สุดในรายวิชาที่เรียน อันเนื่องด้วยบริบททางสังคม การแข่งขันทางเศรษฐกิจ อาชีพในอนาคต กระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนในสาระศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม จึงควรมีการนำรูปแบบการเรียนรู้ที่เท่าทันกับยุคสมัยเข้ามาช่วย โดยที่รูปแบบที่น่าสนใจศึกษาค้นคว้าวิจัยคือการจัดการเรียนการสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน<br /> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากระบวนการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ 2. พัฒนากลยุทธ์การสอนพระพุทธศาสนาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ 3. ทดลองใช้กลยุทธ์การสอนพระพุทธศาสนานั้นกับโรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดเชียงใหม่ 4. นำเสนอกลยุทธ์การสอนพระพุทธศาสนาโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 100 คน นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทดสอบ 294 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 คน จากโรงเรียนในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานในโรงเรียนประถมศึกษามีภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยกิจกรรมการเรียนรู้ได้ระดับมากสูงสุด รองลงมาคือสื่อการสอน เนื้อหา ผู้เรียน และสิ่งแวดล้อม 2) พัฒนากลยุทธ์การสอนพระพุทธศาสนาด้วยกิจกรรมเป็นฐานที่ใช้เทคนิค Timeline กับสาระอริยสัจ 4 ช่วยเพิ่มความสนใจและพัฒนาทักษะคิดเชิงเหตุผลของนักเรียน 3) ผลทดสอบแสดงว่าคะแนน Posttest สูงกว่าคะแนน Pretest อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Posttest: = 7.23, S.D. = 1.923; Pretest: = 5.02, S.D. = 2.445) 4) การใช้กลยุทธ์ Timeline กับการเรียนรู้อริยสัจ 4 ช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้อริยสัจ 4 อย่างมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ปัญหา (ทุกข์) สาเหตุ (สมุทัย) ผลลัพธ์ที่คาดหวัง (นิโรธ) และวิธีแก้ปัญหา (มรรค) ได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงต้นตอของทุกข์ (ตัณหา) ในระดับจิตใต้สำนึก ยังคงเป็นความท้าทายสำหรับเด็กระดับประถมศึกษา<br /> สรุปผลการวิจัย การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานในโรงเรียนประถมศึกษาเชียงใหม่โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก นักเรียนมีความสนใจและความพอใจมากยิ่งขึ้นในการเรียนรู้พระพุทธศาสนาเมื่อมีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน และเกิดการพัฒนาทักษะการคิดเชิงเหตุผลมากยิ่งขึ้น</p> <p> </p> สงัด เชียนจันทึก, อุเทน ลาพิงค์ , พิทักษ์ แฝงโกฏิ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/272601 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 School Administration under the Double Reduction Policy in the Middle Schools of Yunnan Province https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274734 <p> This study examines the impact of China’s “Double Reduction” policy on middle school administration in Yunnan Province using a mixed-method approach. The objectives are: (1) to identify the key factors influencing school administration under the policy, and (2) to propose actionable guidelines for effective school management within the policy framework. Quantitative data from 450 participants and qualitative data from interviews with 9 administrators were analyzed to explore areas such as course scheduling, classroom teaching quality, homework design, home-school cooperation, teacher training, campus activities, after-school services, and the teaching evaluation system. The findings highlight the significant roles of optimizing homework design, enhancing classroom teaching quality, and improving curriculum arrangements in effective school administration. Regression analysis and expert interviews underscore the importance of these factors in reducing academic stress and improving student outcomes. The study identifies challenges in policy implementation but also highlights successes, emphasizing the need for targeted strategies to achieve policy objectives. Based on these insights, practical recommendations are proposed at the school, government, and research levels to enhance the administration of middle schools under the “Double Reduction” policy. These guidelines aim to foster holistic management strategies, aligning with the policy’s goals of reducing student burden and promoting high-quality education.</p> <p> </p> Limin Zhang, Suttipong Boonphadung , Thada Siththada Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274734 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Teaching Strategies for Counteracting Chinese Vocabulary Attrition Based on Dynamic Systems Theory https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275025 <p> Grounded in Dynamic Systems Theory (DST), this study investigates strategies to mitigate Chinese vocabulary attrition among Thai Chinese learners. DST highlights the non-linear and dynamic nature of language learning, offering a framework to analyze the interplay between emotional motivation, language exposure, and personalized strategies in vocabulary retention. Vocabulary attrition, common among language learners, often results from insufficient use, lack of reinforcement, or emotional disengagement. Thai Chinese learners face unique challenges stemming from linguistic and cultural differences, necessitating targeted interventions to address these factors.<br /> This study identifies three key strategies: emotional encouragement, personalized revision, and diversified exposure, which enhance emotional connections, increase reinforcement frequency, and adapt to learners’ needs. Findings reveal that emotional encouragement and diversified exposure significantly improve retention, while personalized revision supports learners at varying proficiency levels. Advanced learners benefit from self-directed review, while less proficient learners require structured, frequent exposure to stabilize retention. These insights highlight the importance of integrating DST with practical strategies to reduce vocabulary attrition, providing actionable guidance for educators and a basis for further research on cultural integration and advanced teaching tools.</p> Li Qiuijang , Liu Zhenping Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275025 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 องค์ประกอบของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อพัฒนางานกิจการนักเรียน โรงเรียนขยายโอกาสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270862 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อพัฒนางานกิจการนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์องค์ประกอบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อพัฒนางานกิจการนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบงานกิจการนักเรียน ของโรงเรียนขยายโอกาสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 353 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับองค์ประกอบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อพัฒนางานกิจการนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูเพื่อพัฒนางานกิจการนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 8 องค์ประกอบ มีตัวแปรสังเกตได้ 66 ตัวแปร ได้แก่ ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 จำนวน 10 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 2 มีตัวแปร จำนวน 9 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 3 มีตัวแปร จำนวน 7 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 4 มีจำนวน 9 ตัวแปร มี องค์ประกอบที่ 5 มีตัวแปร จำนวน 8 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 6 มีตัวแปรจำนวน 8 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 7 มีตัวแปร จำนวน 6 ตัวแปร องค์ประกอบที่ 8 มีตัวแปร จำนวน 9 ตัวแปร มีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบหลักทั้ง 8 องค์ประกอบ ค่าร้อยละความแปรปรวน (% of variance) ระหว่าง 5.256 -12.823 และค่าร้อยละของความแปรปรวนสะสม (Cumulative %) เท่ากับ 69.434 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> วิริยา บัวแก้ว, ธีระพล เพ็งจันทร์ , พิมพ์พร จารุจิตร์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270862 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเมือง มิติสุขภาพ ที่อยู่อาศัย และนันทนาการ ที่สอดคล้องกับการพัฒนากรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275265 <p> บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสุขภาพของผู้สูงอายุเมืองที่สัมพันธ์กับค่าครองชีพของคนเมืองในยุคปัจจุบันตามบริบทการพัฒนากรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุเมืองที่เหมาะสมกับบริบทการพัฒนากรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมและการจัดนันทนาการให้กับผู้สูงอายุเมืองที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนากรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน โดยศึกษา 3 ชุมชนคือ ชุมชนเลิศสุขสม ชุมชนมิตตคาม และชุมชนตรอกสุเหร่า ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 2 กลุ่มหลักของทั้ง 3 ชุมชนคือ กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 45 คน และกลุ่มผู้สูงอายุภายในชุมชน จำนวน 45 คน รวมทั้งสิ้น 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) การศึกษาเอกสาร 2) การสังเกต 3) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 4) การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม<br /> ผลการศึกษา พบว่า 1) แนวทางการพัฒนาสุขภาพของผู้สูงอายุเมืองของทั้ง 3 ชุมชนคือ การส่งเสริมการดูแลสุขภาพร่างกายด้วยตนเอง การส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตใจด้วยตนเอง การส่งเสริมให้มีการจัดสวัสดิการชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ การส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับบริบทประเพณีและวัฒนธรรมตามหลักศาสนา การส่งเสริมการปฏิบัติกิจตามหลักศาสนาเพื่อชะลอความเสื่อมของสมองผู้สูงอายุ และการรวมกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร 2) แนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุเมืองของทั้ง 3 ชุมชนคือ การจัดตั้งกลุ่มช่างชุมชน การตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนมิติที่อยู่อาศัย 3) แนวทางการพัฒนากิจกรรมและการจัดนันทนาการให้กับผู้สูงอายุเมืองของทั้ง 3 ชุมชนคือ การจัดสร้างศูนย์การจัดการความรู้ชุมชน การจัดกิจกรรมในเทศกาลสำคัญทางศาสนา การจัดกิจกรรมเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางศาสนาและประวัติศาสตร์ การตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนมิตินันทนาการ และการจัดกิจกรรมนันทนาการที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชนโดยผู้สูงอายุ</p> แสน กีรตินวนันท์, สิริยา รัตนช่วย Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275265 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 พระพุทธศาสนากับวิถีชีวิตยุคปัจจุบันของชาวมอญในดินแดนทวารวดี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274476 <p> งานวิจัยเรื่อง “พระพุทธศาสนากับวิถีชีวิตยุคปัจจุบันของชาวมอญในดินแดนทวารวดี” มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาหลักฐานร่องรอยพระพุทธศาสนาในดินแดนทวารวดี 2) ศึกษาวิถีชีวิตในยุคปัจจุบันของชาวมอญในดินแดนทวารวดี 3) เพื่อวิเคราะห์พระพุทธศาสนากับวิถีชีวิตชาวมอญในยุคปัจจุบันในดินแดนทวารวดี ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 15 คน/รูป และการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 รูป/คน เอกสาร ใช้วิธีวิเคราะห์แบบอุปนัย นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา<br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. หลักฐานร่องรอยชาวมอญนั้นมีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลแล้ว ประวัติ และความเป็นมาที่สืบทอดของชาวมอญในการแตกต่างตัว การเข้าร่วมพิธีทางศาสนา ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ และกิจกรรมวันพระที่สำคัญพระพุทธศาสนาที่มีต่อชาวมอญ ซึ่งไม่เพียงแค่รักษาวัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ในสังคมมอญ<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. วิถีชีวิตแบบมอญ ชาวมอญมีความผูกพันกับพระพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยศรัทธาในพุทธศาสนาได้ฝังรากลึกในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพวกเขา ซึ่งสืบทอดผ่านการแต่งกายแบบเฉพาะตัว การเข้าร่วมพิธีทางศาสนา และพิธีกรรมที่สะท้อนอัตลักษณ์ชาติพันธุ์อย่างชัดเจน<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. พระพุทธศาสนามีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่ออารยประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และดนตรีของชุมชนชาวมอญ โดยชาวมอญที่มีความรู้ในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมักจะเป็นพระสงฆ์ที่อาศัยอยู่ในวัด ทำให้วัดเป็นศูนย์กลางการบันทึกและการเก็บรักษาความรู้ ผ่านใบลานหรือการจารึกต่าง ๆ ชุมชนชาวมอญยังมีความเชื่อมโยงแน่นแฟ้นกับศาสนาพุทธ</span></p> พระครูสังฆกิจจารักษ์ วาทินวุฒิปรีชาชาญ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274476 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความสามารถ และเจตคติในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271484 <p style="font-weight: 400;"> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพฯ และ 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ จำนวน 1 หมู่เรียน จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความรู้ เรื่อง การทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน แบบประเมินความสามารถ และแบบวัดเจตคติในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีนัยสำคัญที่ระดับ .05<br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. กระบวนการฯ ที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ 1) ทำความเข้าใจปัญหา 2) วางแผนแก้ปัญหา 3) ปฏิบัติการแก้ปัญหา 4) ทบทวนการแก้ปัญหา ใช้ระยะเวลาในการดำเนินกระบวนการฯ จำนวน 52 ชั่วโมง<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ผลการใช้กระบวนการพบว่า 1) ความสามารถในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของนักศึกษาหลังเข้าร่วมกระบวนการฯ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่า นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และมีความสามารถในการวางแผน ออกแบบ และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยหลังเข้าร่วมกระบวนการฯ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักศึกษามีเจตคติในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> ปวรา ชูสังข์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271484 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274901 <p> การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมของโรงเรียนเอกชนเป็นแนวทางที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ดี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) พัฒนารูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูล จํานวน 5 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ จํานวน 344 คน ระยะที่ 2 ยกร่างรูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา และระยะที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 9 คน และสำรวจจากผู้ปฏิบัติ 202 คน<br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /> สภาพปัจจุบันในการบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ และสภาพที่พึงประสงค์การบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด<br /> ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา คือ LPPIPP Model หลักการและเหตุผล ได้แก่ การมีส่วนร่วมและมุ่งผลสัมฤทธิ์ วัตถุประสงค์กลัก คือ ประสิทธิผลของสถานศึกษา และยกระดับผลสัมฤทธิ์ องค์ประกอบ ได้แก่ การนำองค์กร การวางแผนกลยุทธ์ การจัดการแบบมีส่วนร่วม การจัดข้อมูลสารสนเทศ การบริหารบุคคล และ การจัดการกระบวนการ<br /> ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษามีความเป็นประโยชน์ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด</p> บุญญิสา ชูสวัสดิ์, นพรัตน์ ชัยเรือง, เอกรินทร์ สังข์ทอง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274901 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานของครูผู้สอน ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275109 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานของครูผู้สอน ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 และ 2) ประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานของครูผู้สอน ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาสภาพปัจจุบัน ได้แก่ ครูผู้สอนประเภทวิชาอุตสาหกรรม ในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 จำนวน 6 สถานศึกษา ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 142 คน จากการเก็บแบบสอบถาม และกลุ่มเป้าหมายในการประเมินรูปแบบคือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเข้าใจและมีประสบการณ์ด้านการสอนแบบผสมผสานของครูผู้สอน จำนวน 9 คน จากการประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสม<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานของครูผู้สอน ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 การนำเข้าสู่บทเรียนเลือกการสอนแบบบรรยายมากที่สุด (ร้อยละ 77.50) กระบวนการสอนเลือกการสอนแบบให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติมากที่สุด (ร้อยละ 76.10) ผลลัพธ์การสอนเลือกการสอนแบบให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติมากที่สุด (ร้อยละ 62.00) และข้อเสนอแนะเลือกการสอนแบบบรรยายและการสอนแบบให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติมากที่สุด (ร้อยละ 35.20) 2) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานของครูผู้สอน ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) นำเข้าสู่บทเรียน (2) กระบวนการสอน (3) ผลผลิต (4) ผลลัพธ์ และ (5) ผลสัมฤทธิ์ และผลการประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานของครูผู้สอน ประเภทวิชาอุตสาหกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> สามารถ สว่างแจ้ง, ชัยวิชิต เชียรชนะ , สราวุฒิ สืบแย้ม Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275109 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Administrative Factors Affecting Lifelong Learning for Military Personnel at the Military Units under the Royal Thai Kingdom Army Policy https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271074 <p> The objectives of this research were: 1) To study multi-level factors that affect lifelong learning in military units, 2<sup>nd</sup> Army Area. 2) To create a multi-level model that affects lifelong learning in military units, 2<sup>nd</sup> Army Area.The sample group includes commanders, military instructors and regular soldiers, 1<sup>st</sup> shift, year 2023, 2<sup>nd</sup> Army Area, totaling 1,138 personnel. They were selected by the method of calculating the sample group of the G*Power program and multi-stage random sampling, the research instrument for the data collection were questionnaire with rating scale on individual level factors organizational factors affecting lifelong learning in military units, 2<sup>nd</sup> Army Area. The statistics for data analysis include: percentage, mean, standard deviation Pearson's correlation and regression analysis using the linear descending grade level program (HLM 7 Student). The research results were found as follows; (1) Multi-level factors affecting lifelong learning in military units, 2<sup>nd</sup> Army Area consists of personnel level factors is at a moderate and organizational factors is at a moderate (2) A multi-level model that affects lifelong learning in military units, 2<sup>nd</sup> Army Area found that (2.1) Personnel level factors include leadership, organizing teaching and learning activities using media and teaching equipment, educational policy, course of study management and organizational atmosphere. It has a positive impact on lifelong learning in the military unit, 2<sup>nd</sup> Army Area. <strong>(</strong>2<strong>.</strong>2<strong>)</strong> Organizational level factors include organizational climate educational, policy educational, course of study and management. It has a positive impact on lifelong learning in the military unit, <strong> </strong>2<sup>nd</sup> Army Area and coefficient determination (R<sup>2</sup>) predictive value. The R2 values indicate that 46%, 41%, and 42% of their AM, LLA, and RSMP lifelong learning activities were attributable to their personnel factors, and 68%, 75%, and 71% of their organizational factors towards their MAM, MLLA, and RSMP were significantly (p&lt;.05), respectively.</p> Somsupang Chaiparinya, Teerapol Pengchan , Nawattakorn Homsin Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271074 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการแสดงกลองตุ้มโดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาวิชาเอกดนตรีศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271257 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเรื่องการแสดงกลองตุ้ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐานสำหรับนักศึกษาวิชาเอกดนตรีศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรการฝึกอบรมเรื่องการแสดงกลองตุ้ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาวิชาเอกดนตรีศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาวิชาเอกดนตรี จำนวน 15 คน รูปแบบการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการแสดงกลองตุ้ม 2) หลักสูตรฝึกอบรมฯ 3) แบบประเมินการแสดงกลองตุ้ม และ 4) แบบประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การสรุปความ<br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1) ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการแสดงกลองตุ้ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบชุมชน เป็นฐาน สำหรับนักศึกษาวิชาเอกดนตรีศึกษา ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตรฝึกอบรม แผนการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ของแผนการเรียนรู้ คำอธิบายเนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้/วิธีการฝึกอบรม สื่อประกอบการฝึกอบรม และการวัดและประเมินผลการฝึกอบรม รายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้หลักสูตรฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย เนื้อหาวิชาดนตรีและการแสดงเรื่องการแสดงกลองตุ้ม จำนวน 4 แผน รวม 12 ชั่วโมง ดังนี้ แผนการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องเล่าขานตำนานกลองตุ้ม จำนวน 3 ชั่วโมง แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องฟ้อนกลองตุ้มทวยพญาแถน จำนวน 3 ชั่วโมง แผนการเรียนรู้ที่3 เรื่องตีกลองตุ้มขอฝน จำนวน 3 ชั่วโมง และแผนการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องประดิษฐ์ซวยมือ สืบงานศิลป์จำนวน 3 ชั่วโมง โดยมีค่าดัชนีความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมฯ ในภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.89, S.D = 0.86) และเมื่อพิจารณาในรายข้อ พบว่า ความเหมาะสมระดับมากที่สุดในทุกข้อ (𝑥̅ = 4.67 - 5.00, S.D = 0.75 – 1.00) แสดงให้เห็นว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมสำหรับนำไปทดลองใช้ได้<br /> 2) ผลผลการศึกษาการประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการแสดงกลองตุ้ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบชุมชนเป็นฐานสำหรับนักศึกษาวิชาเอกดนตรีศึกษา พบว่า ค่าดัชนีความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมในภาพรวมการประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.59, S.D = 0.68) หากพิจารณาเป็นรายด้าร พบว่า ด้านกระบวนการ (𝑥̅ = 4.64, S.D = 0.67) ด้านปัจจัยนำเข้า (𝑥̅ = 4.62, S.D = 0.72) ด้านผลิตผลิต (𝑥̅ = 4.58, S.D = 0.77) และด้านบริบท (𝑥̅ = 4.52, S.D = 0.79) ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด </p> คำล่า มุสิกา , ปริณ ทนันชัยบุตร Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271257 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274819 <p> การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิด 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดหนองสองห้อง(สายชนูปถัมภ์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 15 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม (Cluster random Sampling) ดำเนินการทดลองโดยใช้เวลาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 คาบเรียน ทดสอบก่อนและหลังเรียน 2 คาบเรียน รวม 10 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่จัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิด จำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)<br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแผนผังความคิด โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 4.67, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.14)</span></p> ศศิมา เฉยดี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274819 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 โมเดลการวัดทักษะการตระหนักรู้ในสมรรถนะแห่งตนด้านอาชีพของเยาวชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275027 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของทักษะการตระหนักรู้ในสมรรถนะแห่งตน และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดทักษะการตระหนักรู้ในสมรรถนะแห่งตน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ นักเรียนไทยที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขนาดใหญ่ที่อยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตกรุงเทพมหานคร เลือกตัวอย่างแบบหลายชั้นโดยแบบเจาะจงจำนวน 5 โรงเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มนักเรียน 400 คนในการตอบแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติพื้นฐานโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA)<br /> ผลการศึกษา พบว่าจากการเรียงลำดับความสำคัญ 3 องค์ประกอบของสมรรถนะแห่งตนด้านอาชีพ พบว่า ด้านการวางแผนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดโดยมีน้ำหนักสูงสุดจากการวิเคราะห์ 3 ตัวชี้วัดหลัก ได้แก่ ความกระตือรือร้นในการเตรียมความพร้อมสู่อนาคต การรับข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพที่สนใจ และการหาประสบการณ์การทำงานด้วยตนเองอยู่ในช่วงร้อยละ 15.7 - 23.3 รองลงมาคือ ด้านการประเมินตนเองที่มีน้ำหนักใกล้เคียงกันในเรื่องการเลือกสาขาวิชาและความมั่นใจในอนาคต โดยมีสัดส่วนการแปรผันร่วมร้อยละ 14.4 - 22.4 ด้านการแก้ปัญหาถูกวิเคราะห์ในหลายมิติทั้งในเรื่องการเปลี่ยนแผนหากพบว่าตัวเลือกเดิมไม่เหมาะสม การค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่าง ๆ และการวางแผนเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายชีวิต โดยมีสัดส่วนการแปรผันร่วมสูงสุดถึงร้อยละ 35.2 ซึ่งแสดงถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาและความยืดหยุ่นในการตัดสินใจด้านอาชีพ</p> <p> </p> รมิดา รัสเซลล์ มณีเสถียร, อุบลวรรณ หงส์วิทยากร , ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275027 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 องค์ประกอบทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคการเปลี่ยนแปลง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271559 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคการเปลี่ยนแปลง กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูปฐมวัย และนักการศึกษาปฐมวัย จำนวน 19 คน และผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบยืนยันองค์ประกอบ ประกอบด้วย นักการศึกษาปฐมวัย และครูปฐมวัยที่เชี่ยวชาญด้านการสอนระดับปฐมวัย จำนวน 9 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคการเปลี่ยนแปลง และแบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้ององค์ประกอบทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคการเปลี่ยนแปลง<br /> วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา หาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคการเปลี่ยนแปลง มี 4 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ( S : Self Help Skills) 2) ทักษะการควบคุมอารมณ์ ( E : Emotional Control Skills) 3) ทักษะการเข้าสังคม ( S : Social Skills) และ 4) ทักษะการคิดแก้ปัญหา ( P : Problem Solving Skills) โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61) ความสอดคล้องขององค์ประกอบ ตัวชี้วัด กับพฤติกรรมที่วัดของทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคการเปลี่ยนแปลงมีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 0.89 และความเหมาะสมขององค์ประกอบ ตัวชี้วัด และพฤติกรรมที่วัด ของทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัยในยุคการเปลี่ยนแปลงโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65)</p> ศิริมงคล ทนทอง , สันติ วิจักขณาลัญฉ์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271559 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น การยอมรับ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบ ภายในของหน่วยงานด้านสุขภาพระดับประเทศ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275267 <p> งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น การยอมรับและประสิทธิภาพการตรวจสอบภายใน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ได้แก่ หน่วยรับตรวจ หน่วยงานด้านสุขภาพระดับประเทศ จำนวน 300 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เมษายน 2567 – พฤษภาคม 2567 ผู้วิจัยได้คำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จากสูตร Taro Yamane โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตา ดังนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 4 คน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจำนวน 19 คน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจำนวน 220 คน กรมการแพทย์จำนวน 5 คน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจำนวน 2 คน กรมสุขภาพจิตจำนวน 3 คน กรมควบคุมโรคจำนวน 4 คน กรมอนามัย 3 คน การสนับสนุนบริการสุขภาพจำนวน 3 คน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จำนวน 3 คน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจำนวน 3 คน สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขจำนวน 2 คน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 8 คน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจำนวน 3 คน องค์การเภสัชกรรมจำนวน 5 คน โรงพยาบาลบ้านแพ้วจำนวน 2 คน สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาจำนวน 2 คน สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จำนวน 1 คน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพจำนวน 4 คน สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 4 คน โดยเครื่องมือที่ใช่ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ในการทดสอบสมมติฐาน<br /> ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุตั้งแต่ 36-45 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมากกว่า 9 ปี ทั้งนี้จากการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ปัจจัยด้านการรายงานผลการตรวจสอบ ปัจจัยด้านการให้คำปรึกษา และคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายใน ส่งผลต่อความเชื่อมั่น การยอมรับ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของหน่วยงานด้านสุขภาพระดับประเทศ</p> สิรีภา จันทรเกษม , ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275267 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถสู่ความสำเร็จ ของผู้บริหารทางการศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274484 <p> งานวิจัยเรื่อง“การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถสู่ความสำเร็จของผู้บริหารทางการศึกษา” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาใช้สร้างขีดความสามารถของบุคคลสู่ความสำเร็จ 2) เพื่อประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการสร้างขีดความสามารถของบุคคลสู่ความสำเร็จ และ 3) เพื่อสังเคราะห์หลักพุทธธรรมในการประยุกต์ใช้สร้างขีดความสามารถของบุคคลสู่ความสำเร็จเป็นผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เก็บข้อมูลเชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 17 รูป/คน เพื่อนำไปสู่การสะท้อนคิด เพื่อยืนยันข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ช่วยสร้างขีดความสามารถสู่ความสำเร็จผ่านสามด้านหลัก ได้แก่ การครองคน การครองตน และการครองงาน โดยการตั้งเป้าหมายชีวิต การฝึกสติและปัญญาช่วยให้จิตใจมั่นคงและจัดการความเครียดได้ดี ด้านอิทธิบาท 4 ช่วยในงานซับซ้อนที่ต้องการการทำงานร่วมกันในทีม ส่วนสัปปุริสธรรม 7 เน้นการรู้จักตนเองและสังคม ขณะที่อธิษฐาน 4 ช่วยบริหารความคิดและอารมณ์เพื่อสร้างสมาธิ การสังเคราะห์หลักเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การครองคนและอิทธิบาท 4 เป็นแนวทางสำคัญสำหรับการพัฒนาตนเองและการบริหารงานที่ยั่งยืน รวมถึงการผสานการครองงานกับอธิษฐาน 4 ช่วยเสริมสร้างความสำเร็จและความสงบในชีวิตผ่านการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและการจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ การครองงานกับการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถ ช่วยเสริมสร้างความสำเร็จและความสงบในชีวิตผ่านการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและการอธิษฐานเพื่อขอความช่วยเหลือ การผสานการจัดการเวลา การพัฒนาทักษะ</p> <p> </p> Sovanna Hoeurn Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274484 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการจัดการต้นทุนของอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274920 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการจัดการต้นทุนสิ่งแวดล้อมของกลุ่มธุรกิจโรงแรมในอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการจัดการต้นทุนสิ่งแวดล้อมของกลุ่มธุรกิจโรงแรมในอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่าง การศึกษาวิจัยครั้งนี้จะทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรกลุ่มธุรกิจโรงแรม ในเขตพื้นที่ชายฝั่งอำเภอสิเกาจังหวัดตรัง และใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 1 กิจการ เพื่อเป็นตัวแทนกลุ่มธุรกิจโรงแรมในการพัฒนาและประเมินผลระบบสารสนเทศเครื่องมือที่ใช้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการจัดการต้นทุนสิ่งแวดล้อมและใช้แบบสอบถามในการประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการจัดการต้นทุนสิ่งแวดล้อม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา<br /> การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการจัดการต้นทุนสิ่งแวดล้อมของกลุ่มธุรกิจโรงแรมในอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบให้รองรับการทำงานที่ครอบคลุมผ่านโมดูลการใช้งานที่เชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบผ่านโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ จุดเด่นของระบบคือทำงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใช้งานในระบบผ่านโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ ได้ โดยระบบได้แบ่งการทำงานในแต่ละโมดูลการใช้งาน ระบบสารสนเทศจะมีโมดูลดังนี้ 1.ขอซื้อ 2.สั่งซื้อ 3.รับของ/ตั้งหนี้ 4<strong>.</strong> มัดจำ 5. ปิดมัดจำ 6. ลดหนี้เจ้าหนี้ 7. ใบรับวางบิล 8. รายได้ 9. มัดจำรับ 10. ลดหนี้ 11. จ่ายชำระหนี้ 12. รับชำระหนี้ 13. ตั้งวงเงินสดย่อย 14. เบิกเงินสดย่อย 15. เคลียร์เงินสดย่อย 16. ปิดเงินสดย่อย 17. เงินทดรองจ่าย 18. ปิดเงินทดรองจ่าย 19. บันทึกรายการรายวัน 20. ผังองค์กรลูกค้า 21. ประเภทลูกค้า 22. บัญชีธนาคาร 23. ผังบัญชี เพื่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลทางบัญชี สุดท้าย ระบบรองรับ การสร้างรายงาน ที่ครอบคลุมทุกกระบวนการ เพื่อช่วยในการติดตาม วิเคราะห์ และตัดสินใจช่วยในการติดตามต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและ ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการจัดการต้นทุนสิ่งแวดล้อมของกลุ่มธุรกิจโรงแรมในอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ผลการศึกษา พบว่าผู้ใช้ระบบมีการประเมินด้านประสิทธิภาพของระบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่ได้รับการประเมินสูงสุดคือ ด้านความง่ายต่อการใช้งาน ลำดับต่อมาคือด้านตรงตามความต้องการและด้านความสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ ด้านประสิทธิภาพและด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน</p> ฉมพร มีชนะ, กัลยาณี ยุทธการ , จิระนาถ รุ่งช่วง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274920 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 2 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275175 <p> การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครู 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 3) ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครู กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน และครู เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้สัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และระยะที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้<br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการจำเป็น (PNI) โดยรวมเท่ากับ 0.204 (PNI</span><sub>modified</sub><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.204)<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 หลักการของรูปแบบ 1) ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน 2) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participation learning) จะเห็นว่ากระบวนการเรียนรู้ของบุคคลมีลักษณะสำคัญคือมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง และ 3) องค์กรแห่งการเรียนรู้<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. ผลตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> กมลทิพย์ สงค์ดำ, วีระยุทธ ชาตะกาญจน์ , ชูศักดิ์ เอกเพชร Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275175 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาปริญญาตรีกับกระบวนการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274829 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับกระบวนการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 350 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามออนไลน์ และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method)<br /> ผลการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า เพศ ที่แตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจด้านการประเมินทางเลือกที่แตกต่างกัน คณะที่นักศึกษาเรียนที่แตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจ ด้านการค้นหาข้อมูล การตัดสินใจเลือก และพฤติกรรมหลังการเลือก และผลการเรียน (เกรดเฉลี่ย) ที่แตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจด้านการตระหนักถึงปัญหา การค้นหาข้อมูล และการตัดสินใจเลือก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นปัจจัยที่สำคัญในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดและพัฒนาหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายต่อไป</p> วสพร ตันประเสริฐ, จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274829 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Effectiveness of Educational Quality Management in Digital Era of Art Design Majors in Collegesand Universities Under Fujian Province https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271958 <p> The questions of this research were: (1) what are the components of effectiveness of educational quality management in digital era of art design majors in colleges and universities under Fujian Province? (2) what are the managerial guidelines of educational quality management in digital era of art design majors in colleges and universities under Fujian Province? <br /> The objectives of this research were: (1) to explore the components of effectiveness of educational quality management in digital era of art design majors in colleges and universities under Fujian Province; and (2) to propose the managerial guidelines of educational quality management in digital era of art design majors in colleges and universities under Fujian Province.<br /> Research method used a mixed of qualitative research and quantitative research. The population of the research consisted of 1349 who were administrators and fulltime teachers of art design major in colleges and universities under Fujian Province. The sample size was determined by Taro Yamane formula (1970),and obtained by stratified random sampling techniques were used, totaling 307 samples. The researcher conducted in-depth interviews with seven key informants, who were more than six years of experience in educational quality management and educational, obtained by purposive sampling method. The instruments used for data collection were semi-structured interviews form and a five-point scale questionaries. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, Standard Deviation, and Exploratory Factor Analysis as well as the content analysis was employed.<br /> The research findings more revealed that: (1) there were six components for effectiveness of educational quality management in digital era of art design majors in colleges and universities under Fujian Province which consisted of teaching quality management, teacher Professional and accountability towards Students, process of standardized assessment Management, formulating educational quality management Policies, providing digital resources and technology, establishing educational quality management system. and (2) there were 24 managerial guidelines for effectiveness of educational quality management in digital era of art design majors in colleges and universities under Fujian Province.<br /> Conclusion<br /> The six components of the research results are an important dimension to construct the effectiveness of education quality management, and also an important means to promote the high-quality development of education quality management. The coordinated and all-round development of the six dimensions can lay the foundation for the improvement of education quality, and can cultivate excellent and outstanding talents in a more professional way at a time when opportunities and challenges coexist.</p> Li Jicheng, Chuanchom Chinatangkul , Kamolmal Chaisirithanya Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271958 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของทักษะด้านบัญชีและระบบบัญชียุคดิจิทัลที่มีต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271190 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ทักษะด้านบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และ (2) ระบบบัญชียุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ทำบัญชีในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน จำนวน 355 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ <br /> ผลการวิจัยพบว่า (1) อิทธิพลด้านทักษะด้านบัญชี ด้านวิชาชีพ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีด้านความถูกต้อง ด้านการบรรลุเป้าหมาย และพบว่า ด้านการตัดสินใจส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีด้านความถูกต้อง ในขณะที่ ด้านระบบบัญชียุคดิจิทัล ด้านการรวบรวมข้อมูลและด้านจัดการข้อมูล ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีด้านการประสบความสำเร็จในวิชาชีพ และ (2) อิทธิพลด้านระบบบัญชียุคดิจิทัล ด้านการจัดการข้อมูล ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี ด้านความถูกต้อง ด้านการบรรลุเป้าหมาย และด้านการประสบความสำเร็จในวิชาชีพ และพบว่า ด้านการรวบรวมข้อมูล ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีด้านการบรรลุเป้าหมาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01</p> <p> </p> สลิตญา รักรอด, ไกรวิทย์ หลีกภัย , มัตธิมา กรงเต้น Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271190 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Suzhou Classical Gardens: An Analysis of the GardeningIdeas of Cultural Ecology and Humanity Restoration https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271501 <p><strong> </strong>Chinese classical gardens are the precious heritage of human culture, the materialized history and the personified carrier. They are famous for their natural landscape style. Chinese classical gardens are mostly concentrated in the south of the Yangtze River, among which the classical gardens of Suzhou are more famous for "Jiangnan gardens are the best in the world, and Suzhou gardens are the best in the south". Therefore, the classical gardens of Suzhou are selected as the microcosm of Chinese gardens, and the artificial aesthetic characteristics of the space constructed in the classical gardens are explored from a small perspective, which also provides an opportunity to seek the meeting point between modern space design and garden space aesthetics.<br /> The objectives of this research were:1) The horticultural concept of Suzhou gardens. 2) The value of man and nature in garden design. 3) The aesthetic value of Suzhou gardens and horticulture.<br /> The Humble Administrator's Garden in Suzhou was selected as the sample for data collection and research. The research results are as follows: 1) The horticultural concept of Suzhou gardens, whether in terms of architecture, furniture, cultural context, etc., is reflected in the role of humanistic thoughts, which not only destroys the rational existence of natural material relations, but also combines them with the richness of human inner thoughts. 2) The garden becomes an ideal place for harmonious coexistence between man and nature 3) The garden displays poetic and picturesque literary connotations, as well as philosophical and moral emotional Revelations. This aesthetic function gives the garden a deeper cultural connotation, making the garden not only a landscape, but also a rich literary language and spiritual comfort.<br /> In short, respect the traditional regional culture, explore the idea of space garden of Suzhou classical garden, Suzhou garden is not only the representative of ancient Chinese garden architecture, but also an important carrier of Chinese traditional culture. The preservation and inheritance of Suzhou gardens not only helps to protect China's cultural heritage, but also helps to promote the exchange and progress of human civilization.</p> Yukai Xu, Prathabjai Suwanthada Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271501 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Main Factors Affecting Consumer Purchase Intention of Freshippo Application in China https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274534 <p> The purpose of this study is to explore how e-service quality(efficiency,fulfulment,and privacy)influence consumer purchase intentions through e-satisfaction and e-trust. And to understand the mediating role between customer satisfaction and customer trust in the purchase intention of China Freshippo APP. Data were collected from 421 active Freshippo users in first and second-tier Chinese cities through a structured questionnaire. Structural equation modeling results reveal that: (1) efficiency, fulfillment, and privacy positively influence both e-satisfaction and e-trust; (2) e-satisfaction and e-trust significantly affect purchase intention; and (3) both e-satisfaction and e-trust mediate the relationships between e-service quality dimensions and purchase intention. The findings contribute to understanding consumer behavior in integrated retail environments and provide practical implications for retailers developing online-offline strategies. Specifically, the results suggest that retailers should focus on enhancing platform efficiency, ensuring reliable fulfillment, and strengthening privacy protection to build customer trust and satisfaction, ultimately driving purchase intention in the evolving retail landscape.</p> Xiaoqin Jia, Piyaporn Chucheep Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274534 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 คุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจร้านยาชุมชนในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271519 <p> ในภาพรวมปัจจุบัน ผู้ประกอบการร้านยาชุมชนต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย จากการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค การเปิดตลาดการค้าเสรีอาเซียน (AEC) และความจำเป็นในการปรับปรุงกฎหมายที่ควบคุมวิชาชีพเภสัชกรรมให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานระดับโลก การปรับเปลี่ยนเหล่านี้มีทั้งโอกาสและอุปสรรคที่ผู้ประกอบการธุรกิจร้านยาชุมชนต้องเผชิญ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้ประกอบการธุรกิจร้านยาชุมชน ต้องมีการพัฒนาคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ท่ามกลางสภาวะทางเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว<br /> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจร้านยาชุมชนในเขต EEC และ เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจร้านยาชุมชนในเขต EEC โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ได้แก่ เจ้าของร้านยา เภสัชกรเจ้าของร้านยา เภสัชกร และผู้จัดการร้านยา ในเขตจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา วิเคราะห์ระดับของตัวแปรโดย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้างในการวิเคราะห์อิทธิพลของคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการที่มีผลต่อผลการดำเนินงานด้านการเงินและผลการดำเนินงานด้านลูกค้าของธุรกิจร้านยาชุมชนในเขต EEC<br /> ผลการศึกษาพบว่า ระดับคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการที่มีผลต่อผลการดำเนินงานด้านการเงินและผลการดำเนินงานด้านลูกค้าของธุรกิจร้านยาชุมชนในเขต EEC ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า ความอดทนในการทำธุรกิจ ความมีอิสระในการบริหารงาน ความกระตือรือร้นในธุรกิจที่ตนชอบ การทำงานเชิงรุก ความมีนวัตกรรม ความกล้าเสี่ยง และ ความก้าวร้าวในการแข่งขัน ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โมเดลอิทธิพลของคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานด้านการเงินและผลการดำเนินงานด้านลูกค้าของธุรกิจร้านยาชุมชนในเขต EEC ได้แก่ ด้านความมีอิสระในการบริหารงาน ด้านความมีนวัตกรรม ด้านการทำงานเชิงรุก ด้านความกล้าเสี่ยง ด้านความก้าวร้าวในการแข่งขัน ด้านความกระตือรือร้นในธุรกิจที่ตนชอบ และ ด้านความอดทนในการทำธุรกิจ</p> <p>ผลการวิจัยนี้จึงชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของคุณลักษณะของความเป็นผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจร้านยาชุมชน และเพิ่มความสำเร็จของธุรกิจร้านยาชุมชนในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทย</p> <p> </p> รจนี คูนาเอก , ชลธิศ ดาราวงษ์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271519 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้การสอนแบบสืบเสาะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274634 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้การสอนแบบสืบเสาะเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้การสอนแบบสืบเสาะ 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับดนตรีไทย จำนวน 31 คน โดยใช้แผนการทดลองแบบ one group pretest-posttest โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แผนการจัดการเรียนรู้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้การสอนแบบสืบเสาะ 3) บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้การสอนแบบสืบเสาะ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้การสอนแบบสืบเสาะ จากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา พบว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54 , S.D.= 0.49) และผลการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.46 , S.D =0.49) 2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษา พบว่าหลังเรียน ( =31.77, S.D.= 2.96) สูงกว่าก่อนเรียน ( =19.35, S.D.= 3.68) 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน ( =21.16 , S.D.= 2.14 ) สูงกว่าก่อนเรียน ( =15.13 , S.D.= 3.61)) 4) ความพึงพอใจของนักศึกษา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51, S.D.= 0.48) การวิจัยสรุปได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้การสอนแบบสืบเสาะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดเชิงวิจารณญาณของนักศึกษา นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างความพึงพอใจต่อกระบวนการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เชิงลึก งานวิจัยนี้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเชิงเทคโนโลยีในอนาคต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาในกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลาย</p> <p> </p> เรียนา หวัดแท่น Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274634 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275283 <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและสถานการณ์การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และ 3) ศึกษาผลการดำเนินงานและปัจจัยแห่งความสำเร็จในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 348 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ตัวแทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ใช้การสุ่มแบบเจาะจงวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา <br /> ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุประกอบด้วย (1) การสร้างภาคีเครือข่าย (2) การพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย (3) การอบรมให้ความรู้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (4) ผู้ดูแลสูงอายุเป็นแกนนำส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่บ้าน (5) ทีมพี่เลี้ยงนิเทศติดตามประเมินผล (6) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า ภายหลังการพัฒนา ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตโดยรวม (xˉ =3.27, SD=0.62) สูงกว่าก่อนการพัฒนา (xˉ =2.91, SD=0.41) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยแห่งความสำเร็จครั้งนี้ คือ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในทุกขั้นตอนและปฏิบัติกิจกรรมตามรูปแบบอย่างต่อเนื่อง</p> <p> </p> ธนา พุทธากรณ์, ยงยุทธ ธิตินิลนิธิ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275283 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยัง ถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดบึงกาฬ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270759 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในถ้ำนาคา และ 2) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้ามาท่องเที่ยวถ้ำนาคา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บกลุ่มตัวอย่างจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวยังถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดบึงกาฬ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมีการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าไควแสควร์ ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในถ้ำนาคา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อไหว้ขอพรพญานาค มีความตั้งใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวยังถ้ำนาคา ซึ่งนักท่องเที่ยวรู้จักถ้ำนาคา ผ่านช่องทางโซเซียลมีเดีย โดยรูปแบบการท่องเที่ยวยังถ้ำนาคาคือเดินทางมากับครอบครัว เดินทางโดยรถส่วนตัว มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,000 – 1,500 บาท ความถี่ในการมายังถ้ำนาคา จำนวน 1 ครั้ง/ต่อปี นิยมเดินทางมายังถ้ำนาคาในวันเสาร์ – อาทิตย์ โดยมีความรู้สึกประทับใจ อีกทั้งจะกลับมาอีก และจะกลับด้วยวัตถุประสงค์คือ การไหว้ขอพรพญานาค 2) ระดับความพีงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในถ้ำนาคา อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ คือ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเดินทางมาท่องเที่ยวยังถ้ำนาคา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05</p> <p> </p> วาสนา ขวัญทองยิ้ม, อภิไทย แก้วจรัส, กนกพร รอดเขียน, สุภัทรา เขียวศรี, ทิพย์วดี โพธิ์สิทธิพรรณ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270759 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Diversity of Socio-Cultural Adaptation of Overseas Chinese: Depiction of Asian Immigrant Families in Fresh off The Boat https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271082 <p> </p> Qian Zhou, Pim Samara Yarapirom Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271082 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารายวิชาภาษาจีนที่เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ตามแผนการเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274830 <p> แม้ภาษาจีนมีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องเรียนภาษาจีน หากทำให้ภาษาจีนเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียน ก็จะช่วยให้นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียน และเจตคติต่อวิชาภาษาจีนดีขึ้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรายวิชาภาษาจีนที่เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ตามแผนการเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งเป็นการวิจัยแบบร่วมมือ (Participation research)<br /> โดยการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เริ่มจากการ แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนารายวิชาภาษาจีน ที่ประกอบด้วยคณะผู้บริหาร และหัวหน้าแผนการเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ อาจารย์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพัฒนารายวิชา ตั้งแต่กำหนดโครงสร้างหลักสูตร ชื่อวิชา คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ และจัดทำแผนการเรียนรู้ ส่วนในการประเมินรายวิชา ได้สอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ด้าน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ด้านหลักสูตรและการสอน จำนวน 10 คน ด้านภาษาจีน จำนวน10 คน และด้านอาชีพจำนวน 19 คน รวม 39 คน โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และวิเคราะห์ผลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ได้รายวิชาภาษาจีนที่เชื่อมโยงองค์ความรู้ตามแผนการเรียน จำนวน 6 รายวิชา วิชาละ 0.5 หน่วยกิต ระดับชั้นละ 2 วิชา โดยแต่ละรายวิชาประกอบด้วย คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชาและแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วย<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ได้แผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วย รายวิชาละ 4 แผนการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 24 แผนการเรียนรู้<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. การประเมินรายวิชา พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าทั้ง 6 รายวิชา มีความเหมาะสม ในระดับมากและมากที่สุด</span></p> กิตติพงษ์ เสนาะสรรพ์, ศิริรัตน์ ศรีสอาด , นาตยา ปิลันธนานนท์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274830 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 President’s Strategic Leadership Factors Affecting Organizational Effectiveness of Private Universities in Hunan Province https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/272043 <p> The objectives of this research were: (1) To determine components of president’s strategic leadership and organizational effectiveness of private universities. (2)To investigate president’s strategic leadership affecting organizational effectiveness of private universities in Hunan Province. (3)To propose the guidelines for improving president’s strategic leadership affecting organizational effectiveness of private universities in Hunan Province, the People’s Republic of China.<br /> The research used mixed methodology which were qualitative research and quantitative research. Population was teachers of private universities in Hunan Province, with a total of 11871 persons. The sample size was determined by the Krejcie and Morgan’s Table (1970) that obtained by a proportional stratified random sampling technique, totaling 375 persons. Instruments used for data collection included semi-structured interviews form, a five-points rating scale questionnaire and focus group discussions form. The statistics used for analyzing the data were descriptive statistics and MIMIC- Model analysis.<br /> The research results revealed that (1) There were three president’s strategic leadership factors of private universities in Hunan Province which were strategic vision and planning formulation leadership, decision making and execution leadership, talent introduction and management leadership. The organizational effectiveness were long term planning and resource allocation, administrative and operational management, academic management and quality assurance. (2) The president’s strategic leadership include strategic vision and planning formulation leadership, decision making and execution leadership , talent introduction and management leadership altogether had statistical significant direct affects at p &lt; 0.01 on organizational effectiveness of private universities in Hunan Province with the predictive power of 44.60 percent; (3) The guidelines for improving the organizational effectiveness of private universities in Hunan Province consisted of 15 guidelines.</p> Yang Jingyu , Pornthep Muangman , Peerapong Tipanark Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/272043 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270924 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เก็บข้อมูลการวิจัยด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) , แบบตรวจสอบรายการ ( Check List) ,แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ( Rating Scale) ด้วยวิธีของลิเคอร์ท (Likert) , การสร้างและหาประสิทธิภาพเครื่องมือ ใช้การตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา ( Content Validity ) ,หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) นำไปทดลองใช้ (Try-Out) และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ( Alpha Coefficient ) ตามวิธีของ ครอนบาค ( Cronbach) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ใช้วิธีหาค่าการแจกแจงความถี่ , ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br />ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานวิเคราะห์ได้ 7 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านการนำองค์กร มีค่าเฉลี่ย (X ̅) = 4.82 2) ด้านกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ย (X ̅) = 4.76 3) ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีค่าเฉลี่ย (X ̅) = 4.68 4) ด้านการวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ มีค่าเฉลี่ย (X ̅) = 4.61 5) ด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ย (X ̅) = 4.65 6) ด้านการปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ย (X ̅) = 4.58 และ 7) ด้านผลลัพธ์ มีค่าเฉลี่ย (X ̅) = 4.73 ภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย (X ̅) = 4.69 และรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ประกอบด้วยมาตรฐานด้านความเหมาะสม (Propriety Standards) ค่าเฉลี่ย (X ̅) = 4.39 มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) ค่าเฉลี่ย (X ̅) = 4.27 และมาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ (Utility Standards) ค่าเฉลี่ย (X ̅) = 4.40 โดยภาพรวมมาตรฐานทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของรูปแบบส่วนใหญ่ อยู่ในระดับมาก </p> สุมาลี จันทรมาตร, ธีระพล เพ็งจันทร์ , พิมพ์พร จารุจิตร์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270924 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Role of Aesthetic Design in Enhancing User Engagement and Retention on Digital Exhibition Platform https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271234 <p><strong> Background:</strong> Online exhibition platforms have evolved into essential components of museum and exhibition displays, serving as crucial supplements for presenting collections and events. In a competitive market, museums and exhibition firms face the challenge of maintaining and expanding their visitor base through effective user retention strategies.<br /><strong> Purpose: </strong>This study explores the impact of visual design on online exhibition platforms, focusing on its role in creating favorable initial impressions, capturing user attention, and delivering an enjoyable browsing experience.<br /><strong> Methodology:</strong> The research employs empirical methods and user experience analysis to investigate how aesthetic design influences user perception and evaluation.<br /><strong> Results: </strong>The findings highlight that aesthetic design significantly enhances user experience by improving initial appeal and satisfaction, thereby increasing user engagement and retention rates.<br /><strong> Conclusion:</strong> Effective visual design of website interfaces is crucial for enhancing user pleasure and promoting user retention. Detailed exploration of aesthetic elements provides valuable insights into user reactions, enabling targeted design improvements to enhance engagement and retention strategies.</p> Shuyi Wang, Akapong Inkuer Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271234 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงประกอบการ สำหรับนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274977 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงประกอบการ สำหรับนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงประกอบการ ของนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จากการวิเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ประกอบการที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 4 แห่ง โดยการเลือกแบบเจาะจง และการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงประกอบการ สำหรับนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงประกอบการ สำหรับนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง 4) การประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงประกอบการ สำหรับนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี ครู และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 35 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงประกอบการ สำหรับนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ภาวะผู้นำเชิงประกอบการ 4) วิธีการพัฒนา 5) กระบวนการพัฒนา และปัจจัยแห่งความสำเร็จ ผลการตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงประกอบการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาว่าเหมาะสม ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า นักศึกษามีภาวะผู้นำเชิงประกอบการ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ร้อยละ 70 ทุกคน ส่วนผลการประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงประกอบการ พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด </p> วรวิทย์ อินปาน, จิติมา วรรณศรี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274977 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271518 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ จํานวน 300 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงแบบวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน <br>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) การยอมรับตนเอง แรงจูงใจภายใน การวางแผนการเรียนรู้ตนเอง ความพร้อม และ สภาพแวดล้อม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .511 ถึง .653 และ 2) ปัจจัยด้านการยอมรับตนเอง (X1) และการวางแผนการเรียนรู้ตนเอง (X3) สามารถร่วมกันทำนายการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาครู ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 64.00 มีสมการทำนาย ดังนี้<br>สมการทำนายในรูปคะแนนดิบ คือ <br>Y ̂= .705 + .525X1 + .276X3 <br>สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ<br>Z = .499ZX1 + .334ZX3 </p> เมษา นวลศรี, กุลชาติ พันธุวรกุล Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271518 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนานวัตกรรมธงกันลืมสินค้าเดลิเวอรี่เพื่อลดปัญหาการจัดส่งเดลิเวอรี่ไม่ครบตามรายการสินค้า กรณีศึกษาร้าน 7- Eleven สาขาเอื้ออาทร (บางปะกง) สาขาหนองจอก(บางปะกง) และสาขาท่าสะอ้านริเวอร์ไซด์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270760 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการส่งสินค้าเดลิเวอรี่ไม่ครบตามรายการสินค้า เนื่องจากการลืมสินค้าของพนักงาน รวมทั้งศึกษาข้อเสนอแนะความคิดเห็นของผู้ใช้นวัตกรรมที่ได้ทำแบบสำรวจ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ พนักงานในร้าน 7- Eleven จำนวน 46 คน ได้แก่ สาขาเอื้ออาทร(บางปะกง) จำนวน 15 คน สาขาหนองจอก(บางปะกง) จำนวน 14 คน และสาขาท่าสะอ้าน ริเวอร์ไซด์ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ใช้วิธีการสัมภาษณ์และการส่งแบบสำรวจทาง Google From แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาการจัดส่งเดลิเวอรี่ไม่ครบตามรายการสินค้า แบบสำรวจปัญหาปริมาณการจัดส่งเดลิเวอรี่ไม่ครบตามรายการสินค้าก่อนและหลังใช้นวัตกรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจของพนักงานในการใช้นวัตกรรม<br /> ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลจากผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ทั้ง 3 ร้านส่วนใหญ่จะพบว่าที่ร้านมีปัญหาการจัดส่งเดลิเวอรี่ คือการลืมสินค้าไว้ที่ร้านและส่งสินค้าไม่ครบ การวิเคราะห์ปัญหาการลืมสินค้าในการส่งเดลิเวอรี่เชิงปริมาณก่อนใช้นวัตกรรมพบว่าส่วนใหญ่จำนวนการส่งสินค้าเดลิเวอรี่ ที่ส่งสินค้าไม่ครบ 1 ครั้ง/วัน มีจำนวน 31 วัน และจำนวนสินค้าการส่งเดลิเวอรี่ ไม่ครบมากที่สุด 1 ชิ้น/วัน มีจำนวน 30 วัน หลังใช้นวัตกรรมส่วนใหญ่ พบว่า จำนวนการส่งสินค้าเดลิเวอรี่ที่ส่งสินค้าและจำนวนสินค้าการส่งเดลิเวอรี่ครบ มีจำนวน 44 วัน ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรม ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ตำแหน่งพนักงานร้าน มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.42 โดยมีความพึงพอใจรายด้านดังนี้ ด้านการออกแบบนวัตกรรมสถานะการจัดส่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย 4.60 ด้านการใช้งานของนวัตกรรมสถานะการจัดส่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย 4.41 และด้านการช่วยลดปัญหาที่ร้านสาขา อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย 4.58 ตามลำดับ<br /> ผลสรุปการวิจัย ปริมาณการจัดส่งเดลิเวอรี่ไม่ครบตามรายการสินค้า และจำนวนสินค้าการส่งเดลิเวอรี่ไม่ครบ ก่อนใช้นวัตกรรมกับหลังใช้นวัตกรรม มีจำนวนการส่งสินค้าเดลิเวอรี่ กรณีที่ส่งสินค้าไม่ครบครั้ง/วัน และจำนวนสินค้าการส่งเดลิเวอรี่ ไม่ครบชิ้น/วัน มีความแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> จรรยา วังนิยม , นรภัทร สถานสถิตย์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270760 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 กระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษาในสถานศึกษาเอกชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/273374 <p> บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษากระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษาไปใช้ ในสถานศึกษาเอกชน และ 2. เพื่อศึกษาผลของการนำกระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษาไปใช้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองและเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูและนักเรียนโรงเรียนเอกชนจำนวน 3 แห่ง (ขนาดโรงเรียน ใหญ่ กลาง และเล็ก) ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive selection) จำนวน 52 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินจำนวน 6 ฉบับ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) และสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ แจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวน วิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีการทดสอบ Post Hoc Test ด้วย LSD<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษา ที่ผ่านการพัฒนาโดยใช้หลักการ POSDC เป็นกรอบการบริหารจัดการเป็นกระบวนการ 8 ขั้นตอน บนพื้นฐานการสนับสนุนของผู้บริหารเรียกว่า 6PLC Managing Procedure with AMCS และ2. ผลของการนำกระบวนการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับประถมศึกษาไปใช้ พบว่า 1) ครูมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับดี <strong> </strong>2) ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเสริมสร้างสมรรถนะให้กับครูและนักเรียนต่อไป</p> <p> </p> ปิ่นมุก เสนาดิสัย, บุญมี เณรยอด , สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/273374 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการคิดขั้นสูงในรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271345 <p> งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการคิดขั้นสูงในรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ 2) วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการคิดขั้นสูงในรายวิชาวิทยาศาสตร์ 3) พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงในรายวิชาวิทยาศาสตร์ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้จริง ประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในจังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จำนวน 57 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 21,348 คน ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,300 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบสนทนากลุ่ม 2) แบบสอบถามสำหรับการวิจัย และ 3) แบบสอบถามความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้โมเดลสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์ตัวแปร พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการคิดขั้นสูง ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ ด้านครอบครัว ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ ด้านผู้เรียน และด้านผู้สอน มีคะแนนเฉลี่ยระดับการรับรู้ของแต่ละปัจจัยอยู่ในระดับมาก โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะการคิดขั้นสูงสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ^2 = 157.139, p-value = 0.0000, df = 81, χ^2/df = 1.94, CFI = 0.996, TLI = 0.993, SRMR = 0.016, RMSEA = 0.027) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้จริงพบว่ามีจำนวน 5 ด้าน ประกอบไปด้วย ด้านผู้สอนมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.98) ด้านผู้เรียนมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.94) ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านครอบครัวและด้านบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.93) และ ด้านลักษณะทางกายภาพ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.86)</p> ราตรี เสนาป่า, สุกัญญา รุจิเมธาภาส , ระพินทร์ โพธิ์ศรี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271345 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของมาตรการลดการเผาอ้อยที่มีต่อเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271000 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลของมาตรการลดการเผาอ้อยที่มีต่อเกษตรชาวไร่อ้อย<br />ในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่มีต่อมาตรการลดการเผาอ้อย 3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในอำเภอ<br />ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่มีต่อมาตรการลดการเผาอ้อย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง<br />คือเกษตรกรชาวไร่อ้อยในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 314 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย <br />คือ แบบสอบถาม โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าผลรวม ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Independent Sample t-test กรณีตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม และกรณีตัวแปรอิสระมากกว่า 2 กลุ่มใช้สถิติ One-Way ANOVA F-test และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบของ LSD (Least significant difference test) ผลการวิจัย พบว่า 1. มาตรการที่มีผลต่อการลดการเผาอ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านมาตรการด้านกฎหมาย 2.) ด้านมาตรการจากภาครัฐ 3) ด้านมาตรการจากหน่วยงานของรัฐ <br />4.) ด้านมาตรการจากภาคเอกชน 2. ความคิดเห็นของเกษตรชาวไร่อ้อยในอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่มีต่อมาตรการลดการเผาอ้อยในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับค่อนข้างมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านมาตรการจากภาครัฐ อยู่ในระดับค่อนข้างมาก รองลงมาคือ ด้านมาตรการจากหน่วยงานของรัฐ อยู่ในระดับมาก ด้านมาตรการจากภาคเอกชน อยู่ในระดับค่อนข้างมาก และด้านมาตรการด้านกฎหมาย มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย 3. ผลการเปรียบเทียบ เพศ อายุ และอาชีพ ที่ต่างกัน ความคิดเห็นที่มีต่อมาตรการลดการเผาอ้อยในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษา ขนาดเกษตร และประสบการณ์ในการทำไร่อ้อย <br />ที่ต่างกัน ความคิดเห็นที่มีต่อมาตรการลดการเผาอ้อยในภาพรวม แตกต่างกัน</p> ราชัน ชุมแวงวาปี, ปานปั้น รองหานาม Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271000 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพจิตของประชากรไทย: การวิเคราะห์พหุระดับ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275045 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยระดับบุคคลและระดับชุมชนที่มีความสัมพันธ์กับการมีสุขภาพจิตที่ดีของประชากรไทย การวิจัยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการการสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต พ.ศ.2561 จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งเป็นการสำรวจระดับประเทศที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป การวิเคราะห์คัดเลือกเฉพาะตัวอย่างที่ตอบคำถามในประเด็นที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตด้วยตนเอง รวมจำนวนทั้งสิ้น 27,147 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์พหุระดับแบบโลจิสติก<br /> ผลการศึกษาพบว่า ประชากรไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปเกือบร้อยละ 80 เป็นผู้ที่มีภาวะสุขภาพจิตดี ตามเกณฑ์วัดสุขภาพจิตของคนไทยฉบับสั้น (TMHI-15) ตัวแปรระดับบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส สถานภาพการทำงาน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ความสัมพันธ์และความผูกพันภายในครัวเรือน การรับรู้สุขภาพกายของตนเอง ความเชื่อตามหลักคำสอนทางศาสนา การปฏิบัติตนตามหลักศาสนา และคุณธรรมในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการมีสุขภาพจิตที่ดีของประชากรไทย ในระดับชุมชน พบว่า สัดส่วนของประชากรที่มีภาวะสุขภาพจิตดีในชุมชน และค่าเฉลี่ยสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในชุมชนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการมีสุขภาพจิตที่ดีของประชากรไทย การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันทางด้านสุขภาพจิตของประชากรในกลุ่มต่าง ๆ และแนวทางในการส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตของประชากรผ่านปัจจัยทางสังคมและสภาพแวดล้อมของครัวเรือนและชุมชน</p> <p> </p> สรพงษ์ เจริญกฤตยาวุฒิ , วิราภรณ์ โพธิศิริ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275045 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Digital Leadership Model for Administrators of Vocational Education in Kaifeng City Under Henan Province https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/272266 <p> As the digital transformation of higher education in China continues to deepen, traditional leadership urgently needs to expand and shift towards digital leadership. As vocational education is a vital part of higher education, there is an urgent need to enhance the digital leadership capabilities of its administrators. In Kaifeng City, Henan Province, vocational education administrators struggle with integrating digital technologies, which limits their ability to lead and innovate in a fast-changing digital environment.<br /> The objectives of this research were to: (1) Determine the components and sub-components of digital leadership for administrators of vocational colleges in Kaifeng City, Henan Province. (2) Propose a digital leadership model for these administrators.</p> <p>The study’s population comprised 4,576 principals, deans, student counselors, and teachers from vocational colleges in Kaifeng City, Henan Province, China. A stratified random sampling method was employed, resulting in a sample of 363 participants. Data were collected using a questionnaire, and analyzed with descriptive statistics (percentage, arithmetic mean, standard deviation), Exploratory Factor Analysis (EFA), and Confirmatory Factor Analysis (CFA) using statistical software.<br /> The research findings revealed: (1) Four key components and 13 sub-components of digital leadership, derived from the conceptual framework, were identified. The four components are digital communication, digital vision, digital innovation, and digital collaboration. (2) The proposed digital leadership model for administrators of vocational colleges was consistent with the empirical data: Chi-square (χ2) = 103.97, Relative Chi-square (χ2/df) = 2.00, Degrees of Freedom (df) = 52, Statistical Significance (p) = 0.00, Goodness of Fit Index (GFI) = 0.96, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.92, and Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.05. Components ranged from 0.82 to 0.98, while the sub-components/sub-components ranged from 0.65 to 0.87.<br /> The study presents a validated digital leadership model specifically designed for vocational education administrators in Kaifeng City, Henan Province. By pinpointing and validating the essential components and sub-components of digital leadership, this research offers a practical framework that administrators can use to enhance their digital skills and lead their institutions more effectively in the digital era. This model provides a foundation for creating targeted professional development programs and strategic initiatives to promote digital leadership within vocational education settings.</p> Wang Chengwei , Peerapong Tipanark , Pornthep Muangman Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/272266 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาโมเดลการออมเพื่อการเกษียณในสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275433 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อตรวจสอบและยืนยันองค์ประกอบของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผล<br />ต่อการออมเพื่อการเกษียณในสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืน 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างที่ส่งผลต่อการออมเพื่อการเกษียณในสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาโมเดลการออมเพื่อการเกษียณในสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างคือชายและหญิงอายุ 21–65 ปี ที่อาศัยอยู่ใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 1,060 คน คำนวณตามแนวทางของ Hair et al. (2010) ที่แนะนำอัตราส่วนตัวอย่างต่อพารามิเตอร์ 20:1 โดยมีพารามิเตอร์ 53 ตัว ใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพรวบรวมจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 12 คน ซึ่งคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบาย นายจ้าง และลูกจ้าง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณดำเนินการด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และโมเดลสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม Mplus Version 8.3 ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากนั้นเปรียบเทียบความสอดคล้องของผลลัพธ์จากทั้งสองวิธี ผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบสำคัญและแนวทางการออมที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมสูงวัยและสนับสนุนความยั่งยืนในระยะยาว<br /> ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบหลัก ได้แก่ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SE), ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (DL), การจัดการการเงินส่วนบุคคล (PF) และทักษะทางการเงิน (FL) มีอิทธิพลต่อการออมเพื่อการเกษียณในสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืน (SAV) (2) โมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (3) โมเดลการออมเพื่อการเกษียณในสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืนที่พัฒนาขึ้นได้เน้นการกำหนดให้การออมเพื่อการเกษียณในสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ การพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะในการออม การออมภาคบังคับที่มีความยืดหยุ่นและกำหนดเพดาน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการกำหนดนโยบายประชากรศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการออมอย่างยั่งยืนในระยะยาว</p> เนาวรัตน์ ไกรเดช , มนตรี โสคติยานุรักษ์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275433 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรกับการประยุกต์ใช้ระบบ IATF 16949 ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275407 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นของพนักงานต่อความสำคัญและความพึงพอใจในรูปแบบการสื่อสารภายในองค์กร, 2) ผลกระทบของระบบบริหารคุณภาพ IATF 16949 ต่อประสิทธิภาพการทำงานและความพึงพอใจของลูกค้า, 3) ปัญหาและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้ระบบ IATF 16949 ภายใต้รูปแบบการสื่อสารปัจจุบัน, และ 4) แนวทางปรับปรุงการสื่อสารและการประยุกต์ใช้ระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานและความพึงพอใจของลูกค้า การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างพนักงานที่มีประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบ IATF 16949 จำนวน 6 คน ใช้แบบสอบถามวัดความสำคัญและความพึงพอใจ ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต การวิเคราะห์เชิงธีม และการเปรียบเทียบหลายกรณีเพื่อสรุปธีมหลักและสร้างความเข้าใจเชิงลึก.<br /> ผลการวิจัยสรุปว่า 1) การสื่อสารภายในองค์กรมีความสำคัญในระดับมาก โดยการสื่อสารจากบนลงล่างสำคัญที่สุด (X̄ 3.00) แต่พนักงานพึงพอใจกับการสื่อสารในแนวนอนมากที่สุด (X̄ 2.67) ในขณะที่การสื่อสารจากล่างขึ้นบนพึงพอใจน้อยที่สุด (X̄ 1.83), 2) ระบบ IATF 16949 มีบทบาทสำคัญในการควบคุมคุณภาพ ลดข้อบกพร่องในผลิตภัณฑ์ และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต รวมถึงความพึงพอใจของลูกค้า, 3) การสื่อสารที่ไม่ชัดเจนและขาดความเข้าใจในข้อกำหนด ส่งผลให้เกิดความล่าช้าและข้อผิดพลาดในกระบวนการดำเนินงาน, และ 4) ควรปรับปรุงด้วยการอบรมเพิ่มทักษะการสื่อสารและปฏิบัติงาน สร้างเอกสารมาตรฐาน จัดประชุมระหว่างแผนก เพิ่มความถี่ในการสอบเทียบเครื่องมือและทำ MSA พร้อมใช้กรณีศึกษาเพื่อเสริมความเข้าใจข้อกำหนด และจัดระบบติดตามผลและหน้าที่ชัดเจนเพื่อลดข้อผิดพลาด.</p> <p> </p> วันมงคล ทวีทรัพย์มั่น , สมบูรณ์ สาระพัด Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275407 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาจีนและความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับจักรวาลนฤมิต (Metaverse) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271250 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาจีนและความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับจักรวาล กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 24 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ 2) เครื่องมือที่ใช้สะท้อนผลการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ของครู แบบสังเกตพฤติกรรมของครูและนักเรียน แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบทดสอบความสามารถในการพูดภาษาจีนท้ายวงจร แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ท้ายวงจร&nbsp; 3) เครื่องมือประเมินผล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการพูดภาษาจีน และแบบทดสอบความสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการพูดภาษาจีนเฉลี่ย เท่ากับ 20.63 คิดเป็นร้อยละ 82.50 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 95.83 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์เฉลี่ยเท่ากับ 13.42&nbsp; คิดเป็นร้อยละ 83.85 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ100&nbsp; ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้</p> สุนิสา สุดเพาะ , สิทธิพล อาจอินทร์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271250 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากน้ำมันเมล็ดกัญชง สู่ธุรกิจสร้างสรรค์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275370 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากน้ำมันเมล็ดกัญชง 2)เพื่อพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากน้ำมันเมล็ดกัญชงสู่ธุรกิจสร้างสรรค์ 3) เพื่อนำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากน้ำมันเมล็ดกัญชงไปสู่การปฏิบัติ และ 4) เพื่อประเมินผลการนำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากน้ำมันเมล็ดกัญชง งานวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือการวิจัยได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการประชุมระดมความคิดเห็น ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด จำนวน 30 คน รวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันผลิตภัณฑ์เสริมความงามมีในหลายรูปแบบ สภาพปัญหาการเลือกใช้สารสำคัญในผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง ความต้องการพบ การนำนวัตกรรมใหม่มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ 2) การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงามจากน้ำมันเมล็ดกัญชง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าและผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผม โดยมีนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี นาโนอีมัลชัน โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ 3) จากการวิจัยได้มีการผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์เซรั่มบำรุงผิวหน้าและแฮร์โทนิกจากน้ำมันเมล็ดกัญชง โดยใช้นาโนเทคโนโลยี แบบนาโนอีมัลชัน 4) ซึ่งผู้บริโภคมีความพึงพอใจในระดับสูง โดยร้อยละ 82.35 พึงพอใจในเซรั่มบำรุงผิวหน้า และร้อยละ 76.48 พึงพอใจในแฮร์โทนิก ผลการประเมินชี้ให้เห็นว่านวัตกรรมนี้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาด สามารถนำไปสู่ธุรกิจสร้างสรรค์ได้ต่อไป</p> พีรวรรณ วรรธนะเมธาวงศ์, บุษกร วัฒนบุตร, ภูวิช ไชยคำวัง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275370 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270829 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน เป็นการวิจัยแบบหลายช่วง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน และครู ปี 2565 จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 มีความเชื่อมั่น 0.96 ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กลยุทธ์ ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์หลัก 36 กลยุทธ์รองและ 54 วิธีดำเนินการ โดยมุ่งเน้น 1) ทักษะการคิดสร้างสรรค์มีค่า PNI<sub>modified</sub> อยู่ระหว่าง 0.40 – 0.49 มากที่สุดคือครูมีความสามารถในการคิดค้นวิธีการแก้ปัญหา (PNI<sub>modified</sub> = 0.49) 2) มุ่งเน้นทักษะการทดลอง มีค่า PNI<sub>modified</sub> อยู่ระหว่าง 0.43 – 0.54 มากที่สุด คือ ครูมีการสรุปรายงานผลการพัฒนานวัตกรรม (PNI<sub>modified</sub> = 0.54) 3) มุ่งเน้นทักษะการตั้งคำถาม ค่า PNI<sub>modified</sub> อยู่ระหว่าง 0.40 – 0.50 มากที่สุด คือ ครูมีการตั้งคำถามเป็นคำถามแบบแคบและแบบกว้างเพื่อให้ผู้ตอบใช้ความคิดหลายระดับ (PNI<sub>modified</sub> = 0.50) 4) มุ่งเน้นทักษะการเรียนรู้ มีค่า PNI<sub>modified</sub> อยู่ระหว่าง 0.45 – 0.53 มากที่สุด คือ ครูมีความสามารถในการวิเคราะห์สาเหตุประเด็นของปัญหาที่เกิดขึ้นและหากลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา (PNI<sub>modified</sub> = 0.53) 5) มุ่งเน้นทักษะการสร้างเครือข่าย มีค่า PNI<sub>modified</sub> อยู่ระหว่าง 0.45 – 0.67 มากที่สุด คือ ครูกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและทางเลือกที่เป็นไปได้ในการสร้างเครือข่าย (PNImodified = 0.67) 6) มุ่งเน้นทักษะการสังเกต มีค่า PNI<sub>modified</sub> อยู่ระหว่าง 0.43 – 0.59 มากที่สุด คือ ครูวางแผนการสังเกตอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ</p> จิตรกัญญา เข็มพรมมา, ธีระพล เพ็งจันทร์ , พิมพ์พร จารุจิตร์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270829 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสร้างอัตลักษณ์สีเพื่อใช้ในงานออกแบบดิจิทัลแพลตฟอร์มส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพพื้นที่พิเศษพัทยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271274 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์การสะท้อนภาพลักษณ์เฉพาะเชิงท้องถิ่นพื้นที่พิเศษพัทยาเพื่อหาแนวทางสร้างอัตลักษณ์สี 2) เพื่อออกแบบต้นแบบดิจิทัลแพลตฟอร์มส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยสีจากการสะท้อนภาพลักษณ์เฉพาะเชิงท้องถิ่นพื้นที่พิเศษพัทยา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่างการวิจัยได้แก่กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและกลุ่มคนทั่วไปที่รู้จักหรือเคยเดินทางมาทำกิจกรรมในพื้นที่พิเศษพัทยา โดยใช้วิธีการสุ่มโดยบังเอิญ จำนวนกลุ่มตัวอย่างทีใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย 100 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า สามารถจำแนกชุดอัตลักษณ์สีที่สะท้อนภาพลักษณ์เฉพาะเชิงท้องถิ่นพื้นที่พิเศษพัทยาทั้งหมด 5 ชุดสี โดยวิเคราะห์จากภาพแทนคำนิยามที่ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกตอบมากที่สุด 5 ลำดับแรก ในแต่ละหัวข้อ ได้แก่ ชุดสีที่ 1 ชุดสีจากภาพแทนคำนิยามของภาพลักษณ์เมืองที่แสดงถึงพื้นที่พิเศษพัทยาชุดสีที่ 2 ชุดสีจากการสำรวจอัตลักษณ์เมืองด้านสภาพแวดล้อมที่แสดงถึงพื้นที่พิเศษพัทยาชุดสีที่ 3 ชุดสีจากการสำรวจอัตลักษณ์เมืองด้านผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงพื้นที่พิเศษพัทยา ชุดสีที่ 4 ชุดสีจากกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่พิเศษเมืองพัทยา และชุดสีที่ 5 ชุดสีจากโครงสร้างทางจินตภาพของเมือง (Image of the city) ซึ่งชุดสีที่ได้สามารถนำไปออกแบบดิจิทัลแพลตฟอร์มส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและนักออกแบบสามารถนำไปประยุกต์ต่อยอดงานออกแบบในด้านอื่นๆ ที่สื่อสารถึงภาพลักษณ์ของเมืองพัทยาได้ </p> ประภาพร ร้อยพรมมา, เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง , มิยอง ซอ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271274 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 อัตลักษณ์การแสดงในงานประเพณีจังหวัดสุโขทัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275299 <p> งานวิจัย เรื่อง อัตลักษณ์การแสดงในงานประเพณีจังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบ องค์ประกอบการแสดง วิธีการรำพื้นบ้านในงานประเพณีของจังหวัดสุโขทัย และ 2) อัตลักษณ์การแสดงในงานประเพณีจังหวัดสุโขทัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูล โดยการสังเกต สัมภาษณ์ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ได้แก่การสังเกตแบบ ไม่มีส่วนร่วม และแนวทางการสัมภาษณ์จากกลุ่มให้ข้อมูลหลักทางด้านวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นอัตลักษณ์ของ แต่ละอำเภอ จำนวน 10 คน เพื่อรวบรวมข้อมูลและนำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ สรุปผลตามวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นในการศึกษา ดังนี้<br /> จากการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบ องค์ประกอบและวิธีการรำพื้นบ้านในงานประเพณีของจังหวัดสุโขทัย มีรูปแบบการแสดงเป็นการรำหมู่ระหว่างชายหนุ่ม หญิงสาวและรำหมู่หญิงล้วน ปฏิบัติท่ารำเคลื่อนตัวประกอบในขบวนพร้อมกับจังหวะดนตรี ลักษณะของการแสดงเป็นการแสดงประเภทรำเป็นกลุ่มบนเวที และรำหมู่ในรูปแบบของขบวน องค์ประกอบในการแสดงประกอบด้วย1. ผู้แสดง 2. สถานที่ใช้แสดง 3.โอกาส ที่แสดง 4. การแต่งกายมีความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น และ 5. ดนตรีประกอบการแสดง ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดำเนินทำนอง เครื่องกำกับจังหวะและเครื่องควบคุมจังหวะ ด้านวิธีการรำมีการใช้อวัยวะในส่วน ของร่างกาย การใช้ศีรษะและลำตัว การใช้มือ แขนและการใช้ขาและเท้าและ 2) อัตลักษณ์การแสดงในงานประเพณีจังหวัดสุโขทัยใน 7 อำเภอมี 2 ประเด็น ได้แก่ ด้านการจัดการแสดง และด้านเครื่องแต่งกาย ด้านการจัดการแสดง แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. รูปขบวน และ 2. ขั้นตอนการแสดง ส่วนด้านเครื่องแต่งกาย แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. เสื้อที่สวมใส่ 2. ผ้านุ่ง และ 3. ลักษณะการพาดผ้าสไบ</p> สมบูรณ์ พนเสาวภาคย์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275299 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Factors Affecting Patients’Attitude and Behavioral Intention of Using Hospital Online Services in Shanghai, China https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275513 <p> This study conducts a survey at three hospitals in Shanghai, China, to explore the factors influencing patients' attitudes and behavioral intentions toward using hospital online registration systems. A five-point Likert scale was used to develop the questionnaire, which was then validated by three experts through an IOC test. Prior to the formal survey, 50 samples were tested for internal consistency and reliability. A total of 500 valid questionnaires were distributed, with data analyzed using SPSS for descriptive statistics and AMOS for confirmatory factor analysis (CFA) and structural equation modeling (SEM). The CFA results confirmed the adequacy of the factor structure and the model’s fit. Based on theoretical frameworks, the study introduces attitude, perceived usefulness, and satisfaction as mediating variables to examine the relationships between independent variables (such as perceived usefulness, social influence, and promotion conditions) and the dependent variable (behavioral intention). The findings show that satisfaction, social influence, and promotion conditions significantly impact behavioral intention, while perceived usefulness and perceived ease of use significantly affect attitude. Additionally, attitude was found to have a direct impact on behavioral intention.<br /> The results highlight that satisfaction, social influence, promotion conditions, perceived usefulness, perceived ease of use, and attitude significantly influence patients' behavioral intention to use the online registration system. Specifically, satisfaction, social influence, and promotion conditions directly influence behavioral intention, while perceived usefulness and perceived ease of use indirectly affect behavioral intention through their impact on attitude. Attitude also has a direct influence on behavioral intention. These findings provide important insights for promoting and developing digital health services, particularly in enhancing patients' acceptance and usage of online registration systems. Hospitals can improve adoption rates by focusing on increasing patient satisfaction, optimizing system usability, and leveraging social influence. The study also offers practical recommendations for policymakers and technology developers to facilitate the widespread adoption of digital health services. Future research could extend these findings to other regions and further investigate additional factors such as privacy protection and security.</p> Jutang Li, Wei Dong , Qizhen Gu Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275513 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการเสริมสร้างบทบาทผู้บริหารในการบริหารความปลอดภัยสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275284 <p> การศึกษาวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของบทบาทผู้บริหารในการบริหารความปลอดภัยสถานศึกษา 2) เสนอแนวทางการเสริมสร้างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารความปลอดภัยสถานศึกษา และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการเสริมสร้างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารความปลอดภัยสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 124 คน และ 2) ครู จำนวน 292 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการกำหนดตัวอย่าง กรณีทราบจำนวนประชากรของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie &amp; Morgan) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 3) แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)<br /> ผลวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. บทบาทผู้บริหารในการบริหารความปลอดภัยสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 5 บทบาท ประกอบด้วย 1) บทบาทการเป็นผู้นำ 2) บทบาทการวางแผน </span><span style="font-size: 0.875rem;">3) บทบาทการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้เรียนและบุคลากร 4) บทบาทการกำกับ ติดตาม และประเมินผล และ 5) บทบาทการสื่อสาร ประสานความร่วมมือ และสร้างเครือข่าย โดยบทบาทที่มีระดับสูงสุด คือ บทบาทการสื่อสาร ประสานความร่วมมือ และสร้างเครือข่าย รองลงมา คือ บทบาทการเป็นผู้นำ และที่มีระดับต่ำที่สุด คือ บทบาทของการกำกับ ติดตาม และประเมินผล<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. แนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้บริหารในการบริหารความปลอดภัยสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ทั้ง 5 บทบาท แต่ละบทบาทประกอบด้วย 6 แนวทาง<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. แนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้บริหารในการบริหารความปลอดภัยสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน</span><span style="font-size: 0.875rem;">เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ทั้ง 5 บทบาท มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในภาพรวม</span><span style="font-size: 0.875rem;">อยู่ในระดับมากที่สุด และรายข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด</span></p> รัศมินทร์ พุทธอินทรา, หยกแก้ว กมลวรเดช, สุรเชษฐ์ บุญยรักษ์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275284 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Teacher Professional Development Model of Vocational Colleges in Guangxi Province, People’s Republic of China https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275354 <p> Teacher professional development is the core task for vocational college educators to enhance their teaching abilities, adapt to educational reforms, and promote the holistic development of students. This research aimed to: 1) investigate the current states and needs on teacher professional development of vocational colleges; 2) design the teacher professional development model of vocational colleges; and 3) evaluate the teacher professional development of vocational colleges in Guangxi Province, People’s Republic of China. This study was divided into three phases: Phase 1: Studying and analyzing the current states and needs on teacher professional development of vocational colleges. The samples were 275 teachers from 13 faculties of Nanning College for Vocational Technology in academic year 2024. The research instruments were a set of questionnaires and interview. The collected data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis; Phase 2: Designing the teacher professional development model of vocational colleges; Phase 3: Evaluating the teacher professional development model of vocational colleges. The target group included 7 connoisseurs who are in the fields of educational administration, curriculum and instruction. The research instrument was the questionnaire asking about the quality of the model. The collected data were analyzed by using mean and standard deviation. The results of the study could be summarized as follows:<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. The research results showed that there are five relevant components that reflect the teacher professional development model of vocational colleges: 1) Teacher competency assessment; 2) Teacher empowerment; 3) Protection of teachers' rights; 4) Promoting teacher collaboration; and 5) Improving awareness of academic services. These components can help improve the academic administration of vocational college teachers.<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. The teacher professional development model consisted of five modules: Module 1 - Teacher competency assessment; Module 2 - Enhancement of teacher competencies; Module 3 - Protection of teachers' rights”; Module 4 - Promotion of teacher cooperation”; and Module 5 - Enhancing awareness of academic service. The evaluation of the suitability of the model framework showed that the overall suitability level of the model framework was at a high level which highlights their overall significance in teacher professional development<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. The model evaluation results were validated by seven experts, who expressed high satisfaction with the model. These results indicated that the model is highly effective and can be applied successfully to enhance the teacher professional development of vocational colleges in Guangxi Province, People’s Republic of China.</span></p> <p> </p> Liu Hanyu, Ketsuda Buranaphansak , Nawamin Prachanant Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275354 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Research on Landscape Design Strategy of Xuzhou Mining Wastelands from the Perspective of Naturalism Aesthetics https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275333 <p> With the continuous development of urban mineral resources, the ecology of mining areas has been seriously damaged, and the landscape design of mining wastelands has gradually received attention. To address this issue, the sample of this study is the landscape regeneration design of Xuzhou Anran Mountain abandoned quarry, this study aims to enhance the natural aesthetic value and beautiful ecological environment of the site through the sample. This study adopts a mixed research method: a combination of qualitative and quantitative methods, with qualitative research as the main focus, combined with questionnaires, interview records, data statistics, field research, case studies and other methods, to comprehensively analyze the development history, distribution and characteristics of the landscape of the mining wastelands in Xuzhou, and to summarize the aesthetic performance and design strategies of the naturist landscape. The goal of the study is to explore the performance of naturalistic aesthetic language in the landscape regeneration design of mining wastelands in Xuzhou. In order to balance the harmonious relationship between the natural landscape, ecological environment and tourists of mining wastelands. The results of the study show that (1) the development of the landscape of mining wastelands, experienced the germination, transformation and development period. (2) The distribution of mining wastelands in Xuzhou presents a “point-like” distribution. It is characterized by serious damage to natural ecology and scattered humanistic landscape. (3) The design strategy of the research theme is summarized by prioritizing the restoration of natural ecology, incorporating the language of natural aesthetics, and interacting with dynamic aesthetic elements. (4) Based on the profile and advantages of the sample site, this study proposes design inspiration, design concepts and objectives, analyzes the value of natural aesthetics of the quarry, and carries out a deeper dissection and validation of the sample under the guidance of naturalistic aesthetic theory. The results of the study help to promote the development of the region's economy and ecological environment, and provide a theoretical basis and practical guidance for the design of natural aesthetics in abandoned landscapes in Xuzhou and other regions.</p> <p> </p> Hongtao Xing, Pisit Puntien Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275333 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 พุทธทัศน์กับการธำรงอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274461 <p> งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อวิเคราะห์พุทธทัศน์กับการธำรงอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรี และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการธำรงอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรี เป็นผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เก็บข้อมูลเชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 15 คน/รูป และสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กลุ่มพระสงฆ์ที่อยู่ในพื้นที่, กลุ่มนักวิชาการทั่วไปที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มชาวบ้านที่อาศัยในพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 9 คน/รูป เพื่อนำไปสู่การสะท้อนคิด เพื่อยืนยันข้อมูล <br /> ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันทำให้วิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำเปลี่ยนไป มีประชากร การขยายตัวของครอบครัว ทำให้ชาวไทยทรงดำต้องทำงานในโรงงานหรือรับจ้างเพิ่มเติมเพื่อเลี้ยงครอบครัวได้อย่างเพียงพอในแต่ละเดือน ทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้ได้ทำให้การอาศัยกับธรรมชาติและการเป็นเกษตรกรของชาวไทยทรงดำน้อยลง สมัยก่อนไทยทรงดำ ครอบครัวมักเป็นครอบครัวใหญ่ที่อยู่รวมกันตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษถึงรุ่นลูกหลาน สภาพสังคมในปัจจุบันทำให้ต้องแยกย้ายเมื่อแต่งงานไป การผสมผสานภาษาและสำเนียงของภาษาไทยทรงดำ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง ชาวไทยทรงดำมักเป็นกลุ่มหมู่บ้านหรือหมู่คณะที่มีการรักษาแนวโบราณและธรรมชาติเป็นหลัก ชาวไทยทรงดำ มีความเชื่อและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับผีมาตั้งแต่อดีต และพระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและพิธีกรรม</p> พระมหาปริทัศน์ วรกิจฺโจ (ทิพย์โอสถ) Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274461 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Research on Analysis of Rural Industry Brand Characteristics and Creative Design Strategies in Fengxian District of Shanghai https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275335 <p> The accelerated pace of urbanization, rural areas confront challenges including sluggish economic growth, population decline, and the deterioration of traditional industries. To address these challenges and promote the sustainable development of rural industries, this study focuses on Fengxian District in Shanghai, conducting an analysis of rural industry brand characteristics and creative design strategies. This study aimed to investigate the characteristics of industry brands and develop creative design strategies in Fengxian District, Shanghai. The samples of this study were 65 participants that were obtained from purposive sampling. The research instruments were the questionnaires and the interviews. This research employs a mixed-methods approach, primarily qualitative, integrating materials. The data from the questionnaires was analyzed using 1) descriptive statistics and 2) content analysis for qualitative data from the interview.<br /> The findings revealed two key results as follows: 1) Fengxian District's rural industry brand is distinguished by its natural, green, and local attributes, and 2) The creative design strategy involves using Fengxian yellow peaches as a case study, deeply exploring and inheriting cultural resources, integrating natural landscapes and ecological concepts, and utilizing innovative design and artistic expression to develop brand IP and marketing strategies. The proposed creative design strategy, as outlined in this study, not only offers a concrete implementation plan for the development of the rural industry brand in Fengxian District but also serves as a valuable reference for rural brand building in other regions. Moreover, these results contribute to promoting the sustainable development of rural industries in Fengxian District, assist in achieving the goal of rural revitalization, and offer theoretical support and practical guidance for Chinese rural industries to establish a unique brand image in the context of globalization.</p> <p> </p> Jianan Zhou, Pisit Puntien, Sompol Dumrongsatian Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275335 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275469 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี 2) ระดับการปฏิบัติงานของครูผู้สอนโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนในโรงเรียนเอกชน จังหวัดปทุมธานี จำนวน 332 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาตั้งแต่ 0.67 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.21) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 2) ระดับการปฏิบัติงานของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.43) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> ปวีณา สิทธิโชคธรรม, กัลยรัตน์ หล่อมณีนพรัตน์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275469 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลการส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 (4Cs) ด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สำหรับนักศึกษาครูคอมพิวเตอร์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275476 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 (4Cs) ด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ในรายวิชาโครงการพิเศษด้านคอมพิวเตอร์ศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาโครงการพิเศษด้านคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 18 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยได้รับการสอนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ใช้เวลาในการทดลอง 16 สัปดาห์ จำนวน 60 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21(4Cs) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความสามารถศตวรรษที่ 21 (4Cs) ตามคุณลักษณะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม และ 4)แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที<br /> ผลการวิจัยพบว่า ผลการทดลองใช้กิจกรรมส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 (4Cs) ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม พบว่าคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 70 โดยคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) ด้านความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21(4Cs) อยู่ในระดับมากที่สุด</p> ลาวัณย์ ดุลยชาติ, สุรจักษ์ พิริยะเชิดชูชัย , ปัญญา เถาว์ชาลี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275476 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสร้างการดำรงลักษณ์ทางชาติพันธุ์เพื่อการสืบสานอัตลักษณ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชาวพุทธมอญกระทุ่มมืด ในจังหวัดนครปฐม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274482 <p> งานวิจัยเรื่อง “การสร้างการดำรงลักษณ์ทางชาติพันธุ์เพื่อการสืบสานอัตลักษณ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชาวพุทธมอญกระทุ่มมืด ในจังหวัดนครปฐม” มีวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย เพื่อศึกษาลักษณะชาติพันธุ์เพื่อการสืบสานอัตลักษณ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชาวพุทธมอญกระทุ่มมืด ในจังหวัดนครปฐม เพื่อวิเคราะห์การสร้างการดำรงลักษณ์ทางชาติพันธุ์เพื่อการสืบสานอัตลักษณ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชาวพุทธมอญกระทุ่มมืด ในจังหวัดนครปฐม และเพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างการดำรงลักษณ์ทางชาติพันธุ์เพื่อการสืบสานอัตลักษณ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชาวพุทธมอญกระทุ่มมืด ในจังหวัดนครปฐม เป็นผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลเชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน/รูป และสนทนากลุ่มเฉพาะ กลุ่มพระสงฆ์ผู้นำชุมชน, กลุ่มนักวิชาการทั่วไป และกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านพื้นที่ ทั้งสิ้น 9 คน/รูป เพื่อนำไปสู่การสะท้อนคิด เพื่อยืนยันข้อมูล <br /> ผลการวิจัยพบว่า ชาวพุทธมอญกระทุ่มมืดมีวิถีชีวิตเรียบง่าย ตักบาตร ทำบุญ รักษาศีล และนับถือผี โดยส่วนมากเป็นศาสนาพุทธ ศาสนาและการนับถือผีมีบทบาทสำคัญ และมีการอพยพมาจากพม่าเข้ามาอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของไทย ชาวมอญมักอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว และมีความเชื่อเกี่ยวกับโชคลาภและผีแต่งกายเรียบง่าย ผลการวิเคราะห์การสร้างการดำรงลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ชาวพุทธมอญกระทุ่มมืดเชื่อในพระพุทธศาสนาและเคร่งในวินัย โดยเฉพาะการบวชเป็นสิ่งสำคัญ ลักษณะของภาษามอญกระทุ่มมืดเป็นอักษรมอญโบราณที่มีลักษณะเป็นภาษาคำโดด และรับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ และความเชื่อและพิธีกรรมในสังคมไทยผสมผสานระหว่างพุทธศาสนา ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างการดำรงลักษณ์ ชาวพุทธมอญกระทุ่มมืดเกิดขึ้นในช่วงสมัยก่อนโดยมีกำเนิดจากชาวมอญที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ที่มีต้นกระทุ่มมากมาย พิธีกรรมของมอญมีความเชื่อทางศาสนา บางพิธีกรรมมีการใช้เครื่องดนตรีและการแสดงเต้นรำ และการดำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมมอญกระทุ่มมืดมุ่งสู่ความยั่งยืนของชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ และประชาชนร่วมกันผลักดันเพื่อสร้างความสามัคคี</p> พระครูสมุห์อานนท์ อานนฺโท (บุญรอด) Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274482 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Risk Management for the Quality of Educational Administration in Higher Vocational Colleges in Sichuan Province https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275102 <p> Based on an in-depth review and exploration of risk management, educational administration, and stakeholder theories both domestically and internationally, this study proposes risk management strategies from the perspective of stakeholders to improve the quality of educational administration in higher vocational colleges in Sichuan Province, taking into account their specific situations and existing problems. The research objectives include: (1) To study the level of the factors affecting risk management to support the quality of educational administration in higher vocational colleges in Sichuan Province. (2) To study the supportive effect of risk management level in higher vocational colleges in Sichuan Province on the quality of educational administration. (3) To analyze the factors that affect the risk management for the quality of educational administration in higher vocational colleges in Sichuan Province. (4) To provide suggestions on the factors affecting risk management in higher vocational colleges in Sichuan Province to promote the improvement of the quality of educational administration. Research methodology: Combining qualitative and quantitative research. The population used in the study was 976 people from 81 higher vocational colleges in Sichuan Province, including administrative staff, teachers, students, and other stakeholders, with an effective sample size of 976. Stratified sampling method was used. The research instruments used to collect research data include the Likert scales and personnel interview questionnaires. The statistical data used in data analysis include frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient, and multiple regression analysis. The statistical measures used to test hypotheses are t-test and F-test.<br /> The research results indicate that: (1) the risk management for the quality of educational administration in higher vocational colleges in Sichuan Province is at a relatively high level. (2) The factor structure of 7 independent variables and 5 dependent variables was determined, and the fit of the risk management 12 factor model for the quality of educational administration in higher vocational colleges in Sichuan Province was evaluated. The fit index reached a good level, indicating that the logical relationship among the independent and dependent variables is acceptable. (3) As an important component of higher vocational education in China, higher vocational education in Sichuan Province has significant representativeness, and the results of this study are suitable for implementation in the entire field of higher vocational education in China. Suggestion: Government departments and higher vocational colleges at all levels of higher vocational education in China can use the results of this research as a guiding principle for formulating risk management policies, systems, and plans, establishing and improving risk management processes, performance evaluation indicators, and supervision and control systems, thereby promoting the high-quality and sustainable development of Chinese higher vocational education industry. Future research should emphasize the digital transformation of risk management and the impact of changes in the internal and external environment of higher vocational colleges, enrich more measurement projects, and conduct more multidimensional research on risk management. </p> Mingxue Chen, Ganratchakan Lertamornsak Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275102 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสำรวจปัญหา แนวทางการแก้ไข และความต้องการของครูปฐมวัย สังกัดเทศบาลเมืองเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275556 <p> งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แนวทางการแก้ไข และความต้องการพัฒนาด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของครูปฐมวัย สังกัดเทศบาลเมืองในจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูปฐมวัย ในเทอม 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสังเกตการสอน และแบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูปฐมวัยมีปัญหาด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหาหลัก ได้แก่ การขาดผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ การขาดหลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย การขาดความรู้และทักษะภาษาอังกฤษ และทักษะการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย การขาดแคลนสื่อการสอน และการทำหน้าที่พิเศษอื่น ๆ 2) ครูเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดฝึกอบรมให้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง พัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษของเทศบาล เพิ่มงบประมาณสำหรับสื่อการสอน และจัดหาผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา โดยกองการศึกษาของเทศบาลควรร่วมมือกับครูและผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาอังกฤษและการศึกษาปฐมวัย เพื่อช่วยพิจารณาความเป็นไปได้และร่วมกันแก้ไขปัญหาตามแนวทางที่ครูเสนอแนะ และ 3) ครูมีความต้องการฝึกอบรม สัมมนาเพื่อพัฒนาตนเองในระดับมาก ด้านหลักการ เทคนิค และวิธีการสอนและการเรียนรู้ การใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียน และการใช้สื่อและและเทคโนโลยีสำหรับเด็กปฐมวัย โดยต้องการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง พอสรุปได้ว่า ครูปฐมวัยรับรู้และตระหนักถึงปัญหาด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และเห็นความสำคัญของการพัฒนาตนเองด้านการสอนภาษาอังกฤษ</p> มลฤดี สิทธิชัย Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275556 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์กะปิมอญด้วยนวัตกรรมตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ “รุ่นหลังเต่า” เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากในตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275485 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตกะปิมอญของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในตำบลเชียงรากน้อย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์กะปิมอญด้วยนวัตกรรมตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ งานวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยมีประชากรกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 24 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์ การสนทนากลุ่ม และการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ สำหรับข้อมูลเชิงกายภาพและจุลชีววิทยา<br /> ผลการวิจัยพบว่า การผลิตกะปิมอญเป็นกระบวนการที่สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น การนำตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ “รุ่นหลังเต่า” มาใช้ช่วยลดความชื้นและค่าปริมาณน้ำอิสระในอาหาร (a<sub>w</sub>) ของผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพ ความปลอดภัย และมาตรฐานของกะปิ รวมถึงลดการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ “รุ่นหลังเต่า” ยังช่วยลดระยะเวลาการอบแห้ง เพิ่มโอกาสในการขยายตลาด และสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจชุมชน</p> <p>ผลการวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นว่ากะปิมอญที่ผลิตผ่านตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ “รุ่นหลังเต่า” มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกะปิ (มผช.61/2561) และปราศจากเชื้อก่อโรคที่อาจเป็นอันตราย การวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการบูรณาการเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการยกระดับผลิตภัณฑ์ เพิ่มรายได้ และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน</p> ศิริขวัญ บุญธรรม, ปิยะพงษ์ ยงเพชร, วัฒนี บุญวิทยา , นันท์ปภัทร์ ทองคำ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275485 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 คติความเชื่อ : สุนทรียภาพในภาษาและวัฒนธรรมของดนตรีหัวไม้ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275384 <p> การศึกษาคติความเชื่อสุนทรียภาพในภาษาและวัฒนธรรมของดนตรีหัวไม้ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาคติความเชื่อในการเล่นดนตรีหัวไม้ 2) เพื่อศึกษาสุนทรียภาพการใช้ภาษาและภาพสะท้อนความเชื่อในกลอนหัวไม้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษา (Qualitative Research) ใช้กระบวนการสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ นักดนตรีหัวไม้ จำนวน 5 คน ผู้สูงอายุที่มีความรู้ มีประสบการณ์เกี่ยวกับดนตรีหัวไม้ และผู้มีส่วนร่วมในงานพิธีกรรม จำนวน 15 คน โดยมีเป้าหมายเพื่ออธิบายคติความเชื่อของชุมชนผ่านเนื้อหาในบทกลอนร้อง สุนทรียภาพของภาษาและวัฒนธรรมของดนตรีประกอบพิธีกรรม<br /> ผลการศึกษาพบว่า คติความเชื่อในการเล่นดนตรีหัวไม้ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ดนตรีประกอบในพิธีไหว้เจ้าพ่อโหรา เป็นความเชื่อของผู้คนในชุมชน การคุ้มครองผู้คนในชุมชน ให้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากเหตุเภทภัยทั้งปวง และพิธียกศาลประจำบ้าน มีการตั้งช้างประจำศาล เรียกว่า “ช้างเจ้า” สื่อความหมายถึง การถวายช้างต่อเจ้าที่ เพื่อให้เป็นบริวาร ให้เจ้าที่มีความพึงพอใจ และบันดาลความสำเร็จ สมความปรารถนาให้แก่ผู้อาศัยภายในบ้าน ส่วนสุนทรียภาพของภาษาในกลอนหัวไม้ มีคำประพันธ์ลักษณะเป็น กลอนหัวเดียว ความงามในภาษา มีการเล่นเสียงสัมผัสสระ สัมผัสพยัญชนะหรือสัมผัสอักษร การซ้ำคำ และการใช้โวหารภาพพจน์ ได้แก่ อุปมาอุปไมย อุปลักษณ์ อธิพจน์ สัทพจน์ ด้านภาพสะท้อนความเชื่อที่ปรากฏในกลอนหัวไม้ แบ่งออกเป็น 4 ประการ ได้แก่ 1) ความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ 2) ความเชื่อเรื่องการบูชาครู 3) ความเชื่อเรื่องการเกิด ฤกษ์ ยาม 4) ความเชื่อเกี่ยวกับคำสอน การครองเรือนของผู้หญิง</p> วรี เรืองสุข Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275384 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวปฏิบัติและรูปแบบการบริหารจัดการบนฐานความร่วมมือ ในการบริหารจัดการด้านสาธารณสงเคราะห์ แก่ประชาชนโดยใช้วัดเป็นฐาน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274731 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติ และรูปแบบการบริหารจัดการบนฐานความร่วมมือในการบริหารจัดการด้านสาธารณสงเคราะห์แก่ประชาชนที่มีการจัดตั้งศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด-19 ของวัดอินทรวิหาร 2. เพื่อศึกษาโครงสร้าง เงื่อนไข และรูปแบบการบริหารจัดการบนฐานความร่วมมือในการบริหารจัดการด้านสาธารณสงเคราะห์แก่ประชาชน และ3. เพื่อเสนอแนวปฏิบัติ รูปแบบการบริหารจัดการบนฐานความร่วมมือ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารจัดการด้านสาธารณสงเคราะห์แก่ประชาชนโดยใช้วัดเป็นฐาน การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ กรณีศึกษาวัดอินทรวิหาร กรุงเทพมหานคร<br /> ผลการศึกษา พบว่า 1. แนวปฏิบัติและรูปแบบในการบริหารจัดการด้านสาธารณสงเคราะห์แก่ประชาชน ได้แก่ 1. ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม 2. ด้านพระสงฆ์และเจ้าหน้าที่ 3. ด้านประชาชน 4. ด้านสุขาภิบาลและความปลอดภัย 5. การจัดตั้งสถานแยกกักตัวที่วัด 6. จัดตั้งโรงครัวกลาง 7. การบริจาคถุงยังชีพ 8. การจัดตั้งกองทุน 9. การจัดตู้อาหารปันสุข 10. โรงทานเคลื่อนที่ 11. การฌาปนกิจศพฟรี 2. โครงสร้าง เงื่อนไข และรูปแบบสำคัญที่จะทำให้การบริหารจัดการได้อย่างราบรื่น คือ การมีส่วนร่วมในลักษณะที่เป็นภาคีเครือข่าย มีโครงสร้างการบริหารแบบแนวราบและประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และ3. ข้อเสนอแนะแนวปฏิบัติ ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข ควรจัดให้มีการฝึกอบรมพระภิกษุและผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการป้องกันและรับมือในปัญหาอุบัติภัยที่จะเกิดขึ้น และวัดในฐานะที่เป็นฐานการทำงานระดับชุมชน ควรจัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเป็นผู้นำแบบริเริ่ม สร้างการตระหนักรู้และประสานความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และภาคราชการ รวมทั้งภาคเอกชนผ่านกิจกรรมที่ทำให้เกิดการรักษาความเป็นเครือข่ายอย่างยั่งยืน</p> พระครูธรรมคุต (สุทธิพจน์ สัพโส), นภารัตน์ กิตติรัตนมงคล, ธนะชัย สามล Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274731 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลไกภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ระบบนิเวศการเรียนรู้ในการขับเคลื่อน เมืองแห่งการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ในชุมชนเทศบาลนครนครศรีธรรมราช https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275332 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างกลไกภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อกลไกความร่วมมือในการสร้างคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) พัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมในชุมชนเทศบาลนครนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างกลไกความร่วมมือและพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ในการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมประกอบด้วย ผู้นํา ชุมชน ประธาน สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ตัวแทนครู อาจารย์ จากโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 36 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตประกอบด้วย ประชาชนที่เข้ามาใช้พื้นที่การเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมจำนวน 572 คน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และแบบประเมินคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลการวิจัยพบว่า กลไกต่าง ๆ เกิดขึ้นได้จากการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และนักจัดการเรียนรู้ในชุมชน เกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือที่สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน นักจัดการเรียนรู้ชุมชนมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่ ร่วมกันสร้างพื้นที่การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์มีชีวิต เกิดเป็นระบบนิเวศการเรียนรู้ การประเมินคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.42 อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ความแตกต่างของอาชีพหลักของกลุ่มตัวอย่างทำให้มีคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05</p> ประกิต ไชยธาดา, จุติพร อัศวโสวรรณ, สาวิมล รอดเจริญ, พิมพ์ลภัส จิตต์ธรรม, วายุภักษ์ ทาบุญมา , เบญจพร จันทรโคตร Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275332 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารตส์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275492 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารสต์ฯ และวิเคราะห์วิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับนำมาออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารสต์ฯ 2) ออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารสต์ฯ เป็นการวิจัยและพัฒนา Research &amp; Development กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดลูสพารตส์ฯ จำนวน 3 ท่าน และ 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางด้านศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยฯ จำนวน 5 ท่าน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดลูสพารตส์ และ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางด้านศิลปะ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารสต์ฯ และวิเคราะห์วิธีการการจัดการเรียนรู้สำหรับนำมาออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารสต์ฯ มีองค์ประกอบทั้งหมด 6 ขั้นตอน เป็นองค์ประกอบที่ครูผู้สอนหรือผู้จัดกิจกรรมจะต้องจัดเตรียมก่อนเริ่มดำเนินการจัดกิจกรรมกับเด็ก ๆ และ 2) การออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารสต์ฯ เป็นขั้นตอนการดำเนินการจัดกิจกรรมให้แก่เด็ก ๆ สิ่งสำคัญของการออกแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารตส์ฯ คือ การเลือก และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้มีความแตกต่างกันอย่างน้อย 7 ประเภทขึ้นไป เช่น ดิน ไม้ หิน พลาสติก โลหะ แก้ว และผ้า เป็นต้น จะต้องเป็นวัสดุที่สามารถ หยิบ จับ เคลื่อนย้าย หรือประกอบขึ้นใหม่ได้ ซึ่งมีความแตกต่างจากกิจกรรมศิลปะแบบเดิมที่เด็กจะต้องสร้างสรรค์ให้เสร็จเพียงครั้งเดียว ดังนั้น วัสดุอุปกรณ์จะต้องสามารถเคลื่อนย้ายและสร้างใหม่ได้ และจะต้องมีความสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้</p> <p> </p> จันทนา ชัยโอภานนท์ , โสมฉาย บุญญานันต์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275492 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีประสิทธิผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275309 <p> งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) พัฒนารูปแบบ และ 3) ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่มีประสิทธิผลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นวิธีวิทยาการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชน 508 คน ได้จากการใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Strate file Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบ 2) พัฒนารูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ 5 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และ 3) ตรวจสอบรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 9 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์ เครื่องมือที่ใช้ คือแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ การแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ และ สภาพที่พึงประสงค์การจัดกิจกรรมนักเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติตน และด้านทักษะพื้นฐานในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) รูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีประสิทธิผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการและแนวคิด(2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหาและการพัฒนา (4) วิธีการและการพัฒนา (5) ) การวัดและประเมินผล และ (6) เงื่อนไขความสำเร็จ และ 3) รูปแบบการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่มีประสิทธิผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด</p> กันต์ณิฐา ภัทรางกูน, นพรัตน์ ชัยเรือง , เอกรินทร์ สังข์ทอง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275309 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยมูลเหตุพฤติกรรมการติดยาเสพติดของวัยรุ่นในประเทศไทย: การวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนระหว่างวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274854 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการติดยาเสพติดของวัยรุ่นในประเทศไทย 2) เพื่อพัฒนาแบบจำลองปัจจัยมูลเหตุพฤติกรรมการติดยาเสพติดของวัยรุ่นในประเทศไทย 3) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของแบบจำลองปัจจัยมูลเหตุพฤติกรรมการติดยาเสพติดของวัยรุ่นกับข้อมูลเชิงประจักษ์และ 4) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของแบบจำลองปัจจัยมูลเหตุพฤติกรรมการติดยาเสพติดของวัยรุ่นชายและหญิงในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดยาเสพติดจำนวน 6 คนและ วัยรุ่นที่ได้รับการบำบัดยาเสพติดจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนีจำนวน 13 คน ประชากรของการวิจัยเชิงปริมาณคือ วัยรุ่นอายุ 15-20 ปีที่ได้รับการบำบัดยาเสพติดจากสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด แห่งชาติบรมราชชนนี และหน่วยงานในสังกัดจำนวน 825 คน จำนวนตัวอย่าง 410 ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดยาเสพติดจำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามซึ่งมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติสมการเชิงโครงสร้าง และสถิติการวิเคราะห์พหุกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าปัจจัย ครอบครัว สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และ จิตวิทยามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเสพยาเสพติดของวัยรุ่น (ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.49, 0.78 , 0.36 และ 0.58 ) แบบจำลองปัจจัยมูลเหตุพฤติกรรมการติดยาเสพติดของวัยรุ่นในประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และไม่พบความแปรเปลี่ยนของแบบจำลองระหว่างวัยรุ่นชายและหญิง</p> อารดา คูเจริญ, จำเนียร ชุณหโสภาค , ปิยฉัตร ล้อมชวการ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274854 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275705 <p> การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารงานวิชาการและทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และ 3) สร้างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลของสถานศึกษา โดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีพหุระยะ (Multi - phase mixed method research) กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ สถานศึกษา จำนวน 400 ราย ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายของยามาเน่ (Yamane, 1973) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา <br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิด 1.1) การบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (2) การจัดการเรียนการสอน (3) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ และ (4) การวัดและประเมินผล 1.2) ทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย (1) การเข้าใจดิจิทัล (2) ทักษะการใช้ดิจิทัล (3) ทักษะการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล และ (4) ทักษะการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงดิจิทัล 2. ความต้องการจำเป็นที่ต้องพัฒนาลำดับแรก 2.1) ด้านการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ ด้านการวัดและประเมินผล และ 2.2) ทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล ได้แก่ ด้านการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงดิจิทัล 3. การสร้างกลยุทธ์ 3.1) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษามี 4 กลยุทธ์หลัก 8 กลยุทธ์รอง และ 19 วิธีดำเนินการ 3.2) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน</p> เวชชกิจ แก้วศรีหาวงศ์, สุบิน ยุระรัช , เกรียงไกร สัจจะหฤทัย Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275705 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Analysis of Influencing Factors and Characteristics of Chinese Painting in Song Dynasty (960-1279 Ad) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274841 <p> The following research is explored in this paper: This study aims to identify the key factors that shaped the artistic characteristics of Chinese paintings during the Song Dynasty. This paper seeks to elucidate the relationship and role between the artistic characteristics of Chinese paintings in the Song Dynasty and the influencing factors. What part can the relationship between the factors that formed Chinese paintings in the Song Dynasty play in the fields of contemporary art education, social art development, and personal art development?<br /> The objective of this research is to:<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. To analyze and study the factors and categories that influence the artistic characteristics of Chinese painting in the Song Dynasty.<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. To determine the relationship and role of the formal and aesthetic characteristics of Song Dynasty Chinese paintings with influencing factors.<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. To explore the relationship between the formation factors of Song Dynasty Chinese painting and its impact on contemporary art education, social art development, and personal art development.<br /></span> In this study, data were collected through the administration of questionnaires and the conduct of expert interviews, and subsequently verified through the utilisation of a range of analytical techniques, including descriptive statistics, difference analysis, correlation analysis, structural equation modelling (SEM) validation, consistency analysis and other methods.<br /> In conclusion, This thesis examines the factors and characteristics that shaped Chinese painting during the Song Dynasty (960-1279 AD). It finds that political stability and turmoil influenced the style and subject matter of painting, economic development fostered the painting market and innovation, social and cultural changes and religious diffusion enriched the content of painting, artistic exchanges enhanced expressiveness, and the development of the academy system promoted the systematization of painting theory and practice. In conclusion, the development of the Song Dynasty and the characteristics of the times still have value in terms of systematic research on the reform of modern Chinese painting education and the college system. This is particularly relevant in the current social environment, in order to meet the needs of social development and the people's overall improvement of aesthetic literacy.</p> <p> </p> Mo Wang , Sakon Phu-ngamdee Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274841 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Symbolic Images Reflecting Peranakan Culture in Drama Series of the Little Nyonya https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275351 <p> This study employed qualitative content analysis to explore the representation of Peranakan cultural identity through costumes in “The Little Nyonya.” The research aimed to identify and categorize key garments, styles, and accessories in the series, while analyzing how character attire reflects cultural identity, social status, and personality traits. Data was drawn from selected episodes, supported by scholarly resources on Peranakan culture and costume design. The sample included prominent characters, such as Huang Juxiang, Yamamoto Yueniang, Chen Sheng, and Chen Xi, and significant scenes like weddings, family gatherings, and business meetings. The analysis involved categorization, coding, and thematic exploration, with results visualized through tables and graphics.<br /> The findings reveal that costumes in “The Little Nyonya” act as cultural artifacts, embodying Peranakan heritage and identity. Iconic garments, such as Kebayas, Sun Yat Sen-style shirts, and Western suits, highlight the interplay of tradition and modernity, reflecting the cultural hybridity of Peranakan identity. Costumes and accessories also delineate social hierarchies, with intricate designs and colors signifying wealth and status, while reflecting characters' personalities and societal roles. These insights have applications in education, media production, and heritage tourism, fostering cultural awareness and authenticity. Future research could explore audience reception, comparative media analyses, and the globalization of Peranakan attire, further enriching the understanding of cultural preservation and hybrid identity evolution.</p> Nattavadee Wuttirut , Pittaya Limbut Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275351 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคใต้ฝั่งอันดามัน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275437 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ 2) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคใต้ ฝั่งอันดามัน โดยมิวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ขั้นตอนที่ 1 ใช้การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และขั้นตอนที่ 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคใต้ฝั่งอันดามัน จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ เหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า <br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคใต้ฝั่งอันดามัน ที่สามารถนำไปบูรณาการสู่การปฏิบัติได้จริง มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐาน หลักการ และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 เนื้อหาประกอบด้วย องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และกระบวนการบริหารบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ และส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเทศบาล พบว่า ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> <p> </p> กาญจน์นิภาวรรณ สนิทรักษ์, อโนทัย ประสาน , พร้อมพิไล บัวสุวรรณ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275437 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Use of FIF Mobile Application in CLT to Improve English-Speaking Skills of Vocational College Students in Sichuan Vocational College of Health and Rehabilitation in China https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275371 <p> The purposes of this research were to compare changes in students' English-speaking skills before and after using the FIF mobile app, assess the impact of combining FIF apps with the Communicative Language Teaching (CLT) method on students' learning attitudes, and examine the perceived effects of test preparation for the College English Test Band 4 (CET4) on language ability and test performance. The study utilized a quantitative research design, employing a questionnaire as the primary research instrument. A sample of 30 first-year students from Sichuan Vocational College of Health and Rehabilitation were selected through stratified random sampling and participated in an eight-week experiment. Data collection involved pre-test and post-test measurements using the CET4-SET evaluation framework. Regression analysis was applied to assess the relationship between perceived improvements in language attributes, learning attitudes, and actual CET4 performance.<br /> The results of this research study have found that integrating the CLT method with the FIF mobile app significantly enhanced students' English-speaking skills. Approximately 50% of the participants achieved a grade of B or above in the post-test, while over 70% reported positive changes in their learning attitudes. These results suggest that the combined approach of CLT and FIF apps is effective for improving both language skills and student engagement. Future research could explore the long-term impact of such interventions and their application in diverse educational contexts.</p> Jiaqi Cai , Prasong Saihong Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275371 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 เทคนิคการบรรเลงไซโลโฟนที่พัฒนาขึ้นจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมของดนตรีไทยและดนตรีตะวันตก เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับวงการดนตรี และเสริมสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรมของประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274929 <p> งานวิจัยสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาดนตรีเทคนิคการตีเครื่องกระทบแบบดนตรีไทยและแบบดนตรีร่วมสมัยจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ภาวัช หลวงสุนทร เปรียบเทียบกับเทคนิคการตีแบบเครื่องดนตรีตะวันตก 2) เพื่อสร้างเทคนิคการบรรเลงไซโลโฟนจากองค์ความรู้การตีเครื่องกระทบของดนตรีไทย เพื่อใช้ในการแสดงดนตรีร่วมสมัย โดยมีการประยุกต์ใช้เฉพาะสำหรับการบรรเลงบทเพลง "The Concerto for Piano, Percussion, and Winds" ประพันธ์โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินวัฒน์ มั่นทรัพย์ นำแสดงโดยผู้วิจัย เกษม ทิพย์เมธากุล ในฐานะนักดนตรีเดี่ยวเครื่องกระทบ ขั้นตอนการวิจัยมี ดังนี้ 1) ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 2) สร้างสรรค์เทคนิค และ 3) ทดลอง วิเคราห์ และนำไปใช้จริง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) เทคนิคการตีเครื่องกระทบจากดนตรีไทย เช่น การจับไม้ ตำแหน่งการจับไม้ มีความแตกต่างจากดนตรีตะวันตก 2) การประยุกต์ใช้เทคนิคการจับไม้และการตีจากเครื่องดนตรีไทยจากกการตีระนาดเอกมาผสมผสานกับเทคนิคแบบตะวันตก สามารถช่วยให้นักดนตรีเครื่องกระทบสามารถเรียนรู้การเล่นไซโลโฟนได้รวดเร็วขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้วิจัยได้ผลจากการศึกษาเป็น “เกษมเทคนิค” สามารถสรุปได้เป็นเจ็ดหัวข้อ ดังนี้ 1.วิธีการถือไม้ 2. ตำแหน่งการวางมือ 3. กลไกการใช้นิ้วมือ 4. การสั่นข้อมือ 5. ท่าทางการยืนและการเคลื่อนไหวด้านข้าง 6. การควบคุมระดับเสียง 7. การแบ่งระดับการควบคุมระดับเสียง <strong> </strong>ผลจากงานวิจัยสร้างสรรค์นั้น หลังจากการนำไปในการแสดงต่อสาธารณะพบว่า “เกษมเทคนิค” สามารถช่วยลดระยะเวลาการซ้อม นำไปใช้บรรเลงเพลงได้จริงในระยะสองถึงสามเดือน</p> เกษม ทิพยเมธากุล Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274929 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275221 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน ศึกษาปัจจัยที่ส่งผล และศึกษา แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างเชิงปริมาณกับเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 322 คน โดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิธีแบบขั้นตอน ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามรถ จำนวน 12 คน คัดเลือกวิธีการแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. สภาพการดำเนินงานของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 4 ด้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ประสิทธิผลด้านการให้บริการ รองลงมา คือ ประสิทธิผลด้านโครงสร้างพื้นฐาน และประสิทธิผลด้านการเรียนรู้และพัฒนา และประสิทธิผลด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ ตามลำดับ<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาเกษตรปลอดภัย ด้านการจัดวางผังเมืองและพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัยคุณภาพชีวิตของประชาชนและสังคมที่เข้มแข็ง ด้านการยกระดับคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวและส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล ด้านการส่งเสริมพลังงานทดแทน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามลำดับ สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนามากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น (Beta = 0.680) ได้ค่า Adjusted R Square = 0.656 หรือร้อยละ 65.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. แนวทางด้านการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า สิ่งสำคัญที่สุดต้องเริ่มจากภาวะผู้นำในองค์กร โดยเฉพาะบทบาทของการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และรอบด้านทั้งภายในภายนอก เพื่อให้รู้จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรด้วยการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และความสามารถในการปรับตัว ที่สำคัญภาวะผู้นำจะต้องแสดงออกถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายขององค์กรที่ชัดเจน สร้างแนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรมและมีทักษะในการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน การบูรณาการ การทำงานเป็นทีม การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ มุ่งสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างงาน สร้างสุขไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดความรักความผูกพันของทุกคนทุกฝ่ายในการร่วมมือ ร่วมใจกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างพลัง สร้างขวัญและกำลังใจให้กัน เนื่องด้วยประสิทธิผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาในทุกระดับ</span></p> ธนิศร พงศ์พิทักษ์โยธิน, ศรชัย ท้าวมิตร , โชติ บดีรัฐ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275221 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275385 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ระดับการรู้เท่าทันสื่อ และปัจจัยที่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรเป็นผู้สูงอายุที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี 1) การสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเพื่อตอบแบบสอบถาม จำนวน 94 คน และ 2) การเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 13 คน<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ รู้จักและเลือกใช้แอปพลิเคชัน ไลน์มากที่สุด เพื่อรับข่าวสาร ติดต่อสื่อสารกันระหว่างคนในครอบครัว เพื่อน และคนในชุมชน เคยได้รับข่าวปลอมและเคยมีมิจฉาชีพโทรมาหลอกลวง ส่วนใหญ่จะนำไปปรึกษาคนในครอบครัวและเพื่อนก่อน 2) ระดับการรู้เท่าทันสื่อสังออนไลน์ของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีระดับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับน้อย 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจัยเพศและอายุ ไม่มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ ส่วนปัจจัยระดับการศึกษาและอาชีพ มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเข้าถึง ด้านการวิเคราะห์ และด้านการประเมินค่า และปัจจัยรายได้ มีผลต่อการรู้เท่าทันสื่อทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเข้าถึง ด้านการวิเคราะห์ ด้านการประเมินค่า และด้านการสร้างสรรค์ </p> พรนภา พุทธรักษา , วาทิตา เอื้อเจริญ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275385 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 วิเคราะห์การบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทยตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274491 <p> วิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของการบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทยตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2) วิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทยที่ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ด้านความเป็นมา ข้อดี ข้อเสียของ ของพระราชบัญญัติแต่ละฉบับ และผลกระทบที่เกิดขึ้น 3) นำเสนอรูปแบบเชิงนโยบาย เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพระธรรมวินัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 7 รูป/คน คัดเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีวิเคราะห์แบบอุปนัย นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนา<br /> ผลการวิจัย พบว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ตราขึ้นในสมัยรัฐบาลเผด็จการ ไม่มีการกลั่นกรองหรืออภิปรายใด ๆ มีหลายมาตราที่ขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัย คณะสงฆ์ไม่มีส่วนร่วมในการออกกฎหมายต้องจำยอมตกเป็นผู้ถูกปกครอง เมื่อวิเคราะห์ฺเปรียบเทียบการบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทยที่ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ มีบัญญัติไว้เฉพาะงานด้านการปกครอง ไม่ครอบคลุมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านอื่น ๆ งานวิจัยนี้จึงได้เสนอรูปแบบเชิงนโยบายการบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพระธรรมวินัย ปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิกบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัย หรือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งพบว่าการเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญาของพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์นั้น ไม่ได้รวมถึงเจ้าอาวาสด้วย เพราะเจ้าอาวาสเป็นเพียงผู้ปกครองวัด ไม่ใช่ผู้ปกครองคณะสงฆ์จึงไม่เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา จึงไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเจ้าพนักงานของรัฐตาม พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2561</p> พระครูวินัยธร ภาณุมาศ ภาณุปาโณ (ปานศิลา) Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274491 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตและอาชีพ ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275486 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูนิเทศฝึกประสบการณ์สมรรถนะวิชีพ จำนวน 120 คน และนักเรียนฝึกประสบการณ์สมรถนะวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวน 1,200 คน ปีการศึกษา 2567 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสำหรับนักเรียน และแบบสอบถามสำหรับครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงปริมาณ การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ (MCFA) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ <br /> ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้<br /> 1. ผลการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พบว่า ระดับนักเรียนมีความคิดเห็นที่มีต่อทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 มากที่สุดคือด้านสภาพแวดล้อมภายในครอบครัวและด้านสภาพแวดล้อมภายในวิทยาลัย รองลงมาคือด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนระดับวิทยาลัยมีความคิดเห็นที่มีต่อทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 มากที่สุดคือ ด้านคุณภาพการสอนของครูและด้านผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร<br /> 2. ผลการวิเคราะห์พบว่าโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มีความตรงเชิงโครงสร้างหรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถแสดงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุได้ทั้งในระดับนักเรียนและระดับวิทยาลัย โดยพิจารณาจากค่าดัชนีที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ chi-square= 543.146, df=483, =1.125, p-value=0.030, RMSEA=0.010, CFI = 0.994, TLI = 0.992, SRMRw = 0.017 และ SRMRb = 0.430<br /> 3. ตัวแปรระดับนักเรียนที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 คือ สภาพแวดล้อมในวิทยาลัย โดยมีขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.808 (R2 มีค่าระหว่าง 0.435-0.682) สภาพแวดล้อมในครอบครัว มีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.035 (R2 มีค่าระหว่าง 0.462-0.649) และคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ -0.069 (R2 มีค่าระหว่าง 0.526-0.629) ส่วนตัวแปรระดับวิทยาลัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 คือ ผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.747 (R2 มีค่าระหว่าง 0.646-0.906) และคุณภาพการสอนของครู โดยมีขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ -0.079 (R2 มีค่าระหว่าง 0.756-0.961) ทั้งนี้ชุดของตัวแปรทำนายระดับนักเรียนและระดับวิทยาลัยสามารถอธิบายความแปรปรวนในทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ได้ร้อยละ 43.50 – 96.10</p> อาริสา สุปน , สุกัญญา รุจิเมธาภาส Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275486 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 สถูปและรูปแบบสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในยุคทวารวดี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274467 <p> งานวิจัยเรื่อง “สถูปและรูปแบบสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในยุคทวารวดี” ใช้วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 รูป/คน กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group) ประกอบด้วย กลุ่มเจ้าอาวาส กลุ่มกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโบราณคดี และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านเฉพาะทาง ที่มีความเกี่ยวข้องกับโรงเรียน รวมทั้งสิ้น 7 รูป/คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการคืนข้อมูล <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) สถูปมีประเพณีการสร้างสำหรับบรรจุอัฐิธาตุมาแต่ก่อนพุทธกาล ไม่เฉพาะแต่สำหรับบรรจุอัฐธาตุของพระเจ้าจักรพรรดิเท่านั้น สถูปที่สร้างบรรจุอัฐิธาตุบุคคลอื่น ๆ ก็มีพระสถูปเจดีย์ที่พุทธศาสนิกชนได้ก่อสร้างขึ้นไว้ในบวรพระพุทธศาสนา รวมถึงสถูปเชิงสัญลักษณ์ สถูปเจดีย์ในพระพุทธศาสนาเป็นมรดกสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญทั้งทางศาสนาและวัฒนธรรม โดยไม่เพียงแต่เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและอัฐิธาตุของพระอรหันตสาวก แต่ยังถือเป็นศูนย์รวมจิตใจและศรัทธาของพุทธศาสนิกชน เป็นแหล่งทัศนะศึกษา และเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา มีบทบาทในการรักษาประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อมโยงกับอารยธรรมของชาติและจักรวาลในแง่การค้ำจุนศาสนาและความสุขสมบูรณ์ของประเทศและโลก คำว่า สถูปและเจดีย์ เรามักรวมเรียกว่า “สถูปเจดีย์” หรือ “เจดีย์” มีความหมายเฉพาะถึงสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ หรือเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในสมัยหลังลงมาคงมีการสร้างสถานที่เพื่อบรรจุอัฐิธาตุ และเพื่อเคารพบูชาระลึกถึงพร้อมกันไปด้วย การสร้างเจดีย์นอกจากจะมีความหมายดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีประเพณีบรรจุสิ่งของมีค่า รวมทั้งพระพิมพ์จำนวนมาก ไว้ในกรุขององค์เจดีย์ ซึ่งมีนัยว่าเป็นการสืบทอดพระศาสนา</p> พระครูปลัดไพศาล กมฺพูสิริ (มงคลทอง) Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274467 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายกับการวินิจฉัยกรณีพระภิกษุต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาบนฐานพระวินัยบัญญัติ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274480 <p> งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายกับการวินิจฉัยกรณีพระภิกษุต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาบนฐานพระวินัยบัญญัติ 2) เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรคการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายกับการวินิจฉัยกรณีพระภิกษุต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาบนฐานพระวินัยบัญญัติ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายกับการวินิจฉัยกรณีพระภิกษุต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาบนฐานพระวินัยบัญญัติ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 26 รูป/คน และสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 8 รูป/คน สะท้อนความคิดเพื่อยืนยันข้อมูลสรุปผลการวิจัย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) คำว่า <strong>“</strong><strong>สละสมณเพศ</strong><strong>”</strong> เป็นคำศัพท์ทางกฎหมายที่ไม่มีการกำหนดคำนิยามเป็นการเฉพาะ ไม่ชัดเจนในตัวบทกฎหมายทั้งในแง่ความหมาย และแนวทางวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ 2) คำว่า <strong>“</strong><strong>สละสมณเพศ</strong><strong>”</strong> ไม่มีตามพระวินัยบัญญัติ การขาดจากความเป็นพระภิกษุ มี 3 อย่างคือ (1) ปาราชิก (2) ลาสิกขา (3) เข้ารีตเดียรถีย์ กรณีที่พระภิกษุเอื้อเฟื้อต่อพระราชา (กฎหมาย) คือการเปลี่ยนจากการนุ่งห่มจีวรเป็นชุดอื่นตามระเบียบของเรือนจำ หากยังมีสมณสัญญาย่อมได้ชื่อว่าเป็นพระภิกษุ จึงไม่สามารถนำคำว่า “สละสมณเพศ” มาอธิบายถึงการขาดจากความเป็นพระภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ 3) พระภิกษุควรเอื้อเฟื้อพระราชา (กฎหมาย) และอนุวัตตามในกรรมที่เป็นธรรมอย่างอื่นได้ แต่ไม่ควรอนุวัตตามแก่ใคร ๆ ในกรรมอันไม่เป็นธรรม เช่น มติมหาเถรสมาคมที่ผิดหลง ดังพระบาลีที่ว่า <strong>“ตสฺมา</strong> <strong>อญฺญฃสฺมึ จ</strong> <strong>ธมฺมิเก</strong> <strong>กมฺเม</strong> <strong>อนุวตฺติตพฺพํ</strong> <strong>อธมฺมิเก</strong> <strong>ปน</strong> <strong>น</strong> <strong>กสฺสจิ</strong> <strong>อนุวตฺติตพฺพํ</strong><strong>”</strong> ปัญหาที่พบคือ เลขาธิการมหาเถรสมาคมนำเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ขัดต่อกฎหมาย พระวินัยบัญญัติ มติมหาเถรสมาคม ข้อเท็จจริง และไม่สอดคล้องกับแนวจารีต ที่มหาเถรสมาคมเคยปฏิบัติมาในอดีตว่า ก่อนพิจารณา หรือในระหว่างพิจารณาถ้าปรากฏว่า เรื่องนั้นได้มีการฟ้องร้องกันในศาลฝ่ายราชอาณาจักร ให้รอการพิจารณาเรื่องนั้นไว้ก่อน จึงเป็นเหตุให้มีมติมหาเถรสมาคมที่ผิดหลง</p> <p>แนวทางแก้ไขปัญหาคือ 1) ยกเลิกคำว่า “สละสมณเพศ” 2) หรือบัญญัติคำนิยามคำว่า “สละสมณเพศ” ให้ชัดเจนว่าหมายถึงอะไร เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการต้องทำอย่างไร และควรกำหนดว่าการเปลี่ยนจากนุ่งห่มจีวร เป็นเครื่องนุ่งห่มอื่นตามกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับการขาดหรือพ้นจากความเป็นพระภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ 3) ระหว่างสอบสวน หรือพิจารณาคดี หากพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือ ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ให้มีสถานที่ควบคุมอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 89/1 4) บัญญัติกฎหมาย และกฎมหาเถรสมาคมให้มีการเยียวยา พระภิกษุผู้ได้รับผลกระทบ 5) ยกเลิกมติมหาเถรสมาคมที่ผิดหลงทุกมติ</p> พระปลัด ศานิตย์ นิจฺจงฺคุโณ (พงษ์จตุรา) Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274480 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274614 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก โดยผู้วิจัยใช้เกณฑ์ของการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 20 เท่า ต่อตัวแปรที่สังเกตได้ 1 ตัวแปร โดยในงานวิจัยมีตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด 15 ตัวแปรสังเกตได้ คือ 300 คน ดังนั้นจึงกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจริง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.54 – 0.77 และค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.93<br /> ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการเรียนการสอน และ 5) การวัดประเมินผล</p> <p>องค์ประกอบของสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านความสามารถในการคิดและการใช้เหตุผล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.95 2) ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.94 และ 3) ด้านความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.99 ทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมรรถนะทางคณิตศาสตร์และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ค่าสถิติไค-สแคว์เท่ากับ 70.77 , df = 57, p = 0.11 , CFI = 0.99, AGFI = 0.96, RMSEA = 0.025 แสดงว่าโมเดลที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาอธิบายสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ได้ และสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์</p> กานต์วลี อ่ำประเวทย์, สุวรรณา จุ้ยทอง , กันต์ฤทัย คลังพหล Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274614 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล สู่การสร้างนวัตกรรมชุมชนต้นแบบวิถีพุทธ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาญจนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274466 <p> งานวิจัยเรื่อง “การขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล สู่การสร้างนวัตกรรมชุมชนต้นแบบวิถีพุทธ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ จังหวัดกาญจนบุรี” มีวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย ๑) เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงานพันธกิจของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล เขตปกครองคณะสงฆ์ กาญจนบุรี ๒) เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานด้วยนวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล เขตปกครองคณะสงฆ์ กาญจนบุรี ๓) เพื่อขับเคลื่อนหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล เขตปกครองคณะสงฆ์ กาญจนบุรี ด้วยนวัตกรรมชุมชนวิถีพุทธ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๑๗ ท่าน และการสนทนากลุ่ม จำนวน ๑๐ ท่าน</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า ผลสังเคราะห์การดำเนินงานพันธกิจทั้ง ๘ ด้าน ปัจจุบันนี้การดำเนินงานพันธกิจทั้ง ๘ ด้าน ของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลขึ้นอยู่กับเจ้าอาวาสที่เป็นประธานหน่วยว่าจะบริหารและจัดการอย่างไร คณะกรรมการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลไม่มีการประชุมปรึกษาวางแผนในการดำเนินงาน ไม่มีรูปแบบของการจัดกิจกรรมที่ชัดเจนและยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการดำเนินงานผนวกกับขาดการกำหนดนโยบายเชิงพัฒนาอย่างสอดคลองกับนโยบายทองถิ่น และกิจกรรมที่ดำเนินงานยังไม่ตรงตามความต้องการของประชาชนในชุมชนจึงทำให้การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายเท่าที่ควรและขาดการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐจึงไม่ค่อยได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเท่าที่ควร การกำหนดกิจกรรมยังไม่สอดคล้องกับพันธกิจทั้ง ๘ ด้านและประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานพันธกิจของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลจึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับโครงการต่างๆ</p> พระครูสวัสดิ์กาญจโนภาส (ทัตพล แผลงปาน) Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274466 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของการพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดนนทบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275481 <p> ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีอัตราการแพร่ระบาดของยาเสพติดสูง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และศึกษาผลของการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ติดสารเสพติดในชุมชนมัสยิดหมู่ที่ 10 ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 40 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้นำชุมชน อสม. และหน่วยงานภาครัฐ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพสำหรับข้อมูลเชิงพรรณนา<br /> ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนมีโครงสร้างและกระบวนการดำเนินงานที่เป็นระบบ ประกอบด้วย การแต่งตั้งคณะกรรมการ การจัดทำบันทึกความร่วมมือ การจัดตั้งศูนย์ CBTx และกระบวนการดำเนินงานในศูนย์ที่ครอบคลุมตั้งแต่การค้นหาและคัดกรองผู้ป่วย การให้คำปรึกษาและบำบัด การติดตามผล และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย ผลการดำเนินงานพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 27.50 สามารถเลิกใช้ยาเสพติดได้ และอัตราการกลับไปใช้ยาเสพติดลดลงอย่างชัดเจน และชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนารูปแบบอยู่ในระดับมาก (𝒙̅ = 4.32, S.D. = 0.57) โดยเฉพาะในมิติร่วมคิด ร่วมดำเนินการ และร่วมรับผลประโยชน์ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ การมีผู้นำชุมชนที่มุ่งมั่นทำหน้าที่เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนโครงการ ร่วมกับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น รพ.สต., อบต., และสำนักงาน ปปส. ที่ให้คำแนะนำ สนับสนุนทรัพยากร และส่งเสริมศักยภาพของชุมชน รวมทั้งความร่วมมือจากครอบครัวและชุมชนในการสนับสนุนการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย<br />ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรขยายผลการใช้รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่อื่น ๆ ที่ประสบปัญหายาเสพติด โดยบูรณาการความร่วมมือจากชุมชน หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและยั่งยืน</p> สันติ โพธิ์ทอง; มนัชญา เสรีวิวัฒนา Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275481 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การบริหารจัดการวัดเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275372 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค วัดขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ในการบริหารจัดการวัดตามกฎมหาเถรสมาคม ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการวัดตามกฎมหาเถรสมาคม และเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการวัด เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิธีแบบขั้นตอน ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระและประชาชน จำนวน 88 รูป/คน คัดเลือกวิธีการแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) สภาพปัญหา อุปสรรค วัดขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ พบว่า วัดขนาดเล็ก ขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ขาดบุคลากรที่มีทักษะในการบริหารจัดการที่ดี ขาดแคลนทรัพยากรจากภาครัฐหรือองค์กรการกุศลในการสนับสนุนการบริหารจัดการ ขาดพระสงฆ์หรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทำให้การดูแลและจัดการทรัพย์สินหรือการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ไม่เป็นไปตามระเบียบ วัดขนาดกลาง ขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ วัดขนาดกลางอาจมีทรัพยากรมากกว่า แต่ยังขาดการบริหารจัดการที่มีระเบียบและระบบในการจัดการภายในวัด ขาดการประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ ปัญหาด้านการเงินและการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละด้าน เช่น การเผยแผ่ธรรม การจัดการศึกษา ขาดทักษะในการปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ แม้ว่าวัดขนาดกลางจะมีบุคลากรจำนวนมาก แต่บางครั้งอาจขาดทักษะในการปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยมหาเถรสมาคม เช่น การจัดการการเงิน หรือการดูแลทรัพย์สินตามที่กำหนด วัดขนาดใหญ่ การบริหารจัดการที่ซับซ้อน วัดขนาดใหญ่ที่มีหลายแผนกหรือหลายหน่วยงานทำให้การบริหารจัดการด้านการปกครองซับซ้อน และต้องการการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างแผนกต่างๆ ปัญหาด้านการติดตามผล สามารถทำได้ยาก ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เหมาะสมในบางกรณี ทำให้บางแผนกหรือหน่วยงานอาจได้รับทรัพยากรไม่เพียงพอ การขาดความโปร่งใสในการบริหารงาน ขาดการประสานงานระหว่างภาคส่วนต่างๆ เป็นไปได้ยาก ส่งผลให้การดำเนินการไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้</p> <p>2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการวัดตามกฎมหาเถรสมาคม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการปกครอง รองลงมา คือ ปัจจัยด้านการศาสนศึกษา ปัจจัยด้านการศึกษาสงเคราะห์ ปัจจัยด้านการเผยแผ่พุทธศาสนา ปัจจัยด้านสาธารณสงเคราะห์ และปัจจัยด้านการสาธารณูปการส่วนปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการสาธารณสงเคราะห์ (Beta = 0.905) ได้ค่า Adjusted R Square = 0.579 หรือร้อยละ 57.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</p> <p>3) แนวทางการบริหารจัดการวัดตามกฎมหาเถรสมาคม พบว่า ควรมีการพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารจัดการครอบคลุมบ้าน วัด โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างระบบการตรวจสอบภายในให้มีความโปร่งใส มีการจัดทำแผนงานที่ชัดเจนสอดคล้องกับภารกิจของวัด เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐและองค์กรอื่นๆ ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการปรับปรุงกระบวนการบริหารให้มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาและสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างยั่งยืน</p> พระมหาชัชรินทร์ ชิตบุญ , กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ , ภาสกร ดอกจันทร์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275372 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการจัดการเรียนรู้สืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการ เรื่อง ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271014 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้สืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา เรื่อง ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม และ 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้สืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา เรื่อง ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสขนาดกลางแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรมและแบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์ด้านเนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้สืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา เรื่อง ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ควรมีลักษณะดังนี้ ครูออกแบบกิจกรรมที่เป็นการเชื่อมโยงสาระสำคัญของการเรียนรู้กับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันมาใช้ในการกำหนดประเด็นปัญหาให้แก่นักเรียนโดยนักเรียนจะมีการศึกษาสาระสำคัญผ่านกระบวนการทำงาน มีการสร้างกลวิธีในการแก้ปัญหา กำหนดบทบาทหน้าที่ และมีการบริหารจัดการกระบวนการทำงานด้วยตัวเอง รวมถึงตรวจสอบสาระสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการอภิปรายหลักฐานเชิงประจักษ์ ภายใต้การอำนวยความสะดวกโดยครูผู้สอน และผลการจัดการเรียนรู้สืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา เรื่อง ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมหลังการจัดการเรียนรู้ครบทั้ง 3 วงจรปฏิบัติการ พบว่านักเรียนมีพัฒนาการในองค์ประกอบที่ 1</p> กรรณิการ์ กาวิลัย, สุรีย์พร สว่างเมฆ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271014 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Training Curriculum Development for Enhancing Digital Technology for Learning Management Abilities of Vocational College Lecturers in Jiangsu Province, People’s Republic of China https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275344 <p>Ability to manage the digital technology for teaching and learning is the first priority for vocational college lecturers in the present time. This study aimed: 1) to analyze current situations and needs on digital technology for learning management abilities of vocational college lecturers; 2) to design and develop the training curriculum for enhancing digital technology for learning management abilities of vocational college lecturers; 3) to implement the training curriculum for enhancing digital technology for learning management abilities of vocational college lecturers;and 4) to evaluate the training curriculum for enhancing digital technology for learning management abilities of vocational college lecturers in Jiangsu Province, Peoples’ Republic of China. This study was divided into four phases: Phase 1 Studying and analyzing the current situations and needs on digital technology for learning management abilities of vocational college lecturers. The samples were 100 lecturers, 100 students and 100 graduates from Wuxi Vocational College of Science and Technology. A questionnaire was designed to assess the digital technology for learning management abilities of vocational college lecturers. The collected data were analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation; Phase 2 Developing the training curriculum. The target group consisted of 20 stakeholders, including one director, one vice director, 8 department heads, and 10 employers. Content analysis technique was performed on the interview data; Phase 3 Implementing the training curriculum. The target group included 10 lecturers who volunteered to participate in the training curriculum in Wuxi Vocational College of Science and Technology. The instrument was training process module testing and post-training following-up survey. The collected data were analyzed by using frequency, percentage, mean and standard deviation; Phase 4 Evaluating the training curriculum. The target groups were 10 vocational college lecturers and five experts. The research instruments were satisfaction questionnaire and questionnaire for evaluating the quality of the training curriculum. The data were analyzed by using mean and standard deviation. The findings could be summarized as follows:</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <ol> <li>1. The digital technology for learning management abilities of vocational college lecturers included four factors: Digital application, Digital technology Knowledge and skills, Digital awareness, Professional development, which Digital awareness was at a high level while Digital application, Digital technology knowledge and skills, Professional development were at a moderate level.</li> <li>2. The designed and developed training curriculum included three modules: Digital application, Digital technology knowledge and skills, Professional development. Each module spanned 16 hours, resulting in a comprehensive 6 days and 48 hours. The training curriculum comprised both theoretical learning and practical exercises.</li> <li>3. The results of the training curriculum showed that the digital technology for learning management abilities of vocational college lecturers was higher after the training of Module 1 Digital application, Module 2 Digital technology knowledge and skills and Module 3 Professional development and the skill application rate reached 82.80%. The training curriculum was effective and feasible.</li> <li>4. The lecturers from Wuxi Vocational College of Science and Technology were satisfied towards the training curriculum for enhancing digital technology for learning management abilities at a high level. In addition, the experts rated the quality of the training curriculum in overall was at a high level. When considering each quality component, it was found that the highest mean score was the quality of feasibility, followed by propriety, utility, accuracy, and comprehensiveness.</li> </ol> Yu Weifang, Nawamin Prachanant , Ketsuda Buranaphansak Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275344 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การสร้างความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนกับสถานประกอบการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275470 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบและองค์ประกอบของความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพ (2) ศึกษาความต้องการจำเป็นด้านความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพ (3) ศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนกับสถานประกอบการที่มีผลต่อความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพ และ (4) นำเสนอและประเมินกลยุทธ์การสร้างความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพ ระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนกับสถานประกอบการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 8 คน และผู้บริหารสถานประกอบการ จำนวน 8 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 276 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ0</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษากับสถานประกอบการ ใช้รูปแบบทวิภาคีและมี 6 องค์ประกอบ 2) ความต้องการจำเป็นด้านความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนกับสถานประกอบการมี 3 ด้าน คือ การจัดการทักษะวิชาชีพ การจัดหลักสูตร และการมุ่งตอบสนองความต้องการ 3) สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของสถานประกอบการและวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนที่มีผลต่อความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) กลยุทธ์การสร้างความร่วมมือทางวิชาการและวิชาชีพ ระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนกับสถานประกอบการ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนสำคัญ และผลการประเมินพบว่ามีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และความเป็นประโยชน์ในระดับมาก</p> ภูริสร์ ฐานปัญญา, เกรียงไกร สัจจะหฤทัย , สุบิน ยุระรัช Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275470 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ดูแล และพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275430 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุไทย และความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ดูแลและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุไทย ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีผู้ดูแลในการใช้ชีวิตประจำวัน จำนวน 4,063 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยโลจิสติกทวิภาค ซึ่งผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุไทยมีเพียงร้อยละ 8.2 ที่ออกกำลังกาย เป็นประจำ และผู้สูงอายุที่กินผัก/ผลไม้ และดื่มน้ำสะอาดวันละ 8 แก้วหรือมากกว่าเป็นประจำมีร้อยละ 25.15 และ 39.15 ตามลำดับ ในขณะที่สัดส่วนของผู้สูงอายุที่ไม่ดื่มสุรา/เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่ สูงถึงร้อยละ 95.58 และ 96.01 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมสุขภาพที่ยังคงต้องส่งเสริมให้มีเพิ่มมากขึ้นคือ ออกกำลังกาย การกินผัก/ผลไม้ และการดื่มน้ำสะอาด และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ดูแลกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์พบว่า เพศ อายุ ความสัมพันธ์กับผู้สงอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด รูปแบบการอยู่อาศัย รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การฝึกอบรมเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ระยะเวลาที่ใช้ในการดูแลต่อสัปดาห์ (ชม.) และทัศนคติที่มีต่อการดูแลผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าการลาออกจากงานเพื่อมาดูแลผู้สูงอายุไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในทุกด้าน</p> ภานุพันธุ์ พันธุ์กว้าง , รักชนก คชานุบาล Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275430 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275552 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบในการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการสังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ จำนวน 554 คน จัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 250 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง เป็นผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษา และผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยตรงในการพัฒนาบุคลากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบประเมินรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (exploratory factor analysis) และสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า มี 8 องค์ประกอบ คือ (1) การส่งเสริมพัฒนาบุคลากร (2) การประเมินผล (3) การพัฒนาคุณภาพบุคลากร (4) การวิเคราะห์องค์กร (5) การออกแบบ (6) การนำไปปฏิบัติ (7) การวิเคราะห์งาน และ(8) การประเมินความต้องการ 2) รูปแบบการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยการกีฬาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) การประเมินความต้องการ จากการวิเคราะห์องค์กร และวิเคราะห์งาน (2) การออกแบบ เพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลากร และพัฒนาคุณภาพบุคลากร (3) การนำไปปฏิบัติ และ(4) การประเมินผล 3) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พบว่า รูปแบบมีมาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความหมาะสม และด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก</p> ชญานุช หล่ออุดมทรัพย์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275552 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อซิฟิลิสในกลุ่มผู้ป่วยวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี ที่ทำการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ที่คลินิกนิรนาม โรงพยาบาลปทุมธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275603 <p>โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยในผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่ยังไม่พบการศึกษาอุบัติการณ์การติดเชื้อซิฟิลิสในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อซิฟิลิสในกลุ่มผู้ป่วยวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มารับบริการที่คลินิกนิรนาม โรงพยาบาลปทุมธานี เป็นครั้งแรก รูปแบบการศึกษาแบบ Retrospective cohort study โดยเก็บข้อมูลการได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี และติดตามการติดเชื้อซิฟิลิส จากฐานข้อมูลผู้ติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลปทุมธานี ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลอุบัติการณ์การเกิดซิฟิลิสและระยะเวลาด้วย Kaplan Meier และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดการติดเชื้อด้วย Cox proportional hazard ผลการศึกษาพบว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 60.71 มีอายุเฉลี่ยขณะเริ่มรับยาต้านไวรัสเอชไอวี 21.63 ± 2.34 ปี พบอัตราการติดเชื้อซิฟิลิส เท่ากับ 21.13 ต่อ 1,000 คน-ปี (95%CI = 15.61 – 28.59) ปัจจัยเสี่ยงในการติดเชื้อซิฟิลิสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี คือ เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น MSM TGW&nbsp; ฯลฯ (HR<sub>adj</sub> = 2.80, 95%CI = 1.41-7.23) และการมีโรคร่วม เช่น&nbsp; หนองใน แผลริมอ่อน หูดหงอนไก่ ฯลฯ (HR<sub>adj</sub> = 3.57, 95%CI = 1.77 - 7.23) ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นกลุ่มประชากรเสี่ยงและเป็นโรคร่วมควรได้รับการตรวจคัดกรองซิฟิลิสทุกๆ 6 เดือน และเน้นย้ำให้ความรู้เรื่องการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี</p> ฟ้าใส จันทร์หอม, สิริมา มงคลสัมฤทธิ์ , พลวัฒน์ ติ่งเพ็ชร Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275603 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Study on the Concept of Sketching and Aesthetic Value Reflected in Xin Dongwang's Oil Paintings https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275357 <p>This study aims to examine the sketching concept and aesthetic value in contemporary Chinese oil painter Xin Dongwang's artistic creation, with a particular focus on how sketching techniques serve as a unique medium for emotional and philosophical expression.<br />The research employs a qualitative methodology combining artistic analysis and theoretical research through case studies and literature review. The study analyzes two representative works by Xin Dongwang: "Mountains and Rivers" and "Growth", using visual analysis techniques and theoretical framework examination. Research tools include artwork documentation analysis, historical context review, and comparative analysis of traditional and contemporary sketching techniques.<br />Data analysis involves systematic examination of artistic elements, technical approaches, and philosophical implications in Xin Dongwang's works, supported by relevant literature on Chinese oil painting development and sketching traditions.<br />The findings reveal that Xin Dongwang's sketching techniques uniquely bridge traditional Chinese aesthetics and modern oil painting methods. The research demonstrates that his sketching approach: (1) integrates traditional techniques with contemporary expression, (2) achieves profound emotional depth through direct observation of nature and life, and (3) establishes a distinctive oil painting style with Chinese cultural characteristics. These findings contribute to both the theoretical understanding of contemporary Chinese oil painting and the practical development of sketching techniques in modern artistic creation.</p> Xiaopeng Gao Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275357 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Study on Influencing Factors of Policy Agricultural Insurance Performance in Guangdong Province https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275232 <p> The aim of this study was to explore the key factors influencing the performance of policy-based agricultural insurance in Guangdong Province and suggest policy optimization. We analyze the relationship between the government, insurance companies and farmers. The expert interviews revealed the impact of farmers' insurance awareness, government subsidies, claims efficiency, product flexibility and local government implementation on performance. In the quantitative study, data were collected in eastern, central and western Guangdong by regional stratified sampling, and structural equation model (SEM) was used for analysis. Quantitative analysis verified the significant impact of government policy support, insurance supply capacity and farmers' demand on insurance performance. Through a combination of qualitative and quantitative research, this study not only verifies the hypothesis, but also provides practical recommendations for policy makers and insurance institutions to optimize policies and services. These findings have important theoretical and practical significance to improve the performance of policy-based agricultural insurance in Guangdong province, enhance farmers' insurance willingness, and promote the green development of agriculture.</p> Zou Xiao , Sorn Sutthikhun Orunruk Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275232 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการจัดการตลาดดิจิทัล กะปิกลุ่มวิสาหกิจชุมชน วิธีประมงพื้นบ้าน ลานอาหารแปรรูปตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271121 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัล กลยุทธ์การตลาดดิจิทัล ความตั้งใจซื้อซ้ำ กะปิกลุ่มวิสาหกิจชุมชน วิธีประมงพื้นบ้าน ลานอาหารแปรรูปตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และ 2)&nbsp; เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการตลาดดิจิทัล กะปิกลุ่มวิสาหกิจชุมชน วิธีประมงพื้นบ้าน ลานอาหารแปรรูปตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ระเบียบวิธีวิจัย ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การเก็บข้อมูล จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มกะปิกลุ่มวิสาหกิจชุมชน วิธีประมงพื้นบ้าน ลานอาหารแปรรูปตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 10 ราย ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามจากลูกค้าที่ซื้อหน้าร้านและซื้อผ่านสื่อการตลาดดิจิทัลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 400 ราย เทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อตัวแปรตามกรอบแนวคิด ทุกตัวแปรมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด (4C's) และความตั้งใจซื้อซ้ำ ตามลำดับ 2) ผลวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ กะปิกลุ่มวิสาหกิจชุมชน วิธีประมงพื้นบ้าน ลานอาหารแปรรูปตำบลบางกระเจ้า อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ตัวแปรการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัล ด้านการนำเสนอเนื้อหาและตราสินค้า ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด ด้านความสะดวกในการซื้อ และปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด ด้านการสื่อสาร&nbsp; ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>&nbsp;</p> ชัยวิชญ์ ม่วงหมี , ณุศณี มีแก้วกุญชร Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271121 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบของศักยภาพวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ต่อผลการดำเนินงาน : งานวิจัยเชิงประจักษ์ในประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275043 <p>การวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่กับผลการดำเนินงานขององค์กร โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีฐานทรัพยากรเพื่อแสดงให้เห็นถึงการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันผ่านการพัฒนาศักยภาพเชิงกลยุทธ์ การวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 198 ราย คิดเป็นอัตราการตอบกลับร้อยละ 26.94 โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (IOC: 0.9333-0.9895) และความเที่ยง (Cronbach's Alpha: 0.9643-0.9655) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคสมการโครงสร้างกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (Partial Least Squares Structural Equation Modeling – PLS SEM) โดยใช้แบบจำลองตัวแปรแฝงลำดับที่สามผ่านวิธี Disjoint Two-Stage Approach ผลการวิเคราะห์พบความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญระหว่างศักยภาพวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ และผลการดำเนินงานขององค์กร ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าศักยภาพวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่สามารถสนับสนุนผลการดำเนินงานทั้งด้านการตลาดและด้านการบริหาร ช่วยส่งเสริมผลการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแนวคิดฐานทรัพยากรซึ่งให้ความสำคัญกับทรัพยากรที่โดดเด่นและยากต่อการเลียนแบบในการสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน<br>งานวิจัยนี้มีส่วนสนับสนุนวรรณกรรมด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์จากบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งผู้บริหารสามารถใช้ประโยชน์จากการวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การวิจัยในอนาคตอาจขยายขอบเขตไปยังบริบททางภูมิศาสตร์และอุตสาหกรรมที่หลากหลาย โดยเฉพาะในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงศึกษาบทบาทของเทคโนโลยีที่เกิดใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติในกระบวนการธุรกิจ</p> จริยา อ่อนฤทธิ์, ษิรินุช นิ่มตระกูล Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275043 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 A Study on the Relationship between the Perceived Effect of the Second Classroom Implementation and Labor Literacy among Private Undergraduate College Students in Guangdong Province of China https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275421 <p>This study aims to explore how college students' perception of second classroom implementation affects their labor literacy in Guangdong Province, China. The research collected data from students across 8 colleges and universities in Guangdong through questionnaire surveys. Statistical analysis was conducted to examine the correlation between second classroom implementation effectiveness and students' labor literacy, with public service motivation as a potential mediating variable.</p> <p>The findings reveal that students' perception of second classroom implementation significantly and positively impacts their labor literacy, specifically through factors including activity quality, teacher guidance, resource adequacy, and post-activity feedback. Moreover, public service motivation was found to mediate the relationship between second classroom implementation and labor literacy. Based on these findings, it is recommended that higher education institutions enhance the quality of second classroom activities, strengthen teacher professional development, optimize resource allocation, and implement robust feedback mechanisms. Additionally, institutions should integrate public service value education into second classroom activities to foster students' labor literacy development.</p> Na Xu, Zhou Xianjin Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275421 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Research on Influence of Consumers Fairness Perception to Pay-What-You-Want on Purchase Intention https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275422 <p>This study investigated the impact of consumers' price fairness perception on purchase intentions within the Pay-What-You-Want (PWYW) pricing model. A sample of 1,000 valid responses was collected through questionnaire surveys measuring price fairness perception, purchase intention, brand loyalty, and word-of-mouth communication. Multiple regression analysis and stepwise regression analysis were employed to examine the relationships between variables and test the hypotheses.</p> <p>The results revealed that consumers' price fairness perception significantly and positively influences their purchase intentions under the PWYW model, with varying effects across different consumer segments. Specifically, older consumers, female consumers, and higher-income consumers showed higher standards for price fairness and stronger purchase intentions. Additionally, price fairness perception positively affected brand loyalty and word-of-mouth communication. Based on these findings, it is recommended that businesses implementing PWYW pricing strategies should focus on providing price reference ranges, improving transparency, and fostering interactivity to enhance consumers' perception of price fairness and subsequently boost their purchase intentions. This research contributes to both the theoretical understanding of price fairness in innovative pricing models and practical applications in business strategy.</p> Hu Lizhen , Chen Wei Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275422 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาหลักสูตรเทคนิคการตีความการเคลื่อนไหวของกราฟราคาด้วยการบูรณาการการคิดเชิงระบบร่วมกับทฤษฎีของบลูม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275494 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเทคนิคการตีความการเคลื่อนไหวของกราฟราคาด้วย&nbsp;&nbsp;&nbsp; การบูรณาการการคิดเชิงระบบร่วมกับทฤษฎีของบลูม และศึกษาปัจจัย เงื่อนไข ของการใช้หลักสูตร โดยทำการศึกษากับกลุ่มนักลงทุนหุ้นจำนวน 8 คน ใช้ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ ออกแบบและพัฒนาหลักสูตร ทดลองใช้หลักสูตรกับกลุ่มตัวอย่าง และประเมินผลการเรียนรู้และวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่านักลงทุนหุ้นส่วนใหญ่เผชิญปัญหาที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในตลาดการเงิน ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ ตัดสินใจ และปรับกลยุทธ์การลงทุนให้สอดคล้องกับบริบทของตลาดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรผู้วิจัยใช้แนวคิดปรัชญามนุษยนิยม ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง ซึ่งมีแผนการเรียนรู้จำนวน 6 แผน ผลการทดลองตามการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรพบว่า นักลงทุนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน สามารถวิเคราะห์ ตัดสินใจ และเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของตลาด และความสไตล์การลงทุนของตนเองได้ ส่วนเงื่อนไขของการนำหลักสูตรไปใช้ ด้านผู้เรียน รู้จักและประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอ ด้านผู้สอน สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเชิงวิพากษ์&nbsp; ด้านเนื้อหา &nbsp;เชื่อมโยงระหว่างวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมของความรู้&nbsp; ด้านระยะเวลา เน้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและไม่จำกัดเวลา ด้านแหล่งเรียนรู้และสื่อการสอน ใช้สื่อการสอนที่ทันสมัยและเหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน&nbsp; และด้านการวัดและประเมินผล ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองและเพื่อนร่วมเรียน</p> ศกลวรรณ พาเรือง, รุ่งอรุณ พรเจริญ , ธิติ ธาราสุข Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275494 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว ต่อสถานประกอบการอุตสาหกรรม ในประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271252 <p> การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของคุณลักษณะพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว ต่อสถานประกอบการอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพจริงขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของคุณลักษณะพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว ต่อสถานประกอบการอุตสาหกรรมในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของอุตสาหกรรม ประเภทโรงงานแปรรูปอาหาร ที่ใช้บริการแรงงานต่างด้าว กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน และทำการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สำหรับการยืนยันความเที่ยงตรงตามสภาพจริงกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัดจำนวน 30 คน โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) ซึ่งเปรียบเทียบระดับค่าเฉลี่ยของตัวชี้วัดที่ได้กับเกณฑ์ประเมินค่าที่ระดับมาก (  3.51) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป<br /> ผลการวิจัย พบว่า<br /> 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของคุณลักษณะพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว ต่อสถานประกอบการอุตสาหกรรมในประเทศไทย มีจำนวนองค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ มีความแปรปรวนของตัวบ่งชี้ทั้งหมดร้อยละ 72.504 มีค่าไอเกน เท่ากับ 36.534, 3.808, 3.216, 2.728, 2.299, 1.883, 1.630 และ 1.460 ตามลำดับ ประกอบด้วย ความปลอดภัยในการทำงาน การสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาไทยเบื้องต้น วินัยต่อสถานประกอบการ การรู้จักกาลเทศะ จารีตและมารยาททางสังคม ความซื่อสัตย์และความมีน้ำใจ การเคารพกฎหมายไทย และทักษะฝีมือ <br /> 2. กลุ่มผู้รู้แจ้งชัดเห็นด้วยว่าตัวชี้วัดทั้ง 44 ตัวชี้วัด สะท้อนถึงความเป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะพื้นฐานของแรงงานต่างด้าว ต่อสถานประกอบการอุตสาหกรรม ในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 </p> พิมณฒทิพย์ อุบลจินดา, เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์ , นิวัฒน์ สวัสดิ์แก้ว Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271252 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 A Study on the Impact for Proactive Personality of College Students on Entrepreneurial Intention: An Empirical Study Based on the Theory of Planned Behavior https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275468 <p>Entrepreneurial activities are an important driving force for the development of modern economic and social development, and have become an important engine for economic growth in today's era. Among the relevant studies on college students' entrepreneurship, entrepreneurial intention, as the best entry point for the study of entrepreneurial behavior, has become the focus of entrepreneurship research, and the theory of planned behavior is the most effective theory for studying entrepreneurial intention. At the same time, research on issues such as college students' proactive personality and self-efficacy has gradually attracted the attention of the academic community in recent years.<br />The results show that 1. There is a significant positive correlation between proactive personality and entrepreneurial intention in the model, and the stronger the proactive personality, the higher the entrepreneurial intention. The fitting indexes of the structural equation model (SEM) all reached the ideal value, indicating that the model fits well and all paths are significant. Among them, proactive personality positively affects self-efficacy, entrepreneurial attitude, subjective norms and perceived behavioral control, and these factors further positively affect entrepreneurial intention. 2. The mediation analysis found that perceived behavioral control, subjective norms, entrepreneurial attitude and self-efficacy play a partial mediating role between proactive personality and entrepreneurial intention. 3. The mediation analysis shows that family self-employment has a significant positive moderating effect on the relationship between proactive personality and entrepreneurial intention. College students with a family self-employment background scored significantly lower than those without a family self-employment background in goal intention, execution intention, motivation, resilience, transformativeness, self-efficacy, entrepreneurial attitude, subjective norms, perceived behavioral control, and entrepreneurial intention.</p> Han Xu , Li Xingguang Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275468 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารทรัพยากรและความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275574 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการบริหารทรัพยากรที่มีจำกัดและการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ภายใต้ความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานเชิงดุลยภาพ เพื่อความอยู่รอดและความยั่งยืนของกิจการภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีในนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามที่ถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า มีความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการบริหารทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดและการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์กับผลการดำเนินงานเชิงดุลยภาพขององค์กร ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่พบอยู่ในช่วง 0.353 ถึง 0.798 และมีความสำคัญทางสถิติที่ระดับความน่าเชื่อถือ 0.01 นอกจากนี้ ผลการทดสอบสมมติฐานยังชี้ให้เห็นว่าโมเดลเชิงสาเหตุที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของการดำเนินงานเชิงดุลยภาพสามารถสอดคล้องและอธิบายข้อมูลเชิงประจักษ์ได้เป็นอย่างดี โดยโมเดลนี้มีค่า Comparative Fit Index (CFI) อยู่ที่ 0.99, Goodness of Fit Index (GFI) อยู่ที่ 0.94, Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) อยู่ที่ 0.90, Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) อยู่ที่ 0.041 และ Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) อยู่ที่ 0.038 ผลการวิจัยทำให้ทราบความสำคัญในการส่งเสริมความเข้าใจในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพภายใต้ข้อจำกัดทรัพยากรและต้นทุน พร้อมทั้งการสนับสนุนความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความอยู่รอดและการเติบโตอย่างยั่งยืนของกิจการในนิคมอุตสาหกรรม</p> กิตติยา จิตต์อาจหาญ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275574 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Factors affecting financial management to support students facing finance difficulty at the universities in zhejiang province https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275019 <p>This study is about the influencing factors of financial management supporting economically disadvantaged students in Zhejiang University. The sample used in this study were administrators and faculty of Zhejiang University. A total of 109 universities in Zhejiang province used 55 universities in Zhejiang Province, and the sample size was determined by the schedule of Chris and Morgan. The researchers assigned 5 respondents to each university, including 2 school administrators (100 respondents) and 3 teachers (300 respondents), for a total of 300 respondents using simple random sampling. According to the Likert concept, the study instrument is a 5-grade questionnaire. The questionnaire was divided into three parts, including the first part: the respondents' personal identity information was gender, age, highest education, and experience in the current position. Part 2: Factors affecting financial management, including 44 questions, which are divided into 7 aspects, namely, money attitude, economic literacy, consumption view, factors influencing financial literacy, family economic literacy, individual money management ability, and individual financial awareness. Part 3: Financial management, to support students to face financial difficulties, a total of 27 problems, divided into five aspects, namely, university financial budget management, university financial financing, tuition and miscellaneous fees collection, loan risk, financing risk. The reliability of the questionnaire was determined by determining the α coefficient with a confidence of 0.993. Statistics used to analyze the data are frequency, percentage, and mean. Standard deviation of mean Pearson coefficient correlation Coefficient and Stepwise Multiple gression Analysis, investigators summarize the findings, discuss results and recommendations.</p> Cao Hongping , Thada Siththada Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275019 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาความต้องการในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนสำหรับภาคอุตสาหกรรม ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/272040 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานประกอบการอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมประกอบยานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตอัตโนมัติ จำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม และการจัดเวทีแสดงความคิดเห็น ครอบคลุมเนื้อหาด้านความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และหลักสูตรที่สถานประกอบการต้องการ ค่าสถิติพื้นฐานที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>ผลการศึกษาด้านข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้แรงงาน พบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นวิศวกร เพศชาย มีประสบการณ์ในการทำงานมากที่สุด 11-15 ปี โดยส่วนมากเป็นกำลังแรงงานที่ทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการสอบถามความต้องการในการพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาทักษะของพนักงานฝ่ายผลิตอันพึงประสงค์ พบว่า มีความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถในการจัดการด้านพลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.29 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.55 ในด้านปัญหาและอุปสรรคของการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต พบว่าด้านการบริหารจัดการในแต่ละรายการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.14 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.53 โดยให้ความคิดเห็นด้านทักษะความสามารถในการควบคุมกระบวนการผลิต มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.26 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.54 มากที่สุด ในส่วนของทักษะด้านความรู้ ความสามารถทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.13 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.57 โดยมีทักษะความรู้และความสามารถในการใช้เครื่องมือเพื่อการเพิ่มผลผลิต ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.27 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.54 ในส่วนของทักษะด้านลักษณะของส่วนบุคคลมีความคิดเห็นในระดับแปลผลมากที่สุด คือ ความฉลาดทางศีลธรรม จริยธรรม (MQ) มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.26 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.54</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษาข้อมูลทักษะหรือคุณลักษณะของแรงงานที่พึงประสงค์ในสถานประกอบการ ในส่วนของปัญหาและอุปสรรคของการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต พบว่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะด้านความรู้ในตำแหน่งหน้าที่งานฝ่ายผลิตในแต่ละรายการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.14 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52</p> <p>ผลการศึกษาแผนการรับกำลังแรงงานใหม่ในอนาคต พบว่าในแต่ละองค์กรมีแผนรับบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะที่เหมาะสม เพื่อเข้ามาปฏิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่องค์กรต้องการ แผนรับบุคคลที่มีมีความชำนาญเฉพาะด้าน ทักษะเฉพาะทาง ในหลากหลายด้านครอบคลุมในการทำงาน การรับนักศึกษาจบใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทำงาน มักเกิดการลาออกไปหางานใหม่ในเวลาไม่นาน &nbsp;&nbsp;</p> <p>ผลการศึกษาทักษะของพนักงานในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่พึงประสงค์ในสถานประกอบการเกี่ยวกับด้านทักษะด้านความรู้ในการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะด้านลักษณะของส่วนบุคคลในแต่ละรายการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.99 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.76 และผู้ตอบแบบสอบถามมีข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่มีความสนใจสำหรับการจัดทำหลักสูตร คือ ด้านมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ IATF 16949 เนื่องจากเป็นข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ควรส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร และสถานประกอบการ มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการในการควบคุมและดูแลมาตรฐานด้านระบบบริหารคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ และการจัดทำข้อกำหนดให้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐาน สำหรับรับรองการจัดการคุณภาพยานยนต์ตามแนวทางของมาตรฐานสากล เพื่อยกระดับมาตรฐานกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์</p> ศรินยา ประทีปชนะชัย, เมธี พรมศิลา, รัชฎาพร วงษ์โสพนากุล, ครรชิต มาระโภชน์, ผุสดี ภุมรา, กิ่งกาญจน์ กิตติสุนทโรภาศ, นรินทร์ กุลนภาดล, ชัชวาล นิมโรธรรม , สุรพงษ์ แก่นมณี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/272040 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275436 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 3) เพื่อประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 334 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบเป็นสัดส่วน&nbsp; เครื่องมือคือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 11 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ดำเนินการสนทนากลุ่มและประเมินแนวทาง โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง&nbsp; เครื่องมือคือ แบบบันทีกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินแนวทาง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI<sub>modified</sub>) ฐานนิยม และการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่าค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล 2) แนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก 33 แนวทางรอง และ 74 วิธีดำเนินการ 3) ผลการประเมินแนวทางหลัก แนวทางรอง และวิธีดำเนินการ ของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 &nbsp;พบว่า มีความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด</p> เอกปภาดา ปกรณ์พิมุข, วราภรณ์ ไทยมา, ภัทราวดี มากมี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275436 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Oral Health Knowledge, Attitudes, and Practices Among School-Aged Left-Behind Children of the Yao Ethnic Group in Rural Northern Guangxi: A Longitudinal Study https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275018 <p>Background and Objectives: In rural northern Guangxi, the oral health of school-aged left-behind children in Yao ethnic communities has been severely impacted by economic underdevelopment and geographic isolation. This study aims to assess the current status, dynamic changes, and influencing factors of oral health among this population to provide targeted intervention strategies.</p> <p>Methods: A cluster random sampling method was used to select 241 Yao ethnic left-behind children in 2023 and 2024. Oral health examinations and questionnaires were conducted to evaluate dental caries, oral hygiene behaviors, and impacts on quality of life. Data were analyzed using SPSS 26.0 with t-tests, χ² tests, and multivariate logistic regression.</p> <p>Results: The prevalence of dental caries significantly increased to 82.3% in 2024, with a mean DMFT index of 3.67, compared to 54.8% and 2.41 in 2023 (P &lt; 0.05). Fluoride toothpaste use rose by 44.7%, but filling rates remained low at 0.4% and 2%. High-sugar dietary intake increased, and the negative impact of oral health on quality of life was evident.</p> <p>Conclusion: The oral health of Yao left-behind children continues to deteriorate due to poor dietary habits and limited oral health services. Strengthening health education, community support, and preventive treatment is essential to improve their oral health outcomes.</p> Qiuzhong Li, Pimporn Thongmuang, Sarisak Soontomchai, Xiaoqiang Qiu Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275018 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The development of bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275211 <p>This research aims to 1) study the conditions of the bilingual teaching management in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China; 2) develop the bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China; and 3) evaluate the bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China. This research was conducted in three phases. Phase I studied the conditions of the bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China. The sample consisted of 270 students, 29 teachers, and 18 administrators, totaling 317 participants. The research instrument was a 5-point rating scale questionnaire with a reliability level of 0.971. The researcher sent the letter issued by the graduate school asking for permission to collect the data. The researcher collected all data by herself. The statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean, and standard deviation. Phase II developed the bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China, which was divided into three parts. Part 1 involved conducting a semi-structured interview with 8 experts. Part 2 was the preliminary design of the bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China, and Part 3 focused on the design and development outcomes of the bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China. The instrument was the interview form. The researcher obtained relevant data through interviews. Phase III evaluated the bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China. This phase was divided into two parts. Part 1 involved an evaluation by 7 experts on the accuracy, propriety, feasibility, and utility of the bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China. Part 2 involved the same 7 experts evaluating the accuracy, propriety, feasibility, and utility of the guideline for the bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China. The research instrument was a 5-point rating scale questionnaire, and the statistics used for data analysis were mean and standard deviation. The researcher collected all data by herself.</p> <p>The research findings were as follows:</p> <ol> <li class="show">The condition of the bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China, was at a high level overall and in each aspect.</li> <li class="show">The bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China, revealed that there were four aspects of bilingual teaching management that needed further development, namely: 1) teacher professionalism, 2) teaching strategies, 3) evaluation systems, and 4) parent and community participation.</li> <li class="show">The bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China, had a goodness-of-fit with empirical data. The accuracy, propriety, feasibility, and utility of the model were at the highest level overall and in each aspect. The accuracy, propriety, feasibility, and utility of the guideline for the bilingual teaching management model in colleges and universities for ethnic minorities in Guangxi Zhuang Autonomous Region, the People's Republic of China, were at the highest level overall and in each aspect.</li> </ol> Lyu Yujie , Siranee Chutopama , Narumon Sakpakornkan Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275211 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Research on Characteristics and Transmission of Traditional Residential Architectural Ornamentation from a Semiotic Perspective :A Case Study of Tongyang Old Street in Chaohu of Anhui Province https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275213 <p>This study aims to examine the characteristics and cultural significance of traditional residential architectural ornamentation in Tongyang Old Street, Chaohu, Anhui Province, from a semiotic perspective. The objective is to identify the aesthetic, functional, and symbolic roles of ornamental patterns and evaluate their influence on modern cultural preservation and innovation. A mixed-methods approach combining literature analysis, field investigations, and case studies was employed. Data collection focused on analyzing ornamental elements, materials, and color schemes, along with their cultural and historical connotations.The results indicate that the architectural ornamentation of Tongyang Old Street exhibits the following notable characteristics: First, material properties, with a primary use of local materials such as blue bricks and black tiles, reflecting a combination of traditional craftsmanship and ecological wisdom. Second, types of ornamentation, encompassing a rich variety of patterns such as intertwining branches and cloud motifs, which serve as carriers of visual aesthetics while embodying profound cultural meanings. Third, symbolic functionality, as many ornamental patterns are inspired by local flora and fauna, conveying the community's values and aspirations while reflecting philosophical beliefs in the continuity of life and harmony with nature. The ornamentation design achieves a balance between aesthetic appeal and cultural depth in both form and content. The conclusions suggest that these ornamental elements are significant cultural symbols with the potential for innovative applications in modern design, offering valuable insights for the formulation of cultural preservation policies and the integration of traditional aesthetics with contemporary practices.</p> Ding Lulu , Sarawuth Pintong Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275213 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Generative Artificial Intelligence For Digital Marketing: Insights and Antecedents - A Systematic Literature Review https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274840 <p> The rapid rate of technological advancement is largely responsible for the enormous and far-reaching developments that have occurred in the field of digital marketing in just over a decade. Since the introduction of AI, businesses have seen significant changes to how they interact with customers, analyze data, and build marketing strategies. An emerging field in AI research, generative AI seeks to address challenges by generating new concepts, designs, and algorithms based on patterns that have already been learned. In light of the increasing demand for immediate, personalized interactions with customers, this systematic literature review aims to shed light on the present degree of generative AI deployment. A total of twenty publications were considered for this review based on the inclusion and exclusion criteria specified in the PRISMA guidelines. This research aims to take a look at digital marketing as it is now and how generative AI could improve things in terms of efficiency, creativity, and audience engagement. This research aims to bridge knowledge gaps on the impact of generative AI on digital marketing by examining existing techniques, new technology breakthroughs, and practical applications. Incorporating generative AI into marketing strategy gives businesses a chance to differentiate out by providing exceptional customer service.</p> Pritam Kumar, Punnaluck Satanasavapak, Donyawan Chantokul, Yunmei Wang Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274840 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Exploring Active Learning Models to Enhance Social-Emotional Learning Among Freshmen https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271149 <p>Social Emotional Learning (SEL) originates from the study of emotional intelligence and was first introduced at a conference held by the Fetzer Institute in 1994 by psychologists and educators. This field aims to help individuals effectively manage emotions, establish positive interpersonal relationships, and make responsible decisions through education. SEL not only involves academic knowledge but also emphasizes the cultivation of emotional intelligence and interpersonal skills, significantly impacting students' comprehensive development.</p> <p>This study utilized methods such as literature review and semi-structured interviews to investigate the social emotional learning capabilities of college students in China. The purpose of the research is to explore and develop an active learning model to enhance college students' social emotional skills in five aspects: self-awareness, social awareness, self-management, relationship skills, and responsible decision-making. Experimental research conducted with 304 students from Guangdong Baiyun University showed that the active learning model significantly improved the students' social emotional learning capabilities, with notable progress in dimensions such as self-awareness and social awareness, validating the effectiveness of the active learning model in enhancing social emotional learning.</p> Yi Rong, Pasana Chularut Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271149 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Innovative Research on Ethnic Music Performance Models in Southwestern Chinese Universities under Digital Technology https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275328 <p>This research mainly involves the innovation of folk music performance in universities in southwest China under digital technology. The research samples selected the Music Digital Performance Laboratory of Yunnan Minzu University and the integration course of folk music and Digital technology of Guizhou Minzu University as cases. The research tools mainly include the literature analysis method, the case analysis method, and the interview method. In terms of data collection, data on the integration of digital technology and folk music performance were collected through the sorting out of relevant literature, field visits and interviews with relevant personnel. In terms of research and analysis, this research discusses the influence of digital technology on folk music performance in universities from the perspectives of cultural inheritance and protection, education and teaching, art innovation and development, and puts forward corresponding innovative countermeasures and suggestions for the existing problems. Through the research on the innovation of folk music performance in universities in southwest China, we find that the integration of digital.</p> LinYa Huan, Phakamas Jirajarupat , LingLing Liu Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275328 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Research on The System of China Youth Tennis Competion: A Case Study of the Hunan Provincial Youth Tennis Championship https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275329 <p>In recent years, Chinese tennis has made significant progress, and the runner up of Zheng Qinwen's women's singles at the 2024 Australian Open has sparked a tennis craze, demonstrating the future potential of Chinese tennis. However, the long-term development of Chinese tennis cannot be separated from a sound competition system, and the youth tennis competition system is directly related to the development of youth tennis. At present, there is still a gap between the Chinese youth tennis competition system and the international advanced level, and there is an urgent need for systematic research and optimization to promote the high-quality development of Chinese tennis.</p> <p>This study adopts text measurement method, expert interview method, and questionnaire survey method, based on the actual national conditions of Chinese tennis, to deeply examine the current situation of China's youth tennis competition system from four dimensions: competition situation, competition organization, competition operation, and competition evaluation. The Total Quality Management (TQC) theory and factor analysis method are used to explore its influencing factors, including human resources, material resources, environmental resources, and management resources. Research has found that improving the supply and operation management of tennis events, strengthening regional linkage for event development, expanding the comprehensive value function of tennis events, and implementing the strategy of building a strong sports nation are key paths to optimizing the event system. This study proposes targeted suggestions and strategies to provide theoretical basis and practical guidance for the construction of China's tennis tournament system, and to assist in the high-quality development of China's tennis industry.</p> Chen Yahong Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275329 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Digital Technology Driven Transformation Of Public Art Forms: From Interactivity To Immersive Experience https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275327 <p class="zw"><span lang="EN-US">With the continuous emergence of new technologies and inventions, digital technology has injected new vitality into the development of contemporary public art, especially the widespread application of technologies such as virtual reality (VR) and augmented reality (AR), which have enabled public art to transform from traditional static expression to dynamic immersive experience. With the support of digital technology, contemporary public art has broken through the limitations of physics and materials, not only improving creative efficiency, but also providing vast space for innovation in art forms. The introduction of digital tools enables artists to use computer software for rapid composition and 3D modeling, thereby shaping more complex and diverse art forms. At the same time, the popularization of Internet technology has expanded public art from physical space to virtual space, and promoted real-time interaction and in-depth participation of the audience and art. Especially with the rapid development of digital media and virtual technology, these technologies have become indispensable and important means in contemporary public art creation. This article starts from the perspective of the development of public art, systematically sorts out the typical applications of digital technology in practice, including virtual cultural heritage display, immersive art installations, and interactive light and shadow art, and deeply explores its significance and value in contemporary society. Through theoretical analysis and case studies, this article aims to reveal how digital technology can drive the transformation of public art forms, providing reference and inspiration for the future development of the public art field.</span></p> Xu Lei Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275327 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Chaoshan Guo Molds Culture under Semiotics Theory Creative Product Design https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275330 <p>The Chaoshan guo molds is renowned for its extensive range of subjects and diverse symbol systems. Each guo molds serves not only as an exemplar of aesthetic art but also as a repository of profound cultural heritage, delineating the distinctive folklore and cultural legacy of the Chaoshan region. However, with the acceleration of modernisation, traditional Guo molds production has been gradually replaced by mechanised production, the number of craftsmen has been drastically reduced, and the inheritance of skills is facing serious challenges. As a result, Chaoshan guo molds has gradually evolved into a precious collection of folk crafts.</p> <p>In the context of the contemporary information age, individuals tend to acquire information in a fragmented and visualised manner. This has led to an increased demand for the rapid consumption of information and an aesthetic experience. In light of this, it is crucial to investigate effective methods of visual information dissemination with a view to showcasing the distinctive appeal of traditional skills such as Chaoshan guo molds. From the perspective of semiotics theory, the article takes Chaoshan guo molds symbol culture in Chaoshan as an entry point, and begins by examining its development history, symbol characteristics, composition form, expression method, cultural connotation, and other relevant aspects. The article attempts to satisfy the public's dual needs for cultural information and visual enjoyment by translating guo mold symbols into designs for tea ware products. It endeavors to bridge the gap between the abstract and the concrete, with the aim of enhancing the attraction and dissemination of traditional cultural information. This approach is intended to facilitate a deeper understanding of the cultural information in question. By translating the symbols of guo molds to meet the public's dual needs for cultural information and visual enjoyment, we seek to establish a bridge between the abstract and the figurative, thereby enhancing the attractiveness and dissemination of traditional cultural information.</p> <p> </p> Linlin Nong , Veerawat Sirivesmas Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275330 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Literature Review on the Application of Chinese Children's Piano Works in Piano Education at Universities in Guangxi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275331 <p>This paper explores the current status and development trends of Chinese children's piano works in teaching within the context of piano education at universities in Guangxi. The study analyzes domestic and international literature, focusing on the application of these works in piano education, including areas such as curriculum development, teaching methods, and student learning outcomes. Using literature analysis as the primary research method, this study classifies and examines existing research and academic papers. The results indicate that while Chinese children's piano works have been integrated into piano education in Guangxi, challenges remain in areas such as curriculum design, localization of content, and teaching methods. This study emphasizes that incorporating these works into teaching helps enhance students' cultural identity and artistic expression, and is of significant importance for improving piano education in Guangxi universities.</p> Hao Lu, Nataporn Rattanachaiwong , Lingling Liu Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275331 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความผิดพลาดของการใช้ภาษาไทยบนป้ายประกาศในพื้นที่ท่องเที่ยวของประเทศจีน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271418 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อผิดพลาดของการใช้ภาษาไทยในการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยบนป้ายประกาศในพื้นที่ท่องเที่ยวของประเทศจีน โดยเก็บข้อมูลจากป้ายป้ายประกาศในพื้นที่ท่องเที่ยวของมณฑลกวางสีและมณฑลยูนนานที่ประเทศจีน ผลงานวิจัยข้อมูลป้ายจำนวน 264 ป้ายพบว่า มีประเภทข้อผิดพลาด 4 ประเภท ได้แก่การแปลผิด การแปลขาด การแปลเกิน และการแปลผิดกับการแปลขาดปรากฏการในป้าย 1 ป้าย กลุ่มการแปลผิดแบ่งได้เป็น 7 ประเภท ได้แก่ ข้อผิดพลาดด้านคำศัพท์ การแปลผิดด้านการเลือกใช้กลวิธีการแปลที่ไม่เหมาะสมกับต้นฉบับ การแปลผิดมากกว่า 1 ข้อ การแปลผิดด้านแปลให้เข้ากับสถานการณ์ท้องถิ่น การแปลผิดด้านไวยากรณ์ การแปลผิดด้านการเลือกการแปลของป้ายอื่น และการแปลผิดด้านความเข้าใจวัฒนธรรม กลุ่มแปลผิดด้านคำศัพท์แบ่งได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ ข้อผิดพลาดด้านความเข้าใจความหมาย ข้อผิดพลาดด้านการสะกด การเลือกใช้คำผิดในคำที่มีความหมายคล้ายกัน ข้อผิดพลาดด้านการใช้ภาษาทางการ และการเลือกใช้คำผิดในคำที่มีหลายความหมาย กลุ่มการแปลผิดด้านไวยากรณ์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ข้อผิดพลาดด้านการเรียงลำดับคำ ข้อผิดพลาดด้านเจตนาในบริบทของการสื่อสาร และข้อผิดพลาดด้านกาล</p> Kang Shaojun , เมธาวี ยุทธพงษ์ธาดา Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/271418 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน: เพื่อเพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์และความจำขณะทำงานของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275730 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์และความจำขณะทำงานของนักศึกษาปริญญาตรี และศึกษาความเป็นไปได้ในการนำหนังสือดังกล่าวไปใช้กับนักศึกษาปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและจัดกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละเท่ากัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบทักษะทางคณิตศาสตร์และแบบประเมินความจำขณะทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมากตามการประเมินของผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งาน คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเรียน นอกจากนี้ คะแนนเฉลี่ยทักษะทางคณิตศาสตร์และความจำขณะทำงานของกลุ่มทดลองยังสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างทักษะทางคณิตศาสตร์และความจำขณะทำงานมีค่าเท่ากับ .15 ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ในระดับน้อยโดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ&nbsp;&nbsp;</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมีศักยภาพในการส่งเสริมทักษะ ทางคณิตศาสตร์และความจำขณะทำงานของนักศึกษาปริญญาตรี และสามารถนำไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> บุราณี ระเบียบ, สุพิชฌาย์ เพ็ชรสดใส, อัญชณา คุ้มญาติ, เกรียงศักดิ์ รัฐกุล Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275730 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาองค์กรอาสาสมัครท่องเที่ยวไทยเพื่อความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว: สถานการณ์ปัจจุบันและแนวทางการพัฒนา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275733 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์งานอาสาสมัครที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาองค์กรอาสาสมัครท่องเที่ยวไทยเพื่อความยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย กระบี่ สตูล และสมุทรปราการ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) จากหน่วยงานและองค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกิจกรรมอาสาสมัครด้านการท่องเที่ยว รวมจำนวน 82 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลโดยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์งานอาสาสมัครท่องเที่ยวมีหลากหลายรูปแบบ โดยมีการจัดตั้งองค์กรอาสาสมัครภายใต้การสนับสนุนของภาครัฐ เอกชน หรือหน่วยงานท้องถิ่น ในประเทศไทยแม้ยังขาดองค์กรอาสาสมัครด้านการท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรม มีการออกระเบียบกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ว่าด้วยอาสาสมัครท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2565 แต่ยังขาดการดำเนินงานที่ชัดเจนและเห็นเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ดีจากการสัมภาษณ์พบว่างานอาสาสมัครด้านการท่องเที่ยวได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากทุกภาคส่วน</p> <p>สำหรับแนวทางการพัฒนาองค์กรอาสาสมัครท่องเที่ยวไทยเพื่อความยั่งยืนให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมนั้น การศึกษานี้เสนอแนะว่า ในระดับนโยบายควรมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานในพื้นที่ท่องเที่ยว มีการรับรองสถานภาพอาสาสมัครท่องเที่ยวไทยอย่างเป็นทางการ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสนับสนุนพนักงานเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร และด้านการดำเนินการควรมุ่งเน้นการพัฒนาระบบกลไกในการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p> กาญจนา สมมิตร, นิทัศน์ บุญไพศาลสถิตย์, ปณต ประคองทรัพย์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275733 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสำเร็จในการขับเคลื่อน การเฝ้าระวังและลดการบริโภคเกลือ และโซเดียมในเขตสุขภาพที่ 5 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275767 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการเฝ้าระวังและลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในพื้นที่เป้าหมาย โดย 1) เฝ้าระวังการบริโภคเกลือและโซเดียมและวิเคราะห์ปัญหา 2) จัดทำสื่อให้สอดคล้องกับปัญหา 3 ) นำเสนอปัญหาและสื่อแก่อาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อนำสื่อไปเผยแพร่ในกลุ่มไลน์ของอาสาสมัครสาธารณสุขกับประชาชนกลุ่มตัวอย่าง และ 4) ประเมินความสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยอาสาสมัครสาธารณสุข 80 คนและประชาชน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินความรู้ การรับรู้ เกี่ยวกับเกลือและโซเดียมและพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมและเครื่องวัดความเค็มของอาหาร (Salt Meter) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวน ร้อยละ และสถิติเชิงวิเคราะห์คือการทดสอบค่าที (t-test Dependent)<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาที่พบคือกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนส่วนใหญ่มีระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียมที่ถูกต้องระดับปานกลาง 2) จากปัญหาที่พบผู้วิจัยนำมาเป็นข้อมูลจัดทำสื่อความรู้เรื่องอาหารที่มีเกลือและโซเดียมสูงและปริมาณที่ควรบริโภคต่อวันและผลเสียของการบริโภคเกิน โรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนถ้าไม่ควบคุมพฤติกรรมการบริโภค 3) นำเสนอปัญหาและสื่อที่จัดทำให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้วิจัยติดตามการนำสื่อไปเผยแพร่ให้แก่ประชาชน พบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขนำไปเผยแพร่ช่องทางกลุ่มไลน์ให้กลุ่มตัวอย่างประชาชนครบทุกคน และ 4) ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้เกี่ยวกับเกลือและโซเดียมและพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียม หลังการเผยแพร่สื่อ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการบริโภคเกลือและโซเดียม มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของปริมาณเกลือและโซเดียมก่อนและหลังการใช้สื่อในกลุ่มตัวอย่าง ไม่มีความแตกต่าง</p> ณวรัฎ อติรัตนา, สิทธิ อติรัตนา, เพ็ญนภา คำอาจ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275767 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะด้านการใช้งาน คอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขตสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275755 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบผสมผสาน 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่1 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินปัจจัยการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบผสมผสาน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน แบบประเมินทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้ และ t-test<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามรูปแบบผสมผสานมีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ที่มาและความสำคัญของรูปแบบ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) เนื้อหา 5) กระบวนการจัดการเรียนการสอนซึ่งมี 4 ขั้นคือขั้นที่ 1 ขั้นนำ 2 ศึกษาและอภิปราย 3 กิจกรรมที่เน้นการสร้างความรู้ 4 สะท้อนผลจากกิจกรรม 5 นําเสนอผลงานและประเมินผล และ 6) การวัดและประเมินผล 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐาน หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ปัจจัยการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบผสมผสานอยู่ในระดับกลาง</p> แสงเทียน ขุนวอละวง, พจมาน ชำนาญกิจ , ภาวิณี แสนชนม์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275755 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสร้างความมั่นคงทางอาหารและทัศนคติต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือนของเกษตรกรในระบบเกษตรแปลงใหญ่ เขตพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275738 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารในระดับครัวเรือนของเกษตรกร และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรในระบบเกษตรแปลงใหญ่ เขตพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 400 คนด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง ซึ่งจำนวนกลุ่มตัวอย่างนั้นจำนวนมาจากสูตรของยามาเน่ (Yamane) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและแบบจำลองโลจิตแบบเรียงลำดับ (Ordered Logit Model) <br />ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรมีทัศนคติต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือนโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (x̅=4.51, S.D.= 0.41) ซึ่ง ณ ปัจจุบันเกษตรกรประเมินว่ามีการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับมาก (x̅=4.00, S.D. = 0.61) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยของการสร้างความมั่นคงทางอาหารสูงสุด คือ ด้านการมีอาหารถึงพร้อม รองลงมา ได้แก่ ด้านการใช้ประโยชน์ของการอาหาร ด้านความมีเสถียรภาพของอาหาร และด้านการเข้าถึงอาหาร ตามลำดับ และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีจำนวน 5 ตัวแปร ประกอบด้วย ได้แก่ อายุ การศึกษา แหล่งที่มาของเงินทุนในการทำการเกษตร (เงินทุนตนเอง) รายได้และทัศนคติต่อการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครัวเรือน</p> มนตรี สิงหะวาระ, กมลทิพย์ ปัญญาสิทธิ์, ชนิตา พันธุ์มณี, สุปรียา หวังเสถียร Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275738 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดดิจิทัลของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและอาหาร ในจังหวัดนครปฐม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275782 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ (1) พัฒนาศักยภาพการเข้าสู่ตลาดดิจิทัลของผู้ประกอบการ (2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและอาหาร และ (3) สร้างเรื่องราวผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสำหรับการสื่อสารการตลาด กลุ่มเป้าหมายของงานวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวม 30 คน และกลุ่มผู้ประกอบการในชุมชนแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จ.นครปฐม รวม 30 คน งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกด้านการสืบค้นอัตลักษณ์ชุมชน แบบสอบถามความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการ แบบทดสอบก่อนการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดดิจิทัล แบบตอบรับความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ แบบติดตามและให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อพัฒนาเรื่องราวผลิตภัณฑ์ และแบบทดสอบหลังการพัฒนาศักยภาพการเข้าสู่ตลาดดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและอาหาร ในจังหวัดนครปฐม</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาศักยภาพการเข้าสู่ตลาดดิจิทัลของผู้ประกอบการมีประสิทธิภาพในการเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจ โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การใช้โมเดลธุรกิจ และการตลาดดิจิทัล รวมถึงการนำการเล่าเรื่องมาใช้ในเชิงกลยุทธ์ (2) ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและอาหารได้รับการพัฒนาจำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ฝรั่งอบกรอบ น้ำฝรั่งสกัดเย็น ไข่เค็มสมุนไพรอบเชย และ น้ำเมี่ยงคำเก๋ากี้ (3) เรื่องราวผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสำหรับการสื่อสารการตลาด จำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ “ฝรั่งอบกรอบ ของว่างแห่งความใส่ใจจากหัวใจบ้านหัวอ่าว” “น้ำฝรั่งสกัดเย็น หยดความสดชื่นจากหัวใจ” “ไข่เค็มสมุนไพรอบเชย รสชาติแห่งธรรมชาติจากสวนอารมณ์ดี” “รสชาติแห่งอดีต&nbsp; หมี่กรอบโบราณในความทรงจำ” และ “น้ำเมี่ยงคำเก๋ากี้ ความลับจากตลาดบางหลวง ร.ศ. 122”</p> อรรถ อารีรอบ, ธีร์ คำหอม, สมโชค เนียนไธสง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275782 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการปล่อยสัตว์น้ำตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนาโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274490 <p> ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและสำรวจสภาพแวดล้อมในการปล่อยสัตว์น้ำตามความเชื่อของคนไทยชาวพุทธ 2) เพื่อจัดทำแผนที่ในการปล่อยสัตว์น้ำตามความเชื่อของคนไทยชาวพุทธโดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)และ 3) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการปล่อยสัตว์น้ำตามความเชื่อของคนไทยชาวพุทธตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นการวิจัยเชิงสำรวจประกอบกับการลงพื้นที่สำรวจบริบทสภาพแวดล้อมทางกายภาพเขตอภัยทาน(วัด)ที่เหมาะต่อการปล่อยสัตว์น้ำ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า จากการสำรวจและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมพบว่าเขตอภัยทาน(วัด)ที่มีความเหมาะสมสำหรับการปล่อยสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ลุ่มแม่น้ำท่าจีนตอนล่างอำเภอเมืองนครปฐม อำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีทั้งสิ้น 37 แห่ง และชนิดของสัตว์น้ำที่มีความเหมาะสมต่อการนำมาปล่อยสำหรับการทำบุญตามความเชื่อทางพุทธศาสนามีทั้งสิ้น 12 ชนิด จำแนกตามกลุ่มความเหมาะได้ 3 กลุ่มดังนี้<br /> กลุ่มที่ 1 แม่น้ำสายหลัก 15 แห่งได้แก่เขตอภัยทาน วัดกลางบางแก้ว,วัดใหม่สุปดิษฐาราม, วัดไทยาวาส (ท่ามอญ),วัดหอมเกร็ด, วัดทรงคะนอง, วัดดอนหวาย, วัดไร่ขิง, วัดสรรเพชญ, วัดเดชานุสรณ์, วัดบางช้างเหนือ, วัดบางช้างใต้, วัดเชิงเลน, วัดเทียนดัด, วัดอ้อมใหญ่, วัดกัลยาณีทรงธรรม มีความเหมาะสมในการปล่อย ปลาตะเพียน, ปลาสวาย<br /> กลุ่มที่ 2 คลองสาขาที่มีพื้นที่ชื้นแฉะดินโคลน,มีไม้น้ำปกคลุม 13 แห่งได้แก่เขตอภัยทานวัดรางปลาหมอ, วัดสระกะเทียม, วัดหนองเสือ, วัดวังเย็น, วัดลาดปลาเค้า, วัดดอนขนาก, วัดห้วยตะโก, วัดน้อยเจริญสุข, วัดสิงห์, วัดบางแก้ว, วัดไทร, วัดสว่างอารมณ์, และวัดสามพราน มีความเหมาะสมในการปล่อย ปลาช่อน, ปลาหมอไทย, ปลาบู่, ปลาไหล, หอยขม, หอยโข่ง, เต่า, ตะพาบ และกบ<br /> กลุ่มที่ 3 คลองสาขาที่ไม่มีพื้นที่ชื้นแฉะดินโคลน,ไม่มีไม้น้ำปกคลุมหรือมีน้อย 9 แห่งได้แก่ เขตอภัยทาน วัดลาดหญ้าแพรก, วัดหนองดินแดง, วัดบางแขม, วัดเกาะวังไทร, วัดดอนยายหอม, วัดท่ากระชับ, วัดปรีดาราม (วัดยายส้ม) , วัดวังน้ำขาว, และวัดท่าพูด มีความเหมาะสมในการปล่อยปลาช่อน, ปลาหมอไทย, และปลาบู่</p> ธเนศ เกษศิลป์, พระเจริญพงษ์ ธมฺมทีโป , กฤติยา ถ้ำทอง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274490 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบความเชื่อและวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของประชาชน ยุคทวารวดีในจังหวัดนครปฐม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274495 <p>งานวิจัยเรื่อง “รูปแบบความเชื่อและวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของประชาชนยุคทวารวดี ในจังหวัดนครปฐม” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความเชื่อและวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของประชาชนยุคทวารวดี ในจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบความเชื่อและวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของประชาชนยุคทวารวดี ในจังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบความเชื่อและวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของประชาชนยุคทวารวดี ในจังหวัดนครปฐม เป็นผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลเชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 14 คน/รูป และสนทนากลุ่มเฉพาะ กลุ่มพระสงฆ์ที่มีความเชียวชาญเกี่ยวกับทวารวดี นักวิชาการเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องทวารวดี ทั้งสิ้น 12 คน/รูป เพื่อนำไปสู่การสะท้อนคิด เพื่อยืนยันข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความเชื่อและวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของประชาชนยุคทวารวดี ในจังหวัดนครปฐม พบว่า การศึกษาประวัติศาสตร์พบว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความเชื่อและวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนามีหลากหลายรูปแบบ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและวิถีปฏิบัติของชาวบ้านในสมัยทวาวดี ยุคทวารวดี พระพุทธศาสนามีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมและสังคม วิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนามีลักษณะผสมผสานระหว่างพระพุทธศาสนาเถรวาท กับศาสนาพราหมณ์ ร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาจากศาสนสถานและศาสนวัตถุ ชี้ให้เห็นเห็นถึงวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนในสังคมทวารวดีที่มีความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนา รูปแบบความเชื่อและวิถีปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของประชาชนยุคทวารวดี ยุคแรกเริ่มพุทธศตวรรษและรับอิทธิพลมาจากอินเดียในลักษณะการเผยแผ่ศาสนาและพุทธศตวรรษที่ 14-16 มีพัฒนาการและวิถีปฏิบัติจนเป็นอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมทวารวดีที่มีรากฐานมาจากหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา</p> พระธงชัย อกฺกวีโร (มอบจัน) Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274495 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทรัพยากรลิงในอัตลักษณ์วิถีถิ่นเมืองลพบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275791 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพทางการท่องเที่ยวทรัพยากรลิง 2) ศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับลิง 3) จัดทำรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทรัพยากรลิง และ 4) จัดทำแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทรัพยากรลิงใน อัตลักษณ์วิถีถิ่นเมืองลพบุรี ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นกรอบการวิจัย มีกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม คือ หน่วยงานภาครัฐ 60 คน ภาคเอกชน 40 คน ชุมชน 60 คน และนักท่องเที่ยวชาวไทย 400 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงและแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินศักยภาพด้านการท่องเที่ยว แบบสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่ม และแบบสอบถาม<br /> ผลการวิจัยพบว่า แหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพยากรลิงมี 12 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี อย่างไรก็ตาม ควรดำเนินการในการจัดการสร้างความรู้และความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับลิง สำหรับด้านผลกระทบจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับลิง ส่วนใหญ่เป็นผลกระทบทางลบในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เกิดจากพื้นที่ทับซ้อนระหว่างคนกับลิง ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว พบว่า กำหนดจุดให้อาหารลิง และมีเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลและดูแลความปลอดภัย ทั้งนี้ รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทรัพยากรลิง จำนวน 4 เส้นทาง เรียนรู้วิถีชีวิตลิง เรียนรู้ประวัติศาสตร์และตำนานเมืองลพบุรี และการร่วมกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชน สำหรับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทรัพยากรลิง ควรสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวที่สะท้อนอัตลักษณ์ของบริบทพื้นที่ และการพัฒนาการสื่อความหมาย การสร้างความรู้เรื่องวิถีชีวิตและพฤติกรรมลิงให้แก่ชุมชนและนักท่องเที่ยว ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัย</p> สยามล เทพทา, วิลาศ เทพทา , หงสกุล เมสนุกูล Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275791 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทยเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275177 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทย เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2. เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทยเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และ 3. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทยเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โดยดำเนินการวิจัยจากการวิเคราะห์เอกสาร และการใช้เทคนิคสนทนากลุ่ม (focus group) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 13 คน การเก็บรวบรวมโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการความรู้ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ในการสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ การประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และนำรูปแบบไปทดลองใช้กับผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพและปัญหาการจัดการความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทย เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า (1) การสร้างและการแสวงหาความรู้ ความรู้ด้านการใช้สมุนไพรเกิดจากการบอกเล่าต่อกันมา จากรุ่นสู่รุ่น ตำนาน สูตรตำราการปรุงยาที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน และประสบการณ์โดยตรงของผู้สูงอายุ การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ (2) การจัดเก็บและการสืบค้นความรู้ด้านการใช้สมุนไพรเป็นการแพทย์แบบองค์รวม โดยส่วนใหญ่เป็นการจดบันทึกตัวและส่งต่อให้ลูกหลานสืบต่อกัน ซึ่งปัจจุบันมีการจัดการความรู้ในรูปแบบของเอกสาร ไฟล์ การวิจัยของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการนำสมุนไพรบางชนิดมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์ทางเลือก แพทย์แผนไทย และการค้าการลงทุน (3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการใช้สมุนไพรเกิดจากการสอบถาม ซักถามตาม ข้อสงสัยจากผู้รู้ และผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้สมุนไพรมาก่อน การจัดกิจกรรมโดยให้ผู้สูงอายุเล่าประสบการณ์ในการใช้สมุนไพร ข้อควรระวัง ตัวบ่งใช้ และอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ และ (4) การนำความรู้ไปใช้ การเข้าถึงข้อมูลของผู้สูงอายุเนื่องจากมีกายภาพที่เปลี่ยนไป และโรคที่เป็นทำให้ไม่สามารถใช้ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทยเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า (1) รูปแบบการจัดการความรู้ด้านการใช้สมุนไพรไทยเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) การหาความรู้ (2) การจัดเก็บความรู้ (3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (4) การประยุกต์ใช้ความรู้ (5) เทคโนโลยีสารสนเทศ (6) การเผยแพร่ความรู้</p> ชาติชาย นันทเสนีย์, เอกสิทธิ์ สนามทอง, วรรธนศม เมฆสุวรรณ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275177 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการรับรู้จริยธรรมของผู้ขาย ความไว้วางใจ ความผูกพัน และความภักดีของลูกค้าธุรกิจจำหน่ายสินค้าแฟชั่นออนไลน์ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275797 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการรับรู้การมีจริยธรรมของผู้ขาย ความไว้วางใจ ความผูกพัน และความภักดีของลูกค้าธุรกิจจำหน่ายสินค้าแฟชั่นออนไลน์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการรับรู้การมีจริยธรรมของผู้ขายสินค้า ความไว้วางใจ ความผูกพัน และความภักดีของลูกค้าธุรกิจจำหน่ายสินค้าแฟชั่นออนไลน์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าทั่วไปที่ซื้อสินค้าธุรกิจจำหน่ายสินค้าแฟชั่นออนไลน์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยสถิติพื้นฐานและสถิติอ้างอิง ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการรับรู้การมีจริยธรรมของผู้ขาย ความไว้วางใจ ความผูกพัน และความภักดีของลูกค้าธุรกิจจำหน่ายสินค้าแฟชั่นออนไลน์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ 2)การรับรู้จริยธรรมของผู้ขาย ความไว้วางใจ ความผูกพัน และความภักดีของลูกค้ามีอิทธิพลทางตรงต่อความภักดีและทางอ้อมต่อธุรกิจจำหน่ายสินค้าแฟชั่นออนไลน์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3)ข้อเสนอแนะโดยอิงสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัยเพื่อให้ลูกค้าได้รับรู้ถึงจริยธรรมของผู้ขาย ซึ่งเป็นหลักสำคัญประการหนึ่ง ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ ความน่าเชื่อถือ ด้านความรับผิดชอบ ความยุติธรรม และความปลอดภัยถือเป็นหลักสำคัญในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่น เชื่อถือไว้วางใจ มีสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ขายสินค้าออนไลน์ ก่อให้เกิดความผูกพันและความภักดีของลูกค้าในการซื้อสินค้าแฟชั่นออนไลน์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑลต่อไป</p> ธนบวร สิริคุณากรกุล Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275797 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Cross-Cultural Management in Academic Institutions: A Perspective from Asia and West https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275795 <p> Cross-cultural management in institutions can help students and faculty members promote a learning culture. However, managing multicultural groups can be challenging for higher educational institutions. Therefore, this research aimed to identify the significant cultural differences in communication styles, leadership preferences, and team dynamics between Asian and Western students and faculty. Moreover, it has highlighted how cultural backgrounds influence teaching methods, classroom participation, and student-instructor interactions. Furthermore, the study has determined the challenges and benefits of working in multicultural academic teams. This research is qualitative and focused on literature-based arguments. The data were gathered from literature published in reputed journals. The results highlighted that due to different cultures, the communication styles, leadership preferences, and decision-making abilities of Asian and Western students are different. Therefore, the teaching strategies, learning patterns, and student-faculty relations perceived by each group are different. Western students prefer directness and open debate, but Asian students prefer indirect communication and respect the university policies.<br />Similarly, Western teachers focus on group discussion and active learning. Conversely, Asian teachers rely on structured lectures. This research's findings can act as guidelines for universities; they can acknowledge cultural differences and implement the recommendations of this study to create a more inclusive learning environment.</p> Tiwa Park Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275795 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษากับภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275794 <p> การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) พัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน โดยได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน 4 แผน รวม 24 ชั่วโมง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะในศตวรรษที่21 แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียวผลการวิจัยพบว่า<br /> 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อได้รับการจัด การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.05<br /> 2. ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี<br /> 3. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก</p> <p> </p> ธิติวุฒิ ต๊ะมัง, จุฬามาศ มหาไม้, สมศักดิ์ ก๋าทอง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275794 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การกำกับติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพของเครือข่ายภาคกลาง ระดับหน่วยงานทางการศึกษา ที่ได้รับเงินอุดหนุนประจำปีงบประมาณ 2563 จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กรณีศึกษา โรงเรียนท้ายหาด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275793 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการกำกับติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพของเครือข่ายภาคกลาง ระดับหน่วยงานทางการศึกษา ที่ได้รับเงินอุดหนุนประจำปีงบประมาณ 2563 จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา คือ เครือข่ายโรงเรียนท้ายหาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สมุทรสาครสมุทรสงคราม ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 44 คน แบ่งออกเป็น ครู 30 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 11 คน ศึกษานิเทศก์ 1 คน และ อาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษา 2 คน โดยมีการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) การโค้ชและเป็นพี่เลี้ยง และ 2) การกำกับ ติดตาม และประเมินผล ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรียนท้ายหาด สามารถดำเนินกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพของเครือข่ายตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในแบบเสนอโครงการเพื่อขอรับเงินอุดหนุนกิจกรรมประกอบด้วย 1.1) พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของผู้เรียน 1.2) เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ 1.3) เพื่อพัฒนาวิชาชีพและหาแนวทางในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้เรียน 1.4) เพื่อพัฒนาวิชาชีพให้สามารถวางแผนและแก้ปัญหาการเรียนการสอนสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 1.5) เพื่อให้สมาชิกที่เข้าร่วมมีความสามารถในการใช้ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันวิชาชีพของตนเองและในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การประเมินกิจกรรมการดำเนินงานของเครือข่ายชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย 2.1) ความพร้อม 2.2) ด้านกระบวนการ และ2.3) ด้านผลลัพธ์</p> พงษ์ลิขิต เพชรผล, เพ็ญวรา ชูประวัติ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275793 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาพัฒนาการภูมิปัญญา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สมัยทวารวดีอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275792 <p> งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาพัฒนาการภูมิปัญญา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สมัยทวารวดีอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” มีวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย เพื่อศึกษาการพัฒนาการภูมิปัญญา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สมัยทวารวดี จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สมัยทวารวดีอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และ เพื่อสร้างรูปแบบและนำเสนอการศึกษาพัฒนาการภูมิปัญญา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สมัยทวารวดีอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) เก็บข้อมูลเชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 14 คน/รูป และสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กลุ่มพระสงฆ์ที่มีความเชียวชาญเกี่ยวกับทวารวดี, กลุ่มนักวิชาการเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง และ กลุ่มชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องทวารวดี ทั้งสิ้น 9 คน/รูป เพื่อนำไปสู่การสะท้อนคิด เพื่อยืนยันข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1) ผลการศึกษาการพัฒนาการภูมิปัญญา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมสมัยทวารวดี จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า สมัยทวารวดีเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของประวัติศาสตร์ไทยที่เต็มไปด้วยการเจริญรุ่งเรือง ซึ่งชาวทวารวดีจะเน้นการสร้างวัดและศาสนสถานเพื่อสืบสานความเชื่อและสร้างสรรค์ศิลปะในยุคนั้น ศิลปะ ซึ่งเป็นภาพที่สะท้อนความเจริญมาจากการสร้างปราสาท วัด และพระพุทธรูปที่เป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติธรรมและสร้างความเชื่อให้แก่ประชาชน 2) ผลวิเคราะห์ภูมิปัญญา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สมัยทวารวดีอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า การเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อปฏิบัติธรรม แสดงให้เห็นว่าพระพุทธรูปมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่คำสอน และการสร้างเอกลักษณ์และคุณธรรมในสังคม ผ่านการสืบทอดประเพณีศาสนาและตำนานท้องถิ่น ชี้ให้เห็นว่า ศาสนาและประเพณีในสมัยนั้นมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน และเป็นส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการสื่อสารทางสังคม 3) การสร้างรูปแบบและนำเสนอการศึกษาพัฒนาการภูมิปัญญา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สมัยทวารวดีอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า การเผยแผ่คำสอนทางพระพุทธศาสนาเชื่อมโยงกับการสร้างสถานที่และผลงานศิลป์ และส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูโบราณสถาน ศิลปวัตถุ และศิลปะท้องถิ่น มีผลทางคุณค่าทางจิตใจในการเสริมสร้างความเข้าใจและความสงบในสังคมปัจจุบัน ตลอดจนการสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สมัยทวารวดีอู่ทองที่มีการสร้างสรรค์ในการสร้างชุมชนที่เชื่อมโยงกับศาสนา สะท้อนถึงธรรมชาติ วัฒนธรรม และสถานการณ์สังคมท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน</p> ธนัชพร เกตุคง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275792 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประสบการณ์การฟันฝ่าอุปสรรคในวิถีชีวิตปกติใหม่ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสมาชิกชุมชนบ้านท่าโปร่ง จังหวัดพิษณุโลก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275781 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การฟันฝ่าอุปสรรคในวิถีชีวิตปกติใหม่ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสมาชิกชุมชนบ้านท่าโปร่ง จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวปรากฎการณ์วิทยา ผู้ให้ข้อมูลเป็นสมาชิกชุมชนบ้านท่าโปร่ง จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย<br /> ผลการวิจัยพบว่าสมาชิกชุมชนบ้านท่าโปร่งมีประสบการณ์สำคัญแบ่งเป็น 2 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1) อุปสรรคในวิถีชีวิตปกติใหม่ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ (1) อุปสรรคด้านร่างกาย ได้แก่ อาการลองโควิดและสุขภาพร่างกายที่ถดถอย (2) อุปสรรคด้านจิตใจ ได้แก่ ความกังวลด้านสุขภาพ ความกังวลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพและรายได้ (3) อุปสรรคด้านการปรับตัวทางสังคม ได้แก่ การปรับตัวที่เกิดจากการบังคับใช้มาตรการของภาครัฐ (4) อุปสรรคด้านการประกอบอาชีพ ได้แก่ ผลกระทบจากมาตรการภาครัฐที่มีต่อการประกอบอาชีพ ผลกระทบด้านรายได้ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการประกอบอาชีพ 2) ประสบการณ์การฟันฝ่าอุปสรรคในวิถีชีวิตปกติใหม่ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ (1) ประสบการณ์ด้านสุขภาพร่างกาย ได้แก่ การปฏิบัติตนตามมาตรการเพื่อสุขภาพร่างกาย การฟื้นฟูร่างกาย และการดูแลสุขภาพ (2) ประสบการณ์ด้านจิตใจ ได้แก่ การจัดการความกังวลด้านสุขภาพ และความกังวลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพและรายได้ (3) ประสบการณ์ด้านการปรับตัวทางสังคม ได้แก่ การปฏิบัติตามมาตรการเพื่อการปรับตัวทางสังคม (4) ประสบการณ์ด้านการประกอบอาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติตามมาตรการเพื่อการประกอบอาชีพ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน และการจัดการผลกระทบด้านรายได้และการเปลี่ยนแปลงด้านอาชีพ</p> ปวีณรัตน์ สิริธนาเรือง, นิรนาท แสนสา, จุรีรัตน์ นิลจันทึก Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275781 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 อัตลักษณ์ที่ปรากฏในผลงานสร้างสรรค์ของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275700 <p> การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างนาฏยศิลป์อีสานของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ และ 2) ศึกษาอัตลักษณ์ที่ปรากฏในนาฏยศิลป์อีสานของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลทางภาคสนามเป็นหลัก และทำการคัดเลือกชุดผลงานนาฏกรรมอีสานของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ 13 ชุดการแสดง ที่สร้างสรรค์ขึ้นและได้รับความนิยมจนกลายเป็นแบบแผนการถ่ายทอดและเรียนรู้ที่สำคัญ ที่มีความโดดเด่นทางด้านการแสดงพื้นบ้านของภาคอีสาน จากนั้นทําการเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลตามความมุ่งหมายของการวิจัย ด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างนาฏยศิลป์อีสานของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์นั้นประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 2 ส่วน คือ ด้านปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญา และ ปัจจัยด้านการแข่งขัน และการสร้างตัวตนทางสังคม อันเป็นส่วนสำคัญที่เอื้อต่อการประดิษฐ์คิดสร้างผลงานทางนาฏกรรมอีสานของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ 2) อัตลักษณ์ที่ปรากฏในนาฏยศิลป์อีสานนั้นอาศัยองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ด้านการแต่งกาย ด้านท่าฟ้อน และ ด้านดนตรี ที่มีส่วนสนับสนุนกลมกลืนกันจนทำให้ชุดการแสดงเกิดเป็นอัตลักษณ์ขึ้น จนกลายเป็นภาพจดจำที่ทำให้เกิดความแตกต่างจากสถาบันอื่นอย่างชัดเจน ซึ่งด้านการแต่งกายนั้นพบว่า เสื้อแขนกระบอกและการนุ่งผ้าถุงสั้นถือเป็นอัตลักษณ์ทางด้านการแต่งกายที่นิยมมากเป็นส่วนใหญ่ในแทบทุกชุดการแสดง ด้านเครื่องประดับเป็นที่นิยมมากที่สุดคือเครื่องประดับเงิน ด้านท่าฟ้อนพบว่า การฟ้อนท่าตั้งวง และท่านั่งฟ้อน เป็นท่าฟ้อนที่พบมากเป็นส่วนใหญ่ในแทบทุกชุดการแสดง ด้านอัตลักษณ์ทางดนตรีพบว่า จังหวะดนตรีที่นิยมมากที่สุดคือจังหวะลำเพลิน รองลงมาคือจังหวะภูไทกาฬสินธุ์ ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ด้านดนตรีของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์</p> ลลิฉัตร์ จิรนิมิตรรังสี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275700 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาแนวทางการกำหนดนโยบายสาธารณะในการบังคับใช้อุปกรณ์ควบคุมการสตาร์ทด้วยปริมาณแอลกอฮอล์เพื่อลดพฤติกรรมการดื่มแล้วขับในประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275082 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางในการกำหนดนโยบายสาธารณะในการบังคับใช้อุปกรณ์ควบคุมการสตาร์ทด้วยปริมาณแอลกอฮอล์ลดพฤติกรรมการดื่มแล้วขับในประเทศไทย 2) เสนอแนะแนวทางการกำหนดนโยบายสาธารณะในการใช้อุปกรณ์ควบคุมการสตาร์ทด้วยปริมาณแอลกอฮอล์ในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 60 คน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกฎหมาย 12 คน กลุ่มหน่วยงานรัฐ 17 คน กลุ่มคนที่มีพฤติรรมการดื่มแล้วขับ 15 คน กลุ่มด้านเทคนิคและกลไก 7 คน กลุ่มด้านการขนส่ง 2 คน กลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานด้านการป้องกันแก้ไขการดื่มแล้วขับ 7 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักส่วนใหญ่ เห็นด้วยในการนำอุปกรณ์ควบคุมการสตาร์ทด้วยปริมาณแอลกอฮอล์มาใช้ในประเทศไทย โดยให้ศาลเป็นผู้สั่งการสำหรับผู้กระทำความผิด และให้กรมการขนส่งทางบกเป็นผู้สั่งการสำหรับรถสาธารณะ ในการกำกับดูแลการตรวจสอบและติดตาม กรณีผู้กระทำความผิด ตรวจสอบและติตตามโดยกรมคุมประพฤติ กรณีรถสาธารณะ การตรวจสอบและติดตามโดยกรมการ<br />ขนส่งทางบก การนำนโยบายไปปฏิบัติควรมีการแบ่งระยะการบังคับใช้ โดยระยะทดลอง บังคับใช้กับผู้กระทำความผิดตั้งแต่การกระทำผิดครั้งแรกเท่ากับเวลาถูกคุมประพฤติ การรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเป็นของผู้กระทำผิดและผู้ดำเนินกิจการรถสาธารณะ นโยบายที่ต้องการเพื่อสนับสนุน คือ การลดหย่อนภาษี ปัญหาและข้อกังวล คือ การดัดแปลงอุปกรณ์ </p> ชนินทร์ จักรภพโยธิน, ณัฐพล สิทธิพราหมณ์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275082 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของทนายความผู้ทำคำ รับรองลายมือชื่อและเอกสาร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274396 <p> งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับความรับผิดของทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารทั้งของราชอาณาจักรไทยและของต่างประเทศเพื่อหามาตรการที่เหมาะสมแก้ไขกฎหมายไทย โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสารจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 และข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2551 ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ<br /> จากการศึกษาพบว่ามีปัญหา คือ ในราชอาณาจักรไทยไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความรับผิดของทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ไม่มีบทบัญญัติที่เป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ รูปแบบหรือแบบฟอร์มในเอกสารที่ต้องลงลายมือชื่อ และไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าบริการของการรับรองลายมือชื่อและเอกสารโดยทนายความผู้ทำคำรับรองไว้ จึงเสนอแนะว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2551 โดยให้มีการกำหนดความรับผิดของทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามแนวทางกฎหมายของสหราชอาณาจักรและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีที่กำหนดให้ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่คู่กรณี ควรให้มีการกำหนด รูปแบบหรือแบบฟอร์มที่ชัดเจนในการรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามแนวทางของประเทศญี่ปุ่นที่ระบุรูปแบบขั้นตอนการรับรองเอกสารไว้ในกฎหมายให้เป็นหลักปฏิบัติเดียวกัน อีกทั้งควรให้มีการกำหนดอัตราค่าบริการที่เป็นมาตรฐานตามแนวทางของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและประเทศญี่ปุ่นที่ต้องเรียกเก็บตามอัตราที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น</p> พัทธนันท์ ศรสำแดง , ปริญญา ศรีเกตุ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274396 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวโดยใช้บุคคลซึ่งไม่มี ตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นหลักประกัน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274397 <p> งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวโดยใช้บุคคลซึ่งไม่มีตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นหลักประกันของราชอาณาจักรไทยและของต่างประเทศ เพื่อหามาตรการที่เหมาะสมมาเสนอแนะในการแก้ไขกฎหมายของไทย ซึ่งใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ บทความ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ 1) พนักงานอัยการ 2) พนักงานสอบสวน 3) นักวิชาการ 4) ทนายความ และ 5) ประชาชน<br /> จากการศึกษาพบว่า มีปัญหาที่สำคัญ 3 ประการ คือ 1.ในราชอาณาจักรไทยไม่มีบทบัญญัติกำหนดให้ใช้วิธีการปล่อยชั่วคราวโดยใช้บุคคลซึ่งไม่มีตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นหลักประกันได้ ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ควรมีการกำหนดให้ใช้วิธีการปล่อยชั่วคราวโดยใช้บุคคลซึ่งไม่มีตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นหลักประกันได้ซึ่งถือเป็นแนวความคิดใหม่ 2.ไม่มีการประเมินความเสี่ยงของการนำบุคคลผู้ไม่มีตำแหน่งหน้าที่การงานมาเป็นหลักประกันไว้ ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ควรมีการกำหนดเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงของการนำบุคคลผู้ไม่มีตำแหน่งหน้าที่การงานมาเป็นหลักประกันไว้ตามแนวทางของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา 3. ไม่มีมาตรการในการควบคุมกำกับดูแลหลังปล่อยชั่วคราวกรณีนำบุคคลผู้ไม่มีตำแหน่งหน้าที่การงานมาเป็นหลักประกัน ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ควรมีมาตรการในการควบคุมกำกับดูแลหลังปล่อยชั่วคราวกรณีนำบุคคลผู้ไม่มีตำแหน่งหน้าที่การงานมาเป็นหลักประกัน ตามหลักของสหราชอาณาจักรและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมีประกันและหลักประกันให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ เหมาะสม สอดคล้องกับหลักการและทฤษฎีทางกฎหมายมหาชน และบรรลุวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติไว้</p> จงเจตน์ พึ่งสาย , รัฐชฎา ฤาแรง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274397 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Approaches to Enhance Principals' Leadership in Local Higher Vocational Colleges in Nanyang City, China https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275836 <p> The purposes of this research were: 1) to investigate the components of principals' leadership in local higher vocational colleges in Nanyang City, China;2) to explore the current situation and desirable condition of principals' leadership in local higher vocational colleges in Nanyang City, China;3) to construct the approaches to enhance principals' leadership in local higher vocational colleges in Nanyang City, China ;4) to assess the approaches to enhance principals' leadership in local higher vocational colleges in Nanyang City, China. The research instruments were an existing and desirable situation questionnaire, an expert index of concordance assessment form (IOC), the structured interview form, and approaches evaluation form. Statistics used were mean, standard deviation, and the modified priority needs index.<br /> The research results were:1) The components of principals' leadership in local higher vocational colleges comprised of 5 dimensions and 10 sub-dimensions; 2) The existing situation and desirable situation of principals' leadership in local higher vocational colleges was both at a high level, and the needs to enhance principals' leadership in local higher vocational colleges were ranked from high to low was interpersonal leadership, academic leadership, structural leadership, educational Leadership, cultural leadership; and 3) The approaches to enhance principals' leadership in local higher vocational colleges comprised of 5 main parts and 21 measures. 4) The evaluation revealed that the propriety the feasibility, and the utilities of the approaches were at the highest level in all evaluation standards.</p> Zhang Liping, Suchada Bubpha , Pimporn Charuchit Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275836 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Cultural Imprint of Doumen Ancient Street - Study on the Integration of Tradition and Innovation in the Design of Tourist Souvenirs https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275824 <p> The rich historical culture and folk customs of Doumen Ancient Street are losing their vitality due to globalization and modernization. This study proposes innovative cultural product designs to revitalize tourism and preserve its heritage.This study aims to design and express Doumen Ancient Street cultural products in different forms, and constantly summarize and them into tourist souvenirs with clear characteristics. Through in-depth analysis of the historical buildings, intangible cultural heritage, and local folk customs of Doumen Ancient Street, this study proposes a series of innovative souvenir design solutions. These solutions are not only aimed at enhancing the cultural experience of tourists, but also committed to promoting the development of cultural tourism in Doumen Ancient Street. The study uses field visits, interviews, and questionnaires to collect first-hand information on the cultural identity of Doumen Ancient Street, and based on this, designs tourist souvenirs with clear characteristics. Finally, through user experience evaluation, the effectiveness of these souvenirs in conveying the cultural value of Doumen Ancient Street was verified, providing new ideas and practical solutions for the cultural communication and tourism development of Doumen Ancient Street.</p> Xiaopeng Yuan, Pisit Puntien Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275824 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Approaches to Enhance Rural Teacher Competence in China's Lingui District https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275812 <p> The objective of this research is to study the components of work competencies for rural teachers in Lingui County of China. The research is divided into three phases as follows: Phase 1 is a synthesis of competency models for rural teachers. Phase 2 surveyed the current competence status of rural teachers. Phase 3 is to design and create guidelines to increase the capacity of rural teachers. Population and Sample: This study used the Lingui District of China, which has approximately 76 primary and secondary schools with a total number of teachers of approximately 1,900, divided into 65 primary school groups and a total of approximately 1,000 teachers and 11 middle school groups. Total number of teachers is approximately 750 people. Research tools: Estimated questionnaires were used. 5 levels of Likert scale Research statistics: use averages, percentages, standard deviations. and summarize descriptive research statistics. Components of work competency for teachers include: Teachers have professional knowledge and abilities, educational and teaching abilities, and a good professional conduct. ,good personal characteristics, instructional design ,Educational operations are being carried out. , educational research, a good professional attitude, professional pride and professional ethics. Overall summary of the components of teacher professional competency is at a high level, with an average of 4.73.</p> Libo Wu , Pimporn Charuchit , Suchada Bubpha Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275812 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275800 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา 2) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา เรื่อง พลังงานเสียง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนวัดยางงาม ในกลุ่มเครือข่ายท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 22 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม และใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาของชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 3) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 2. นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน อยู่ในระดับมาก 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก</p> รัชดา ยุโส๊ะ, สุพัฒน์ บุตรดี, จิราภรณ์ เหมพันธ์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275800 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Development of Distribution Channel Strategies for Modern Retail Organizations https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275802 <p> This quality research aims to: 1) study the development of distribution channels for modern retail organizations, 2) examine factors influencing the development of distribution channel strategies for modern retail organizations, and 3) develop multichannel distribution strategies for modern retail organizations. The sample group consists of eight participants, including retail managers and experts in the retail industry, who were selected using purposive sampling and snowball sampling methods. Data were collected through in-depth interviews, with the Critical Incident Technique (CIT) employed to gather insights from experienced individuals. The research instrument used was an interview form focused on the development of distribution channel strategies for modern retail organizations. The data were analyzed using content analysis.<br /> The findings revealed that distribution channel strategies for modern retail organizations comprise four key components: 1) analyzing customers, 2) developing strategy, 3) designing sales channels, and 4) implementation and evaluation. Based on these findings, it is recommended that retail organizations in Thailand collect and assess customer data from each sales channel to better understand customer needs. This approach will enable efficient management of a diverse marketing channel mix, thus enhancing the overall performance of modern retail organizations in the region.</p> Samaporn Nualsut, Sujinda Promkum , Seksan Werasuk Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275802 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เขตสุขภาพที่ 4 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275176 <p> งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การขับเคลื่อนนโยบาย ได้แก่ การบูรณาการ ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดในการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน 2) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยการขับเคลื่อนนโยบาย ได้แก่ นโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกช่วงวัย ภาวะผู้นำ และการมีส่วนร่วมต่อการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน และ 3) นำเสนอรูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 บุคคล ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลระดับเขต จำนวน 6 บุคคล ระดับจังหวัด จำนวน 8 บุคคล และระดับอำเภอ จำนวน 16 บุคคล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ถึง วันที่ 28 มีนาคม 2567<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การบูรณาการ ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัด ใช้หลักการบูรณาการยุทธศาสตร์ด้วยการเชื่อมโยงพลังทางสังคม พลังวิชาการ และพลังอำนาจรัฐ สร้างเสริมพลังแห่งการเรียนรู้พื้นที่เป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง และการติดตามประเมินผลให้ต่อเนื่อง 2) นโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกช่วงวัยมีอิทธิพลต่อการวางยุทธศาสตร์เชื่อมโยงกับประเด็นมิติด้านสังคม และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อความปลอดภัย ส่วนอิทธิพลของผู้นำจะพัฒนากรอบความคิด วิสัยทัศน์ การจัดองค์ความรู้พื้นฐานชีวิตในลักษณะของไตรภาคีให้เป็นพื้นที่จัดการตนเอง ซึ่งอิทธิพลการมีส่วนร่วมจะเสริมพลังการสร้างปัญญาเชื่อมร้อยพลังทุกภาคส่วนจัดทำยุทธศาสตร์ที่สมดุล พัฒนากลไกการปร<strong>ะ</strong>สานเชื่อมโยงกับองค์กรภาคีเครือข่ายในทุกระดับ และ 3) THONGTON<strong><sup>,</sup></strong>s Model เป็นรูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ประกอบด้วย (1) การสร้างทีมด้วยภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลสร้างศรัทธาและบารมี (2) การบูรณาการและการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกันแบบองค์รวม (3) การจัดโครงสร้างองค์กรชัดเจนเหมาะสม (4) ภาคีและเครือข่ายทำงานร่วมกันแบบพหุภาคี (5) ใช้กระบวนทัศน์กรอบแนวคิดเชิงพัฒนาการเติบโตในการวัดแนวโน้มสถานการณ์ (6) ความไว้วางใจจากการมีส่วนร่วมและยกย่องเชิดชูเกียรติด้วยความชื่นชมยินดี (7) เสริมสร้างโอกาสในเชิงการพัฒนาและความรอบรู้ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ (8) กำหนดนโยบายเมืองคุณภาพชีวิตน่าอยู่เป็นวาระแห่งชาติต่อไป</p> มานพ ทองตัน, พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275176 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 A Guideline for Developing Administrators' Digital Competence in the Next Normal Era at the Kampong Chhnang Provincial Teacher Training Center, Cambodia https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275646 <p> Kampong Chhnang Provincial Teacher Training Center (PTTC) lacks digital competence and was unprepared to adjust to the COVID-19 crisis. Even though the Ministry of Education, Youth, and Sport (MoEYS) put efforts into developing online platforms such as Google Meet and Zoom and encouraged the administrators, educators, and trainers to use them, the performance was still low, and their administrative management is still carried out using conventional methods with little support from information and communication technology (ICT) facilities. This research aimed to: 1) study administrators’ digital competence in the next normal era at Kampong Chhnang Provincial Teacher Training Center, Cambodia, 2) analyze the administrators’ digital competence at the center, and 3) offer a guideline for developing administrators’ digital competence in the next normal era at this center. The researcher used the qualitative method to conduct the study which included in-depth interviews and focus group discussions with 15 key informants, consisting of 7 administrators, 4 technical supervisors and 4 teacher trainees who were selected by purposive selection according to the inclusion criteria. The data were analyzed using content analysis and presented in a descriptive style.<br /> The results of the research were as follows: 1) the administrators had a positive attitude toward developing digital competence in the following five main areas: information and data literacy, communication and collaboration, digital content creation, safety, and problem solving.​ This was due to the fact that they have used online platforms as sources of information and methods of communication; 2) it was found that the actual competence in these areas was limited and that improvement was necessary in order for them to use digital technology more efficiently and proactively; and 3) the guideline for developing the administrators’ digital competences in the next normal era at Kampong Chhnang Provincial Teacher Training Center, Cambodia consisted of three main factors: stakeholder support, teacher training center policy and strategic plan, and administrators’ personal visions.</p> <p>Based on the results above, the administrators need to be supported in terms of building the skills regarding using digital technology. Therefore, the guideline developed by this study is one of the tools that help them develop their digital competence and engage themselves more effectively and proactively. </p> Sokveasna Srey, Theerangkoon Warabamrungkul, Jakrapan Wongpa , Reongwit Nilkote Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275646 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบสภานิติบัญญัติที่เหมาะสมสำหรับราชอาณาจักรไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274950 <p> การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาข้อเท็จจริง และปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับรูปแบบสภานิติบัญญัติของราชอาณาจักรไทย (2) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบสภานิติบัญญัติของราชอาณาจักรไทย ของต่างประเทศ และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (3) ศึกษาวิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับรูปแบบสภานิติบัญญัติของต่างประเทศ (4) เสนอแนะมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับรูปแบบสภานิติบัญญัติของต่างประเทศที่มีความเหมาะสมในการนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการกำหนดรูปแบบสภานิติบัญญัติของราชอาณาจักรไทย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบสภานิติบัญญัติของราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และราชอาณาจักรนอร์เวย์ ต่างยอมรับในประสิทธิภาพของระบบสภาเดียวโดยสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากเมื่อมีการอนุวัตบังคับใช้แล้วทำให้กระบวนการทางนิติบัญญัติเป็นไปด้วยความรวดเร็ว กระชับ มีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน และลดภาระค่าใช้จ่ายของงบประมาณแผ่นดิน และที่สำคัญทำให้องค์กรนิติบัญญัติมีความยึดโยงกับประชาชนอันเป็นความชอบธรรมที่ระบอบประชาธิปไตยไม่อาจสลัดทิ้งไปได้ ด้วยเหตุนี้จึงควรนำเอาระบบสภานิติบัญญัติในรูปแบบสภาเดียวมาปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับบริบทการเมืองการปกครองของราชอาณาจักรไทยในอนาคต เพื่อให้องค์กรนิติบัญญัติมีความสง่างามและทัดเทียมกับอารยะประเทศ</p> <p> </p> เอกวีร์ เอกอัฏฐวัฒน์ , ปริญญา ศรีเกตุ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274950 Fri, 03 Jan 2025 00:00:00 +0700 การพัฒนาการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275644 <p> การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษารูปแบบการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด 3) พัฒนาสื่อการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เชิงปฏิบัติการ และการวิจัยและพัฒนา ตัวแทนพระสงฆ์และประชานชนพื้นที่วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด รวมประชากรกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น จำนวน 440 รูป/คน จาการสุ่มแบบเจาะจง<br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. รูปแบบการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า การรับรู้รูปแบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.14 พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ การมีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.18<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด ผลการประเมินศักยภาพ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.00 ความสามารถและความต้องการร่วมกิจกรรม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.18 ผลการหาความต้องการและเป้าหมายการใช้ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.19 ผลพัฒนาส่งเสริม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.24 ผลการรับรองรูปแบบ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.22 ความพึงพอใจต่อการพัฒนา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.25<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. พัฒนาสื่อการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด การศึกษารูปแบบ พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.20 การมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.19</span></p> <p> </p> พระครูวาปีจันทคุณ, สัมพันธ์ เอกรักษา Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275644 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Impact of Physical Education on Student Well-Being: A Comparative Study of Traditional and Innovative Teaching Methods https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275760 <p> This study investigates the impact of different physical education (PE) teaching methods on student well-being, comparing traditional and innovative approaches. The primary objective is to assess how these teaching strategies influence various aspects of student health, including physical fitness, mental well-being, and social engagement. A comparative, cross-sectional research design was employed, involving surveys, interviews, and classroom observations. The study involved students from [specify age/grade level] across [specific region/country] during the [academic year]. Key findings indicate that students exposed to innovative teaching methods, such as game-based learning and technology-integrated lessons, showed higher levels of engagement, improved psychological outcomes, and better physical health indicators compared to those taught with traditional methods. These results suggest that adopting more interactive and student-centered PE teaching strategies can enhance student well-being. The study highlights the need for educational reforms that integrate innovative pedagogies into PE curricula to foster holistic student development.</p> Liu Yongsen , Zhang Guodong Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275760 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Impact of Physical Education on Student Well-Being and Academic Performance https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275761 <p> Physical education (PE) significantly enhances student well-being, academic performance, and holistic development. Regular physical activity improves mental health, reduces stress, and boosts cognitive functions such as memory and focus, positively impacting academic outcomes. Additionally, PE fosters teamwork, leadership, and communication skills, contributing to students' social and emotional growth. As sedentary lifestyles and mental health challenges rise, integrating PE into school curriculums is vital for promoting healthy, well-rounded, and academically successful studentst</p> Wu Xuan , Zhao Min Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275761 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำรองเพื่อส่งเสริมการควบคุมตนเองของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275426 <p> การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (R &amp; D) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำรอง สร้างและตรวจสอบแนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำรอง ศึกษาผลการทดลองใช้แนวทาง และประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของแนวทางดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 133 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan และใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นจากแต่ละเขตพื้นที่ ผู้ตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นของแนวจำนวน 5 คน ครูผู้สอนลูกเสือสำรอง จำนวน 10 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ที่เข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือสำรอง จำนวน 48 คน ของโรงเรียนวัดไผ่เกาะโพธิ์งาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้อง แบบวัดการควบคุมตนเองของนักเรียน และประเด็นสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และวิธีวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัย พบว่า การบริหารกิจกรรมลูกเสือสำรองของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก แนวทางการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำรองเพื่อส่งเสริมการควบคุมตนเองของนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำ ด้านการควบคุม ด้านการจัดองค์กร และด้านการวางแผน ผลการตรวจสอบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินการควบคุมตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาหลังการใช้แนวทางในภาพรวม นักเรียนมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และแนวทางที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมกับสภาพการบริหารกิจกรรมลูกเสือสำรองของโรงเรียน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและมีประโยชน์ต่อการสอนและการจัดกิจกรรมลูกเสือสำรอง</p> กฤษณา พุ่มพันธ์ม่วง, ณัฐกานด์ ประจันบาน, อนุชา กอนพ่วง , ณัฎฐ์ รัตนศิริณิชกุล Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275426 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางสาธารณสุขแบบมีส่วนร่วม สำหรับผู้นิเทศ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275798 <p> การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการนิเทศทางสาธารณสุข สำหรับผู้นิเทศระดับอำเภอของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้นิเทศจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 30 คน และผู้รับการนิเทศระดับอำเภอ 20 อำเภอ จำนวน 40 คน ดำเนินการระหว่างเดือนธันวาคม 2565-เดือนกันยายน 2566 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศงานสาธารณสุขระดับอำเภอ 2) การศึกษาความเห็นของผู้นิเทศ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถาม และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Percentage difference <br /> ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการนิเทศทางสาธารณสุข พบว่า มีปัญหาทั้งด้านบทบาท ด้านผู้รับการนิเทศ ด้านกระบวนการนิเทศ และด้านเครื่องมือการนิเทศ รูปแบบการนิเทศฯ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การค้นหาปัญหา โดยการเยี่ยมตรวจการร่วมมือปฏิบัติและการสังเกต 2) การแก้ปัญหาโดยการให้คำปรึกษา การให้คำแนะนำ การแก้ปัญหาและการสอนงาน และ 3) การมีส่วนร่วมและการตัดสินใจร่วมกัน และหลังการพัฒนาผู้นิเทศทางสาธารณสุขมีความรู้เกี่ยวกับการนิเทศงานสาธารณสุขเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 41.27 และ 36.84 ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งส่งให้ผู้นิเทศมีการพัฒนาศักยภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำรูปแบบนี้ไปใช้พัฒนาผู้นิเทศงานสาธารณสุขในหน่วยงานต่อไป</p> ดิษณ์กร สิงห์ยะเมือง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275798 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Rainbow Dichotomy: Evaluating Perceptions of 'Rainbow-Washing' in Pride Month Marketing Campaigns Among Lgbtq+ and Heterosexual Consumers in Thailand https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275768 <p> This research aims to critically evaluate the perceived authenticity of Pride Month marketing campaigns in Bangkok, Thailand, as well as the willingness for multiple cohorts of consumers to buy products advertised by the LGBTQ+ or Pride initiatives. The population of interest is LGBTQ+, heterosexual, and heterosexual people who are uninterested or opposed to the rights benefited by LGBTQ+ people. A total of 383 participants were stratified and randomly sampled, so that each group is represented. Research instruments consist of structured and unstructured questionnaires and in-depth interview guides for quantitative and qualitative data. Descriptive statistics, inferential statistics (such as ANOVA and regression analysis), and thematic analysis were applied to the statistical analysis of research questions by descriptive measures, ANOVA, and regression analysis, in a simple and effective manner.<br /> This finding shows that different demographic groups have radically different perceptions about the authenticity of Pride Month marketing. In general, LGBTQ+ people and allies find more authenticity in these campaigns than indifferent or opposed to LGBTQ+ rights, who often demonstrate skepticism for fears that the campaigns are 'rainbow washing.' Response to emotional experiences represented through affect clues reveals how purchase willingness is driven by positive emotions across LGBTQ+ populations and possessed by negative emotions in alternative populations. What the study points out, most importantly, is that marketing is about enabling that authenticity and building trust in something consumers believe in, which in this case is supporting LGBTQ+ rights. Brands should work closely with LGBTQ+ communities and create campaigns that are LGBTQ+ inclusive, and avoid superficial practices which will repel potential audiences.</p> Minjade Paklapas, Rueanglada Punyalikit , Eakachat Joneurairatana Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275768 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมและความคาดหวังของชาวมาเลเซียที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาส https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275746 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมของชาวมาเลเซียที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาส 2) ระดับความคาดหวังของชาวมาเลเซียที่เข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาสและ 3) ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมและความคาดหวังของชาวมาเลเซียที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาส โดยการสุ่มตัวอย่างจากชาวมาเลเซียที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาส เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ไคสแควร์ (Chi-square) <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมของชาวมาเลเซียที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาส พบว่ามีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อมาพักผ่อน โดยส่วนใหญ่เดินทางมาเป็นกลุ่ม และได้รับข้อมูลการท่องเที่ยวจากเพื่อน ๆ และญาติพี่น้อง ส่วนใหญ่มาในวันหยุดราชการซึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่ชาวมาเลเซียส่วนใหญ่ให้ความสนใจคือซัมเมอร์ทอน 2) ระดับความคาดหวังของชาวมาเลเซียที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาส พบว่า ความคาดของชาวมาเลเซียที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาส โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความคาดหวังของชาวมาเลเซียอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านเรียงจากมากไปน้อย คือ ด้านราคา ด้านบุคคล ด้านสถานที่ ด้านสินค้าและบริการ และด้านโปรโมชั่น 3) ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมและความคาดหวังของชาวมาเลเซียที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดนราธิวาส พบว่า วัตถุประสงค์ในการเดินทางของชาวมาเลเซียมีความสัมพันธ์กับด้านบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผู้ร่วมเดินทางในครั้งนี้มีความสัมพันธ์กับด้านสินค้าและบริการ ด้านราคา ด้านสถานที่ และด้านบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> พัชนี แก้วสุกใส, เอกนันท์ ทองจันทร์ , วราวรรณ ตระกูลสรณคมน์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275746 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษานโยบายและบทบาทโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก เพื่อยุติความรุนแรงทางเพศ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275734 <p> ความรุนแรงทางเพศ หรือความรุนแรงต่อสตรีและเด็กหญิงเป็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งส่งผลเสียต่อสตรี ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ เป็นความรุนแรงทางใจ ทางกาย และทางเพศ พบมากขึ้นในสังคมและในโรงเรียน องค์การความริเริ่มทางการศึกษาของเด็กหญิงในสหประชาชาติ จึงเสนอยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมทั้งโรงเรียนในยุติความรุนแรงทางเพศในโรงเรียน ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2566 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาว่านโยบายและบทบาทของโรงเรียนมัธยมในจังหวัดพิษณุโลกที่จะยุติความรุนแรงมีอย่างไร สอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบการกำกับติดตามการบริหารแบบมีส่วนร่วมทั้งโรงเรียนเพียงใด มีปัญหาอะไร ควรแก้ไขอย่างไร ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 10 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจงจาก 5 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1 คน การวิเคราะห์ข้อมูลทำโดยเทคนิควิธีสรุปอุปนัย <br /> ผลการวิจัย พบว่า โรงเรียนมัธยมในจังหวัดพิษณุโลกที่เป็นกรณีศึกษา มีนโยบายและแสดงบทบาทที่สอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบการกำกับติดตามการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อยุติความรุนแรงทางเพศ 5 ใน 8 ด้าน มีปัญหาสำคัญด้านการสนองต่อเหตุการณ์ และด้านความปลอดภัยมั่นคงทางกายภาพของสิ่งแวดล้อมรอบโรงเรียน ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา คือ ให้รัฐบาลมุ่งปรับปรุงระบบส่งต่อที่เชื่อมโยงกันทุกระดับในท้องถิ่น และยกระดับคุณภาพของโรงเรียนให้เท่าเทียมกันทั้งระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน </p> พรรณนภา ปีตะนีละผลิน, ฉันทนา จันทร์บรรจง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275734 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากศิลปะ ทวารวดีในจังหวัดนครปฐม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275717 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและสภาพบริบทของมูลค่าทางเศรษฐกิจของทุนทางวัฒนธรรมทวารวดี 2) สร้างรูปแบบการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรมทวารวดี 3) ประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมจากการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรมทวารวดีจังหวัดนครปฐมใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) ชุมชนจำนวน 400 ราย (2) ผู้ประกอบการ จำนวน 400 ราย (3) ผู้บริโภค จำนวน 400 ราย การสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือวิจัย คือแบบสอบถาม การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 กลุ่ม คือ ตัวแทนผู้ประกอบการทุนทางวัฒนธรรม ชุมชนทางวัฒนธรรม และหน่วยงานรัฐ ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและสภาพบริบทของทุนทางวัฒนธรรมทวารวดีประสบปัญหาความเสื่อมของวัฒนธรรมเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และขาดการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน2) รูปแบบการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรมทวารวดี เน้นส่งเสริมผู้ประกอบการที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบด้วยวัฒนธรรมทวารวดี การแก้ปัญหาธุรกิจ สำรวจตลาด แลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่าย โดยภาครัฐสนับสนุนกำลังผลิต เงินทุน การตลาด และจัดจำหน่าย เพื่อความร่วมมือและกระจายผลประโยชน์สู่ชุมชน และ 3) การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม พบว่าในปี 2566 อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนอยู่ที่ 1:0.39 และเพิ่มเป็น 1:0.97 ในปี 2567 อัตราผลประโยชน์ต่อต้นทุนอยู่ที่ 1:1.64 และเพิ่มเป็น 1:2.13 ส่วนอัตราผลตอบแทนทางสังคม ปีแรกมีค่าอยู่ที่ 2.28 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็น 3.83 ใน 5 ปี</p> สุประวีณ์ ศิรินุกุลวัฒนา , เสาวนีย์ มะหะพรหม Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275717 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากิจกรรมการออกกำลังกายนาฏยลีลาทวารวดีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพในชุมชนจังหวัดนครปฐม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275716 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบกิจกรรมการออกกำลังกายนาฏยลีลา ทวารวดี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในชุมชนจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านประสบการณ์ และสุขภาวะจากการทดสอบกิจกรรม นาฏยลีลา ทวารวดีในชุมชนจังหวัดนครปฐม ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยคัดเลือกผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น ใช้วิธีเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 16 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับนักท่องเที่ยว หาขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยเทคนิคของคอแครนได้จำนวน 400 คน ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) สามารถออกแบบกิจกรรมการออกกำลังกายนาฏยลีลาทวารวดี 11 ท่า เป็นการบริหารร่างกายเข้ากับจังหวะเพลงที่เน้นการยืดและเหยียด ด้วยท่วงท่าที่สวยงาม ช่วยเรื่องการฝึกการหายใจ สมาธิ ผ่อนคลาย และสร้างความสุขในการออกกำลังกายร่วมกับผู้อื่น เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และผู้ที่รักสุขภาพ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจด้านประสบการณ์ และสุขภาวะที่ได้รับจากการทดสอบกิจกรรมนาฏยลีลาทวารวดี พบว่า ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก</p> ประพนธ์ เล็กสุมา, พิมพ์ชนก มูลมิตร์, ณฤภัค อาขวานนท์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275716 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 From Tradition to Market: A Study of the Design Application of "Jiama" Images in Souvenirs https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275710 <p> This study aims to explore the innovative application and commercialization pathways of images from the traditional Bai ethnic craft “Jiama” in the design of modern tourism souvenirs. Focusing on “Jiama” images, the study combines design practice cases to analyze the potential and value of traditional cultural symbols in contemporary tourism souvenir design. Guided by innovation and practicality, the study selects several design works based on “Jiama” images as samples, with market feedback serving as a key evaluation criterion, it is a qualitative research. Research instruments include questionnaire, data collection, literature reviews, expert interviews and data analysis to obtain multidimensional research information. The analysis adopts a combination of qualitative and quantitative methods to systematically demonstrate the practical effects of “Jiama” images in terms of design strategies, craftsmanship implementation, and market performance.<br /> The research results found that indicate that integrating traditional cultural elements into modern design provides a feasible path for the contemporary revitalization of cultural heritage while showcasing its market potential and cultural value. Through the innovative design and application of “Jiama” images, the research successfully transforms cultural symbols, originally confined to traditional contexts, into modern products that combine practicality and artistry. This transformation further enriches the content and form of Yunnan’s ethnically distinctive tourism souvenirs, promoting the synergistic development of cultural and creative industries with the local tourism economy. Compared to existing studies, this research not only verifies the practical value of traditional cultural symbols in modern design but also offers new references for the development of similar cultural resources worldwide. These practical experiences provide insights into the transformation of traditional cultural resources in other regions and offer theoretical support for designers and practitioners exploring new ways to integrate culture and markets.</p> Huang Pengchuan, Veerawat Sirivesmas , Kwan Rueanglada Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275710 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 พัฒนาการการประกอบกิจการโทรคมนาคมและการกำกับดูแลในประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275707 <p> บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “พัฒนาการการประกอบกิจการโทรคมนาคมและการกำกับดูแลในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องรวมถึงกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมและการกำกับดูแล (2) ศึกษาวิวัฒนาการเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมและการกำกับดูแลรวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย (3) วิเคราะห์พัฒนาการเกี่ยวกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมและการกำกับดูแลในแต่ละยุคโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการโทรคมนาคมและการกำกับดูแลของประเทศไทยในปัจจุบันให้เหมาะสมยิ่งขึ้น<br />การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีวิจัยเอกสาร ได้แก่ ตำรา หนังสือ บทความวิชาการ งานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ ตัวบทกฎหมาย และเอกสารทางวิชาการอื่นๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ<br /> ผลการศึกษาพบว่า (1) กิจการโทรคมนาคมเป็นบริการสาธารณะที่มีลักษณะผูกขาด ต่อมาในทางสากลจึงเริ่มมีการเปิดเสรี จึงมีการออกกฎหมายมากำกับดูแลในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการออกใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบการ (2) กิจการโทรคมนาคมของไทยมีวิวัฒนาการเป็น 3 ยุค จากยุคผูกขาดสู่ยุคเปิดเสรี เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจและก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีกฎหมายการกำกับดูแลเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ คือกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโทรคมนาคม (3 ) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดส่งผลต่อการออกกฎหมายเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมและการกำกับดูแลในแต่ละยุค จากยุคผูกขาดสู่การเปิดเสรี จากนั้นเกิดการหลอมรวมสื่อ และพัฒนาสู่ยุคดิจิทัล ทำให้รูปแบบการกำกับดูแลไม่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และคุ้มครองสิทธิของบุคคล รวมทั้งองค์กรกำกับดูแลไม่สามารถปรับหลักเกณฑ์ได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (4) ควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายกิจการโทรคมนาคมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี คือการแบ่งประเภทใบอนุญาตการประกอบกิจการออกเป็น โทรคมนาคมขั้นพื้นฐาน โทรคมนาคมเสริม และโทรคมนาคมที่ทันสมัยและเพื่อให้สามารถกำหนดหลักเกณฑ์การกำกับดูแลที่เหมาะสมต่อไป นอกจากนี้การแก้ไขกฎหมายควรต้องมีความยืดหยุ่นในยุคดิจิทัล และรองรับนวัตกรรมใหม่ๆ ในอนาคตได้</p> เบญจมาศ แก้วไวยุทธิ์, ศาสดา วิริยานุพงศ์ , สิริพันธ์ พลรบ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275707 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Designing an Assessment Model for Teaching in Vocational Undergraduate Colleges in China https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275702 <p> The purposes of this research were: 1) to investigate the components and indicators of teaching assessment for vocational undergraduate colleges, 2) to explore the actual state, expected state, and Priority Need Index of teaching assessment for vocational undergraduate colleges, 3) to design the teaching assessment model for vocational undergraduate colleges, and 4) to assess the suitability and feasibility of teaching assessment model for vocational undergraduate colleges.<br /> This study used mixed methods including literature review, expert interviews, questionnaires, data analysis, and connoisseurship. Questionnaire was developed with a sample of 378 teachers from 33 vocational undergraduate colleges in China, and the sampling survey method was used to understand the current state and expected state of vocational undergraduate colleges. The findings of this study were as follows:<br /> 1. The teaching assessment of vocational undergraduate colleges contains 6 components and 29 indicators.<br /> 2.The actual state and expected state of the components and indicators for vocational undergraduate colleges were at the high level. The needs of the components from high to low were: teaching construction and reform teaching faculty, teaching quality management, teaching conditions and utilization, teaching effect, and vocational skills accumulation. <br /> 3. Teaching assessment model for vocational undergraduate colleges was <br />comprised. The teaching assessment model for vocational undergraduate colleges, including the assessment concept, assessment subjects, assessment contents, assessment methods, and application of assessment results.<br /> 4. The suitability and feasibility of the teaching assessment model for vocational undergraduate colleges were at the very high level.</p> <p> </p> Xue Xiaodong, Panayuth Choeybal , Praporntip Kunagornpitak Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275702 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Use of Jigsaw Cooperative Learning Strategy to Enhance English Reading Comprehension for Higher Vocational College Students in Sichuan Province, China https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275688 <p> This study aimed to enhance English reading comprehension among upper vocational college students using the Jigsaw Cooperative Learning technique and to evaluate their reading comprehension before and after the intervention. The research involved 60 first-year non-English major students from Sichuan Vocational College of Health and Rehabilitation, selected through stratified random sampling and evenly divided into experimental and control groups. Research instruments included pre-tests, post-tests based on the College English Test Band 4 (CET-4), and lesson plans designed for an eight-week intervention. Data were analyzed using independent-sample t-tests and paired-sample t-tests to assess performance differences between and within groups.<br /> The results demonstrated that students in the experimental group achieved significant improvements in English reading comprehension, with post-test scores notably higher than their pre-test scores and those of the control group (p &lt; 0.001). The findings confirm that the Jigsaw Cooperative Learning model is more effective than traditional teaching methods, particularly in improving vocabulary, extensive reading, and intensive reading skills. In conclusion, this study highlights the transformative potential of the Jigsaw strategy in vocational education, emphasizing its applicability as an effective teaching method to enhance reading comprehension and overall language learning outcomes.</p> Yang Yu , Prasong Saihong Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275688 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Construction of Chinese Xinjiang Uyghur Music Tianshan Suite Teaching Handbook for SecondGrade Violin Students at ZhengzhouUniversity of Industrial Technology https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275681 <p> The Tianshan Suite is a musical piece that emphasizes the importance of mastery in violin playing, highlighting significant points on the violin part. This paper aims to study Xinjiang Uyghur music and Tianshan Suite (violin part) from key informants, create a Chinese teaching handbook for this music, use the handbook for experimental teaching, and evaluate its effectiveness. The researcher used qualitative research to review documents and receive suggestions from violin experts. Using quantitative research to selected 36 second-year violin major students from four classes and purposive random sampling. Data was collected from articles and interviews with experts. The Tianshan Suite teaching handbook was tested between April 2023 and January 2024, using basic statistics like mean and percentage.<br /> The study found that 1) The study explores the unique music culture of the Xinjiang Uyghur people, focusing on the Tianshan Suite, a national music piece from the region. The Chinese Xinjiang Uyghur Music Tianshan Suite Teaching Handbook was created to help students understand Xinjiang Uygur music, master performance skills, and spread the culture. 2) The handbook consists of five parts and is designed to help students develop correct practice methods, solid theoretical foundation, and playing skills. 3) The comprehensive 16-week course for eight sophomore violin students covers Uyghur music history, culture, and Tianshan Suite, with specific arrangements for each stage. 4) The study also evaluated the effectiveness of teaching two-year-old violin students, finding high proficiency in playing techniques, posture, intonation, rhythm, timbre, and sectional expression. However, students struggled with rhythm and speed and visual reading content, indicating a need for continued support and improvement in student education.</p> Zhang Jinglan , Thanyawat Sondhiratna Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275681 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Exploration of Challenges and Application of Corpus Linguistics in the Complilation of Health-Related Local Wisdom Vocabulary https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275673 <p> This study explores the challenges and applications of corpus linguistics in compiling a specialized English vocabulary list for health-related local wisdom. The research highlights the increasing importance of preserving and disseminating local wisdom, particularly in health contexts, to foster global recognition and academic collaboration. However, a critical problem persists: the lack of a standardized English vocabulary resource for health-related local wisdom, which impedes international communication and limits the accessibility of Thai health knowledge. This qualitative study analyzed 30 articles from the Thai Journal Citation Index (TCI) database using tools such as WordSmith Tool and AntWordProfiler to examine word frequency and vocabulary profiles systematically.<br /> The findings reveal that 60.24% of the identified words belong to the first 1,000 most common English words, 9.64% are academic English vocabulary, and 6.66% fall within the second 1,000 most common words, while 23.46% constitute other terms. Key challenges include limited linguistic diversity in corpora, restricted access to community-based local wisdom, and insufficient tools for managing vocabulary data effectively. To address these issues, the study suggests adopting corpus linguistic technologies to enhance data collection and analysis, fostering collaborations among academics and local communities, and developing vocabulary corpora that are applicable locally and globally. These efforts contribute to the creation of a standardized English vocabulary database, facilitating the preservation and international dissemination of health-related local wisdom while supporting academic and intercultural communication.</p> Chatchanok Hengsuko Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275673 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของการพัฒนาระบบการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิด้วยนวัตกรรม "สอน.บัดดี้" อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275441 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบ “สอน.บัดดี้” สำหรับการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี 2) ศึกษาผลของการใช้ระบบในด้านประสิทธิภาพ ความพึงพอใจ และผลกระทบต่อบุคลากรทางการแพทย์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็น ปัญหาอุปสรรค และแนวทางปรับปรุงระบบ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้สูงอายุ จำนวน 200 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับปฐมภูมิ จำนวน 8 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบ “สอน.บัดดี้” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิผ่านฟังก์ชันสำคัญ เช่น การเยี่ยมบ้าน ระบบการแพทย์ออนไลน์ และการจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์ ส่งผลให้การดูแลสุขภาพครอบคลุมมากขึ้น ลดช่องว่างระหว่างโรงพยาบาลและชุมชน ผู้ใช้บริการแสดงความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และบุคลากรทางการแพทย์พบว่าระบบนี้ช่วยลดงานเอกสาร เพิ่มความรวดเร็วในการจัดการข้อมูล และเสริมสร้างการประสานงาน อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกพบผลกระทบ เช่น ภาระงานเพิ่มขึ้น ความซับซ้อนของระบบ และข้อจำกัดด้านเทคนิค<br /> ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ ควรปรับปรุงระบบให้มีความเสถียรและใช้งานง่ายขึ้น เพิ่มการสนับสนุนด้านเทคนิค และพัฒนาการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและผู้รับบริการในระยะยาว</p> ธนา พุทธากรณ์, นัยนา ขวัญเกตุ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275441 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัญหา ความต้องการ และแนวทางการบริหารจัดการนวัตกรรมในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275665 <p> นวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการจัดการศึกษา เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงและตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการนวัตกรรมในสถานศึกษาจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงบริบทและสถานการณ์ที่แตกต่างกัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการบริหารจัดการนวัตกรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา และ 2) เสนอแนวทางการบริหารจัดการนวัตกรรมให้เหมาะสมกับบริบท กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูหัวหน้างานวิชาการ 157 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 50 คน และผู้บริหารระดับนโยบาย 6 คน ซึ่งเลือกโดยใช้การสุ่มหลายขั้นตอนและการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ข้อมูลวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ปัญหาการบริหารจัดการนวัตกรรมในสถานศึกษา พบว่า มีปัญหาด้านบุคคลมากที่สุดคิดเป็น<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ร้อยละ 100 และความต้องการของการบริหารจัดการนวัตกรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาพบว่า มีความต้องการด้านบุคคลมากที่สุด ได้แก่ ครูและผู้บริหารยังมีความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในสถานศึกษาน้อย ครูผู้สอนบางส่วนขาดทักษะด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงความสามารถของบุคลากรในการใช้เทคโนโลยี ขาดการอบรมพัฒนาที่เพียงพอในการพัฒนาทักษะในการสร้างนวัตกรรม อีกทั้งยังมีข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรไม่ครบวิชาเอก ส่งผลให้ครูต้องรับผิดชอบงานหลากหลายเกินไป ขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. แนวทางการบริหารจัดการนวัตกรรมในสถานศึกษา พบว่าควรดำเนินการ 1) การพัฒนาครูและบุคลากร 2) การสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมจากชุมชน 3) การจัดหาและพัฒนาด้านเทคโนโลยี 4) การสร้างระบบสนับสนุนทางเศรษฐกิจ และ 5) การบูรณาการนโยบายและการจัดการ</span></p> เพ็ญนิภา ศรีสุข , จิติมา วรรณศรี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275665 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัญหา ความต้องการและแนวทางการบริหารงานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275636 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาและความต้องการในการบริหารที่ส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง และ 2) เสนอแนวทางการบริหารที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูหัวหน้างานวิชาการ 157 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 50 คน และผู้บริหารระดับนโยบาย 5 คน ซึ่งคัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนและการเลือกแบบเจาะจงสำหรับผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพและความสอดคล้องของเนื้อหา (IOC = 0.60-1.00) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าผลการวิจัย พบว่า<br /> 1. ปัญหาด้านการบริหารงบประมาณและการบริหารวัสดุและทรัพยากรการเรียนรู้ ส่งผลกระทบ<br />อย่างมากต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา ซึ่งงบประมาณที่ไม่เพียงพอเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการจัดหาทรัพยากรที่จำเป็น ด้านความต้องการฯ ผู้บริหารมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะและทักษะครูเพื่อจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีความหมาย<br /> 2. แนวทางการบริหารเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง ควรดำเนินการ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาศักยภาพและ<br />ทักษะของครู 2) ด้านการสนับสนุนด้านทรัพยากรและเทคโนโลยี 3) ด้านการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูและชุมชน 4) ด้านการสนับสนุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายการบริหาร และ 5) ด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน</p> ศิรินาฏ เจาะจง, จิติมา วรรณศรี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275636 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นและทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับสถาบันอุดมศึกษา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275538 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ฯ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ฯ และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จำนวน 40 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) รูปแบบระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ฯ 4) แบบสอบถามการประเมินความเป็นประโยชน์ของระบบนิเวศฯ 5) แบบสอบถามการประเมินประสิทธิภาพของระบบนิเวศฯ และ 6) แบบประเมินตนเองสำหรับการเรียนรู้แบบยืดหยุ่นและทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ฯ มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การวางโครงสร้างพื้นฐาน การออกแบบการเรียนรู้ การดำเนินการ และการติดตามและประเมินผล อีกทั้งมี 7 องค์ประกอบรอง ได้แก่ ผู้มีส่วนร่วม เนื้อหาและหลักสูตร ข้อมูลการเรียนรู้ เทคโนโลยี การกำกับดูแล การสนับสนุนและโอกาสในการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะและความรู้ ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ของระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ฯ มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.25, S.D. = 0.57) 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ฯ มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.30, S.D. = 0.57) 4) ผลจากการประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ฯ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.33, S.D. = 0.61) </p> ธนวัฒน์ พูลเขตนคร, ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ , กิตติพงษ์ พุ่มพวง Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275538 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 A Study on the Influence of Architectural Elements on Tourist Satisfaction at Shanqing Shrine https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275635 <p> The objectives of this study were: (1) To investigate Thailand Shrine building and its cultural significance. (2) To describe architectural elements in detail, including components, style. And (3) To research key factors influencing tourist satisfaction in searching for architectural elements of Thai Shrine.This study employs literature research methods, reviewing and collating studies related to Chinese shrine architectural elements and those of Thai-Chinese shrines, defining the details of the elements, and styles of Thai-Chinese architecture. Additionally, the study utilizes field surveys, conducting site visits to the Shanqing Temple in Ayutthaya, Thailand—a Thai-Chinese shrine. <br /> The results of this study were as follows: (1) The architectural elements of Shanqing Shrine are detailed in terms of spatial layout, roof structure, ridge decoration, columns and capitals, wall decoration, carving decoration, door and window design, ceiling decoration, floor decoration, and decorative objects. The artistic styles of Shanqing Temple's architectural elements are elaborated upon in terms of roof style, column and capital style, carving style, ridge decoration style, wall decoration style, spatial layout style, main door and window style, decorative material style, and color style. (2) By constructing a conceptual model of the relationship between factors affecting tourist satisfaction with the architectural elements of Shanqing Shrine, designing a survey questionnaire, and predicting the reliability and validity indices of the questionnaire, the questionnaire was distributed. Valid questionnaires were collected and processed using SPSS software. Key factors influencing tourist satisfaction with the architectural elements of Shanqing Shrine were identified from the SPSS data analysis, and suggestions for enhancing satisfaction based on these key factors were provided. </p> Hou Zhengwei, Manus Kaewbucha Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275635 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275645 <p> การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษารูปแบบการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) พัฒนาสื่อการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด 3) ประเมินความพึงพอใจของรูปแบบการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เชิงปฏิบัติการ และการวิจัยและพัฒนา ตัวแทนพระสงฆ์และประชานชนพื้นที่วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด รวมประชากรกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น จำนวน 440 รูป/คน จาการสุ่มแบบเจาะจง<br /> ผลการวิจัยพบว่า<br /> 1. รูปแบบการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า การรับรู้รูปแบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.14 พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ การมีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.18<br /> 2. พัฒนาสื่อการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามต่อการมีส่วนร่วมการพัฒนารูปแบบสื่อการจัดการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19<br /> 3. ประเมินความพึงพอใจของรูปแบบการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามต่อรูปแบบการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เชิงพุทธบูรณาการในพื้นที่สาธารณะในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.26</p> พระครูวาปีจันทคุณ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275645 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Surveying on the Preparation of Foreign Master Students in Faculty of Music Bangkothonburi University https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275631 <p> The purpose of this research was to study the level of readiness before entering further studies of international graduate students, Faculty of Music, Bangkokthonburi University, academic year 2024.<br /> This research used quantitative method used a survey-based study utilizing a mixed-methods approach. sample survey included 142 respondents with 76 master's and 66 doctoral degree, The research tools included questionnaire, and data analysis of questionnaires from online surveys It's an average and a percentage. The results of the research found that Thai culture's readiness for Chinese graduate students is influenced by language proficiency, cultural communication, and cross-cultural adaptation. Chinese students often face language barriers and translanguaging issues. Academic and work readiness factors include cognitive abilities, soft skills, political stability, security, and education quality. Strategies to improve research visibility, open access, and presenting research at conferences are essential. Universities should develop mechanisms to prepare students and address job market competition and visa regulations. indicating a moderate to very ready level of English readiness. Thai language readiness was low, but knowledge of Thai culture was ready. The respondents had a high level of academic readiness, with an average readiness of 4.09 or 81.83 percent. They had moderate readiness for research issues and academic article writing. Concerns and expectations were high, with an average readiness of 3.94 or 78.71 percent.</p> Jantimaporn Jantaramanee , Kampanat Gatemuan Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275631 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Factors Affecting Quality Management of Dance Education in Sichuan Universities https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275611 <p> The quality management of dance education in Chinese universities is constantly improving. This study aims to investigate the factors influencing the quality management of dance education in universities in Sichuan Province, China. The study involves analyzing the current situation of dance education quality management in universities, exploring the factors that affect dance education quality, and considering how to optimize dance education quality management. This article mainly adopts quantitative research methods to conduct quantitative analysis on the questionnaire survey of three normal universities in Sichuan, China, namely Aba Normal University, Sichuan Normal University, and Xi hua Normal University.<br /> This study conducted a comprehensive analysis of the factors affecting the quality management of dance education. The quantitative results indicate that university management, curriculum system, teacher teaching, student development, artistic practice, and dance education quality management have a positive impact. In addition, school management and artistic practice play an important role in the quality management of dance education. However, employment has a low impact on the quality management of dance education. This may be due to several factors, including students' insufficient attention to employment and their willingness to continue their studies. Given these findings, this study contributes to improving the quality management capabilities of dance education and understanding the key focus areas in dance education quality management. This provides valuable insights for policy makers, educators, and managers to seek ways to improve the quality management of dance education in the current context.</p> <p> </p> Yu Xiao , Nuntiya Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275611 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานคิดเชิงออกแบบด้วย ระบบนิเวศการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์งานและอาชีพ ที่มีคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275438 <p> การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานคิดเชิงออกแบบด้วยระบบนิเวศการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์งานและอาชีพที่มีคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานคิดเชิงออกแบบด้วยระบบนิเวศการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์งานและอาชีพที่มีคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ และประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มโซนเขา ป่า นา เล โดยเลือกแบบเจาะจงอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป จำนวน 200 คน คือโรงเรียนนบพิตำวิทยา 70 คน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จำนวน 60 คน โรงเรียนวิเชียรประชาสรรค์ 45 คน โรงเรียนวัดกลาง 25 คน การดำเนินงานมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบนฐานคิดเชิงออกแบบด้วยระบบนิเวศการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์งานและอาชีพที่มีคุณค่า ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบประเมินค่า 5 ระดับ <br /> ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ และขั้นตอนการเรียนรู้ ใช้โมเดล 4 ส 4 C- PBL Model 4 ขั้นตอน คือ ส1 สร้างแนวคิดร่วม ส2 สร้างแบบโครงงาน ส3 สร้างงานอาชีพ ส4 สื่อสาร ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบโดยความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 แบบสอบถามการสร้างสรรค์งานและอาชีพด้วยระบบนิเวศการเรียนรู้ที่มีคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 โดยระบบนิเวศการเรียนรู้ในชุมชนมีความเหมาะสมในการพัฒนางานอาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด และโครงงานอาชีพสามารถสร้างสรรค์งานและอาชีพที่มีคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจในระดับมากที่สุด</p> <p> </p> จุติพร อัศวโสวรรณ, ประกอบ ใจมั่น, สาวิมล รอดเจริญ, สุจินต์ หนูแก้ว , พิมพ์ลภัส จิตต์ธรรม Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275438 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและ กระดูกโครงร่างในช่างติดตั้งนั่งร้าน จังหวัดระยอง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275420 <p> การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในช่างติดตั้งนั่งร้าน 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยด้านงานกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในช่างติดตั้งนั่งร้านจากบริษัทรับติดตั้งนั่งร้านในจังหวัดระยองทั้งหมด 4 บริษัท กลุ่มตัวอย่างจำนวน 429 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม Nordic Musculoskeletal Questionnaire (NMQ) และแบบสอบถาม Body Discomfort Questionnaire วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Multiple logistic regression จากการศึกษาพบว่าความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในตำแหน่งใดอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง ในระยะเวลา 7 วัน และ 12 เดือน เท่ากับร้อยละ 60.5 และ 57.5 ตามลำดับ โดยบริเวณที่มีความชุกสูงที่สุดคือหลังส่วนล่างและไหล่ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับอาการเหล่านี้ ได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส เพศ และชั่วโมงการทำงาน จากผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่าช่างติดตั้งนั่งร้านมีความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างค่อนข้างสูง สถานประกอบการควรดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพ ให้ความรู้เกี่ยวกับท่าทางการทำงานที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ และส่งเสริมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดอาการผิดปกติ</p> ณภัทร อภิญญาชน , วิโรจน์ เจียมจรัสรังสี Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275420 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การเผชิญปัญหาและการปรับตัวกับวิกฤตโควิด-19 ของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบ ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275064 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 และ (2) เพื่อศึกษาผลกระทบและการปรับตัวของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพในรูปแบบการศึกษารายกรณี โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบ กลุ่มบุคคลแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวนรวม 18 ราย โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้เครื่องมือแบบบันทึกการศึกษาภาคสนาม แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการถอดข้อมูลโสตทัศนูปกรณ์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น<br /> ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบประสบปัญหาเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ก่อนเกิดวิกฤต โควิด-19 อาทิ การมีรายได้น้อย การมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ และเมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้อาชีพสามล้อถีบได้รับผลกระทบ คือ (1) ผลกระทบด้านการมีงานทำและรายได้ (2) ผลกระทบด้านการเข้าถึงอาหารและสุขภาพ และ (3) ผลกระทบด้านมลภาวะและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้มีการปรับตัว ประกอบด้วย (1) การปรับตัวด้านค่าใช้จ่ายและรายได้ (2) การถีบสามล้อเพื่อรับอาหารและสิ่งของ (3) การเรียนรู้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ และ (4) การใช้อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อโควิด</p> เนติ ภูริทัตสิริ, บวร ทรัพย์สิงห์ , กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275064 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของชาวเรือไทยต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการป้องกันมลพิษทางอากาศจากเรือ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274905 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของชาวเรือไทยต่อต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ. 1973 และพิธีสาร 1978, 1997 ในภาคผนวกที่ 6 ว่าด้วยการป้องกันมลพิษทางอากาศ ที่เกิดจากเรือ 2 ) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของชาวเรือไทยต่อต่ออนุสัญญาฯ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ การเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามชาวเรือไทยผู้มีประกาศนียบัตรของผู้ทำการในเรือ จำนวน 400 ตัวอย่าง จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ความถี่ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) <br /> ผลการวิเคราะห์ความรู้ความเข้าใจของชาวเรือไทยอยู่ในระดับปานกลาง มีระดับคะแนน 5.33 ผู้ตอบแบบสอบถามระดับนายประจำเรือฝ่ายเดินเรือระดับปฏิบัติการมีความรู้ความเข้าใจมากที่สุด มีระดับคะแนน 6.73 ผู้ตอบแบบสอบถามระดับลูกเรือฝ่ายเดินเรือระดับสนับสนุนมีความรู้ความเข้าใจน้อยที่สุดมีระดับคะแนน 4.80 ส่วนผลการวิเคราะห์ทัศนคติของชาวเรือไทยต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ. 1973 และพิธีสาร 1978, 1997 ในภาคผนวกที่ 6 ว่าด้วยการป้องกันมลพิษทางอากาศ อยู่ในระดับปานกลาง มีระดับคะแนน 3.34 โดยมีทัศนคติด้านบวกที่ดีที่สุดในด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยมีทัศนคติต่อมลพิษทางอากาศที่เกิดจากเรือมีผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อนและเกิดขึ้นจริง มีระดับคะแนน 4.13 ส่วนทัศนคติด้านลบที่สุดคือ การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับในภาคผนวกที่ 6 ว่าด้วยการป้องกันมลพิษทางอากาศจากเรืออย่างเคร่งครัดจะทำให้มีภาระงานเพิ่มขึ้น มีระดับคะแนน 2.57 ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.490 แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์ในระดับปานกกลางในทางบวกและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ถ้าความรู้ความเข้าใจของชาวเรือไทยเพิ่มขึ้นจะทำให้ทัศนคติของชาวเรือไทยต่อการจัดการมลพิษทางอากาศตามอนุสัญญาฯเพิ่มมากขึ้นในระดับปานกลาง</p> <p> </p> ศราวุธ นครชัย , จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274905 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 Combining AI and Creative Design for Automated Fabric Defect Analysis and Pattern Generation from Common Imperfections https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275762 <p> Common perception holds that fabric imperfections are unavoidable and contribute to economic losses and degradation of the environment. This study offers a new perspective by reimagining these shortcomings as opportunities for innovative design. This study takes an approach, using Convolutional Neural Networks (CNN) and Generative Adversarial Networks (GAN) to not only identify fabric defects but also transform them into the unique visual designs. The dataset of 3,000 fabric defects from local and open datasets has been added unbiasly and equally.<br /> The CNN model, developed using Keras, attains an excellent accuracy of 81.65% over 11 defect types, encompassing structural concerns as well as surface and seam anomalies. The GAN subsequently converts these defects into innovative patterns, while the CNN is employed once more to identify and categorize each defect in the newly created designs. This unique technique connects with SDG 12: Responsible Consumption and Production, fostering sustainable textile practices, minimizing waste, and appreciating beauty in imperfection.</p> Minjade Paklapas, Parawee Tangkiatphaibun, Rueanglada Punyalikit, Eakachat Joneurairatana Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275762 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพการผลิตข้าวและปัจจัยกำหนดประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรในโครงการเกษตรแปลงใหญ่ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275560 <p> งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตข้าว และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และมีส่วที่อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ทำการสุ่มตัวอย่างจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ในจังหวัดเชียงรายโดยกระจายการเก็บในทุกอำเภอทั้ง 17 อำเภอด้วยวิธีการเฉพาะเจาะจง จำนวน 400 ครัวเรือน ซึ่งจำนวนกลุ่มตัวอย่างนั้นมาจากสูตรของยามาเน่ (Yamane) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตข้าวโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เส้นห่อหุ้มเชิงเฟ้นสุ่ม และการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตข้าวจะใช้แบบจำลองโทบิต (Tobit) <br /> ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรที่ปลูกข้าว มีค่าเท่ากับ 0.610 แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับสูง สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการผลิตข้าว พบว่า ประสบการณ์ในการเพาะปลูกที่สูง การถือครองที่ดินด้วยตนเอง การใช้เงินทุนของตนเองโดยปราศจากการกู้ยืม และการปลูกข้าวในฤดูกาล (ข้าวนาปี) ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนขนาดพื้นที่เพาะปลูกที่ปริมาณสูงขึ้นกลับทำให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลง ดังนั้น รัฐบาลควรสนับสนุนให้เกษตรกรให้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกข้าวเพื่อลดการเรียนรู้สู่การมีประสบการณ์การเพาะปลูกที่สูงขึ้น อีกทั้งควรมีการสนับสนุนเงินลงทุนการทำการเกษตรให้มีดอกเบี้ยต่ำและการให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน เนื่องจาก พบว่า เกษตรกรมีต้นทุนการเช่าที่ดินต่อไร่ประมาณ 10-20% ของต้นทุนการปลูกข้าวทั้งหมด</p> นภัสวรรณ กันศิริ, มนตรี สิงหะวาระ, อารีย์ เชื้อเมืองพาน , นิโรจน์ สินณรงค์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275560 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับ แนวคิดพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274748 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ และ 2) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิจิตรพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับแนวคิดพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ ที่ส่งเสริมส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) รูปแบบ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ และแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ และแผนการจัดการเรียนรู้ และ 4) แบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบ คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ และแผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55, 4.50 และ 4.70 ตามลำดับ มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.6929 หรือร้อยละ 69.29 2) คะแนนความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) คะแนนความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 </p> ปริญญา ไทยลา , วารีรัตน์ แก้วอุไร Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/274748 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การสร้างวัดแบบมีส่วนร่วมด้วยพลังบวรจังหวัดบึงกาฬ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/272426 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสร้างวัดในพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาการสร้างวัดแบบมีส่วนร่วมด้วยพลังบวรจังหวัดบึงกาฬ 3) นำเสนอรูปแบบการสร้างวัดแบบมีส่วนร่วมด้วยพลังบวรจังหวัดบึงกาฬ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเชิงเอกสารและภาคสนาม โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากกลุ่มเป้าหมาย 25 รูป/คน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา<br /><strong> ผลการวิจัยพบว่า </strong> <br /><strong> การสร้างวัดในพระพุทธศาสนา </strong>พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สร้างวัดต้องมีไวยาวัจกรเป็นผู้คอยดูแลเพื่อให้ก่อสร้างให้เป็นตามเจตนาในการใช้ การสร้างวัดในปัจจุบันมักเป็นไปตามการจัดทำแผนการก่อสร้างและบริหารจัดการขออนุญาตตามระเบียบราชการ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติมากนัก แต่ก็ไม่ขัดแย้ง<br />กับพุทธานุญาตจนเกินไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ให้วัดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต<br /><strong> การสร้างวัดแบบมีส่วนร่วมด้วยพลังบวรจังหวัดบึงกาฬ</strong> เป็นความร่วมมือของ 3 ภาคส่วนหลักในจังหวัดมาใช้ในกระบวนการสร้างวัด ได้แก่ บ้าน วัด ราชการ ดำเนินการตามกฎกระทรวง การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย การยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ. ๒๕๕๙ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง<br /><strong> รูปแบบการสร้างวัดแบบมีส่วนร่วมด้วยพลังบวรจังหวัดบึงกาฬ</strong> พื้นที่จังหวัดบึงกาฬ <br />มีทั้งที่ราบลุ่ม ที่ดอน และพื้นที่ป่า มีวัฒนธรรมประเพณีทางพระพุทธศาสนาที่เข้มแข็ง การสร้างวัดจึงมีความพยายามในการสร้างความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด และราชการ มีการจัดตั้งคณะกรรมการและหน่วยงานรับผิดชอบในระดับต่างๆ จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมทางกายภาพรวมกับชุมชน สร้างเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์อย่างสม่ำเสมอการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม จัดทำบันทึกข้อตกลงร่วม (MOU) ระหว่างภาคส่วนต่างๆ และสร้างกลไกการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย<br />แก่ชุมชน</p> สุชาติ มวลชัยภูมิ, พระครูศรีพุทธิบัณฑิต , พระครูปริยัติพัฒนบัณฑิต Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/272426 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การติดตามและการประเมินผลการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์ตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษากลุ่มที่ 3 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270883 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ตามพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษากลุ่มที่ 3 2) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่เอื้อต่อการพัฒนาท้องถิ่น และ 3) ระบุแนวโน้มการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ตามผลการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่นที่เน้นผลที่เกิดขึ้นกับประชาชน โดยการศึกษาจำนวน 2 ยุทธศาสตร์ คือ 1) การพัฒนาท้องถิ่น และ 4) การพัฒนาระบบบริหารจัดการของการดำเนินโครงการปีงบประมาณ 2565 ดำเนินการ 3 ระยะ คือระยะที่ 1 การติดตาม และประเมินผลการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระยะที่ 2 การศึกษาแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่เอื้อต่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะที่ 3 การระบุแนวโน้มการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ตามผลการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่นที่เน้นผลที่เกิดขึ้นกับประชาชน กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ อธิการบดี อาจารย์ที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมโครงการ นักศึกษา ผู้แทนส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น ผู้แทนชุมชนและประชาชนในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ลงไปดำเนินการโครงการร่วมของมหาวิทยาลัย จำนวน 3 โครงการ และโครงการที่มหาวิทยาลัย ดำเนินตามบริบทของพื้นที่ จำนวน 2 โครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่ แนวทางการสัมภาษณ์ ประเด็นในการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามกระดาษ และแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้ดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่รับผิดชอบได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี โดยกำหนดโครงการเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ทั้งหมด 16 โครงการ โดยยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาท้องถิ่นได้แบ่งออกเป็น 4 ด้านย่อย ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 5 โครงการ ด้านสังคม 1 โครงการ ด้านการศึกษา 1 โครงการส่วนด้านสิ่งแวดล้อมไม่มีโครงการรองรับ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการ มีโครงการรองรับจำนวน 1 โครงการ แต่ละโครงการได้ดำเนินการบรรลุตามตัวชี้วัดที่กำหนดทั้งสิ้น 2) แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่เอื้อต่อการพัฒนาท้องถิ่น คือ การส่งเสริมให้มีความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในส่วนที่เกี่ยวข้อง ควรจัดภาระงานให้มีเหมาะสมกับบุคลากรที่มีอยู่ หรืออาจเพิ่มบุคลากรเพื่อให้เหมาะสมกับภาระงาน ควรมีการลดขั้นตอนการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น 3) แนวโน้มการดำเนินของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์คือมุ่งเน้นทางด้านการศึกษาเป็นลำดับแรก รองลงมาคือด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ตามลำดับ</p> ชำนาญ ปาณาวงษ์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/270883 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275584 <p> การพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน <br />มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และ 2) พัฒนาสมรรถนะ<br />การเป็นผู้ริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสนทนากลุ่มร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3 ท่าน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และแบบประเมินสมรรถนะการเป็นผู้ริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย (¯x) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู 20 คน และนักเรียน 100 คน ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ 4 พื้นที่ ได้แก่ เขา ป่า นา และทะเล ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากห้องเรียนที่ได้รับความร่วมมือจากครูผู้สอน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One - Group Pretest - Posttest Design)<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการกำหนดเป้าหมาย วางแผน และดำเนินการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ การค้นหา ริเริ่ม ศึกษา และนำเสนอ 2) ผลการพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง (¯x = 2.39) อยู่ในระดับน้อย และหลังการทดลอง (¯x = 4.71) อยู่ในระดับมากที่สุด แสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง การทำงานร่วมกัน การตั้งคำถาม และการค้นคว้าข้อมูล ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 </p> สุชาดา จิตกล้า, สุดา เจ๊ะอุมา Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275584 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Exploring Employment Competencies among Private Undergraduate Students: A Factor Analysis in Sichuan Province https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275545 <p> This study examines employment abilities among private undergraduate students in Sichuan Province. This study aims to evaluate the present condition of students' job abilities, identify significant influencing variables, and gather insights from students, educators, and employers in the business sector. At 18 private universities, questionnaires were customized to focus on four variables: professional self-development, interpersonal communication ability, practice-oriented professional competence, and integration of professional knowledge as primary research elements. The data collection included online questionnaires and on-campus interviews, followed by comprehensive data analysis to thoroughly assess student performance in various job competency areas.<br /> Research findings indicate that private undergraduate students in Sichuan Province often exhibit certain traits related to occupational abilities. Factor analysis reveals many significant components, including "Core Professional Skill Cultivation" and "Comprehensive Quality Enhancement," which are essential in fostering students' job skills. This enables private colleges to get critical insights for refining talent development methods to enhance students' employability and realize their full potential as job candidates.</p> Xuanlin Wu , Poramatdha Chutimant Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275545 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Motivation for Ice and Snow Sports Tourism Consumption and Local Attachment: A Study on the Mediating Role of Tourism Involvement https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275544 <p> The objective of this research was to explore the interrelationships among consumption motivation, place attachment, and tourism participation in ice and snow sports tourism and analyze their impact on tourism experience. The research design adopted convenience sampling to select ice and snow sports tourists from Northeast China and the Beijing-Tianjin-Hebei region. Data were collected via questionnaire surveys. The research scale covered three main dimensions including sports tourism motivation, tourism participation, and place attachment, with core motivational factors like social interaction, curiosity exploration, physical and mental relaxation, and interpersonal communication. Before the formal investigation, the scale underwent expert review and pre-testing. For data analysis, correlation analysis and regression analysis were utilized for data modeling and validation.<br />The findings revealed that consumption motivation in ice and snow sports tourism positively impacts tourism participation and place attachment significantly. Specifically, tourists with stronger motivation have deeper emotional attachments to the destination's environment and cultural atmosphere. Moreover, tourism involvement mediates between consumption motivation and place attachment. This implies that deep participation in ice and snow sports can strengthen the emotional connection to the destination. Based on these results, it's recommended to design more attractive activities and interactive experiences to stimulate travel motivation, enhance tourism involvement and place attachment. Also, improving the destination environment and facilities can boost the overall tourism experience and promote the sustainable development of the ice and snow sports tourism industry, thus providing valuable theoretical support for market decision-making and product development in ice and snow tourism.</p> Liang Xiao , Shi Feng Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275544 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพ การทำงานของนักบัญชีในเขตภาคใต้ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275529 <p> วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีและประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในเขตภาคใต้และเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีและประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในเขตภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ นักบัญชีในสำนักงานบัญชีในเขตภาคใต้ จำนวน 114 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณและการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ <br /> ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในเขตภาคใต้ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในเขตภาคใต้ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีด้านการรักษาความลับและด้านความโปร่งใส่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในเขตภาคใต้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> สุวิสา ไชยสุวรรณ, ปุณยทรรศน์ คงแก้ว, อรัญญา จินาชาญ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275529 Sun, 05 Jan 2025 00:00:00 +0700 การประเมินหลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275515 <p> การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม และ 2) ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 260 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970 : 607-610) และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท มีความเหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 91.41 2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก (X ̅ = 2.53, S.D. = 0.44) 3) ด้านกระบวนการ พบว่า มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง (X ̅ = 1.85, S.D. = 0.25) และ 4) ด้านผลผลิต พบว่า มีคุณภาพในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.58, S.D. = 0.51) <br />ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย ครูผู้สอน นักเรียน และผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 144 คน และกลุ่มตัวอย่างในการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ครูผู้สอน ผู้บริหาร และกรรมการประจำวิทยาลัย จำนวน 72 คน<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท ควรมีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชา โดยวิเคราะห์จากสถานการณ์<br />ปัจจุบันและในอนาคต ปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ควรลดการจัดกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการเรียน และควรลดภาระงานที่นอกเหนือจากงานสอนของครูผู้สอน 3) ด้านกระบวนการ ควรจัดตั้งคณะกรรมการในการให้คำปรึกษาครูผู้สอน เกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 4) ด้านผลผลิต ไม่พบประเด็นปัญหาของหลักสูตร</p> ประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น, ทิพอนงค์ กุลเกตุ , กิตติศักดิ์ สินธุโคตร Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275515 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Physical Health Condition and Health Promotion Program for Female Students at Shanghai University of Finance and Economics https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275483 <p> The declining physical health of female college students, vital to talent development and the nation’s future, highlights the urgent need for action in college physical education. This study aims to assess the physical health of female students at Shanghai University of Finance and Economics, identify key factors influencing their health through fitness tests and questionnaires, and propose evidence-based strategies for improvement. The primary objective of this study is to assess the physical health status of female students at Shanghai University of Finance and Economics. The survey targets 300 female students from grades one to three, while the experimental subjects include 54 freshman female students from the same university. This study understands their health status and identifies influencing factors. Methods used include literature review, expert interviews, questionnaires, experiments, tests, and statistical analysis. The study analyzed test results and exercise habits to identify health factors and proposed strategies to enhance their health based on relevant theories and Shanghai University of Finance and Economics’ teaching practices.<br /> The results of the study were as follows: The physical health test results show that most female students achieve a passing level, indicating a need for increased exercise. Freshman girls need to improve vital capacity, flexibility, standing long jump, and one-minute sit-up scores, while juniors need to enhance 50-meter and 800-meter run performances. Poor health levels are due to individual and external factors, such as lack of interest in sports and inadequate physical education facilities. <br />This study reveals progress in flexibility and endurance among female students at Shanghai University of Finance and Economics but highlights challenges in strength, speed, and consistent exercise habits. Gender-specific patterns and environmental barriers call for tailored interventions, improved facilities, and targeted training. Comprehensive reforms in physical education are essential to address these gaps and promote holistic student health and development.</p> An Shuyang, Wiradee Eakronnarongchai, Jakrin Duangkam Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275483 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความเชื่อประสิทธิภาพแห่งตนในการเป็นผู้นำของนักศึกษาตามหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275480 <p> งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเชื่อประสิทธิภาพแห่งตนในการเป็นผู้นำของนักศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และ เปรียบเทียบตามปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า ที และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว<br /> ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเชื่อประสิทธิภาพแห่งตนในการเป็นผู้นำของนักศึกษาในภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก และไม่แตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคล แต่มีบางรายการแตกต่างกัน คือความเชื่อในความสามารถที่จะเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่มของนักศึกษาชาย<br />สูงกว่านักศึกษาหญิง ความเชื่อในความสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนที่ทำงานด้วยของนักศึกษา<br />ที่เข้าเรียนปีการศึกษา 2567 สูงกว่าที่เข้าเรียนปีการศึกษา 2566 ความสามารถที่จะเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม และ ความเชื่อในความสามารถแบ่งงานให้กลุ่มอย่างเหมาะสม ของนักศึกษาที่ปฏิบัติอยู่ในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และสูงกว่านักศึกษาที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา และ มัธยมศึกษาตอนต้น ตามลำดับ และ ความมั่นใจในความสามารถ ในการเลือกสมาชิกกลุ่มเพื่อสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของนักศึกษาที่มีการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาโทสูงกว่าปริญญาตรีและประกาศนียบัตรบัณฑิต </p> ดิเรก สุขสุนัย Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275480 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารจากใบเครือหมาน้อยในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกและแปรรูปสมุนไพรตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275479 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารจากใบเครือหมาน้อย 2) นำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารจากใบเครือหมาน้อยไปสู่การปฏิบัติในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกและแปรรูปสมุนไพรตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาและ 3) ประเมินผลการนำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารจากใบเครือหมาน้อยไปสู่การปฏิบัติในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ รวมทั้ง ผู้นำชุมชน, กลุ่มแม่บ้าน, อสม และ ตัวแทนจากสำนักงานพัฒนาชุมชน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการประชุมระดมความคิดเห็น วิธีการตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารจากเครือหมาน้อย ได้ 2 นวัตกรรม ได้แก่(1) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และ(2) นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ 2) ผลการนำนวัตกรรมฯไปสู่การปฏิบัติ ได้ 1) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย นวัตกรรมอาหารว่างคือ (1)คุกกี้หมาน้อย (2) ข้าวเกรียบหมาน้อย (3) วุ้นหมาน้อยกะทิสด และ (4)เจลลี่หมาน้อย นวัตกรรมเครื่องดื่มคือ (1) เจลลี่สตรอเบอร์รีพร้อมดูด (2)เจลลีกะทิสดพร้อมดูด และ (3) ชาหมาน้อยผสมใบเตย และนวัตกรรมอาหารคาวคือลาบหมาน้อย 2) นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ ได้จัดทำ (1) ถุงพลาสติกใส (2) กล่องพลาสติกใส และ (3) กระป๋อง / ขวด 3) ผลการประเมินการนำนวัตกรรมฯไปสู่การปฏิบัติ พบว่า สมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจฯได้รับประโยชน์มาก สามารถนำไปจำหน่ายมีรายได้เข้ากลุ่ม มีความพึงพอใจ ได้ความรู้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์</p> <p> </p> ทวีพงษ์ ภวชโลทร, บุษกร วัฒนบุตร, สินีนาถ สุขทนารักษ์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275479 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดวชิรประดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275452 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามรูปแบบ Survey Question Read Record Recite Reflect เอส คิว โฟร์ อาร์ (SQ4R) ร่วมกับแผนผังความคิดเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำคัญและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีประสิทธิผล (E.I.) ตามเกณฑ์มาตราฐานที่กำหนดเท่ากับ 0.5 ขึ้นไป 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด 3) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความสำคัญระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามรูปแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด และ 4) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดวชิรประดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 4 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิค SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิดจำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ แบบวัดทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจการใช้ชุดกิจกรรมจำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.33/82.78 และมีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญ หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 24.89 สูงกว่าก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย 13.56 3) ทักษะการอ่านจับใจจับใจความสำคัญหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 16.28 สูงกว่าก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 9.33 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิดอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.82, S.D. = 0.36)</p> บุษบา หล่อพันธ์ Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275452 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุควิถีใหม่โดยใช้หลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275187 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารงานบุคคลในยุควิถีใหม่โดยใช้หลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2) เพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุควิถีใหม่โดยใช้หลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานบุคคลในยุควิถีใหม่โดยใช้หลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง <br /> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ผสมผสานและบูรณาการผลการวิจัยเข้าด้วยกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 387 คน ซึ่งกำหดนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้โปรแกรม G* power โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random Sampling Techniques) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริหารงานของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 9 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า <br />1. องค์ประกอบรูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุควิถีใหม่โดยใช้หลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักประสิทธิภาพ 2) หลักความโปร่งใส 3) หลักการมีส่วนร่วม 4) หลักการมุ่งเน้นผลงาน 5) หลักคุณธรรม 6) หลักนิติธรรม และ 7) หลักความรับผิดชอบ 2. รูปแบบการบริหารงานบุคคลในยุควิถีใหม่โดยใช้หลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทุกตัวบ่งชี้ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลในยุควิถีใหม่โดยใช้หลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 5 แนวทาง </p> สุภาภรณ์ สายด้วง , สมศักดิ์ จั่นผ่อง , พรเทพ เมืองแมน Copyright (c) 2024 Journal of Roi Kaensarn Academi https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/275187 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700