TY - JOUR AU - ยาวิชัย, สุพัตรา PY - 2022/09/30 Y2 - 2024/03/29 TI - การสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการให้บริการ ช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดปราจีนบุรี JF - Journal of Roi Kaensarn Academi JA - JRKSA VL - 7 IS - 9 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/255568 SP - 96-112 AB - <p>          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาประจำจังหวัดปราจีนบุรี จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษาและอายุ  การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่รับบริการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดปราจีนบุรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาประจำจังหวัดปราจีนบุรี  ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.979 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่า (t – test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  One-way ANOVA<br />          ผลการวิจัย พบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;">          1. ความพึงพอใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการรวบรวมข้อมูลทั่วไปของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ รองลงมา ได้แก่ ด้านกระบวนการคัดกรองประเภทความพิการทางการศึกษา ด้านกระบวนการให้บริการด้วยกิจกรรมที่เหมาะสม ด้านกระบวนการประเมินความสามารถพื้นฐานเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ด้านกระบวนการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และด้านกระบวนการประเมินความก้าวหน้า ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านกระบวนการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการส่งต่อ ตามลำดับ<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;">          2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดปราจีนบุรี พบว่า ผู้ปกครองที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอายุต่างกัน มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริหารกระบวนการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดปราจีนบุรี โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่าง</span></p><p> </p> ER -