Journal of Education and Social Development https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD <p><span style="font-size: 12px;"><strong>วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคมจัดพิมพ์ขึ้นโดยวัตถุประสงค์ดังนี้</strong><br>1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยทางการศึกษาและการพัฒนาสังคม<br>2. เพื่อเป็นสื่อกลางการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ และนิสิตนักศึกษาทั้งภายใน&nbsp;และภายนอกมหาวิทยาลัยบูรพา<br>3. เพื่อส่งเสริมการเสนอผลงานทางวิชาการด้านการศึกษา&nbsp;และการพัฒนาสังคมของนักวิชาการทั่วไปในรูปแบบบทความทางวิชาการและบทความพิเศษ</span></p> en-US [email protected] (Sriwan) [email protected] (Suprajira) Wed, 09 Jul 2014 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาการบริหารอาชีวศึกษาของผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19670 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารอาชีวศึกษาของผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน 2) เพื่อสร้างหลักสูตรพัฒนาการบริหารอาชีวศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบการพัฒนาการบริหารอาชีวศึกษาผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนก่อนแลtหลังการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถานศึกษาเอกชนด้านอาชีวศึกษาในภาคตะวันออก จำนวน 37 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และหลักสูตรการอบรม การทดลองจริง แบบแผนสองกลุ่มเหมือนทดสอบก่อน-หลัง (The Pretest-Posttest Equivalent-Groups Design) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test)</p> ดร.เกรียงศักดิ์ บุญญา Copyright (c) 2017 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม (Journal of Education and Social Development) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19670 ปัญหาและแนวทางพัฒนาการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19672 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและแนวทางพัฒนาการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบรี เขต 1 โดยใช้วิธีสนทนากล่มุ (Focus Group Discussion) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 รูป / คน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. ปัญหาการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง</p> <p>2. ปัญหาการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยรวมจำแนกตามขนาดและสถานที่ตั้งของโรงเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p>3. แนวทางพัฒนาการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ดังนี้</p> <p>3.1 ด้านการกำหนดนโยบาย ได้แก่ ควรมีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมกำหนดเป็นหลักสูตร ปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ กำหนดนโยบายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม</p> <p>3.2 ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ได้แก่ ควรมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สะอาดทั้งภายนอกและภายใน โรงเรียน จัดภูมิทัศน์ให้เหมาะสมแก่การเรียนรู้เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม</p> <p>3.3 ด้านการสอนและการนิเทศ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทุกคนในโรงเรียนควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ผู้บริหารควรเน้นให้ครูสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในทุกครั้งที่เข้าสอน</p> <p>3.4 ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน ได้แก่ ควรส่งเสริมให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนากับชุมชนและเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม</p> <p>3.5 ด้านการวัดการประเมินผลทางจริยธรรม ได้แก่ ควรแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการ กิจกรรมงานติดตาม ประเมินผล ยกย่อง ชมเชย ประกาศเกียรติคุณแก่นักเรียนที่มีคุณงามความดี</p> <p> </p> <p>The purposes of this research aimed to study the problems and guided development of ethics and morals promotion of students in schools under Chonburi Primary Educational Service Area Office 1. The sample consisted of 78 school administrations. The research instrument was a rating-scale questionnaire and focus group discussion technique. Data analysis was performed by using mean score, standard deviation, frequency, percentage, One-Way ANOVA analysis The results of this research were as follows;</p><p>1. The problems of ethics and morals promotion of students in schools under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 1 were at the moderate level.</p> <p>2. The problems of ethics and morals promotion of students in schools under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 1, compared by school size and location of schools, were found no significant difference.</p> <p>3. The main guidelines for development of promotion ethics and morals of students in schools under Chonburi Primary Educational Service Area Office 1. were:</p> <p>3.1 Policy setting; The school principal should analyze problems and needs on ethics development and develop it in to curriculum, vision, mission and policies.</p> <p>3.2 Environment; The school principal should improve school environment, cleaning up both inside and outside the building as well as landscape appropriate with ethics nurturing.</p> <p>3.3 Teaching and Supervision; School principal, teachers and school personal should behave as an ethical model and the principal encourage the teachers to teach ethics in every class.</p> <p>3.4 Student activities; the school principal should support students to join the religions ceremony with community and invite parents, community, local organization (both private and public) to join the activities.</p> <p>3.5 Evaluation, the school principal should appointed committee for responsible for the ethical project and follow up, promote and publicize and widespread the goodness of the students.</p> พระมหาสิทธิศักดิ์ ปรีกุล, ดร.สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ Copyright (c) 2017 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม (Journal of Education and Social Development) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19672 การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชนชาติ ยูนนาน ตามแนวการสอนแบบ ACTIVE Reading และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19673 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมและศึกษาเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยพัฒนารูปแบบการสอนจากข้อมูลพื้นฐาน เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การพัฒนารูปแบบการสอน หลักสูตรภาษาไทย แนวการสอนแบบ ACTIVE Reading ทฤษฎีการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประชากรได้แก่นักศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ภาควิชาภาษาไทย คณะภาษาและวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการสอนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ และ 3) แบบวัดเจตคติที่มีต่อรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการสอน ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการสอน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม และศึกษาเจตคติที่มีต่อรูปแบบการสอน</p> <p><strong>ผลการวิจัยพบว่า</strong><strong></strong></p> <p>1. ได้รูปแบบการสอนอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชนชาติยูนนานตามแนวการสอนแบบ ACTIVE Reading และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบได้แก่ หลักการจุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล โดยมีดัชนีการประเมินคุณภาพรูปแบบการสอน โดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับเหมาะสมดีมาก (<em>x</em>= 3.79 <em>SD </em>= 0.36)</p> <p>2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองของนักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนตามรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนตามการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> <p>3. ผลการศึกษาเจตคติของผู้เรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วย (<em>x </em>= 4.11 <em>SD </em>= 0.46)</p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The purposes of this research were: to develop an instructional model for Thai language reading comprehension for students at Yunnan University of Nationalities; to compare the achievements between an experimental group who studied with the model and a control group; to study attitude of the students in the experimental group concerning the instructional model. The instructional model for Thai language reading comprehension was constructed by the analysis of the related documents and research findings that consisted of the theory of development instructional model, Thai language curriculum, ACTIVE Reading theory, theory of teaching Thai language as a second language, and cooperative learning principles. The subjects of this research were 62 students at the faculty of Southeast Asian and South Asian Languages and Culture, Yunnan University of Nationalities in the first semester of the academic year 2011. The research instruments consisted of 1) lesson plans through the developed model 2) Thai language reading comprehension measurement form 3) The attitude inventory toward the instructional model. The research procedure was divided into 2 phases which were 1) the development of instructional model 2) the implementation of the instructional model.</p><p>The findings of this research were as follows:</p> <p>1. The instructional model for Thai language reading comprehension for students of Yunnan University of Nationalities based on ACTIVE Reading theory and cooperative learning principles was developed, it consisted of five major components: principles, objectives, contents, instructional processes, and evaluation with the degree of highly appropriate with the mean and standard deviation of 3.79 and 0.36 respectively.</p> <p>2. The average scores of Thai language reading comprehension after learning through the developed model was higher than control group at .01 level of significance.</p> <p>3. The attitude toward the instructional model of students was at the highly agree level at the mean and standard deviation of 4.11 and 0.46 respectively.</p> Yang Lizhou, ดร.วิมลรัตน์ จตุรานนท์, ดร.สุนทร บำเรอราช Copyright (c) 2017 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม (Journal of Education and Social Development) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19673 รูปแบบการใช้ชุมชนเป็นฐานในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19729 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและเพื่อตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการใช้ชุมชนเป็นฐานใน การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research:PAR) ด้วยวงจรปฏิบัติการของเคมมิสและแม็คแทกการ์ท (Keemmis&amp;McTaggart,1998) สนามที่ผู้วิจัยศึกษา ได้แก่ การศึกษานำร่องที่โรงเรียนบ้านทุ่งบอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 และเก็บรวบรวมข้อมูลจริงที่โรงเรียนวัดตันติการาม มิตรภาพที่ 109 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ระดับลึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการใช้แบบสอบถาม โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ คณะครูและผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มประชาชน และกล่มุ องค์กรปกครองส่วนท้องถนิ่ การวเิ คราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสังเคราะห์ รูปแบบเชิงองค์ประกอบ และตรวจสอบความตรงของรูปแบบโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ด้วยข้อมูลจากแบบสอบถามที่ส่งให้กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 486 คน ผลการวิจับพบว่า 1. รูปแบบการใช้ชุมชนเป็นฐานในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนและ 4)การมีส่วนร่วมการสร้างความสัมพันธ์ชุมชน 2. ประสิทธิผลของรูป แบบการใช้ชุมชนเป็นฐานในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก อยู่ในระดับดี คือ(1) นักเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อโรงเรียน ที่มีการแข่งขันในอัตราสูงได้ (2) การพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวกสอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (3) การปรับเปลี่ยนและการพัฒนาโรงเรียน ชุมชนให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นสภาพแวดล้อมโรงเรียนสวยงาม (4) การแก้ปัญหาภายในโรงเรียน มีระบบ การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม และความเป็นประชาธิปไตย</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The purposes of this research were to create the community based model for small size school administration and to evaluate the effectiveness of the community based model for small size school administration. The research methodology was the participation action research (PAR) based on the action research theory of Kemmis &amp; McTaggart (1998). The author investigated Bantungbon School, Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2 as a pilot school and Wattantikaram School, Narathiwat Primary Educational Service Area Office 3 as a study school. Data were collected by in-depth interview, group discussion, document analysis, participative observation, and questionnaire. Data was analyzed by a content analysis technique. The samples were 486 representatives from educational institution administrators, teachers and chairpersons of the Basic Education Institution Committees.</p> <p>The findings revealed that:</p> <p>1. The community based model for small size school administration was composed of 4 factors: (1) the participation with the local administration organization ,(2) the participation with the committee for the basic education, (3) the participation with the parents , and (4) the participation for creating relationship with communities.</p> <p>2. The effectiveness of the model for small size school administration was at the good level which were: (1) students are able to enter high competitive schools (2) development of student’s positive attitude consistent to student’s desirable characteristics (3) school renovation and development; community collaboration in school environment improvements activities and (4) internal problem solving; staff teamwork, participation and democracy.</p> <p> </p> พิทยุตม์ กงกุล, ดร.สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ Copyright (c) 2017 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม (Journal of Education and Social Development) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19729 ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำ ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19730 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ แนวคิดการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา ผลของการปฏิบัติตามแนวคิดการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา และสังเคราะห์ยุทธศาสตร์ การมีส่วนร่วมจากผลการปฏิบัติของชุมชนกับสถานศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ของ ชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำ ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ใช้กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย แกนนำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารโรงเรียน ครูและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คนโดยเลือกแบบเจาะจง การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ศึกษาความต้องการ แนวทางแก้ปัญหาของชุมชน และสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการ AIC และใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม</p> วิมล จันทร์ประภาพ, ดร.เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม Copyright (c) 2017 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม (Journal of Education and Social Development) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19730 การศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการบริหารงาน ตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19732 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน และศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษแม่ฮ่องสอน เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาในอำเภอเมือง จำนวน 206 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. บุคลากรทางการศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก</p> <p>2. บุคลากรทางการศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านหลักนิติธรรม บุคลากรทางการศึกษาเพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>3. บุคลากรทางการศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 มีความคิดเห็นว่าการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 บริหารงานแบบตามใจ ใช้อารมณ์เหนือเหตุผล ไม่กระจายภาระงานให้เหมาะสมกับบุคลากร ยึดหลักระบบอุปถัมภ์ มีความลำ เอียง ขาดวินัยไม่มีศีลธรรมประจำ ใจ ไม่มีการวางแผนงานประชุมชี้แจงการใช้จ่ายงบประมาณทำ ให้เกิดความไม่โปร่งใส ไม่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทำให้เกิดความผิดพลาดบ่อย มีผลเสียต่อส่วนรวมและหมู่คณะ</p> <p>4. แนวทางการพัฒนาให้ผู้บริหารสถานศึกษามีความเป็นกลาง ควรบริหารงานด้วยเหตุผล ใช้มาตรฐานเดียวกัน กระจายภาระงานให้เหมาะสม พิจารณาตามผลงานและความสามารถ สร้างจิตสำนึกให้บุคลากรโดยจัดอบรมคุณธรรมและมอบรางวัลให้ มีปฏิทินการปฏิบัติงาน โปร่งใสตรวจสอบได้ทุกเรื่อง และประชุมชี้แจงทุกครั้งเมื่อมีการดำเนินการแล้วเสร็จ เปิดโอกาสให้บุคลากรภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติการและสนับสนุนโดยยึดหลักบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างสม่ำเสมอเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล</p> <p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The purposes of this research were (1) to investigate and compare the opinions of educational staff towards the Good Governance Administration of School’s Administration in the Primary Maehongson Educational Service Area Office1 based on gender, education and experience; and (2) to study the problems and guidelines for the development of administration in accordance with the Good Governance Administration of School’s Administration in the Primary Maehongson Educational Service Area Office 1. The sample included 206 educational staff in Muang District. Data were collected using a questionnaire. The statistics used to analyse the data were frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test.</p> <p>The findings of this research revealed following:</p> <p>1. The overall opinion of staff in the Primary Maehongson Educational Service Area Office 1 was found to be at a high level.</p> <p>2. With regard to the comparison of opinions among educational staff towards the Good Governance Administration of School’s Administration in the Primary Maehongson Educational Service Area Office 1, based on gender, education and experience, there was found to be no difference in all aspects, except male and female educational staff who were surveyed showed that the rule of law was found to have statistical significance of 0.05. 3. Regarding to the problems for management of school‘s administrators, the educational staff in Muang District in the Primary Maehongson Educational Service Area Office 1 revealed that the school’s administrators manage in a permissive-style; they lack emotion; they do not delegate effectively. There is also a fixed patronage system; injustice; lack of discipline and morality; no budgetary planning; and ambiguity. Moreover, there was no opportunity for other persons to participate in administration. Hence, mistakes were often made and the entire mismanaged school administration created problems for staff in the school.</p> <p>4. Developing Guidelines for the school ‘s administrators, the educational staffs in Muang District in the primary Maehongson educational service area office 1 revealed that the school’s administrators should be neutral, reasonable, use the same standard to effectively delegate functions that result in competent, high performance; to provide awareness and personnel training, and reward good practice. A calendar of events; transparency and accountability should be the subject of a meeting when it is completed. An opportunity for staff to participate in the planning and operations support services, based on the principles of good governance is designed to be effective and efficient</p> อรุณศรี อ้ายมาศน้อย, ดร.จินดา ศรีญาณลักษณ์ Copyright (c) 2017 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม (Journal of Education and Social Development) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19732 ความคิดเห็นของครูในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา แม่ฮ่องสอน เขต 2 ที่มีต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะ ประจำสายงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19733 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็น เปรียบเทียบความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของครูในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ที่มีต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 280 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แม่ฮ่องสอน เขต 2 ปีการศึกษา 2555 โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (<em>x</em>) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และ การทดสอบค่าที (t-test)</p> สุธินันท์ วิมาลัย, ดร.จินดา ศรีญาณลักษณ์, ดร.เจตนา เมืองมูล Copyright (c) 2017 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม (Journal of Education and Social Development) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19733 ศึกษาการดำเนินงานระบบสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2552-2556 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19734 <p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงาน เปรียบเทียบการดำเนินงานระบบสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาพ.ศ. 2552-2556 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามตำแหน่งการงาน วุฒิการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์และขนาดของสถานศึกษา รวมทั้งศึกษาแนวทางการแก้ไขการดำเนินงานระบบสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ที่ 3 ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พ.ศ.2552-2556 ในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 163 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> วัชระ มั่นถาวรวงศ์, ดร.มานพ แจ่มกระจ่าง Copyright (c) 2017 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม (Journal of Education and Social Development) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19734 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู โดยหลักธรรมพุทธศาสนาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19735 <p>การวิจัยนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเผยแพร่หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู โดยหลักธรรมพุทธศาสนาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่กำลังศึกษาระดับชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555 จาก 4 สาขาวิชา คือวิทยาศาสตร์ทั่วไป การศึกษาปฐมวัย พลศึกษา และคณิตศาสตร์ จำนวน 143 คน ได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเฉพาะนักศึกษาที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูขั้นเต็มรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรม แบบวัดการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏแบบประเมินตนเองก่อนและหลังการพัฒนา และแบบประเมินการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าทีผลการวิจัยปรากฏว่า หลักสูตรฝึกอบรม เพื่อพัฒนาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู โดยหลักธรรมพุทธศาสนา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วยเนื้อหาการพัฒนา 9 เรื่อง สร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมพัฒนา 9 แผน ได้แก่ 1) พระพุทธศาสนากับวิถีชีวิตครู 2) จรรยาบรรณและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู 3) หลักธรรมพุทธศาสนาเบญจศีล-เบญจธรรม 4) หลักธรรมพุทธศาสนาอิทธิบาท 4 5) หลักธรรมพุทธศาสนาฆราวาสธรรม 4 6) หลักธรรมพุทธศาสนาสัปปุริสธรรม 7 7) หลักธรรมพุทธศาสนาพรหมวิหาร 4 8) หลักธรรมพุทธศาสนากัลยาณมิตรธรรม 7 และ 9) หลักธรรมพุทธศาสนาสังคหวัตถุ 4 ผลการศึกษาพฤติกรรม การปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของนักศึกษาพบว่าก่อนการอบรมอยู่ในระดับปานกลาง หลังการอบรมอยู่ในระดับดีมาก และดี โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การประเมินพฤติกรรมหลังการอบรม พบว่าการปฏิบัติตนของนักศึกษาวิชาชีพครู จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการและจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ อยู่ในระดับดีมาก ส่วนจรรยาบรรณต่อสังคมอยู่ในระดับดี ภายหลังสรุปผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมได้นำเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตครูและเผยแพร่ให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง</p><p> </p> <p><strong>Abstract</strong></p> <p>The purposes of this research were to develop and disseminate the training curriculum of self-development in accordance with the professional ethics by Buddhism principle of teacher trainees, Rajabhat University. The samples of the study were 137 Faculty of Education fifth year students, Rambhai Barni Rajabhat University from 4 different majors : General Science, Early Childhood Education, Physical Education and Mathematics by purposive sampling of full time practice teaching students. The instruments of this study included training curriculum appraising form, self-practice according to the professional ethics of Rajabhat University students appraising form, self-evaluation form for before and after the development and self-practice according to the professional ethics appraising form. Mean, standard deviation and t-test were used for data analysis. The results of the study revealed that training curriculum for self- development in accordance with the professional ethics by Buddhism principle of teacher trainees, Rajabhat University composed of 9 contents of development and was built into 9 activities of development. 1) Buddhism and teacher way of life 2) ethics and formal behaviors according to the professional ethics 3) Buddhism principle in five percepts and five virtues 4) Buddhism principle in four paths of accomplishment 5) Buddhism principle in four virtues for household life 6) Buddhism principle in seven virtues for good deed persons 7) Buddhism principle in four virtues for senior persons 8) Buddhism principle in four virtues for friendship and 9) Buddhism principle in four virtues for good conditions of living. The study of self-development in accordance with the professional ethics of students’ behaviors before the training were in medium level and were in high and very high levels after the training. It found statistically significant difference at .01. The evaluation of students’ behaviors after the training found that ethics to oneself, ethics to profession, ethics to clients and ethics to the colleagues were in very high levels except ethics to society was in high level. After the implement, the developed curriculum was disseminated to the stakeholders and Rajabhat Universities .</p> อำนวย บุญศรี, ดร.ศรีวรรณ ยอดนิล Copyright (c) 2017 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม (Journal of Education and Social Development) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19735 สอนเก่ง สอนเป็น https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19738 ดร.ศรีวรรณ ยอดนิล Copyright (c) 2017 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม (Journal of Education and Social Development) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19738 พลังงานทดแทนสำหรับงานอุตสาหกรรมในอนาคต https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19667 ดร.ไชยยันต์ ถาวระวรณ์ Copyright (c) 2017 วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม (Journal of Education and Social Development) https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JESD/article/view/19667 Wed, 09 Jul 2014 00:00:00 +0700