ปรากฏการณ์ชีวิตของเยาวชนผู้เสพยาบ้า

Main Article Content

เฉลิมศรี ราชนาจันทร์
ศรีวรรณ มีคุณ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์การเสพยาบ้าของเยาวชน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูล เป็นเยาวชนอายุ ระหว่าง 14-25 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นถึงระดับอาชีวศึกษา ที่มีประสบการณ์การเสพยาบ้าภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนให้ข้อมูล จำนวน17 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 24 คน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่ อายุ 19-21 ปีกำลังศึกษาระดับอาชีวศึกษา ชั้นประกาศนียบัตรร้อยละ 82.35 เสพยาบ้ามานาน 1-5 ปี ร้อยละ 64.71พักอาศัยอยู่กับผู้ปกครองเพียงคนเดียวหรือพักอาศัย อยู่กับญาติผู้ใหญ่ อาชีพหลักของครอบครัวส่วนใหญ่ต้องใช้แรงงาน สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นแบบห่างเหิน และมีลักษณะการเลี้ยงดูไม่แน่นอนแบบควบคุมเข้มงวด ในวัยเด็กตามใจให้อิสระเมื่อเริ่มโตคำสำคัญ: เยาวชน/ วัยรุ่น/ ผู้เสพยาบ้า/ ยาเสพติด มีวิถีเป็นไปตามพัฒนาการของวัยรุ่น จุดเปลี่ยนที่ ตัดสินใจเสพยาบ้าเป็นไปตามสภาวการณ์ และความอยากรู้อยากลอง วิถีชีวิตเมื่อเป็นผู้เสพยาบ้าส่วนใหญ่ใช้ชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม ใช้เวลาอยู่กับเพื่อน เสพยาบ้า แยกตัวจากครอบครัว ไม่สนใจเรียน และมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เสพยาบ้าในปริมาณและความถี่มากขึ้น การเข้าถึงยาบ้าผู้ให้ข้อมูลเกือบทุกคน เข้าถึงยาบ้าได้ง่าย สะดวกยาบ้ามีอยู่ทุกพื้นที่ การเสพยาบ้าก่อให้เกิดผลกระทบต่อตนเองและคนใกล้ชิด วิถีชีวิตเมื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพของผู้ติดยาเสพติด สามารถเว้นระยะการเสพยาบ้าได้ประมาณ 1-2 เดือน ลดปริมาณและความถี่ในการเสพยาบ้าได้ มีการทบทวนตนเองว่าการเสพยาก่อผลกระทบต่อชีวิตตนเองและครอบครัว ใช้เวลาอยู่กับบ้านและครอบครัวมากขึ้น รับรู้การ-ออกฤทธิ์ของยาบ้าว่า ยาบ้ามีฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัวสดชื่น มีจิตนาการ เพิ่มสมาธิ ทำกิจกรรมที่สนใจได้นานกว่าปกติ แต่ในกรณีที่เสพปริมาณ

มากหรือเสพต่อเนื่องกัน จะทำให้เกิดอาการ ประสาทหลอน ผู้เสพยาบ้ามีมุมมองว่ายาบ้าหมายถึง “ตัวช่วย” แนวทางการดูแลช่วยเหลือเยาวชนผู้เสพยาบ้าที่สำคัญคือผู้เกี่ยวข้องทุกคนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของวัยรุ่นและศาสตร์ของการติดยาเสพติด พร้อมทั้งปรับทัศนคติและยอมรับว่าการเสพยาบ้าคือการ-เจ็บป่วยของโรคเรื้อรังข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1) รัฐบาลควรกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับการปฏิบัติที่มุ่งให้การดูแลบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติด 2) กระทรวงสาธารณสุขควรจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับยาเสพติดในระดับผู้-บริหารและระดับปฏิบัติการและส่งเสริมให้ผู้-ปฏิบัติงานมีความรู้เรื่องศาสตร์ของการเสพติด3) การวิจัยครั้งต่อไปควรทำการศึกษาต่อเนื่องระยะยาวเพื่อทำความเข้าใจกับผู้ที่สามารถหยุดเสพยาบ้าได้นานมากกว่า 1 ปี หรือผู้ที่สามารถเลิกเสพยาบ้าได

Abstract

The purpose of this research was tostudy the amphetamine abuse youth phenomena.The method was qualitative research. Data weregathered via in-depth interviews, participantand non- participant observations. Key informantswere 17 of 14-25 years old amphetamine abuserswho used amphetamine during last 12 months,and 24 stakeholders. The findings indicated that,most of amphetamine abusers were 19-22 years old. KEYWORD: YOUTH/ ADOLESCENT/ AMPHETAMINE USES/ DRUG ABUSE

and studying in high vocational certificate education, 82.35 percent used drug about 1-5 years,64.71 percent high with single parent or relatives.Their family’s occupations were travail, theyhad estranged relationship, parenting styles wereunstable pattern, during childhood they hadcontroled behavior and got freedom at earlyadolescent. Before being to be amphetamine abuser, everyone had normal lifestyle and development. They became to be amphetamine abuser because of the environment and desiringto have experience. Most of them were similar lifestyles, spent most of times with their peer groups, used amphetamine, separated fromfamilies, inattention to study, taking risk behaviorsand used high frequency and more than dose ofamphetamine. They were easily access to amphetamine wherever they needed. Drug abuse affected themselves and their families. During the treatment period, everyone could abstainamphetamine about 1-2 months, self aware ofamphetamine impacts, spent more times with their families. The perceived meaning of amphetamine was “help” that made them get better.The method to take them away from amphetamineabuse were the participation of overall stakeholder and educated them about adolescentdevelopment, addiction sociology of stakeholderoverall, including adjust their attitude that drugabuse was chronic disease. Research suggestion;1) The government should set confluent policyindicated that, the abuser had to be obtained treatment. 2) The Ministry of Public Healthshould arrange the transfer forum about drugabuse. 3) Future research should be followed up among drug users who have long abstinence.

Article Details

Section
Research Article