การพัฒนารูปแบบการจัดการเทคโนโลยีวิทยุชุมชน

Main Article Content

จำเริญ คังคะศรี
สุทิติ ขัคติยะ
วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์
วันชัย ธรรมสัจการ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนื้มีวัตถุประสงค์ 1) เพี่อศึกษาปัญหาของการจัดการเทคโนโลยีของวิทยุชุมชน 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบของการจัดการเทคโนโลยีวิทยุชุมชนที่เหมาะสมกันสภาพแต่ละท้องถิ่นและ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเทคโนโลยีวิทยุชุมชนที่ได้จากการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์กลยุทธ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่กลุ่มผู้ปฎิบัติการ ผู้ใช้เทคโนโลยีเครื่องส่งวิทยุชุมชนจำนวน 25 คนจากสถานีวิทยุชุมชนในจังหวัดจันทบุรีจำนวน 50 สถานี และข้อมูลเชิงประจักษ์จากฐานข้อมูล 2 ด้านคือ ข้อมูลชี้วัดประสิทธิภาพมาตรฐานของเครื่องส่งวิทยุชุมชนและข้อมูลแสดงมาตรฐานคุณภาพความสามารถของบุคลากรทางเทคนิค ระยะที่ 2 การสัมภาษณ์แบบหยั่งลึกจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุชุมชนจำนวน 10 คน ระยะที่ 3 การวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถาม โดยการศึกษาพฤติกรรมการรับฟังและติดตามความพึงพอใจองค์ประกอบด้านรายการและด้านเทคนิคตามรัศมีมาตรฐานของการออกอากาศที่กำหนดไว้ 15 กิโลเมตรโดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ ค่าไค-สแคว์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและ การเปรียบเทียบรายคู่

ผลการวิจัยพบว่า

(1) ปัญหาของการจัดการเทคโนโลยีของวิทยุ ชุมชนมี 2 ด้าน คือ ปัญหาด้านการจัดการเทคโนโลยี เครื่องส่งวิทยุชุมชน และด้านการจัดการบุคลากรทาง เทคนิคของวิทยุชุมชนและยังพบกลยุทธ์ทางเลือกของ การจัดการเทคโนโลยีวิทยุชุมชนจำนวน 2 ทางเลอก ได้แก่ 1) การจัดการเทคโนโลยีเครื่องส่งวิทยุชุมชน และ2) การจัดการบุคลากรทางเทคนิคของวิทยุชุมชน

(2) รูปแบบของการจัดการเทคโนโลยีวิทยุชุมชนที่เหมาะสมกับสภาพแต่ละท้องถิ่น คือวงล้อของการจัดการเทคโนโลยีวิทยุชุมชนประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ บริบทชุมชน ปรัชญาวิทยุชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน หลักการประชาธิปไตย การจัดการเทคโนโลยี เครื่องส่งวิทยุชุมชน และการจัดการบุคลากรวิทยุชุมชน ซึ่งผู้วิจัยได้ค้นพบใน 2 ประกอบ คือ องค์ประกอบการจัดการเทคโนโลยีเครื่องส่งวิทยุชุมชน และการจัดการบุคลากรวิทยุชุมชน

(3) พฤติกรรมการรับฟังของกลุ่มผู้ฟังอยู่ในระดับปานกลาง และความพึงพอใจในด้านรายการและด้านเทคนิคของวิทยุชุมชนอยู่ในระดับสูง

คำสำคญ : การจัดกการเทคโนโลยี / วิทยุชุมชน / การพัฒนารูปแบบ

 

Abstract

The purposes of this research were: (1) to study problems of Community Radio Technology Management (CRTM), (2) to create and develop a CRTM model suitable to various local areas, and (3) to evaluate the CRTM model obtained from this research, '['he main research proce­dures were divided into three phases. Phase 1: a qualitative study was conducted through the SWOT technique. The sample included 25 tech­nicians who operate community radio transmit­ters drawn from 50 community radio stations in Chanthaburi province. In addition, empirical data were collected from the data base for two indicalors-standard efficiency of community ra­dio transmitters and quality standard of tech­nicians’ abilities. Phase II: i-depth interviews including 10 specialists on radio broadcasting and community radio were carried out. Phase II: a survey study was conducted using a questionnaire to investigate the audience’s listening behavior and following up the satisfaction to­ward radio programs and technical operation based on the standard broadcasting within 15 kilometers. The sample included 200 respon­dents. Statistical analysis was employed using percentage, mean, standard deviation. Inferen­tial statistics included t-test, chi-square, One-way ANOVA, and Least Significant Difference (LSD).

The following major results were re­vealed.

1. Two major problems of the CRTM are found-technology management for community radio Transmitters and radio transmitter techni­cians. Two alternative strategies for the CRTM are community Radio transmitter management and community radio technician management.

2. A suitable CRTM for individual local areas is proposed as “The CRTM Wheel” includ­ing 6 elements - community context, community radio philosophy, community participation, de­mocracy Principles, technology management for community radio transmitters, and community radio technician management. The last two ele­ments are found by the researcher.

3. Radio audience’s listening behavior was found at a moderate level while their satis­faction toward radio programs and community radio technique was at a very high level.

Article Details

Section
Research Article