การพัฒนาวุฒิภาวะทางอาชีพ ด้วยการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่ม สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

ไพบูลย์ บุญล้อม
วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการพัฒนาวุฒิภาวะทางอาชีพ ด้วยการปรึกษา เชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่ม สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 ที่สมัครใจเข้ารับการปรึกษาจำนวน 21 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการปรึกษา ระยะหลังการปรึกษา และระยะติดตามผล เครื่องมือที่ใช้คือแบบสำรวจวุฒิภาวะทางอาชีพของ จอห์น โอ ไครท์ส ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชุด คือแบบวัดเจตคติในการเลือกอาชีพและแบบวัดความสามารถในการเลือกอาชีพ และโปรแกรมการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และเมื่อพบความแตกต่างเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี Bonferroni

ผลการวิจัยพบว่านิสิตที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่ม มีการพัฒนาวุฒิภาวะทางอาชีพ ด้านเจตคติในการเลือกอาชีพและด้านความสามารถในการเลือกอาชีพ ในระยะติดตามผลสูงขึ้นและสูงกว่าก่อนการปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ในระยะก่อนและหลังการปรึกษามีวุฒิภาวะทางอาชีพแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ: วุฒิภาวะทางอาชีพ, การปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่ม

 

Abstract

The purpose of this research was to study the results of students’ career maturity development in Burapha University, using group career counseling. The sample used in this study consisted of 21 fourth year students. The instruments were career maturity inventory (CMI) by John O. Crites which is divided into two sets, the attitude test and competence test in career choosing and group career counseling program. The data collection procedure was divided into 3 phases, pre-test, post-test and follow-up phases. The data were analyzed by repeated-measure on the same element. The comparison of average with Bonferroni method will be utilized when find the difference of average result.

The results of research indicates, the sample demonstrated significantly at .05 level on higher attitude and competence in career choosing score in the follow-up phase than pre-test phase but there was no significance difference between pre-test and post-test phase.

Keyword: Career maturity development, Group career counseling

Article Details

Section
Research Article