วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM <p> วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน (Journal of Environmental and Sustainable Management) เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความในสหสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนที่มีขอบ ข่ายครอบคลุมตั้งแต่ 2 สาขาวิชาขึ้นไปร่วมกัน ได้แก่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริหารการจัดการ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นที่มีนัยทางทฤษฎีหรือการประยุกต์ใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในชุมชนเมือง มลพิษอุตสาหกรรม รวมถึง สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ในมุมมองภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชน โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ สู่ผู้สนใจโดยทั่วไปในทุกสาขาวิชา</p> <p> กองบรรณาธิการ วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเปิดรับบทความภาษาไทย ในประเภทบทความวิจัย (Research Article) บทความวิชาการ (Journal Article) บทความปริทัศน์ (Review Article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการอิสระ คณาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป โดยผลงานที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมจะต้องไม่เคยตี พิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น</p> th-TH jem@nida.ac.th (อาจารย์ ดร.อัจฉรา โยมสินธุ์) jem@nida.ac.th (นางสาวสุชีลา นิลโคตร) Mon, 24 Jun 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ฉบับสมบูรณ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/271782 Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/271782 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาเปรียบเทียบการใช้มาตรการทางกฎหมายสำหรับการคัดแยกขยะที่ต้นทางในกรุงเทพมหานคร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/264859 <p> บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้กฎหมายลดและคัดแยกขยะของประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคเอเชียประกอบด้วยประเทศจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และประเทศเกาหลีใต้ และเสนอประเด็นที่ควรกำหนดในกฎหมายลดและคัดแยกขยะของกรุงเทพมหานครโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์เปรียบเทียบ และวิเคราะห์บริบทของกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่าประเทศที่ศึกษามีกฎหมายกำหนดประเภทขยะที่ต้องคัดแยกชัดเจน มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการคัดแยกขยะ โดยประเทศไทยกำหนดแยกขยะบางประเภท ไม่มีกฎหมายเฉพาะ ให้อำนาจราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติกำหนดประเภทขยะ และการจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการคัดแยกขยะ กรุงเทพมหานครมีจุดแข็งจากนโยบายและแผนส่งเสริมการลดและคัดแยกขยะ มีอำนาจออกข้อบัญญัติ จัดสรรงบประมาณ และบุคลากร แต่ยังมีจุดอ่อนในแง่ของการพัฒนาบุคลากร การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีนโยบายและแผนของรัฐบาลที่สนับสนุนการลดและคัดแยกขยะ แต่ก็ยังมีอุปสรรคจากการขาดความเชื่อมั่นต่อระบบการจัดเก็บขยะแยกประเภท และ วัฒนธรรมการทิ้งขยะรวมของประชาชน กรุงเทพมหานครควรออกข้อบัญญัติกำหนดให้แยกขยะ 9 ประเภท พร้อมจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการคัดแยกขยะ สื่อสารสร้างการรับรู้แก่ประชาชนทั่วไป และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง</p> วิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์, จำลอง โพธิ์บุญ Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/264859 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการบริหารที่ส่งเสริมความสำเร็จของโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/266166 <p><strong> </strong>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุในการบริหาร และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารที่ส่งเสริมความสำเร็จของโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 รูปแบบของการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามขนาดโรงเรียน จากคณะกรรมการที่ดำเนินการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 260 คน และผู้ให้ข้อมูลถูกเลือกแบบเจาะจง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบจำลองสมการโครงสร้าง และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลทางตรงที่ส่งผลต่อความสำเร็จ คือ การจัดการเรียนรู้ของครู และ การบริหารโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีขนาดเท่ากับ 0.716 และ 0.204 ตามลำดับ และยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยมีขนาดเท่ากับ 0.740 แนวทางการบริหารที่ส่งเสริมความสำเร็จของโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจากการสนทนากลุ่ม คือ 1) พัฒนาหลักสูตร กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ 2) สร้างเครือข่ายสิ่งแวดล้อม นำไปสู่นวัตกรรมสีเขียว 3) ส่งเสริมประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณ 4) กำหนดวิสัยทัศน์ สร้างการมีส่วนร่วมและส่งเสริมคุณธรรม 5) ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้และภูมิทัศน์ และ 6) พัฒนาระบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน</p> พลพิพัฒน์ วัฒนเศรษฐานุกุล, สิรินธร สินจินดาวงศ์, ชัยวิชิต เชียรชนะ Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/266166 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประเมินสถานภาพทรัพยากรน้ำภาคการเกษตรในเขตพื้นที่สูง กรณีศึกษา: ลุ่มน้ำห้วยตอง จังหวัดเชียงใหม่ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/265639 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาดัชนีและวิธีประเมินสถานภาพทรัพยากรน้ำภาคการเกษตรลุ่มน้ำพื้นที่สูง โดยลุ่มน้ำห้วยตองถูกคัดเลือกให้เป็นลุ่มน้ำตัวแทนเพื่อศึกษาสถานการณ์น้ำเชิงพื้นที่ผ่านการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ผลการประเมินสถานภาพทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำห้วยตองพบว่าอยู่ในภาวะถดถอย ดัชนีบ่งชี้ที่สะท้อนต้นเหตุของปัญหาได้แก่ (1) ความสามารถในการผลิตน้ำต้นทุนและผลผลิตน้ำท่าลดลงในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากพื้นที่ป่ามีขนาดเล็กลงจากการรุกขยายพื้นที่เกษตรกรรม (2) ระบบกักเก็บน้ำต้นทุนไม่เพียงพอสำหรับการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง บ่อเก็บน้ำอยู่ต่ำกว่าพื้นที่เกษตรและชำรุดเสียหายไม่สามารถเก็บน้ำได้ อ่างเก็บน้ำห้วยตองตื้นเขินเก็บน้ำได้เพียงร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ (3) การใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งขาดภาวะสมดุลน้ำมากกว่า 1.30 ล้านลูกบาศก์เมตร และ (4) การบริหารจัดการน้ำขาดกลุ่มโครงสร้างการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่น สำหรับผลการประเมินข้างต้นสามารถนำไปสู่การวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน ทั้งในด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษาพื้นที่ป่าผลิตน้ำ การเพิ่มศักยภาพของระบบกักเก็บและกระจายน้ำ การจัดการพื้นที่เพาะปลูกฤดูแล้ง และการพัฒนากลุ่มท้องถิ่นเพื่อการบริหารจัดการลุ่มน้ำห้วยตอง</p> ยศสรัล ศรีสุข, วีณา นิลวงศ์, อรทัย มิ่งธิพล, พิทักษ์พงศ์ แบ่งทิศ, วิทยา ดวงธิมา, ยุทธภูมิ เผ่าจินดา Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/265639 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปริมาณ องค์ประกอบทางเคมีและแนวทางการใช้ประโยชน์ขยะอาหารจากร้านอาหารและบริการอาหาร: กรณีศึกษาในพื้นที่เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/269905 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณและองค์ประกอบทางเคมีของขยะอาหารที่เกิดจากร้านอาหารและบริการอาหารในพื้นที่เทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เก็บข้อมูลจากตัวอย่างร้านอาหารและบริการอาหารในช่วงสิงหาคม พ.ศ. 2564 - กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ผลการศึกษา พบว่า ร้านอาหารและบริการอาหารในพื้นที่เทศบาลเมืองชะอำมีขยะอาหาร 1,130.86 ตันต่อปี และในพื้นที่เทศบาลเมืองหัวหิน 2,021.41 ตันต่อปี ส่วนใหญ่เป็นเศษอาหารเหลือจากการบริโภค (ร้อยละ 46.17 และ 42.08 ของขยะอาหารทั้งหมดในพื้นที่เทศบาลเมืองชะอำและเทศบาลเมืองหัวหิน ตามลำดับ) ถัดมาเป็นขยะอาหารที่สามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเศษเนื้อ นมและไข่ เศษอาหารทะเล รวมไปถึงเศษขนมปัง (ร้อยละ 29.46 และ 33.61 ตามลำดับ) และขยะอาหารที่เหมาะสำหรับใช้ทำปุ๋ยหมักซึ่งส่วนใหญ่เป็นเศษผักและผลไม้ (ร้อยละ 24.37 และ 24.31 ตามลำดับ) เศษปลาและเปลือกกุ้งมีโปรตีนสูงมีศักยภาพในการเป็นแหล่งโปรตีนในสูตรอาหารสัตว์ได้แต่ควรระวังเรื่องการปนเปื้อนแคดเมียมและปรอท กล่าวได้ว่า การคัดแยกขยะอาหารจากร้านอาหารและบริการอาหารที่ต้นทางตามคุณสมบัติและวิธีการนำไปใช้ประโยชน์นับเป็นการจัดการขยะอาหารที่ช่วยส่งเสริมความยั่งยืนของภาคการท่องเที่ยว</p> อุไรวรรณ ไอยสุวรรณ์, ธนวดี พรหมจันทร์, จีระศักดิ์ ชอบแต่ง Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/269905 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 มูลค่าการใช้ประโยชน์ทางนันทนาการจากการเติมทรายชายหาดเพื่อป้องกัน การกัดเซาะชายฝั่ง ณ ชายหาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/268415 <p> การกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดชลาทัศน์เป็นปัญหามานาน ภาครัฐเลือกวิธีป้องกันการกัดเซาะด้วยวิธีเติมทรายชายหาด เพราะป้องกันการกัดเซาะและใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ วัตถุประสงค์การศึกษา 1.ศึกษารูปแบบและพฤติกรรมการใช้ประโยชน์ทางนันทนาการ และ 2.เพื่อประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางนันทนาการบริเวณเติมทราย โดยใช้เทคนิคการประเมินมูลค่าด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางส่วนบุคคลและเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้พักผ่อนหย่อนใจบริเวณเติมทราย 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญและวิเคราะห์อุปสงค์การใช้บริการด้วยสมการถดถอยพหุคูณพร้อมคำนวณส่วนเกินผู้บริโภคจากพื้นที่ใต้เส้นอุปสงค์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้พักผ่อนหย่อนใจมากับครอบครัวหรือคนรักและทำกิจกรรมปิกนิก ใช้ระยะเวลาเดินทางไป-กลับ 30 นาที สะท้อนถึงความสำคัญของบริเวณเติมทรายว่าเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ ทางด้านการประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางนันทนาการบริเวณเติมทราย มูลค่า 25.5 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ย 461.10 บาทต่อคนต่อครั้ง ในขณะที่งบประมาณการเติมทรายบริเวณหาดชลาทัศน์กว่า 14.7 ล้านบาทโดยประมาณ สะท้อนถึงประโยชน์จากการเลือกใช้วิธีเติมทรายเพื่อป้องกันการกัดเซาะและใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ภาครัฐสามารถนำข้อมูลงานวิจัยนี้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนในพื้นที่ต่อไป</p> คมวิทย์ ศิริธร, ปทุมพร หิรัญสาลี Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/268415 Fri, 21 Jun 2024 00:00:00 +0700 การประเมินประสิทธิผลนโยบายป่าไม้ของประเทศไทย https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/270639 <p> แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นทิศทางให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการและขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการป่าไม้ให้มีเอกภาพ และสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลนโยบายป่าไม้ของประเทศไทยประเภทป่าชุมชนภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบ และเพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงานด้านทรัพยากรป่าไม้ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณที่มีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และกำหนดเกณฑ์การประเมินประสิทธิผล ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญและผู้ประเมินจากภาครัฐ เอกชน และประชาชน จำนวน 30 คน พร้อมทั้งใช้แนวคิด CIPPI Model ได้แก่ บริบท (Context) ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Product) และผลกระทบ (Impact)</p> <p> ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิผลนโยบายป่าไม้ของประเทศไทยฯ ภาพรวมอยู่ในระดับสูง ที่ระดับการประเมิน 4.43 คะแนน จาก 5 คะแนน และได้เสนอแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายแบบองค์รวม เพื่อดำเนินงานด้านทรัพยากรป่าไม้ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยแก้ปัญหาข้อด้อยของนโยบายแบบแยกส่วน พร้อมทั้ง มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการยกระดับการแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าไม้ทับซ้อน และข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาปัจจัยนำเข้าของนโยบายป่าไม้ พร้อมทั้งสร้างความตระหนักเชิงรุกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่ทุกภาคส่วน</p> โชคชัย สมนึก, จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/270639 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและแนวโน้มการใช้ที่ดินโดยใช้แบบจำลอง CLUMondo ร่วมกับกระบวนการประชาชนมีส่วนร่วม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/270562 <p> การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศวิเคราะห์การใช้ที่ดินในลุ่มน้ำสาขาห้วยกระเสียว ปี 2549 ถึงปี 2564 พบว่า พื้นที่เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือพื้นที่ป่าไม้ สิ่งปลูกสร้างและที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด ตามลำดับ โดยพบพืชไร่มากที่สุด รองลงมาเป็นนาข้าว ไม้ยืนต้น และไม้ผล เมื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินระหว่างปี 2549 ถึงปี 2564 กลับพบว่าพื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ป่าไม้ มีแนวโน้มลดลง ขณะที่สิ่งปลูกสร้างและที่อยู่อาศัย แหล่งน้ำ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าพื้นที่ปลูกข้าวโพดและอ้อยมีแนวแนวโน้มลดลง ขณะที่พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และไม้ผลมีแนวแนวโน้มเพิ่มขึ้น การคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยใช้แบบจำลอง CLUMondo ในอีก 20 ปีข้างหน้า (ปี 2584) โดยกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน 5 แนวทาง ได้แก่ 1) การใช้ที่ดินเหมือนกับแนวโน้มการใช้ที่ดินในอดีต 2) การใช้ที่ดินตามความต้องการของตลาดอ้อย 3) การใช้ที่ดินตามความต้องการของตลาดมันสำปะหลัง 4) การใช้ที่ดินตามความต้องการของตลาดอ้อยและมันสำปะหลัง และ 5) การใช้ที่ดินตามแนวทางการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งพบว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามแนวทางที่ 3 และแนวทางที่ 5 สอดคล้องกับการสนับสนุนจากทางภาครัฐและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในพื้นที่</p> ทศนัศว์ รัตนแก้ว, ฆริกา คันธา, ศันสนีย์ อรัญวาสน์ Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/270562 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 บทบรรณาธิการ https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/271733 Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/271733 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 หนังสือน่าอ่าน https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/271734 Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/271734 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700 เกี่ยวกับวารสาร https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/271737 Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/271737 Sun, 30 Jun 2024 00:00:00 +0700