https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/issue/feed วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 2024-02-29T17:04:33+07:00 อาจารย์ ดร.อัจฉรา โยมสินธุ์ [email protected] Open Journal Systems <p> วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม (Journal of Environmental Management) เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่บทความในสหสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีขอบข่ายครอบคลุมตั้งแต่ 2 สาขาวิชาขึ้นไปร่วมกัน ได้แก่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริหารการจัดการ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นที่มีนัยทางทฤษฎีหรือการประยุกต์ใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในชุมชนเมือง มลพิษอุตสาหกรรม รวมถึง สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ในมุมมองภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชน โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ สู่ผู้สนใจโดยทั่วไปในทุกสาขาวิชา</p> <p> กองบรรณาธิการ วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมเปิดรับบทความภาษาไทย ในประเภทบทความวิจัย (Research) บทความวิชาการ (Viewpoint) บทความปริทัศน์ (Review) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการอิสระ คณาจารย์ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป โดยผลงานที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการจัดการสิ่งแวดล้อมจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น</p> https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/268668 บทบรรณาธิการ 2024-02-29T16:57:06+07:00 สุชีลา นิลโคตร [email protected] 2024-02-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/268669 หนังสือน่าอ่าน 2024-02-29T17:02:33+07:00 สุชีลา นิลโคตร [email protected] 2024-02-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/268670 คำแนะนำวารสาร 2024-02-29T17:04:33+07:00 สุชีลา นิลโคตร [email protected] 2024-02-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/264992 การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการปรับตัวต่อปัญหาภัยแล้ง: กรณีศึกษาชุมชนสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง 2023-08-23T16:17:40+07:00 จำลอง โพธิ์บุญ [email protected] <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาภัยแล้งและการปรับตัวของชุมชนสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง พัฒนาศักยภาพและวิเคราะห์บริบทที่มีผลต่อการปรับตัว ตลอดจนเสนอแนวทางการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและประชาชนและการสังเกตการณ์ในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าชุมชนสายทองประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตรในฤดูแล้งติดต่อกันหลายปี ระดับความเสี่ยงจากภัยแล้งอยู่ในระดับสูง การดำเนินการที่มีการริเริ่มโดยผู้นำชุมชน ได้แก่ การทำโคก หนอง นา โมเดล และการเกษตรแบบใช้น้ำน้อย แต่ยังมีผู้ร่วมดำเนินการจำนวนน้อย ผลการพัฒนาศักยภาพพบว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวปัญหาภัยแล้งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การวิเคราะห์บริบทของชุมชนพบว่าจุดแข็งที่สำคัญคือมีผู้นำบางคนที่กระตือรือร้นและมีความตั้งใจในการแก้ไขปัญหา จุดอ่อนคือยังมีประชาชนเพียงบางส่วนที่เข้ามาร่วมดำเนินการ และยังขาดงบประมาณ โอกาสคือหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนในด้านการอบรมให้ความรู้และเงินกู้ อุปสรรคสำคัญคือแนวทางการจัดสรรน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แนวทางสำคัญในการพัฒนาการปรับตัวของชุมชนคือการที่ผู้นำชุมชนและประชาชนต้องมีบทบาทและมีส่วนร่วมมากขึ้นในการสร้างศักยภาพของชุมชนในการบริหารจัดการปัญหาด้วยตนเอง</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/262997 ผลการให้น้ำต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้าในแปลงปลูกพืชใช้น้ำน้อยตามแนวทาง Hugelkultur และ เศรษฐกิจหมุนเวียน ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 2023-07-17T17:06:49+07:00 วัฒนาชัย มาลัย [email protected] <p> การศึกษาผลของการให้น้ำต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักคะน้า ประเมินค่าวอเตอร์และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของแปลงปลูกพืชใช้น้ำน้อยและแนวทางในการใช้ประโยชน์ในจังหวัดอุบลราชธานี ด้วยแปลง Hugelkultur โดยเรียงวัสดุปลูก คือ ท่อนไม้ กิ่งไม้ และใบไม้สับ เป็นชั้น ๆ ปิดทับด้วยดินผสมปุ๋ยคอก ในบ่อซีเมนต์ วางแผนการทดลองแบบ CRD ให้น้ำต่างกัน 5 วิธี คือ วิธีที 1- 3 ให้น้ำเท่ากัน 2 ครั้ง(เช้า - เย็น) รวม 2 2.5 และ 3 ล./วัน วิธีที่ 4 และ 5 ให้น้ำ 1 ครั้ง 3 ล.(เช้า) และ ให้น้ำ 3 ล.(เย็น) เปรียบเทียบกับแปลงควบคุมให้น้ำ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) รวม 3 ล./วัน พบว่า แปลง Hugelkultur วิธีที่ 1 ให้ผลผลิตน้อยกว่าแปลงควบคุมที่ค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ 352.59 ลบ.ม./ตัน ให้ผลผลิต 3.76 ตัน/ไร่ แต่เป็นแปลงที่มีค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์น้อยที่สุดที่ 229.88 ลบ.ม./ตัน ให้ผลผลิตสูง 2.44 ตัน/ไร่ แต่ ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำที่สุด 112.34 กก.คาร์บอนเทียบเท่า/กก.ผักคะน้า ใช้วัสดุปลูกเป็นวัสดุหมุนเวียน จำนวน 640 ลบ.ม/ไร่ แปลง Hugelkultur สามารถนำไปใช้ในชนบทและเขตเมือง เพื่อลดการนำวัสดุไปกำจัด โดยการฝั่งกลบหรือเผา ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียน</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/261340 ปัจจัยสนับสนุนต่อความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน (กรณีศึกษา: ชุมชนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) 2023-05-01T10:50:41+07:00 วิมล สอนแจ่ม [email protected] ลือพล ปุณณกันต์ [email protected] <p> ความมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยนี้ คือ เพื่อระบุถึงปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน, กรณีศึกษา เขตเทศบาลเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการดำเนินการศึกษาการวิจัยนี้ เทคนิคเดลฟายซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่วยให้บรรลุฉันทามติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายได้ถูกนำมาใช้</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ถูกคัดเลือกมี 10 ปัจจัย โดยจำแนกได้ 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านงบประมาณ จำนวน 3 ปัจจัย ด้านความรู้และเทคโนโลยี จำนวน 3 ปัจจัย ด้านการสร้างเครือข่ายจำนวน 2 ปัจจัย และด้านการมีข้อมูลชุมชน และผู้นำในการจัดการ จำนวน 2 ปัจจัย องค์ประกอบที่สนับสนุนต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนมากที่สุด คือ องค์ประกอบด้านงบประมาณ รองลงมา คือ องค์ประกอบด้านการได้รับความรู้และเทคโนโลยี ด้านการมีผู้นำและข้อมูลชุมชน และ การสร้างเครือข่าย ตามลำดับ ข้อค้นพบจากการศึกษานี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดแนวทาง หรือจัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/260524 การบริหารแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมบนฐานทรัพยากรที่มีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล กรณีศึกษา: ภูเขาไฟฟูจิ อุทยานแห่งชาติฟูจิ-ฮาโกเนะ-อิซึ ประเทศญี่ปุ่น 2023-06-03T23:25:10+07:00 กิติชัย รัตนะ [email protected] <p> ภูเขาไฟฟูจิ เอกลักษณ์อันโดดเด่นของประเทศญี่ปุ่นเป็นที่รับรู้ของสากล และกลายเป็นคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมฟูจิซัง ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์และสร้างแรงบันดาลใจทางศิลปะ ก่อให้เกิดการพัฒนาเพื่อรองรับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะบนทางลาดของภูเขาไฟทรงกรวย จึงเป็นกรณีศึกษาของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ที่มุ่งศึกษาถึงการบริหารที่ดำรงไว้ซึ่งคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของภูเขาไฟฟูจิ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบปรากฏการณ์วิทยาแนวการตีความ จากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในภาคสนาม ร่วมกับการวิจัยเชิงเอกสาร</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ภูเขาไฟฟูจิมีเส้นทางเข้าถึงจำนวน 4 เส้นทางหลัก กระจายโดยรอบภูเขาไฟฟูจิ ทุกเส้นทางจะเริ่มต้นด้วยเส้นทางถนนจากบริเวณเนินเขาด้านล่าง ไปยังบริเวณสถานที่ 5 ที่มีการพัฒนารองรับการท่องเที่ยวมากน้อยแตกต่างกันไป เพื่อเป็นสถานีที่เชื่อมต่อไปยังเส้นทางเดินเท้าบนเขาไปยังปากปล่องภูเขาไฟ ระหว่างเส้นทางเดินเท้าขึ้นบนเขาก็จะมีกระท่อมตามเส้นทางสำหรับให้นักท่องเที่ยวได้พักค้าง การบริหารจัดการแหล่งมรดกโลกฟูจิซังดำเนินการโดยสภามรดกโลกทางวัฒนธรรมฟูจิซัง ที่ต้องดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการมรดกโลก ที่เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งเพื่อการสื่อความหมายและการเยี่ยมเยือน</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/264387 การประเมินขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพของเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 2023-09-06T16:29:59+07:00 เรณุกา กลับสุข [email protected] นฤมล แก้วจำปา [email protected] <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพ (Physical Carrying Capacity) เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จำนวน 8 เส้นทาง โดยการคำนวณหาจำนวนผู้มาเยือนสูงสุดที่เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติสามารถรองรับได้ มีหน่วยเป็นคนต่อวัน ผลการศึกษาพบว่า เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกกองแก้วมีขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพมากที่สุด คือ 840 คนต่อวัน และเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติน้ำตกโกรกอีดก มีขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพน้อยที่สุด คือ 45 คนต่อวัน และจำนวนผู้มาเยือนสูงสุดรวมทั้ง 8 เส้นทาง เท่ากับ 1,845 คนต่อวัน เมื่อทำการประเมินขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพจริง (Real Physical Carrying Capacity) ของเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ โดยใช้ตัวประกอบการปรับแก้ 3 ตัวประกอบ ได้แก่ ฝน สัตว์ป่า และการเข้าถึงเป็นตัวคูณลด พบว่าจำนวนผู้มาเยือนสูงสุดลดลงในทุกเส้นทาง โดยมีจำนวนผู้มาเยือนสูงสุดรวมทั้ง 8 เส้นทาง เท่ากับ 1,296 คนต่อวัน ผลการศึกษาเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดจำนวนผู้มาเยือนสูงสุดที่เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติแต่ละเส้นทางสามารถรองรับได้เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันและลดผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยวต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของพื้นที่ และนักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์นันทนาการที่มีคุณภาพ</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/262846 มุมมองของผู้ประกอบการไทยต่อการขอรับรองเครื่องหมายฉลากเขียว 2023-10-05T17:27:00+07:00 สุรางคนา ณ นคร [email protected] อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า [email protected] <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการตัดสินใจขอรับรองฉลากเขียว 2) ความคิดเห็นต่อมุมมองของผู้ประกอบการที่ขอรับรองต่อเนื่องเกี่ยวกับขั้นตอนและประโยชน์ และ 3) ความคิดเห็นต่อมุมมองของผู้ที่ไม่เคยขอรับรอง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สำรวจผู้ประกอบการไทย 100 บริษัท โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงกับผู้ที่ขอต่อเนื่อง 47 บริษัท และสุ่มตามสะดวกกับผู้ที่ไม่เคยขอยื่น 53 บริษัท ใช้สถิติเชิงพรรณาและทดสอบสมมติฐานด้วยค่า F-test เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย พบว่า 1) กระบวนการตัดสินใจขอรับรองฉลากเขียวของผู้ประกอบการที่ขอต่อเนื่อง เป็นดังนี้ ต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีมากที่สุด หาข้อมูลด้วยการติดต่อโดยตรงและผ่านเว็บไซต์สถาบัน ประเมินโดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ส่วนใหญ่ตัดสินใจทันที หลังใช้บริการขอรับรองฉลากเขียวมีความพึงพอใจ บอกต่อ และตั้งใจต่ออายุ 2) ผู้ประกอบการที่ขอรับรองต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เห็นว่า ขั้นตอนรับสมัคร ค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์และเงื่อนไข มีความเหมาะสม และได้ประโยชน์ตามที่คาดหวัง 3) ผู้ประกอบการที่ไม่เคยขอยื่น ส่วนใหญ่มีความรู้และความเข้าใจในระดับพอใช้ สนใจที่จะขอรับรองในระดับมากและคาดหวังว่าผู้บริโภคจะพึงพอใจมาก ส่วนเหตุผลที่ยังไม่ขอรับรอง เพราะไม่ทราบรายละเอียดและเกรงว่าจะมีค่าใช้จ่ายสูง ช่องทางที่ต้องการรับข้อมูล ได้แก่ เฟซบุ๊กและเว็บไซต์</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JEM/article/view/265594 20 ปี ของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิพื้นผิวดินจากการขยายเมือง ของจังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย 2023-11-26T11:50:24+07:00 สิตา นราโชติกา [email protected] กิตติชัย ดวงมาลย์ [email protected] อลงกรณ์ อินทรักษา [email protected] ภาคภูมิ ชูมณี [email protected] <p> การศึกษาการครั้งนี้ ใช้ข้อมูลดาวเทียม Landsat 5 และ Landsat 8 จำนวน 5 ช่วงเวลา คือ ค.ศ. 2003 2009 2014 2018 2021 ทำการประมวลผลค่าอุณหภูมิพื้นผิวดินและจำแนกประเภทสิ่งปกคลุมดินเป็น 4 ประเภท คือ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่เกษตร พื้นที่น้ำ และพื้นที่เบ็ดเตล็ด พบว่า ระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยของจังหวัดนนทบุรีเพิ่มขึ้น 1.68°C อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.90°C สิ่งปกคลุมดินประเภทพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นมากที่สุดจากร้อยละ 22.04 เป็นร้อยละ 41.16 (เปลี่ยนแปลงร้อยละ 19.12) และพื้นที่เกษตรลดลงมากที่สุดจากร้อยละ 47.99 เป็นร้อยละ 36.17 (เปลี่ยนแปลงร้อยละ 11.82) จากนั้นหาความสัมพันธ์ พบว่า พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีความสัมพันธ์โดยตรง พื้นที่เกษตรและพื้นที่น้ำมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับอุณหภูมิพื้นผิวดิน เมื่อวิเคราะห์รายละเอียดพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างกับอุณหภูมิพื้นผิวดินรายปี มีความสัมพันธ์ค่า Pearson Correlation (r) ระหว่าง 0.723-0.936 และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจในพหุคูณ (R2) ระหว่าง 0.523-0.877 โดยพบว่าอิทธิพลของน้ำท่วม (ปีที่มีปริมาณฝนมากและเกิดน้ำท่วมในจังหวัดนนทบุรี) มีผลต่อการลดลงของอุณหภูมิพื้นผิวดิน ผลลัพธ์ดังกล่าวสามารถนำข้อมูลมาใช้การวางแผนการพัฒนาพื้นที่เมือง เช่น การวางผังเมือง การสร้างพื้นที่สีเขียวและแหล่งน้ำในพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างที่มีความหนาแน่นที่เป็นพื้นที่กว้าง</p> 2023-12-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม