@article{รักชาติ_2022, title={เครือข่ายเยาวชนกะเหรี่ยงบ้านกะเบอะดิน: ทุนทางสังคมเพื่อลดความขัดแย้งจากโครงการสร้างเหมืองถ่านหินที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่}, volume={10}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/257251}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงบทบาทใหม่และทำความเข้าใจเครือข่ายเยาวชนชาวกะเหรี่ยงที่เป็นทุนทางสังคมเพื่อลดความขัดแย้งจากโครงการเหมืองแร่ถ่านหินผ่านแนวคิดทุนทางสังคมของปีเตอร์ พุตนัม เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2565 ที่บ้านกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากตัวแทนครัวเรือนอายุ 18-65 ปี จำนวน 75 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกรณีศึกษา จำนวน 6 คน ในงานวิจัยนี้ โดยผลการศึกษาพบว่า หลังเหมืองถ่านหินเริ่มดำเนินการในหมู่บ้าน เครือข่ายเยาวชนกะเหรี่ยงกลายเป็นทุนทางสังคมเพื่อต่อต้านเหมืองถ่านหินและลดความขัดแย้งที่เกิดในชุมชน และด้วยการสนับสนุนจากองค์กรภาคประชาสังคมทำให้เยาวชนกะเหรี่ยงรวมตัวกันเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง เกิดการสร้างสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารแบบออนไลน์สู่สาธารณะ ซึ่งเพจเฟสบุ๊คที่เครือข่ายเยาวชนสร้างขึ้นได้ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยง ต่อต้านเหมืองถ่านหิน ลดความขัดแย้งจากการสร้างเหมืองถ่านหิน รวมถึงการนำเสนอวิถีชีวิตของกลุ่มชนเผ่าอื่น</p>}, number={3}, journal={วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต}, author={รักชาติ จิรวัฒน์}, year={2022}, month={ก.ย.}, pages={333–344} }