@article{คาร์น_เหล่าอรรคะ_คาร์น_สุริยะวงศ์_สิงห์สีโว_ชมภูป้อ_2022, title={ชุมชนไม้มีค่าต้นแบบเพื่อการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาชุมชนดงน้อย อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม}, volume={10}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/249452}, abstractNote={<p>การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพชุมชนท่องเที่ยวบนฐานเศรษฐกิจไม้มีค่าและเพื่อพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชุมชน ให้เป็นชุมชนไม้มีค่าต้นแบบเพื่อการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้วิธีการประเมินสถานภาพด้านการจัดการป่าชุมชนอย่างยืน ด้วยตัวชี้วัดสถานภาพด้านไม้มีค่าของชุมชน และการประเมินสถานภาพด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนดงน้อย อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม โดยการสนทนากลุ่มและระดมความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์กับชุมชนดงน้อย ผลการศึกษา พบว่า สถานภาพด้านการจัดการป่าชุมชนอย่างยั่งยืน มีสถานภาพอยู่ในระดับกลาง ค่าคะแนนเท่ากับ 1.92 จาก 3.00 และสถานภาพด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนอยู่ในระดับสูง ค่าคะแนนเท่ากับ 2.48 จาก 3.00 ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า การพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชุมชน และการจัดตั้งชุมชนไม้มีค่าเพื่อการท่องเที่ยว จำเป็นต้องศึกษาถึงสถานภาพของทรัพยากรป่าไม้ เพื่อทราบถึงสถานภาพของทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ แล้วจึงศึกษาสถานภาพด้านการท่องเที่ยว เพื่อทราบถึงสถานภาพของทุนทางบุคลากรของชุมชนที่จะดำเนินการ เพื่อให้ทีมทำงานมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมกับสร้างเครือข่ายความร่วมมือภายนอก เพื่อให้ชุมชนท่องเที่ยวบนฐานเศรษฐกิจไม้มีค่ามีการดำเนินการที่นำไปสู่ความยั่งยืนต่อไป</p>}, number={1}, journal={วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต}, author={คาร์น มยุรี นาสา and เหล่าอรรคะ กมลทิพย์ and คาร์น มงคล and สุริยะวงศ์ เฉลิมเกียรติ and สิงห์สีโว กฤตนพัฒน์ and ชมภูป้อ พิไลวรรณ}, year={2022}, month={ม.ค.}, pages={11–21} }