@article{หลันหน๊ะ_สุชาติ_2020, title={ผลิตภัณฑ์ชีวภาพสำหรับวัสดุเชิงวิศวกรรมจากอิพ็อกซีเรซินที่ปรับปรุงด้วย ยางธรรมชาติอิพ็อกไซด์และนาโนเซลลูโลส}, volume={8}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/244591}, abstractNote={<p>ผลิตภัณฑ์ชีวภาพสำหรับวัสดุวิศวกรรมชนิดใหม่ที่เตรียมจากยางธรรมชาติอิพ็อกซิได์ (ENR 50) กับอิพ็อกซีเรซิน และนาโนเซลลูโลส ซึ่งนาโนเซลลูโลสได้จากต้นยูคาลิปตัสและยาง ENR 50 ได้มาจากการดัดแปรโครงสร้างจากยางธรรมชาติ โดยวัสดุทั้งสองชนิดได้จากธรรมชาติซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยางมีคุณสมบัติเชิงกลดีเยี่ยม และราคาถูก อีกทั้งยังเป็นวัสดุที่มีศักยภาพทดแทนพอลิเมอร์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม นาโนคอมโพสิทประกอบด้วยอิพ็อกซีเรซิน ยาง ENR 50 และนาโนเซลลูโลส นำไปทดสอบลักษณะเฉพาะด้วยเครื่อง FTIR, DLS, AFM และ SEM สมบัติเชิงกล (ความต้านทานต่อแรงกระแทกและความต้านทานต่อแรงดึง) และสมบัติทางความร้อน ผลจากการศึกษาพบว่าการเติมนาโนเซลลูโลสที่ปริมาณ 0.75 ส่วนต่ออิพ็อกซีเรซิน 100 ส่วน ช่วยปรับปรุงความต้านทานต่อแรงกระแทกสูงถึง 129% (14.94 kJ/m<sup>2</sup>) เนื่องจากการกระจายตัวที่ดีของนาโนคอมโพสิท ส่งผลให้เกิดการดูดซับและกระจายพลังงานได้ดี ผลิตภัณฑ์ชีวภาพสำหรับวัสดุวิศวกรรมชนิดใหม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในใบพัดโดรนและกังหันลมได้</p>}, number={1}, journal={วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต}, author={หลันหน๊ะ อัญนูดา and สุชาติ สุนิสา}, year={2020}, month={ก.ย.}, pages={172–183} }