TY - JOUR AU - พลอยทำ, ฤษีเทพขาว AU - ปันธิยะ, พูนชัย AU - รตนวณฺโณ, พระอธิวัฒน์ AU - แก้วสุฟอง, สมหวัง PY - 2020/12/24 Y2 - 2024/03/28 TI - แนวทางการสร้างสรรค์พระแผงไม้เชิงพุทธศิลป์ล้านนา JF - วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา JA - J. Buddh. Stud. VL - 11 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/246049 SP - AB - <p class="p1">การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา และคติความเชื่อในการสร้างพระแผงไม้ในล้านนา 2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างพระแผงไม้ในจังหวัดลำปาง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างสรรค์พระแผงไม้เชิงพุทธศิลป์ล้านนา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)</p><p class="p2"><strong>ผลการศึกษาพบว่า </strong>1) พระแผงไม้เป็นงานพุทธศิลป์เครื่องไม้ล้านนาที่นิยมสร้างตามคติความเชื่อในเรื่องของอดีตพุทธเจ้า โดยมีการนำพระพิมพ์มาบรรจุในแผงไม้ จำนวน 28 องค์เพื่อสื่อถึงอดีตพุทธเจ้า เพื่อเป็นพุทธบูชาสืบต่อพระพุทธศาสนาจนถึง 5,000 ปี และเพื่อเป็นบุญกุศลให้กับตนเอง โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ นิพพาน</p><p class="p2">2) การสำรวจกระบวนการสร้างพระแผงไม้ในจังหวัดลำปาง พบว่า มีอายุการสร้างระหว่างพุทธศตวรรษที่ 22ñ25 พระแผงไม้ที่คงสภาพรูปแบบทางศิลปกรรมดั้งเดิมยังมีอยู่ แม้ว่าพระพิมพ์ถูกนำออกไปจากแผงไม้ไปเกือบหมดสิ้นแล้วบ้าง ประกอบด้วยไม่มีการสร้างพระแผงไม้ในช่วงเวลาประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา ทำให้เชื่อว่าพระแผงไม้ที่พบนั้นมีลักษณะแบบดั้งเดิม มีความสวยงาม และมีการประดับตกแต่งที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามเอกลักษณ์เฉพาะตัวของช่างในแต่ละท้องถิ่น</p><p class="p2">3) แนวทางการสร้างพระแผงไม้เชิงพุทธศิลป์เป็นการประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับคติการสร้างพระแผงไม้ในล้านนา ผลของการสร้างพระแผงไม้เชิงพุทธศิลป์ยังทำหน้าที่เป็นสื่อศิลปะที่สะท้อนความหมายของหลักธรรมและหลักศรัทธาในพระพุทธศาสนา เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานภูมิธรรมและพุทธิปัญญาของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไป</p> ER -