TY - JOUR AU - ธรรมวัฒน์ศิริ, พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ PY - 2018/07/17 Y2 - 2024/03/29 TI - คำแนะนำสำหรับผู้เขียน JF - วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา JA - J. Buddh. Stud. VL - 6 IS - 2 SE - แนะนำสำหรับผู้เขียน DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/135059 SP - AB - <p>คำแนะนำสำหรับผู้เขียน</p><p class="p2" style="text-align: justify;">1. นโยบายการตีพิมพ์ในวารสาร พุทธศาสตร์ศึกษา</p><p class="p3" style="text-align: justify;">วารสารพุทธศาสตร์ศึกษาเป็นวารสารวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติทางด้านพระพุทธศาสนา การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม สังคมศาสตร์<span class="Apple-converted-space">&nbsp; </span>และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยรับพิจารณาตีพิมพ์ต้นฉบับของบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย มีกำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ (ราย 6 เดือน) ผลงานที่ส่งมาจะต้องไม่เคยเสนอหรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารวิชาการใดมาก่อน</p><p class="p2" style="text-align: justify;">2. ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร พุทธศาสตร์ศึกษา</p><p class="p4" style="text-align: justify;">2.1 บทความพิเศษ บทความพิเศษทางวิชาการ ที่นำเสนอองค์ความรู้ทางวิชาการอย่างเข้มข้น และผ่านการอ่านและพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการใน วงการวิชาการ หรือวิชาชีพ</p><p class="p4" style="text-align: justify;">2.2 บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์ หรือเสนอแนวคิดใหม่ ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเองหรือของผู้อื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ที่มีประโยชน์แก่คนทั่วไป</p><p class="p4" style="text-align: justify;">2.3 บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่มีการค้นคว้าอย่างมีระบบ และมีความมุ่งหมายชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้า ทางวิชาการ หรือการนำวิชาการมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ บทความวิจัยมีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ เช่น มีการตั้งสมมติฐานหรือมีการกำหนด ปัญหาที่ชัดเจนสมเหตุผล โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดแน่นอน มีการรวบรวมข้อมูล พิจารณาวิเคราะห์ ตีความและสรุปผลการวิจัยที่สามารถให้คำตอบหรือบรรลุวัตถุประสงค์</p><p class="p4" style="text-align: justify;">2.4 บทความปริทรรศน์ (Review Article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ และ วารสารใหม่ หรือจากประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น</p><p class="p4" style="text-align: justify;">2.5 ปกิณกะ (Miscellany) ได้แก่ บทความทบทวนความรู้ เรื่องแปล ย่อความจากวารสารต่างประเทศ การแสดงความคิดเห็น วิจารณ์ แนะนำเครื่องมือใหม่ ตำราหรือหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ หรือข่าวการประชุมทั้งระดับชาติและนานาชาติ</p> ER -