TY - JOUR AU - สิริคุตฺโต, พระมหาพงศักดิ์ PY - 2018/07/17 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องเจตนาของพุทธปรัชญาเถรวาทกับเจตน์จำนงเสรีของ ฌอง -ปอล ซาร์ต JF - วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา JA - J. Buddh. Stud. VL - 6 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/135031 SP - AB - <p>การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องเจตนาของพุทธปรัชญาเถรวาทกับเจตน์จำนงเสรีของซาร์ต มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนะเกี่ยวกับเจตนาในพุทธปรัชญาเถรวาท และเจตน์จำนงเสรีของ ฌอง- ปอล ซาร์ต และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบถึงความเหมือน และความแตกต่างเกี่ยวกับทัศนะเรื่องเจตนาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับเจตน์จำนงเสรีของ ฌอง - ปอล ซาร์ต มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาเปรียบเทียบเจตนาของพุทธปรัชญาเถรวาทกับเจตน์จำนงเสรีของ ฌอง – ปอง ซาร์ต โดยผู้วิจัยได้แบ่งประเด็นในการศึกษาออกเป็น 6 ประการ คือ 1) ความหมาย 2) ขอบเขต 3) การกระทำ 4) ผลการกระทำ 5) อิสรภาวะของการกระทำ 6) จุดหมายหรือเป้าหมายของการกระทำ</p><p>ผลจากการวิจัยพบว่า เจตนาของพุทธปรัชญาเถรวาท เป็นตัวเริ่มต้นของกระบวนการกฎแห่งกรรม มนุษย์มีความตั้งใจ มีความจงใจ ที่จะเลือก คิด พูด ทำอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเสรี ก็แสดงว่า มนุษย์มีเจตน์จำนงเสรีเช่นกัน เจตน์จำนงเสรีของซาร์ต ถูกนำเสนอขึ้นเพื่อกระตุ้นให้มนุษย์รู้ว่า มนุษย์มีสิ่งนี้อยู่ แต่มนุษย์เข้าใจผิดคิดว่า ตนเองไม่มี ซาร์ตจึงบอกว่า เดิมทีมนุษย์ว่างเปล่า ไม่เป็นอะไร ไม่มีอะไร แต่ที่มีอยู่และเป็นอยู่นั้น มนุษย์ได้ใช้เจตน์จำนงเสรีในการเลือกที่จะมี ที่จะเป็นทั้งนั้น แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องเจตนาที่พุทธปรัชญาเถรวาทนั้นกล่าวถึงเจตนาที่เกิดขึ้นร่วมกันเจตสิกที่จะปรุงแต่งไปในทางที่ดีหรือทางที่ชั่ว แต่ซาร์ตไม่ได้กล่าวถึงส่วนนี้ไว้</p><p>ในขอบเขตของเจตนาของพุทธปรัชญาเถรวาทกับเจตน์จำนงเสรีของซาร์ตต่างก็กล่าวถึงการที่มนุษย์มีเจตนาและเจตน์จำนงเสรีเหมือนกันต่างแต่พุทธปรัชญาเถรวาทได้กล่าวถึงเจตนาที่เป็นไปทางกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แต่ซาร์ตมิได้แยกเจตน์จำนงเสรีออกเป็นกระบวนธรรมต่างๆ เพียงแต่ได้ให้ทัศนะว่ามนุษย์มีเจตน์จำนงเสรีมาตั้งแต่เกิด</p><p>ส่วนความสัมพันธ์กันระหว่างเจตนากับเจตน์จำนงเสรีกับการกระทำทั้งพุทธปรัชญาเถรวาทและซาร์ตต่างกล่าวถึง การดำเนินชีวิตที่จะต้องมีความเกี่ยวเนื่องกันกับผู้อื่นในเมื่อมนุษย์ยังมีเจตนาและเจตน์จำนงเสรีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงหนีไม่พ้นที่ต้องรับผลที่ตนเองกระทำลงไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่างแต่ระดับของการกระทำซึ่งพุทธปรัชญาเถรวาทได้กล่าวไว้อย่างเป็นระดับของการกระทำว่ามีเจตนามากน้อยเพียงใด แต่ซาร์ตไม่ได้แสดงถึงกระบวนการนี้ไว้</p><p>เมื่อมนุษย์ได้กระทำบางสิ่งบางอย่างลงไปย่อมที่จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลการกระทำของตนไปได้ โดยพุทธปรัชญาเถรวาทเรียกว่า วิบากกรรม และซาร์ตเรียกว่า การรับผิดชอบ แต่ซาร์ตได้แสดงถึงการรับผิดชอบที่เป็นไปในปัจจุบันเท่านั้นโดยถือว่า อดีตล่วงไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง มนุษย์จึงไม่ต้องรับผิดชอบ แต่พุทธปรัชญาเถรวาท กล่าวถึงเรื่องวิบากกรรม มีความเกี่ยวเนื่องกันทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบันและอนาคต</p><p>การดำเนินชีวิตที่เนื่องกันกับตนเองและผู้อื่นนั้น มีคำถามอยู่ว่า มนุษย์มีเจตนาหรือเจตน์จำนงเสรีอย่างอิสรภาวะหรือไม่ ซึ่งพุทธปรัชญาเถรวาทและซาร์ตต่างก็ได้ให้ความหมายที่คล้ายกันในเรื่องที่มนุษย์มีอิสระอยู่ แต่ภายใต้อิสระนั้นพุทธปรัชญาเถรวาทกล่าว มีอะไรบางอย่างมาบงการการกระทำนั้นๆ และซาร์ตมีทัศนะว่ามนุษย์มีอิสรภาวะมาตั้งแต่เกิด</p><p>ถ้ากล่าวถึงจุดหมายสูงสุดของทั้งสองทัศนะต่างก็ต้องการเข้าหาความว่างเหมือนกันแต่ในความหมายของคำว่า ว่าง ระหว่างพุทธปรัชญาเถรวาทกับซาร์ตนั้น มีความหมายที่แตกต่างกันออกไป นั่นก็คือ การที่ซาร์ตเสนอว่า ชีวิตเริ่มแรกว่างเปล่า มีความหมายในเชิงที่ว่า มนุษย์มีตัวตนที่ว่างเปล่า ไม่ใช่ว่างเปล่าจากตัวตนแบบพุทธปรัชญาเถรวาท เพราะการมีตัวตนที่ว่างเปล่าแต่สามารถเติมอะไรๆลงไปก็ได้ตามที่ตนเองเลือก</p><p>อีกประเด็นหนึ่ง มนุษย์ที่มีเสรีภาพ เขาเข้าใจผิดคิดว่า ตนเองไม่มี จึงปล่อยชีวิตเหมือนก้อนหิน เหมือนท่อนไม้ ปล่อยตนเองไปตามยถากรรม ไม่เลือก ไม่ขวนขวายหาทางให้ตนเอง นี่คือ จุดเน้นของซาร์ต</p> ER -