TY - JOUR AU - อภิชาโต, พระครูสังฆรักษ์วิวัฒน์ PY - 2018/07/17 Y2 - 2024/03/29 TI - การศึกษาวิเคราะห์คะลำอีสานเชิงพุทธจริยศาสตร์ JF - วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา JA - J. Buddh. Stud. VL - 6 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/134989 SP - AB - <p class="p1" style="text-align: justify;">การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของแนวคิดคะลำอีสาน ความหมายและประเภทของคะลำอย่างเป็นระบบ <span class="s1">เพื่อ</span>วิเคราะห์ตีความคะลำอีสานในเชิงพุทธจริยศาสตร์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลของแนวคิดคะลำอีสาน กับวิถีชีวิตสังคมอีสานสมัยปัจจุบัน</p><p class="p1" style="text-align: justify;">ผลการวิจัยพบว่า</p><p class="p1" style="text-align: justify;">คะลำอีสาน เป็นกฎกติกา หรือข้อห้ามทางสังคม ที่ใช้เป็นแนวปฏิบัติทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม ในการอยู่ร่วมกันในสังคมของชาวอีสานที่มีมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งนับเป็นภูมิปัญญาที่แยบยล โดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในการบัญญัติข้อห้ามมิให้บุคคลประพฤติปฏิบัติ เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม <span class="s1">แบ่งประเภทของคะลำตามพฤติกรรมของบุคคลที่มีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม เป็นสามประเภท ได้แก่ คะลำทั่วไป คะลำเกี่ยวกับตนเอง และคะลำเกี่ยวกับผู้อื่น</span></p><p class="p1" style="text-align: justify;">เมื่อทำการวิเคราะห์ตีความ พบว่า คะลำอีสานทั้งสามประเภทมีพื้นฐานมาจากกรอบแนวคิดพุทธจริยศาสตร์แทบทั้งสิ้น แม้ว่าจะมีลักษณะการซ้อนทับของแนวคิดพุทธจริยศาสตร์หลายหลักการ และหลายระดับ แต่ก็พบว่าคะลำอีสานเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ทางจริยศาสตร์มาเป็นวาทกรรมเชิงปฏิบัติอย่างกลมกลืนสามารถนำมาใช้ในการอบรมสั่งสอนและย้ำเตือนข้อห้ามปฏิบัติต่อผู้คนในสังคม ช่วยให้สังคมของชาวอีสานดำรงอยู่ได้อย่างสงบสุข</p><p class="p1" style="text-align: justify;">อิทธิพลของแนวคิดคะลำอีสาน กับวิถีชีวิตสังคมอีสานสมัยปัจจุบัน พบว่าครอบครัวในชนบทอีสาน ยังมีการใช้คะลำเป็นสื่อในการสั่งสอนลูกหลานอยู่ โดยคนในรุ่นพ่อแม่ และปู่ย่าตายาย แต่มีแนวโน้มจะมีจำนวนลดลงไปพอสมควร เนื่องจากถูกละเลยจากคนรุ่นใหม่ รวมทั้งสื่อที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามาแทนที่ความสนใจของเด็กรุ่นใหม่ ทำให้แนวโน้มการธำรงอยู่ของภูมิปัญญารู้ท้องถิ่นนี้มีความเสี่ยงที่จะสูญหายไปพร้อมกับคนรุ่นเก่า</p> ER -