@article{คงมั่น_ปั้นเหน่งเพ็ชร_บุญศรีตัน_2022, title={แนวทางการใช้สติในการบำบัดผู้ที่มีอาการอารมณ์แปรปรวนแบบสองขั้ว}, volume={13}, url={https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/254120}, abstractNote={<p class="p1"><span class="s1">บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ</span> 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องโรคทางจิตในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาเรื่องโรคอารมณ์แปรปรวนแบบสองขั้ว 3) เพื่อศึกษาแนวทางการใช้สติในการบำบัดอาการอารมณ์แปรปรวนแบบสองขั้วซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ</p> <p class="p2"><span class="s2">ผลการศึกษาพบว่า 1) โรคทางจิต มีศัพท์ทางพุทธศาสนาเรียกว่า เจตสิกโรโค หมายถึง โรคที่เกิดกับจิตใจ อันมีสาเหตุมาจากอุปกิเลส ทำให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจมีอารมณ์และความกังวลที่รุนแรงทำให้บางคนมีบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น มีความโลภ มีจิตคิดร้าย มีความโกรธ ผูกใจเจ็บ ลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น<span class="Apple-converted-space">  </span>ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน มีความริษยา มีความตระหนี่ มีมารยา เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้อาจเกิดจากเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทำให้ชีวิตของแต่ละคนมีลักษณะเร่งรีบมีการแข่งขัน มีการหาความสุขแบบฉาบฉวยที่เน้นด้านวัตถุทั้งเงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศและอำนาจ อุปกิเลสเหล่านี้ทำให้จิตใจของมนุษย์ห่างเหินจากขนบธรรมเนียมประเพณี คุณงามความดี คนส่วนมากดิ้นรนไปตามกิเลสซึ่งนำพาจิตใจของพวกเขาเต็มไปด้วยความทุกข์, ความเดือดร้อน,ความประมาท,ความหลงระเริง, ความอยากได้ ความวุ่นวาย, ความกังวล, ความหวาดกลัว, ความเบื่อหน่าย, ความเศร้าใจ</span> และท้อแท้ ซึ่งอาจทำให้บางคนฆ่าตัวตายเพราะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จิตใจจึงอยู่ในสภาพที่เป็นทุกข์หรืเรียกอีกอย่างว่า “โรคทางจิต” 2) ในส่วนของโรคอารมณ์แปรปรวนแบบสองขั้วเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ โรคนี้มีปฏิกิริยาเหมือนกันกับความเครียดที่เกิดในคนปกติที่อาจจะมีความวิตกกังวลร่วมกับอาการจิตใจไม่สดชื่น แต่ปฏิกิริยาทางอารมณ์ของผู้ที่มีอารมณ์แปรปรวนแบบสองขั้วจะอยู่นานกว่าปกติจนในที่สุดก็รุนแรงขึ้น ตัวอย่างเช่น อารมณ์เศร้าหรือครึกครื้นก็จะมากขึ้นไม่ยอมหายลักษณะอาการเช่นนี้ อาจเป็นครั้งเดียวแต่เป็นเวลานานหลายเดือนหรือหลายปี 3) การมีสติจะทำให้ไม่ปล่อยให้ใจเลื่อนลอย ไม่ปล่อยให้ความนึกคิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ แต่จะคอยเฝ้าระวัง เหมือนจับตาดูอารมณ์ที่ผ่านมาแต่ละอย่าง โดยใช้การตามดูรู้ทัน ทั้งร่างกายและความรู้สึกนึกคิดที่เป็นปัจจุบันขณะ ผู้ที่มีอาการอารมณ์แปรปรวนแบบสองขั้ว ซึ่งเมื่ออยู่ในกระบวนการทำงานของจิตที่มีสติ ทำให้รู้เห็นตามที่มันเป็นคือการรู้ตามความจริง จนทำให้อยู่ในภาวะตื่นตัว สามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็นและคอยรักษาท่าทีของจิตโดยไม่รู้สึกทั้งในด้านติดใครอยากได้ และด้านขุ่นหมองขัดข้องใจ ให้ปราศจากอาการแปรปรวน ซึ่งเป็นภาวะจิตที่มีความปลอดโปร่ง โล่งเบา ผ่องใส ผ่อนคลาย</p>}, number={1}, journal={วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา}, author={คงมั่น ภัทราวดี and ปั้นเหน่งเพ็ชร เยื้อง and บุญศรีตัน ปรุตม์}, year={2022}, month={ก.พ.} }